จาก “มูลค่า” สู่ “คุณค่า” จาก “พ่อค้า” สู่ “ญาติมิตร” ฝ่าวิกฤตการท่องเที่ยวไทย


874 ผู้ชม


จาก “มูลค่า” สู่ “คุณค่า” จาก “พ่อค้า” สู่ “ญาติมิตร” ฝ่าวิกฤตการท่องเที่ยวไทย
จาก “มูลค่า” สู่ “คุณค่า” จาก “พ่อค้า” สู่ “ญาติมิตร” ฝ่าวิกฤตการท่องเที่ยวไทย  ดร.เทิดชาย  ช่วยบำรุง
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวไทย  
สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
[email protected]

 

 
จาก “มูลค่า” สู่ “คุณค่า” จาก “พ่อค้า” สู่ “ญาติมิตร” ฝ่าวิกฤตการท่องเที่ยวไทย  “กูรู” ไม่รู้หรือไร
จาก “มูลค่า” สู่ “คุณค่า” จาก “พ่อค้า” สู่ “ญาติมิตร” ฝ่าวิกฤตการท่องเที่ยวไทย  วิกฤตการท่องเที่ยวไทยที่เกิดขึ้นมากมายในหลายปีที่ผ่านมา โดยไม่ต้องระบุว่าเกิดวิกฤตอะไรขึ้นบ้าง ทำให้คนในวงการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ต่างตั้งข้อสงสัยในความสามารถของ “กูรู” ทางการท่องเที่ยวไทยว่า “ไม่ทราบเลยหรืออย่างไรว่า จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น” เพราะต่างก็ลงความเห็นว่า เป็นเหตุการณ์ที่มนุษย์ภายในประเทศได้สร้างขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีรากจากการคอรัปชั่นอย่างมากมายจนส่งผลบานปลายสู่ความขัดแย้งทางการเมือง และได้รับการกดทับจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในที่สุด  
หลายคนเปรยว่า กูรูการท่องเที่ยวไทยหมดสิทธิ์อ้างว่า เป็นเหตุที่ควบคุมไม่ได้อย่างเช่น ปัญหาสึนามิ หรือน้ำท่วม ฝนแล้งต่างๆ คำถามเหล่านี้ได้เกิดขึ้นในใจและนอกใจว่า ปรมาจารย์ด้านการท่องเที่ยวไทย ไม่รู้เลยหรือว่าจะแก้วิกฤต และ ป้องกันวิกฤตดังกล่าวได้อย่างไร และ ปรม (อย่างยิ่ง) + อาจารย์ (ผู้สั่งสอนวิชาความรู้) = ปรมาจารย์ (อาจารย์ผู้เป็นเอกหรือยอดเยี่ยมในทางวิชาใดวิชาหนึ่ง) นี้เอง คนก็มักจะนึกถึง “อาจารย์” ทางการท่องเที่ยวและโรงแรม และตั้งคำถามว่า อาจารย์ที่เชี่ยวชาญการท่องเที่ยว หลบอยู่ที่ไหน เมื่อเกิดวิกฤตการท่องเที่ยว จึงไร้เสียงสะท้อนและวี่แววการลุกขึ้นมามีบทบาทช่วยชาติให้พ้นวิกฤตได้ หลายคนถาม แต่ไร้คำตอบ...
 

 
จาก “มูลค่า” สู่ “คุณค่า” จาก “พ่อค้า” สู่ “ญาติมิตร” ฝ่าวิกฤตการท่องเที่ยวไทย  “ปัญญาปฏิบัติ” ของการท่องเที่ยวไทยที่เราลืม
 จากเหตุการณ์นี้ นำไปสู่ข้อสงสัยหลายประเด็น อาทิ นักวิชาการการท่องเที่ยวไทยกำลังสอนอะไร ใช้แนวคิดทฤษฎีของต่างชาติมากไปหรือไม่ เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในประเทศ จึงอึ้งและหาทางออกให้กับชาติไม่ได้ หรือเพราะเราขาดความรู้หรือปัญญาที่ประเทศไทยได้ “ปฏิบัติ” ด้านการพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวมานาน แถมยังเป็นหนึ่งในประเทศต้นๆของโลกที่มีประสบการณ์ด้านนี้  องค์ความรู้ที่ได้จาก ”ปัญญาปฏิบัติ” ประเทศไทยเราเคยให้ความสำคัญหรือไม่ หลายคนตอบว่ามี แต่เราขาดการรวบรวม มีแต่ความรู้ที่อยู่ในตัวคน (tacit knowledge) แต่ความรู้ใน “ตำรา” (explicit knowledge) เรามีน้อยมาก ปรมาจารย์ทางการท่องเที่ยวจึงพึ่งพาตำราต่างชาติ แล้วก็ลุกขึ้นมาช่วยชาติลำบาก สถานการณ์นี้ยังส่งผลทำให้แนวคิดในการพัฒนาหรือส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย จึงมุ่งเน้นเพียงการ “สร้างมูลค่า” ทางการท่องเที่ยวเท่านั้น นั่นหมายความว่า เมื่อคิดถึงคำว่า “การท่องเที่ยว” ประเทศไทยมักจะมองการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นมิติการมองที่ “ตื้น” คือมองเพื่อให้ได้เงิน ประกอบกับการขาดความรู้ที่สังเคราะห์จากปัญญาปฏิบัติ จึงทำให้การท่องเที่ยวยิ่งอ่อนไหวกับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น แต่หากมองกลับกัน มองอย่างไทย “ใครมาถึงเรือนตน ต้องต้อนรับ” การมองแบบนี้จะเป็นการมองการท่องเที่ยวในเชิง “คุณค่า”  
คำว่า “คุณค่า” นั้นหมายถึงการมองที่ลึกลงไปข้างใน มองด้วยความลึกซึ้ง มองถึงคุณภาพ มองอย่างรอบด้าน  มองหลายมิติ มองเห็นความเป็นมนุษย์ วัฒนธรรม รากเหง้า สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาและความเป็นชาติ อยู่ในการท่องเที่ยวนั้น ถ้ามองแบบนี้ การพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวจะแปรรูปไปเป็นการพัฒนาและจัดการด้วย “ใจ”  ใจที่เป็น “เจ้าบ้าน” ที่ดีไม่ใช่ “พ่อค้า” ที่พยายามขายสินค้า ถ้ามองแบบนี้ อาจช่วยให้การท่องเที่ยวไทยอ่อนไหวน้อยลงและทนต่อภาวะวิกฤตได้มากขึ้น กล่าวคือ หากเราคิดว่านักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวบ้านเราคือ ญาติของเรา และเขาก็คิดว่าเราเป็นญาติ ต่อให้เกิดการประท้วง ภัยธรรมชาติ ปัญหาเศรษฐกิจ ญาติของเราก็ยังคงกลับมาหาเราอีก แล้วเราเป็นใคร ในภาวะวิกฤตนี้ เป็น“พ่อค้า” หรือเป็น “ญาติ” กันแน่
 

 
จาก “มูลค่า” สู่ “คุณค่า” จาก “พ่อค้า” สู่ “ญาติมิตร” ฝ่าวิกฤตการท่องเที่ยวไทย  การตลาดเชิงความสัมพันธ์ฉันท์ญาติ
จาก “มูลค่า” สู่ “คุณค่า” จาก “พ่อค้า” สู่ “ญาติมิตร” ฝ่าวิกฤตการท่องเที่ยวไทย  จากแนวคิดนี้อาจสะท้อนภาพว่า ถ้าเราจะดำเนินการตลาดการท่องเที่ยว เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตการท่องเที่ยว คงต้องนึกถึงวลีนี้ ซึ่งก็คือ  “From High Tech to High Touch”  (จากการตลาดที่เน้นโฆษณาสิ่งอำนวยความสะดวก มาสู่การตลาดที่เน้นสุนทรียศาสตร์) โดยการตลาดการท่องเที่ยวจะสำเร็จ และได้ “ใจ” นักท่องเที่ยวนั้นต้องใช้กลยุทธ์ High Touch และในภาวะวิกฤตนี้ ต้องใช้ “High Touch บนฐานปัญญาปฏิบัติ” จึงจะสามารถลบบาดแผลและความรู้สึกกลัวของนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาเยือนประเทศไทยได้  
ถ้าพิจารณาให้ถ้วนถี่ นักท่องเที่ยวที่เที่ยวในประเทศไทยส่วนใหญ่คือ นักท่องเที่ยวที่กลับมาเที่ยวซ้ำ (repeated visitors) นั้นหมายความว่า “เรามีญาติ” ของเรามากมาย หากแต่เราจะอธิบายแก่ญาติเกี่ยวกับบ้านเราอย่างไร นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ น่าจะเป็นกลุ่มแรกที่รัฐ ควรให้ความสนใจเพราะเป็น “คนคุ้นเคย” กับเรา ครั้งหนึ่งเคยถามนักท่องเที่ยวเหล่านี้ว่า “ประเทศไทยกำลังมีการประท้วงทำไมถึงมา”  คำตอบที่ได้คือ “ประเทศไทยก็เป็นอย่างนี้แหละไม่มีอะไร” นั่นแสดงว่าเขารู้จักบ้านเราดี  อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งก็คือ “ผู้ที่ยังไม่เคยมาเที่ยว” (new tourist) ประเภทนี้คงต้องใช้ ”ปัญญา” อย่างมากมายในการสร้างความเข้าใจ  ความเชื่อมั่น และก็น่าจะใช้ “ญาติ” ของเรา (ผู้ที่เคยมาเที่ยว) นั่นแหละ เป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมการตลาด โน้มน้าวให้เขามาเที่ยวเมืองไทย เพราะการตลาดแบบปากต่อปาก (viral marketing) ก็คงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดในยามวิกฤตนี้  
แต่คำถามที่ตั้งทิ้งไว้ “จะทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวพูดกันปากต่อปากในทางที่ดี” ดังนั้น ก่อนการคิดจะสร้างแบรนด์ทางการท่องเที่ยวใหม่ๆ ต้องตอบคำถามข้อนี้ก่อน และหากต้องสร้างแบรนด์ แบรนด์ต้องสะท้อนอัตลักษณ์ของไทย    และ“อัตลักษณ์ของความเป็นเครือญาติ” นี้เอง ที่เป็น High Touch ที่ควรมาประยุกต์เข้ากับการดำเนินการตลาดการท่องเที่ยวเพราะก้าวต่อไปของการดำเนินการตลาดการท่องเที่ยว นอกจากจะ High Tech to High Touch แล้ว ก็คงจะเป็น Beyond Brand to Identity อีกด้วย
 

 
จาก “มูลค่า” สู่ “คุณค่า” จาก “พ่อค้า” สู่ “ญาติมิตร” ฝ่าวิกฤตการท่องเที่ยวไทย  หลักสูตรการท่องเที่ยว...ทางออกที่เป็นไปได้
จาก “มูลค่า” สู่ “คุณค่า” จาก “พ่อค้า” สู่ “ญาติมิตร” ฝ่าวิกฤตการท่องเที่ยวไทย  มาถึงตรงนี้ทุกท่านจะเห็นได้ว่า รากเหง้าของปัญหาแห่งความอ่อนไหวเกินเหตุของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย อยู่ที่มิติการมองการท่องเที่ยวตั้งแต่ต้น จึงนำไปสู่การตลาดที่เน้น “การเป็นพ่อค้า”  มากกว่า “เจ้าบ้านที่ดี” ทางออกที่จะสามารถเปลี่ยนมุมมองตื้นแบบนั้นได้ ก็คงต้อง “ปฏิรูปการศึกษาการท่องเที่ยว” ในประเทศไทย แม้จะเป็นการแก้ปัญหาวิกฤตในระยะยาว  
มาถึงคำถามว่า อะไรเกิดขึ้นบ้างในปัจจุบันด้านการศึกษาการท่องเที่ยว นอกเหนือจากการขาดบุคลากร (อาจารย์)ที่มีคุณภาพ ทั้งๆที่มหาวิทยาลัยในไทยต่างเลือดตาแทบกระเด็น จึงจะสามารถเปิดหลักสูตรปริญญาเอกทางการการท่องเที่ยวให้ได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยหน่วยงานที่คุมคุณภาพด้านการศึกษาของไทย การศึกษาในระดับสูงด้านการท่องเที่ยวของไทยกำลังอยู่ในจุดเริ่มต้นและกำลังเผชิญปัญหาวิกฤตเหมือนกัน กล่าวคือมีจำนวนบุคลากรตามกำหนด แต่ผู้สอนเหล่านั้น เพิ่งจบใหม่และขาดประสบการณ์ในการทำวิจัยในไทย จึงมีแนวโน้มการนำแนวคิด “ฝรั่ง” มาใช้กับการท่องเที่ยวไทย ประกอบกับ บางมหาวิทยาลัยมีมุมมองการวิจัยในระดับดุษฎีบัณฑิตไม่กว้างพอ “มองการวิจัยการท่องเที่ยวไม่พ้นรั้วมหาวิทยาลัย” กล่าวคือ ยังคงมุ่งเน้นความสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ Sig ไม่ Sig  เน้นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากการสำรวจแบบสอบถาม แล้วใช้โปรแกรมสถิติ ประหนึ่งเป็นปริญญาเอกด้านสถิติ โดยคำนึงเพียงความถูกต้องและประโยชน์ทางวิชาการ (academic merit) เท่านั้น อีกทั้งยังเป็น “การวิจัยบริสุทธิ์”  (basic research) ที่สร้างเพียงข้อมูล ไม่มองแม้แต่น้อยว่า การวิจัยการท่องเที่ยวนั้นคงต้องเป็น “การวิจัยประยุกต์” (applied research) และต้องบูรณาการกับศาสตร์อื่น... ประเทศไทยกำลังรอผลการวิจัยเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการท่องเที่ยวของชาติ
 

 
จาก “มูลค่า” สู่ “คุณค่า” จาก “พ่อค้า” สู่ “ญาติมิตร” ฝ่าวิกฤตการท่องเที่ยวไทย  มหาวิทยาลัยใจกว้างหน่อย
 “การขาดความใจกว้าง” ของมหาวิทยาลัย ประเด็นนี้มีความสำคัญมากในการพัฒนาการวิจัยการท่องเที่ยวในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก (principle advisor) เราจะพบว่า หัวข้อวิจัยการท่องเที่ยวแต่ละหัวข้อ ต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง หากมหาวิทยาลัยอนุญาตให้ภาคเอกชนหรืออาจารย์จากสถาบันอื่น เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก คงทำให้งานวิจัยการท่องเที่ยวของไทยก้าวหน้าไปไกลกว่าการที่เป็นอยู่  
“ประเด็นวิจัย” เป็นอีกหนึ่งที่คงต้องการความเป็น “นวัตกรรม” มากกว่าที่เป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นเพียงการศึกษาความพึงพอใจ ศึกษาปัจจัยหรือสร้างโมเดลทางสถิติ  แต่ควรเป็นประเด็นที่ชาติต้องการ เช่น การจัดการการท่องเที่ยวในภาวะวิกฤต (Crisis Management for Tourism) การประเมินและจัดการความเสี่ยงทางการท่องเที่ยว (Risk Assessment and Management  for Tourism) หรือแม้แต่ การจัดการความปลอดภัยทางการท่องเที่ยว (Tourism Safety Management)  มุมมองของการวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา คงต้องมองประเด็น “เชิงรุก” ในการ “ตั้งรับ” กับวิกฤตที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหรือได้เกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเราต้องมีความแม่นยำในการ “คาดการณ์” และวิจัยล่วงหน้าเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่อาจคาดคิดกับอุตสาหกรรมที่อ่อนไหวนี้
 

 
จาก “มูลค่า” สู่ “คุณค่า” จาก “พ่อค้า” สู่ “ญาติมิตร” ฝ่าวิกฤตการท่องเที่ยวไทย  ใครคือผู้รับผิดชอบการท่องเที่ยวกันแน่
จาก “มูลค่า” สู่ “คุณค่า” จาก “พ่อค้า” สู่ “ญาติมิตร” ฝ่าวิกฤตการท่องเที่ยวไทย  พูดมาถึง สอง การ แล้วตอนนี้ คือ การตลาดการท่องเที่ยว และการศึกษาการท่องเที่ยวที่อาจจะช่วยให้วิกฤตเบาบางลง มาถึงอีกหนึ่งการ คือ การบริหารและจัดการการท่องเที่ยว เราเคยตั้งคำถามบ้างหรือไม่ว่า เวลาเกิดวิกฤตทำไมเห็นแต่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและหน่วยงานรัฐส่วนกลาง และสมาคมการท่องเที่ยวต่างๆ เต้นเป็นระวิง คำถามถามว่า “ผู้ที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในท้องถิ่น” อยู่ไหน โดยเฉพาะองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ถ้ามองแยกส่วน ส่วนที่สำคัญที่สุดที่จะดูแล  พัฒนา และรักษาคุณภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวได้ดีที่สุดคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะเป็นเจ้าของทั้งพื้นที่และทรัพยากร แต่ปัจจุบันกลับพบว่า อปท.อยู่ในภาวะที่อ่อนแอด้านการจัดการการท่องเที่ยว แต่เท่าที่สัมผัสสถานการณ์นี้น่าจะดีขึ้น เพราะมีหลายหน่วยงานเริ่มมีบทบาทกระตุ้น อปท.ให้มีปัญญาในการจัดการท่องเที่ยว โดยเน้นการจัดการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นทับซ้อนก็คือ การแปลงกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวสู่การปฏิบัติ ซึ่งในปัจจุบันพบว่า แม้แต่ตัวชุมชนเองยังไม่เข้าใจการท่องเที่ยว เพราะเมื่อใดก็ตามที่คิดถึงการท่องเที่ยวจะคิดถึง “เงิน” ยังมีมุมมอง “พ่อค้า” ไม่ได้มี “มุมมองของการเป็นเจ้าบ้าน” ที่มาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ รายได้ที่ควรจะเป็นเป็นเพียงผลพลอยได้ และคิดว่า  “หัวใจ” ของการท่องเที่ยวคือการได้เผยแพร่สิ่งดีงามสู่ผู้มาเยือน ชุมชนกลับไม่มีการมีส่วนร่วม ในปัจจุบันจึงร่วมกันเป็นเพียง “พ่อค้า” มากกว่า “การเป็นเจ้าบ้าน” ซึ่งการเป็นเจ้าบ้านนี้แหละที่จะดูแลฐานทรัพยากรและยิ้มรับญาติมิตร
ภาคเอกชนเป็นอีกภาคีหนึ่งที่น่าจะเป็น “กลไก” สำคัญในการก้าวพ้นวิกฤตการท่องเที่ยว กล่าวคือ ในการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยว ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการกระจายรายได้สู่ชุมชน แต่ปัจจุบัน ในความเป็นจริง ภาคเอกชนก็มิได้ปฏิบัติดังที่กล่าวอย่างเต็มที่ มีเพียงแต่การพยายามสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรว่า องค์กรของตนเองนั้นสีเขียว (Green) แต่ถ้าจะให้ดีจริง ต้อง Beyond Green to Transparency ด้วย กล่าวคือ ต้องสร้างความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวด้วย ดังนั้นในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและการเมือง ณ ตอนนี้ คงเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด ที่ภาคเอกชนจะได้มีเวลาในการหันกลับมามองประเด็นดังกล่าว
 

 
จาก “มูลค่า” สู่ “คุณค่า” จาก “พ่อค้า” สู่ “ญาติมิตร” ฝ่าวิกฤตการท่องเที่ยวไทย  หลาย “การ” หลาย “งาน” ที่ต้องเร่งทำ
จาก “มูลค่า” สู่ “คุณค่า” จาก “พ่อค้า” สู่ “ญาติมิตร” ฝ่าวิกฤตการท่องเที่ยวไทย  สำหรับ การ อื่นๆที่ต้องปฏิบัติอย่างเร่งด่วนสำหรับวิกฤตการท่องเที่ยว ณ เวลานี้ที่หลายหน่วยงานได้เสนอไว้ก็คงจะไม่พ้นการยุติความขัดแย้งทางการเมือง เพราะบ้านเมืองใดไร้ความสงบจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีได้อย่างไร มีคำกล่าวไว้ว่า “แหล่งท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลกคือแหล่งที่ผู้อาศัยมีความสุขมากที่สุดในโลก”  ดังนั้นเราคงต้องเร่งสร้างความสุขให้กับคนไทยโดยเร็ว อีกหนึ่ง การ ก็คือ การเงิน คงต้องสร้างสภาวะการต่อลมหายใจให้กับภาคธุรกิจท่องเที่ยวให้สามารถมีเงินกู้ในการเยียวยาภาวะการขาดทุนท่ามกลางวิกฤตนี้ ถ้าภาคธุรกิจอยู่ได้ นั้นหมายถึงจะสามารถป้องกันปัญหาการว่างงานได้อีกทางหนึ่ง การสุดท้ายก็คือ การบิน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการนำผู้โดยสารซึ่งก็คือ นักท่องเที่ยว มาสู่ประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเดิม สถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจและการเมืองในปัจจุบัน ทำให้สายการบินต่างชาติ ลังเลที่จะบินสู่ประเทศไทย เรื่องนี้ก็คงต้องย้อนกลับไปสู่การที่ประเทศไทยต้องพยายามสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจแก่ประชาคมโลก จากที่กล่าวมาหลาย “การ” คงมีหลาย “งาน” ที่ประเทศต้องลงมือ “ทำ” ทำบนฐานปัญญาปฏิบัติ ฐานความรู้ที่เกิดจากความร่วมมือและร่วมใจ ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้
 

 

จาก “มูลค่า” สู่ “คุณค่า” จาก “พ่อค้า” สู่ “ญาติมิตร” ฝ่าวิกฤตการท่องเที่ยวไทย  • เปลี่ยนการมองการท่องเที่ยวว่าเราควรเป็นใคร  “พ่อค้า” หรือ “เจ้าบ้าน” และเลือกคิดว่านักท่องเที่ยวควรเป็น “ลูกค้า” หรือ “ญาติของเรา”
• ส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวที่เน้นการใช้ “ปัญญา” ในการสร้างแบรนด์ ที่ได้มาจาก “ปัญญาปฏิบัติ” มาใช้ในการสร้างภาพลักษณ์ ซึ่งต้องใช้ความละเอียดอ่อน นั้นก็คือ เน้น High Touch (สุนทรียศาสตร์) มากกว่า High Tech  (สินค้าและสิ่งอำนวยความสะดวก) และอัตลักษณ์ (Identity) ที่สะท้อนสังคมไทยที่เป็นสังคมเครือญาติ  (Beyond Brand to Identity)
• เร่งพัฒนาการศึกษาการท่องเที่ยวในระดับอุดมศึกษาของไทย เปลี่ยนจากการใช้หลักคิดตะวันตกหรือยุโรป มาเป็นการค้นหาทฤษฎีและแนวคิดอย่างไทยในการพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยว เน้นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้กับผู้ประกอบการและอาจารย์ต่างมหาวิทยาลัย ส่งเสริมการวิจัยประยุกต์ (applied research) มากกว่าวิจัยพื้นฐาน (basic research) เพราะจะได้นำผลการวิจัยไปใช้ได้ในพื้นที่ ประเด็นวิจัยควรเป็นประเด็นวิจัยเชิงรุก ที่คาดการณ์องค์ความรู้ที่ประเทศไทยต้องการในอนาคตเพื่อการตั้งรับที่ดี
• ขับเคลื่อนการบริหารและจัดการการท่องเที่ยวในท้องถิ่น เน้นการเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะเป็นกลไกสำคัญ ส่งเสริมการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมที่ถูกทาง ส่วนภาคเอกชนก็คงจะต้องคิดถึงการกระจายรายได้สู่ชุมชนด้วยโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในธุรกิจนั้น (Beyond Green to Transparency)
• การเมือง คงต้องเร่งให้เกิดความสงบโดยเร็ว ประเทศไทยจะได้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีความสุข
• การเงิน  ต้องเร่งต่อลมหายใจกับภาคเอกชน มิฉะนั้นจะเกิดวิกฤตการว่างงานของคนในอุตสาหกรรมนี้ตามมา
• การบิน ต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่น  มีมาตรการอำนวยความสะดวกต่อสายการบินต่างชาติ เพื่อให้สามารถนำนักท่องเที่ยว มาสู่ประเทศไทยในปริมาณที่ประเทศเราต้องการ
 

 

 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กำลังมีแคมเปญ 7 Amazing Wonders of Thailand  7 การ ด้านบนนี้ หากสามารถทำได้ ประเทศไทยก็คงจะเป็นสวรรค์ชั้นเจ็ด ที่ชาวโลกกลับมาเยือนเหมือนเดิม เป็นสวรรค์แห่งการท่องเที่ยวของโลกที่มีอยู่จริง โปรดมองการท่องเที่ยวในเชิง “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” เปลี่ยนตัวเองจาก “พ่อค้า” สู่ “ญาติมิตร” วิกฤตคงเบาบาง เรา ต้องร่วมมือกัน เพราะวิกฤตมีให้ก้าวข้ามไม่ได้มีไว้ให้ท้อใจ

 แหล่งที่มา :  ประชาคมวิจัย ฉบับที่ 85

อัพเดทล่าสุด