ความสำคัญและบทบาทของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในปัจจุบัน


1,195 ผู้ชม


ความสำคัญและบทบาทของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในปัจจุบัน
ความสำคัญและบทบาทของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในปัจจุบัน  ดร.สีลาภรณ์  บัวสาย
ผู้อำนวยการฝ่ายชุมชนและสังคม สกว.
[email protected]

หากเราลองสังเกตดูธรรมชาติจะเห็นว่าต้นไม้ที่จะต้านลมแรง ทนทานต่อพายุได้นั้น รากต้องลึกยึดเกาะดินได้แน่น เปรียบเสมือนคนที่จะสามารถฝ่าความแปรปรวนของภาวะแวดล้อมได้นั้นต้องมีหลักยึดที่หยั่งรากลงถึงรากเหง้าของตนเอง และจิตวิญญาณทางศีลธรรมได้
 

 

ความสำคัญและบทบาทของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในปัจจุบัน  ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คือ เครื่องมือหนึ่งที่ทำให้คนเห็นรากเหง้าของตนเอง เกิดสำนึกความเห็นคุณค่า ความภูมิใจ และศักดิ์ศรีของสิ่งที่ตนเองมีอยู่ที่เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษในท้องถิ่น ความภูมิใจนี้ทำให้คนเรามีความเชื่อมั่นในตัวเองว่ามีของดีอยู่ ใครมาบอกให้เชื่ออะไรก็ไม่หลงตามเขาไปง่าย ๆ   ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็นโลกาภิวัตน์ ข้อมูลข่าวสารท่วมท้น เราจะมีโอกาสได้อ่านได้ฟังเรื่องราวประสบการณ์แปลก ๆ ใหม่ ๆ ของคนอื่นเยอะมากและเร็วมาก ซึ่งทำให้โอกาสที่จะไปหยิบไปคว้าความริเริ่มของคนต่างที่ต่างถิ่นต่างด้าวเอามาทำมาใช้ในบ้านเราก็ยิ่งมีมาก ลองคิดดูว่าถ้าเราไม่มีหลักยึดที่ดีพอที่จะทำให้เราเลือกสรร “ของนอก” มาใช้ให้เป็น  จะเกิดอะไรขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น การสืบค้นรากเหง้าของตนเอง ยังนำมาซึ่งความรู้ว่าเรามีของดีอะไรที่น่าจะนำมาปัดฝุ่นสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มขึ้นได้ มีโครงการวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโครงการหนึ่งที่ทำในเขตเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี 2546 ในชุมชนวัวลาย ซึ่งเป็นชุมชนไทยลื้อ ที่มีภูมิปัญญาในการทำเครื่องเงิน แต่การทำเครื่องเงินในช่วงนั้นอยู่ในภาวะซบเซามาก จนแทบจะปิดตัวไป การวิจัยของคนในชุมชนที่ร่วมกันสืบค้นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนได้มีผลไปปลุกพลังและความภาคภูมิใจถึงความยิ่งใหญ่และความมีคุณค่าของภูมิปัญญาการตีเครื่องเงิน  จนชุมชนได้ประสานกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนให้ช่วยสนับสนุนการฝึกสอนทำเครื่องเงิน ทำให้วิสาหกิจเครื่องเงินวัวลายกลับฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาใหม่ และทุกวันนี้มีเด็กและคนไปเรียนรู้เรื่องการตีเครื่องเงินในวัดศรีสุพรรณ ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้  เนื้อหาของเรื่องราวประวัติศาสตร์ของชุมชนเครื่องเงินวัวลายยังช่วยเพิ่มสีสันและคุณค่าให้กับสินค้าเครื่องเงินที่ขายนักท่องเที่ยวอีกด้วย
 

 

ความสำคัญและบทบาทของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในปัจจุบัน  ในปี 2551 สกว. ได้เริ่มเปิดชุดโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยดึงเครือข่ายนักวิชาการและประสบการณ์เดิมในการบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อควบคุมคุณภาพงานที่ได้จากการดำเนินชุดโครงการประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมื่อปี 2546 มาหนุนช่วย ชุดโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาเป็นนักวิจัยทำการสืบค้นเรื่องราวประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อให้เยาวชนได้มีโอกาสสัมผัสคุณค่า 3 ด้าน จากกระบวนการวิจัย
1. ด้านการเรียนรู้  การฝึกทำวิจัยทำให้เด็กได้พัฒนาทักษะการตั้งคำถาม การหาแหล่งข้อมูล      การเก็บข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล หลักฐานและการวิเคราะห์ ซึ่งเป็นทักษะของความเป็นวิทยาศาสตร์ การฝึกทำวิจัยจากเรื่องราวในท้องถิ่นที่ใกล้ตัวจะทำให้เด็กเรียนรู้ได้เร็ว เห็นรูปธรรมและความหมายได้ชัด ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง ที่สำคัญคือเนื่องจากประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยความเปลี่ยนแปลง เพราะการสืบค้นเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผ่านช่วงเวลาที่นานพอจะทำให้ผู้ศึกษาสามารถเข้าใจสาเหตุของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ การที่เด็กได้มีโอกาสทำวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ จะช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ให้เข้าใจเหตุผลของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญมาก เพราะเมื่อเด็กสามารถเข้าใจได้ว่าปัจจุบันเป็นผลมาจากเหตุการณ์อะไรในอดีต เขาก็จะสามารถมองไปข้างหน้าโดยเข้าใจเหตุปัจจัยที่จะสามารถขีดอนาคตได้
 

 

ความสำคัญและบทบาทของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในปัจจุบัน  2. ด้านสำนึกท้องถิ่น  เรื่องราวของท้องถิ่นมีหลากหลายประเด็นที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น อาทิ เรื่องของพิธีกรรม ความเชื่อ ภูมิปัญญาทรัพยากร การตั้งถิ่นฐาน วิถีการดำรงชีวิต ศิลปะการละเล่น วัฒนธรรม ประเพณี โบราณสถาน โบราณวัตถุ กลุ่มชนชาติพันธุ์ การเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้เยาวชนได้มีโอกาสสัมผัสคุณค่าของมรดกที่สั่งสมมา เกิดความตระหนักในคุณค่า ความภูมิใจ ความรู้สึกมีศักดิ์ศรี และความผูกพันกับท้องถิ่น มีสำนึกที่จะทำงานเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าให้ท้องถิ่นของตน
3. ด้านความสัมพันธ์ในชุมชน กระบวนการทำวิจัยที่ให้เด็กได้เป็นผู้ไปสืบค้นเรื่องราวประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น ทำให้เด็กได้มีโอกาสไปคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ และคนในชุมชน เกิดความสัมพันธ์ในลักษณะที่ชื่นชมกันและกันมากขึ้น ทั้งเด็กที่เคารพความรู้ของผู้ใหญ่ และผู้ใหญ่ที่มีความสุขเมื่อได้ถ่ายทอดเรื่องราวให้ลูกหลานในชุมชนฟัง ในโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนี้ หลายโครงการผู้เฒ่าผู้แก่บางคนปรารภว่าตอนนี้เขาจะตายก็ตายได้แล้ว เพราะเรื่องที่ตนเองรู้และอยากถ่ายทอดให้ใครสักคนรับรู้ไว้ตอนนี้ก็มียุววิจัยมารับไว้แล้ว การสานความสัมพันธ์ระหว่างวัยของคนในชุมชนนี้ จะทำให้กระบวนการพัฒนาท้องถิ่นโดยคนในท้องถิ่นสืบสานงานต่อกันจากรุ่นสู่รุ่นได้ เสียงบ่นประเภท “ลูกหลานไม่เห็นหัวพ่อแม่ปู่ย่าตายาย” ก็จะลดลงไปด้วย
 

 

ความสำคัญและบทบาทของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในปัจจุบัน  กระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยนักเรียนเป็นผู้ทำวิจัยนี้ ยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับเด็กและครูว่างานวิจัยไม่ใช่สิ่งที่ยากจนเกินเอื้อม ไม่ใช่มีแต่นักวิชาการเท่านั้นที่จะทำได้ แต่เด็ก ครู หรือแม้แต่คนในชุมชนก็ร่วมทำวิจัยได้ และการเรียนรู้ร่วมกันจะยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนมีสายใยที่ร้อยรัดเหนียวแน่นขึ้น
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นต่างจากประวัติศาสตร์ชาติตรงที่เรื่องราวที่ศึกษาเป็นเรื่องในท้องถิ่น มีเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริง มีพยานหลักฐานให้เห็นหรือพูดคุยตัวเป็น ๆ กันได้ การได้พูดคุยเรื่องราวในอดีตนอกจากจะไปฟื้นความทรงจำของผู้เฒ่าผู้แก่แล้ว ยังมักมีผลต่อการฟื้นพลังความคิดและความสุขร่วมกัน กระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจะทำให้เห็นตัวละคร และทำให้ทั้งเด็กและคนในชุมชนเห็นว่าตัวเขาหรือบรรพบุรุษเขามีที่ยืนอยู่ในประวัติศาสตร์การสร้างถิ่นฐานของชุมชนในท้องถิ่น เขาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างบ้านแปงเมือง เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน กระบวนการศึกษาเช่นนี้จึงมีผลไปเปลี่ยนทั้งการเรียนรู้สำนึกและความสัมพันธ์ของคนในท้องถิ่น
และนี่เองคือพลังที่จะผลักดันให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถเลือกทิศทางเดินไปสู่อนาคตของตนเองได้
 

 

 แหล่งที่มา :  ประชาคมวิจัย ฉบับที่ 87

อัพเดทล่าสุด