รู้จักภาษา ABAP เปิดเบื้องหลังของ SAP R/3 ตอน 3 คำสั่ง Write


1,022 ผู้ชม


คำสั่ง Write

คำสั่ง Write จะเป็นคำสั่งที่ใช้ในการแสดงข้อมูลของ Data Object ใน Memory Space หรือค่าคงที่ (Literal) เช่น
Data temp type I.
Data tempcust like customers.
Write temp.
Write tempcust-id. "ฟิลด์ id ของ Structure ที่ชื่อ tempcust
Write 'Hello ABAP'.
หรือเขียนในรูปแบบ Colon Notation ได้ดังนี้
Data: temp type I,
tempcust like customers.
Write: temp, tempcust-id, 'Hello ABAP'.
เราจะได้ข้อมูลดังนี้ที่หน้าจอ
0 00000000 Hello ABAP
โดยที่ระบบจะแสดงผลข้อมูลระหว่างค่าต่างๆ คั่นด้วย Space ถ้าเราต้องการระบุตำแหน่งคอลัมน์ที่ต้องการให้แสดงข้อมูล เราสามารถระบุตำแหน่งของคอลัมน์ได้ดังนี้
Write: 5 'Hello ABAP', 25 'Hello World'.
ระบบจะแสดงข้อมูล Hello ABAP ในตำแหน่งคอลัมน์ที่ 5 ของบรรทัดปัจจุบัน และค่า Hello World ที่ตำแหน่งคอลัมน์ที่ 25 ในบรรทัดเดียวกัน และถ้าเราต้องการให้มีการขึ้นบรรทัดใหม่ เราจะใช้เครื่องหมาย / ในการกำหนดการขึ้นบรรทัดใหม่ เช่น
Write: 5 'Hello ABAP',
/5 'Hello World'.
เราจะได้ข้อมูลดังนี้ที่หน้าจอ ดังรูปที่ 6
รู้จักภาษา ABAP เปิดเบื้องหลังของ SAP R/3 ตอน 3  คำสั่ง Write
รูปที่ 6
รู้จักภาษา ABAP เปิดเบื้องหลังของ SAP R/3 ตอน 3  คำสั่ง Write
รูปที่ 7

ถ้าเราต้องการกำหนด Length ในการแสดงข้อมูล ก็ให้เขียนคำสั่ง Write: /5(20) 'Hello ABAP', 'Hello World'. เราจะได้ข้อมูลดังนี้ที่หน้าจอ ดังรูปที่ 7
ถ้าเราต้องการกำหนดสีของแบ็กกราวนด์ในการแสดงข้อมูล ก็ให้ใช้ออปชัน Color ในคำสั่ง Write เช่น
Write: 'Hello ABAP' color 6, " ค่า 6 คือสีแดง
'Hello World' color 3. " ค่า 3 คือสีเหลือง
นอกจากนี้ เราสามารถใช้คำสั่ง Format เพื่อกำหนดสีของ Background ของคำสั่ง Write ทั้งหมดก็ได้ เช่น
Format color 3.
Write: 'Hello ABAP', 'Hello World'.
Format color off. "กำหนดค่าสีให้เป็นสีปกติ
หรือถ้าไม่ต้องการให้แสดงค่าศูนย์ที่ไม่มีค่าออกมา ก็ให้ใช้ออปชัน NO-ZERO เช่น
Data temp(5) type N value 23.
Write: temp, temp NO-ZERO.
เราจะได้ข้อมูลดังนี้ที่หน้าจอ
00023 23
ถ้าเราไม่ต้องการให้แสดงค่าเครื่องหมาย - สำหรับตัวเลขค่าลบออกมา ก็ให้ใช้ออปชัน NO-SIGN เช่น
Data temp type I value 9.
Write: temp, temp NO-SIGN.
เราจะได้ข้อมูลดังนี้ที่หน้าจอ
9- 9
ถ้าเราต้องการจัดตำแหน่งแสดงข้อมูลให้อยู่ชิดซ้าย ชิดขวา หรือตรงกลาง เราสามารถใช้ออปชัน LEFT-JUSTIFIED, RIGHT-JUSTIFIED หรือ CENTERED เช่น
รู้จักภาษา ABAP เปิดเบื้องหลังของ SAP R/3 ตอน 3  คำสั่ง Write
รูปที่ 8

Data temp type I value 9.
Write: / temp,
/ temp LEFT-JUSTIFIED,
/ temp CENTERED.
เราจะได้หน้าจอดังรูปที่ 8
ซึ่งปกติแล้วข้อมูลชนิดตัวเลขจะอยู่ตำแหน่งชิดขวา ส่วนข้อมูลประเภท Character จะอยู่ตำแหน่งชิดซ้าย แต่อย่าลืมนะครับว่า คำสั่ง Write ไม่มีผลใดๆ ต่อข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ใน Memory Space เพราะคำสั่ง Write เป็นแค่เพียงคำสั่งที่ใช้ในการแสดงข้อมูลที่หน้าจอเท่านั้น

คำสั่ง Skip

คำสั่ง Skip เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างบรรทัดเปล่าๆ หรือ Blank Line เช่น
Write 'Hello ABAP'.
Skip. " ได้บรรทัดเปล่า 1 บรรทัด
Write 'Hello World'.
Skip 2. " ได้บรรทัดเปล่า 2 บรรทัด
Write 'Line 6'.
Skip to line 8. " ข้ามไปบรรทัดที่ 8
Write 'Line 8'.
เราจะได้หน้าจอดังรูป
Hello ABAP
Hello World
Line 6
Line 8

PC Magazine

ฉบับที่ 45 ตุลาคม 2545
อ่านบทความอื่นๆ >>

อัพเดทล่าสุด