24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551


1,381 ผู้ชม


24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2551  สกว. ได้จัดงานประกาศผลและมอบโล่เกียรติยศให้แก่ผลงานวิจัยที่ได้รับเลือกให้เป็นผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551 จำนวนทั้งสิ้น 24 ผลงานจากงานวิจัย 3 กลุ่มคือ กลุ่มงานวิจัยเชิงวิชาการและโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) 8 ผลงาน  กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา 8 ผลงาน  และกลุ่มงานวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 8 ผลงาน
ในการคัดเลือกผลงานเด่น สกว. ใช้เกณฑ์พิจารณาหลัก 3 ข้อคือ
• งานวิจัยนั้นต้องได้ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ต้องมีการนำไปใช้ประโยชน์
• ต้องเกิดหรือมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดผลกระทบทางบวกในวงกว้าง
• นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของวงการนั้น ๆ

 

 

 8 ผลงานเด่นกลุ่มงานวิจัยและพัฒนา
มุ่งเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  โครงการความมั่นคงศึกษา
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  หัวหน้าโครงการ :   รศ.ดร.สุรชาติ  บำรุงสุข
    
คณะรัฐศาสตร์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นักวิจัยชุดวิจัยความมั่นคงชายแดน :
1. พลตรี นพดล   โชติศิริ    รองเจ้ากรมแผนที่ทหาร  
ศึกษาเรื่องเขตแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน : ประเด็นและปัญหา
2. ดร. ธัญญาทิพย์ ศรีพนา  นักวิจัยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
ศึกษาเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ของเส้นทางคมนาคมใหม่ : ศึกษากรณีเส้นทางหมายเลข 9
3. ผศ. ดร. ศุภมิตร ปิติพัฒน์  คณะรัฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
ศึกษาเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับพรมแดน เขตแดน และชายแดน จากมุมมองด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  
4. พันตำรวจตรี ดร. อิศราวุธ  อ่อนน้อม สารวัตรกลุ่มงานวิจัยและพัฒนา โรงเรียนนายร้อยตำรวจ  
ศึกษาเรื่องการควบคุมเขตแดน
5. อาจารย์ ดลยา เทียนทอง  นักวิจัยสถาบันเอเชียศึกษา  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
ศึกษาเรื่องภูมิรัฐศาสตร์การพัฒนา : การพัฒนาพื้นที่ร่วมและความมั่นคงชายแดนไทย  
6. คุณธนา ยศตระกูล นักวิจัยและผู้ช่วยหัวหน้าโครงการความมั่นคงศึกษา  
ศึกษาเรื่องอาชญากรรมข้ามแดน
ที่ปรึกษาโครงการ : พลโท สุรพล เผื่อนอัยกา   เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
  พลเรือโท อมรเทพ ณ บางช้าง เจ้ากรมสื่อสารทหาร
  พลโท วุฒินันท์ ลีลายุทธ   เจ้ากรมสารบรรณทหาร
  พลโท ภราดร พัฒนถาบุตร   รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
การศึกษาวิจัยเรื่องความมั่นคงของประเทศในบริบททางภูมิรัฐศาสตร์ ควบคู่กับการเผยแพร่ประเด็นความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการติดตามสถานการณ์ความมั่นคงทั้งหลาย เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในกรณีของความขัดแย้งเรื่องเส้นเขตแดน การแย่งชิงทรัพยากรตามแนวชายแดน และความสัมพันธ์ไทยกับเพื่อนบ้านที่มีปัญหา  โครงการความมั่นคงศึกษาจึงได้จัดทำชุดวิจัยเรื่อง “ความมั่นคงชายแดนไทย” (Thai Border Security) ขึ้น ซึ่งการวิจัยชุดนี้เป็นโครงการวิจัยระยะสั้น (6 เดือน) มีหัวข้อการศึกษาจำนวน 6 เรื่อง พร้อมทั้งได้จัดทำจุลสารความมั่นคงศึกษา และมีการจัดการสัมมนาในประเด็นปัญหาเรื่องความมั่นคงเพื่อประเมินสถานการณ์และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจแก่หน่วยงานความมั่นคง รวมถึงสาธารณชนด้วย
 

 

 จากการดำเนินงานที่ผ่านมา มีหน่วยงานความมั่นคงต่างๆ ได้นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ทั้งในระดับนโยบายและระดับการปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่ อาทิ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กรมข่าวของเหล่าทัพต่างๆ หน่วยการศึกษาของเหล่าทัพ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กองบัญชาการตำรวจสันติบาล  
นอกจากนี้ยังมีการจัดเสวนาประเด็นความมั่นคง อาทิ กรณีของวิกฤตเขาพระวิหาร  การแสวงหาทางออกกรณีพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา รวมถึงแนวคิดในเรื่องการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้  ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากทั้งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชน  ขณะเดียวกันการเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะโดยผ่านจุลสารความมั่นคงศึกษาตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 -ปัจจุบัน (พ.ย. 2551) ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากหน่วยงานความมั่นคง การเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์รายวัน รวมถึงการเผยแพร่ในเว็บไซต์ เช่น ศูนย์อิศรา กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 (กอ. รมน. ภาค 4) และรัฐสภา เป็นต้น
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  การพัฒนาไก่ประดู่หางดำเพื่อเกษตรกรและผู้ประกอบการ
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  หัวหน้าโครงการ : คุณอุดมศรี  อินทรโชติ   กรมปศุสัตว์
นักวิจัย :  คุณอำนวย   เลี้ยวธารากุล ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่  กรมปศุสัตว์
ปัจจุบันการหาไก่พื้นเมืองไทยสายพันธุ์หรือพันธุ์แท้เป็นเรื่องที่ยาก เพราะเกษตรกรที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองทั่วไปมักจะเลี้ยงและผสมพันธุ์ไก่โดยปล่อยตามธรรมชาติ  ไม่ได้สนใจการแยกพันธุ์หรือสายพันธุ์ หรือแม้แต่ผู้เลี้ยงไก่ชนก็มักจะสนใจเฉพาะไก่ที่ชนเก่ง ไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องสี ขนหรือลักษณะภายนอกต่างๆ  และยังมีการนิยมเอาไก่พื้นเมืองของพม่า เวียดนาม และบราซิล มาผสมกับไก่พื้นเมืองไทย เพื่อประโยชน์ในการชนซึ่งเป็นการทำให้มีการปนเปื้อนและการสูญเสียพันธุกรรมของไก่พื้นเมืองไทย
ผลสำเร็จของโครงการ
1. ได้ฝูงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำพันธุ์แท้ (Pure breed) ของประเทศไทย ที่มีการสร้างพันธุ์ขึ้นมาอย่างเป็นทางวิชาการ มีลักษณะประจำพันธุ์ทั้งลักษณะทางคุณภาพ และลักษณะทางปริมาณ เช่น สัตว์พันธุ์แท้ของนานาชาติ เลี้ยงได้ในสภาพชนบท และมีความสามารถของพันธุ์ในการผลิตไก่พันธุ์แท้ และลูกผสมที่ดีในระดับอุตสาหกรรม  
2. สร้างเครือข่ายฟาร์ม เกษตรกร และผู้ประกอบการไก่ประดู่หางดำ  
  
การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. มีการนำพันธุ์ไก่ ไปใช้ประโยชน์ในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยง และจำหน่ายไก่พื้นเมือง/ลูกผสมพื้นเมืองฯ ทั้งในระดับฟาร์มเอกชนที่เป็นอุตสาหกรรม ฟาร์มของรัฐบาล จนถึงระดับเกษตรกร  
2. ก่อให้เกิดอาชีพที่เกี่ยวกับไก่พื้นเมือง ทั้งผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง ผู้เชือดชำแหละ และผู้ขายไก่ในตลาด โดยได้สร้างเครือข่ายฟาร์ม เกษตรกรเลี้ยงไก่ประดู่หางดำ และเครือข่ายผู้จำหน่ายไก่ประดู่หางดำ ซึ่งในอนาคตคาดว่าจะมีการขยายไปในวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ  
3. สร้างการอนุรักษ์พันธุ์โดยให้ไก่ประดู่หางดำกลับไปสู่ถิ่นกำเนิดเดิม ในรูปเครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงไก่ประดู่หางดำของกรมปศุสัตว์ คือนอกจากเก็บรักษาพันธุ์แท้ไว้ในเป็นฝูงต้นพันธุ์แล้ว ได้มีการกระจายไก่พันธุ์แท้เหล่านี้ กลับไปสู่หมู่บ้านต่างๆ
4. มีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำพันธุ์แท้ จากขั้นตอนการผลิตไก่ จนไปสู่ผู้บริโภค ดังนี้  
- ผู้เลี้ยงไก่ขุน ตั้งแต่แรกเกิด ถึงน้ำหนักจำหน่ายที่อายุ 12 สัปดาห์ (น้ำหนัก 1.2 กก.) ต้นทุนการผลิต 56 บาท/กก. จำหน่าย  70 บาท/กก. มีกำไรตัวละ 16.8 บาท คิดเป็นมูลค่าเพิ่ม 25 เปอร์เซ็นต์
- ผู้ชำแหละไก่  ไก่หลังชำแหละมีน้ำหนักเหลือพร้อมจำหน่ายเหลือประมาณร้อยละ 88, ต้นทุน 70 บาท/กก. จำหน่าย 95 บาท/กก. มีกำไรตัวละ 16.3 บาท คิดเป็นมูลค่าเพิ่ม 19 เปอร์เซ็นต์
- ผู้ขายไก่สดในตลาด จำหน่าย 120 บาท/กก. มีกำไรตัวละ 26.4 บาท คิดเป็นมูลค่าเพิ่ม 26 เปอร์เซ็นต์
            5. สร้างอาชีพที่มีความยั่งยืนในชนบท โดยอาศัยหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่เกษตรกรสามารถผลิตพันธุ์ได้เอง ใช้อาหารและวิธีการเลี้ยงแบบท้องถิ่น บนพื้นฐานพันธุ์ไก่ที่ถูกพัฒนาให้สามารถอยู่ได้ในสภาพการเลี้ยงของประเทศไทย ทำให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนมากขึ้นในอนาคต
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ฐานความรู้เรื่อง REACH สร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมไทยรับมือกับ NTB
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ดำเนินการวิจัยโดย :  รศ.ดร.วราพรรณ   ด่านอุตรา   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะ
    
ดร.พงษ์วิภา   หล่อสมบูรณ์     และคณะนักวิจัย   สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
ปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย และขณะเดียวกันเศรษฐกิจโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีแนวโน้มในการให้ความสำคัญต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเฉพาะสหภาพยุโรปซึ่งเป็นตลาดส่งออกสินค้าหลักของไทย ได้ตรากฎหมายสารเคมี หรือ “REACH” เพื่อคุ้มครองสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมี โดยกำหนดให้มีการจดทะเบียนสารเคมี หรือสารเคมีในผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหรือนำเข้าในปริมาณมากกว่า 1 ตันต่อปีต่อราย จึงอาจสร้างภาระและอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าไทยไปยังตลาดสหภาพยุโรปนับจากปี 2552  
ผลสำเร็จของโครงการ
จากฐานความรู้เรื่อง REACH ผลิตสาระความรู้ทั้งเนื้อหา กลไก และเสริมสร้างความสามารถให้ผู้ประกอบการและหน่วยงานรัฐอย่างต่อเนื่อง ดังนี้  
1. ได้สาระความรู้กฎหมาย REACH และความเคลื่อนไหวพัฒนาการ การดำเนินงานสหภาพยุโรป ความรู้เชิงเทคนิคสำหรับการดำเนินการตามข้อกำหนดของกฎหมาย ข้อมูลผลกระทบและความพร้อมของผู้ประกอบการไทยในการรับมือกับร่างกฎหมาย REACH ในสายโซ่อุปทานอุตสาหกรรมการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรปสูงในลำดับต้นๆ คือ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง จนได้ข้อเสนอการเตรียมความพร้อมต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมไทย และแนวทางการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับการประกาศใช้กฎหมาย REACH  
2. ได้พัฒนาเว็บไซด์ REACH Watch และ REACH Coach (www.chemtrack.org) และเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงในการให้ความรู้แก่ผู้สนใจในวงกว้าง รวมไปถึงผู้ประกอบการไทยนำไปใช้สำหรับการเตรียมพร้อมในการส่งออกสินค้า    
3. จัดตั้ง REACH Help Desk ขึ้นที่ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้บริการด้านข้อมูลกฎหมาย REACH และวิธีปฏิบัติด้านเทคนิคแก่บุคลากรของอุตสาหกรรมเป้าหมาย และภาครัฐโดยประชุมเชิงปฏิบัติการและ in-house training ไม่น้อยกว่า 1,500 คน  
การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ฐานความรู้เรื่อง REACH เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานรัฐและผู้ประกอบการในการเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้กับอุตสาหกรรมไทย อาทิ
• กระทรวงอุตสาหกรรม จัดทำมาตรการเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมไทยในการแข่งขันภายใต้กฎระเบียบสหภาพยุโรป  
• สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดทำกรอบพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระยะยาวให้กับอุตสาหกรรมสิ่งทอ  
• บริษัทรายใหญ่ แต่งตั้งตัวแทนหนึ่งเดียวเพื่อจัดการจดทะเบียนสารเคมีและจดทะเบียนสารเคมีล่วงหน้าที่ผลิตอย่างน้อย 15 รายการ  
• ผู้ประกอบการจัดตั้งกลุ่มงานภายในองค์กรเพื่อดูแลจัดการเรื่องการส่งออก และสร้างความตระหนักรับรู้ตลอดสายโซ่อุปทานการผลิต
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  อบต. กับการจัดการน้ำบนฐานความรู้
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ดำเนินการวิจัยโดย :  รศ.ดร.สุจริต   คูณธนกุลวงศ์    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และคณะ
ใช้หลักการสร้างธรรมาภิบาลในการจัดการน้ำเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภาคเกษตร ชุมชนเมือง และภาคอุตสาหกรรม เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาความขาดแคลนและความขัดแย้งจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรน้ำร่วมกัน  โดยแนวคิดของมิติลุ่มน้ำและผู้ใช้น้ำที่นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้และข้อมูลทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานของน้ำในพื้นที่ เพื่อพื้นที่ และจัดการโดยคนในพื้นที่  
ผลงานสำเร็จของโครงการ  
1. ข้อมูลการวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของชุมชนและศักยภาพของพื้นที่ในเรื่องราวของการจัดการน้ำในระดับชุมชนอย่างมีความหมาย และความเชื่อมั่นของประชาชนต่อข้อมูลทรัพยากรน้ำ
2. ระบบสารสนเทศที่สามารถใช้รายงานสถานการณ์น้ำ และคาดการณ์สถานการณ์น้ำล่วงหน้า วิเคราะห์แนวทางการจัดสรรน้ำ เพื่อช่วยในการตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำคลองใหญ่ จังหวัดระยอง โดยสามารถเข้าสู่ระบบได้ในชื่อ www.cuwater.org    
การนำไปใช้ประโยชน์และผลกระทบต่างๆ
1. องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 8 แห่ง ในลุ่มน้ำคลองใหญ่ จ.ระยอง สามารถใช้งานข้อมูลในระบบที่พัฒนาขึ้นเป็นเครื่องมือสนับสนุนการดำเนินงาน เช่น  
- อบต.ตะพง ใช้ข้อมูลด้านประปา เกษตร และปริมาณน้ำจากแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ ซึ่งบ่งชี้ว่าสถานการณ์ของตำบลในช่วงฤดูแล้งมีแนวโน้มขาดแคลนน้ำ สามารถยื่นขออนุมัติต่อจังหวัดเพื่อประกาศเป็นเขตพื้นที่ภัยพิบัติแล้ง  
- อบต.ละหาร ใช้ประโยชน์ข้อมูลจากระบบสารสนเทศฯ นำไปประกอบการพิจารณาวางแผนงบประมาณของตำบลด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ  
2. จังหวัดระยอง ใช้ระบบสารสนเทศฯ ในการวางแผนรับมือกับวิกฤตการณ์ขาดแคลนน้ำในอนาคต และเป็นข้อมูลเพื่อสร้างทางเลือกของการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการพัฒนาจังหวัด
3. จังหวัดอื่นๆ สามารถนำรูปแบบไปขยายผลเพื่อยกระดับความสามารถในการจัดการน้ำลุ่มน้ำในพื้นที่ และจัดการโดยคนในพื้นที่  เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น โดยอาศัยข้อมูล เครื่องมือสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ  
4. หน่วยงานระดับนโยบาย เช่น กรมทรัพยากรน้ำ สามารถขยายผลการนำรูปแบบของการจัดการทรัพยากรน้ำเชิงพื้นที่ผนวกเข้ากับระบบบริหารจัดการด้านนโยบายในรูปแบบการจัดการ “จากพื้นที่สู่นโยบาย”  
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  นวัตกรรมการจัดการความรู้ขององค์กรทางการศึกษา
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ดำเนินการวิจัยโดย :  ผศ.ดร.เลขา   ปิยะอัจฉริยะ  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษา  และคณะ
ใช้การจัดการความรู้ (KM) เป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการคุณภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) 17 แห่ง และสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 78 แห่ง รวม 95 องค์กรใน 17 จังหวัด โดยการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กรให้สอดคล้องกับบริบทองค์กรบนฐานความรู้ปฏิบัติของบุคลากร  
ผลสำเร็จของโครงการ
ผลงานเชิงปริมาณ
• ได้รูปแบบการจัดการความรู้ของ สพท. และสถานศึกษา 95 รูปแบบ ใน 3 กลุ่มรูปแบบ คือ รูปแบบวงจรความรู้ (Prescriptive model)  รูปแบบขั้นตอนการจัดการความรู้ (Descriptive model)  และรูปแบบผสมผสาน (Mixed model)  
• ได้สื่อเผยแพร่และขยายผลการจัดการความรู้ ประกอบด้วย เอกสารสรุปองค์ความรู้การจัดการความรู้จากกิจกรรมของโครงการ 40 ชิ้น และวีซีดีแบบปฏิบัติที่ดีที่เชื่อมโยงผลการดำเนินงานของ สพท. และโรงเรียน  
• ได้นักจัดการความรู้ 600 คน เครือข่าย 178 แห่ง และเครือข่ายต้นแบบ 28 แห่ง
• ได้บล็อก 2 กลุ่ม คือ www.gotoknow.org/planet/edkm  และ www.gotoknow.org/planet/erkm  ของระดับบุคคลและองค์กร รวม 147 บล็อก  
• ได้โรงเรียนขยายผล 1,687 แห่ง หรือร้อยละ 50 ของจำนวนโรงเรียนใน สพท.เป้าหมายการวิจัย
ผลงานเชิงคุณภาพ
• องค์กรเป้าหมายการวิจัยเข้าถึงความรู้ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในองค์กร โดยได้นำมาจัดการร่วมกับความรู้จากภายนอกองค์กรโดยการแลกเปลี่ยนความรู้ เรียนรู้เป็นทีม ริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ปฏิบัติใหม่ ประมวล สรุป บันทึก และนำไปใช้ต่อ
• ครูและบุคลากรทางการศึกษากระตือรือร้นในการถ่ายโอนความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติร่วมกับผู้สนใจในองค์กรของตนและองค์กรการศึกษาอื่น ทำให้เกิดการขยายวงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง
• มีการแก้ปัญหาเร่งด่วนของผู้เรียน นำแบบปฏิบัติที่ดีมาต่อยอดการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านการอ่าน ทำให้จำนวนนักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออกลดลง และลายมือดีขึ้น มีนักเรียนใช้ห้องสมุดมากขึ้น  มีคุณธรรม และมีนวัตกรรมทางความคิดเพิ่มมากขึ้น  
• การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูด้วยการจัดการความรู้ ทำให้ครูมีความมั่นใจและมีทัศนคติที่ดีต่อกัน เปลี่ยนทัศนคติการทำงานจาก “ไม่รู้จะทำอย่างไร ทำไม่ได้” เป็น “ถ้าจะทำให้ได้ จะเรียนรู้อย่างไร” ได้แบบปฏิบัติที่ดีเยี่ยม ครูทุกกลุ่มสาระมีสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน ครูและนักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการใช้คอมพิวเตอร์  เกิดเครือข่ายการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของครู
การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
• สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดสรรงบประมาณ 18.99 ล้านบาท สนับสนุนการขยายผลการจัดการความรู้ของโครงการไปใช้ในการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพงานของสพท. 178 เขตพื้นที่ และโรงเรียนในฝัน รุ่นที่ 1 รวม 414 โรงเรียน ซึ่งคณะวิจัยได้พัฒนาวิทยากรแกนนำนักจัดการความรู้ให้แก่ สพฐ. เพื่อสนับสนุนการขยายผล ประกอบด้วยศึกษานิเทศก์จาก 45 เขตพื้นที่การศึกษา และนักวิชาการจากสำนักพัฒนานวัตกรรมการศึกษา รวม 60 คน  
• สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้นำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์การส่งเสริมการใช้การจัดการความรู้ในภาคการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งข้อค้นพบและผลจากโครงการวิจัยเสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการผ่านคณะกรรมการสภาการศึกษา (กกศ.) และได้ดำเนินโครงการประเมินผลการจัดการความรู้ขององค์เป้าหมายต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2552  
• ทีมวิจัยร่วมกับมูลนิธิเพื่อพัฒนาการศึกษาไทย ขยายผลการเรียนรู้การจัดการความรู้ไปสู่องค์กรปกครองท้องถิ่นและภาคประชาสังคม ผ่านการทำงานโครงการประสานพลังปัญญาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน โดยมีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นผู้สนับสนุนทุนการทำงาน
• สกศ. มอบหมายให้ทีมวิจัยเข้าร่วมการสัมมนาการวิจัยทางการศึกษาไทย-มาเลเซีย ครั้งที่ 1 (The 1st Malaysia – Thailand Joint Educational Research Conference 2008) โดยเป็นผู้นำเสนอผลงานในหัวข้อ “Research – Driven Education Reforms : Vision for the Future” การประชุมนี้ จึงนับเป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับประเทศ ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานระหว่างรัฐไทยและมาเลเซีย ซึ่งคาดว่าจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยร่วมกันต่อไป
 

 

24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  
 

 

24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  
 

 

 โรงเรียนบ้านแค เริ่มต้นกระบวนการจัดการความรู้โดยกำหนดหัวปลาหรือเป้าหมายจากการวิเคราะห์ต้นทุนเดิม วิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงเรียน และจัดทำ SWOT จากนั้นใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยเรื่องเล่าเร้าพลัง ค้นหา best practices และนำมาจัดทำโครงการต่างๆ ฉะนั้น โครงการต่างๆ และชุมชนนักปฏิบัติจัดการความรู้ก่อเกิดจากเรื่องเล่าเร้าพลัง และนำไปปฏิบัติจริง นำไปดำเนินกิจกรรมกับผู้เรียน และกลับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันใหม่ เวียนไปเรื่อย ๆ พร้อมกับบันทึกความรู้ลงในคลังความรู้ของโรงเรียน บางครั้งขยายผลไปถึงเรื่องอื่น ๆ กระทั่งเกิดเป็นชุมชนของคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน เช่น ชุมชนคนทำหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุมชนการสอนภาษาไทย ภาพความสำเร็จของโรงเรียน คือได้รับการรับรองการประเมินภายนอกรอบสอง สมศ. ปี 2550 ครูผู้สอนได้รับคัดเลือกให้เป็นครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ดีเด่นเครือข่ายอำเภอจะนะ และนวัตกรรมหนังสืออ่านเพิ่มเติม ได้รับคัดเลือกให้เป็นนวัตกรรมดีเด่นในงานมหกรรมวิชาการเครือข่ายอำเภอจะนะ
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง
 ดำเนินการวิจัยโดย :  รศ.ดร.ก้าน   จันทร์พรหมมา   และคณะ    
    
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
 

 

24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  
 

 

 ผลสำเร็จของโครงการ
1. โครงการได้เชื่อมโยงความรู้และภาคีที่เกี่ยวข้องมาร่วมกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ ระหว่างรัฐ-ชุมชน และชุมชน-ชุมชน สร้างทางเลือกการปรับตัวด้านอาชีพให้กับคนในชุมชน รวมทั้งเกิดเครือข่ายพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง ประกอบด้วย ชุมชนในพื้นที่ 93 ตำบล สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. มีบทบาทในการให้ข้อมูลสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ต่อเนื่องในทุกระดับ เช่น สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) กองอำนวยการโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  อบต.ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ศูนย์อำนวยการและประสานการพัฒนาโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้นำข้อมูลที่โครงการค้นพบไปใช้วางแผนบริหารจัดการ และปรับวัตถุประสงค์หลักของการเปิดปิดประตูระบายน้ำ เพื่อการปรับสมดุลของระบบนิเวศ  
3. การเปิดปิดประตูระบายน้ำได้ให้ความสำคัญกับวิถีการผลิตของชุมชนเพิ่มมากขึ้นตามเสียงสะท้อนของชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อสนับสนุนความต้องการใช้น้ำตามฤดูกาลผลิต อันเป็นการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง  
4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ใช้ข้อมูลของโครงการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง เช่น  สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำผลการวิจัยไปใช้สนับสนุนการจัดทำแผนบริหารจัดการและฟื้นฟูพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง / การวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการ “การกำหนดแนวทางการพัฒนาส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร (การทำนาข้าว) ในพื้นที่ตำบลปากแพรก ขนาบนาก บ้านเพิง และท่าพญา ปีงบประมาณ 2551-2556” การวางแผนและสนับสนุนการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการพัฒนาอาชีพและคณะอนุกรรมการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ในการส่งเสริมการปลูกข้าวเพื่อการค้า การจัดตั้งนิคมทางการเกษตรพืชอาหารและพืชพลังงาน การจัดทำแผนพัฒนาอาชีพ และแผนพัฒนาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาอาชีพในภาพรวมของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ โครงการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรของอำเภอปากพนัง การจัดทำแผนบูรณาการพัฒนาการเกษตร  
5. กระบวนการวิจัยก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูล และปรับทัศนคติการทำงานจากเดิมที่เป็นการบริหารจัดการแบบบนลงล่าง มาเป็นการรับฟังความเห็นและความต้องการจากชาวบ้านในพื้นที่และใช้ข้อมูลจากงานวิจัยประกอบการจัดทำแผนงานและนโยบายเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาให้ชุมชนในพื้นที่ เช่น กรณีพื้นที่ไร่จากตำบลขนาบนาก ถูกน้ำเค็มท่วมขัง ทำให้ผลผลิตลดลง ศูนย์อำนวยการฯ จึงมอบหมายให้โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลุ่มน้ำปากพนังตอนล่าง สำนักชลประทานที่ 15 จัดทำโครงการช่วยเหลือพื้นที่ป่าจาก โดยก่อสร้างท่อลอดถนนอัดน้ำและอาคารอัดน้ำ (เรือสัญจร) กระจายในพื้นที่ รวม 17 แห่ง โดยชุมชนเจ้าของพื้นที่จะเป็นผู้บริหารจัดการระบบดังกล่าวร่วมกับโครงการ
6. ในระดับชุมชนได้เกิดการเรียนรู้ เกิดการปรับตัวเพื่อสร้างทางเลือกในด้านอาชีพ และการยกระดับคุณภาพชีวิต เช่น การรวมกลุ่มชาวนาบ้านบางลึกซึ่งล้มเหลวจากการทำนากุ้งมาทำนาแบบชีวภาพบนพื้นที่กว่า 2,000 ไร่ โดยศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวนครศรีธรรมราชสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าว  ชุมชนขนาบนากได้พัฒนาอาชีพให้เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่จากที่ทำน้ำตาลจากเป็นอาชีพหลักมาทำนาควบคู่กันเป็นการลดความเสี่ยงจากการผลิตเชิงเดี่ยว ใช้ภูมิปัญญาผสมผสานกับเทคนิคการทำนาแบบใหม่จากโรงเรียนชาวนา โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเกษตรอำเภอปากพนัง  สถานีพัฒนาที่ดิน เป็นต้น ให้การสนับสนุน กระทั่งปัจจุบันได้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำนาแบบอินทรีย์ให้กับชุมชนอื่น ชุมชนป่าพรุคลองค็องจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นอาชีพเสริม  และการรวมตัวตั้งกลุ่มออมทรัพย์ของชุมชนบ้านท้องโกงกาง  
7. ปัจจุบันโครงการได้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการวางแผนบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง โดยอยู่ระหว่างการทดสอบระบบที่ตำบลขนาบนาก และ กปร. มีแผนงานที่จะสนับสนุนโครงการ “การจัดการฐานข้อมูลและองค์ความรู้เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของศูนย์อำนวยการและประสานการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” เพื่อต่อยอดและขยายผลจากงานโครงการ
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  แคบหมูกึ่งสำเร็จรูปด้วยไมโครเวฟ
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ดำเนินการวิจัยโดย  :  อาจารย์ อรทัย    บุญทะวงศ์
    
คณะวิชาเทคโนโลยีการอาหาร  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  วิทยาเขตลำปาง
การผลิตแคบหมูจากวิธีเดิมใช้วิธีการทอดที่อุณหภูมิสูง ทำให้น้ำมันที่ใช้ทอดเสื่อมคุณภาพเร็ว และผู้ขายมักใช้น้ำมันทอดซ้ำ ส่งผลให้น้ำมันเกิดการสลายตัวได้เป็นสารอะครีลีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง แคบหมูเกิดกลิ่นหืนในขณะการเก็บรักษาทำให้สินค้าวางจำหน่ายได้ไม่นาน  จึงได้เกิดการพัฒนาการผลิตแคบหมูกึ่งสำเร็จรูปสำหรับไมโครเวฟขึ้นมา
ผลสำเร็จของโครงการ
ได้รูปแบบการผลิตภัณฑ์แคบหมูกึ่งสำเร็จรูปที่สามารถทำให้พองตัวโดยนำไปอบในเตาไมโครเวฟที่ความร้อน  800-1,000 วัตต์  เป็นเวลา 1-3 นาที  โดยลักษณะคุณภาพของแคบหมูที่ได้ไม่แตกต่างกับแคบหมูที่ใช้วิธีการทอดในน้ำมัน  จากการทดสอบผู้บริโภคทั่วไป พบว่าผลิตภัณฑ์ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทั่วไป และมีความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์  เนื่องจากผลิตภัณฑ์ไม่ใช้น้ำมันทอด จึงมีปริมาณไขมันในแคบหมูลดลง  โดยผลิตภัณฑ์แคบหมูหลังการอบด้วยเตาไมโครเวฟมีปริมาณไขมันลดลงร้อยละ 10-35 เมื่อเทียบกับแคบหมูที่ผ่านการทอดที่มีจำหน่ายทั่วไป  นอกจากนี้  โครงการได้จดอนุสิทธิบัตรและได้รับคำขอเลขที่ 0803000049 จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา  กระทรวงพาณิชย์  แล้ว
การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์  
1. ผลิตภัณฑ์แคบหมูกึ่งสำเร็จรูปสำหรับไมโครเวฟ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปผลิตเพื่อทำเป็นธุรกิจการค้าต่อไปในกลุ่มชุมชน  ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดย่อม (Small Medium Enterprise, SMEs) และประชาชนทั่วไปที่สนใจ   โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างหาผู้ที่ต้องการลงทุนเพื่อทำเป็นธุรกิจการค้าต่อไป
2. จากการนำเสนอผลงานวิจัยต่อสาธารณะ พบว่ามีผู้ให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์เป็นจำนวนมาก ทั้งด้านความต้องการนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อทำเป็นธุรกิจการค้าต่อไป  และความต้องการที่จะซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อบริโภคหากมีการจำหน่าย  โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการคัดเลือกบริโภคอาหาร และให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพ ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงในการที่จะมีการผลิตแคบหมูกึ่งสำเร็จรูปสำหรับไมโครเวฟในระดับอุตสาหกรรมและจำหน่ายทั่วไป
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  แผ่นยางธรรมชาติปูพื้นในคอกปศุสัตว์
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ดำเนินการวิจัยโดย :   รศ.ดร.สมเกียรติ  ประสานพานิช
      
ภาควิชาสัตวบาล  คณะเกษตร  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  และคณะ
เกษตรกรที่เลี้ยงโคนมในประเทศไทยร้อยละ 90 มักจะเลี้ยงโคไว้ในคอกที่เป็นพื้นคอนกรีตแข็ง ทำให้กีบเท้าและข้อเข่าของโคต้องเสียดสีกับพื้นคอนกรีตแข็ง จึงเกิดอาการบาดเจ็บและอักเสบ มีผลต่อสุขภาพโคและผลผลิต นอกจากนั้นเกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลการบาดเจ็บของโคอีกด้วย ฉะนั้นการจัดการพื้นคอกเพื่อให้โคไม่บาดเจ็บโดยการนำแผ่นยางปูพื้นผลิตจากยางธรรมชาติมาใช้ในคอกเลี้ยงโคก็เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถลดการบาดเจ็บจากขาและกีบโค ซึ่งจะลดการสูญเสียผลผลิตจากการบาดเจ็บลงได้
ผลสำเร็จของโครงการ
พบว่าสูตรยางที่ใช้ CaCO3 เป็นสารตัวเติมในปริมาณ 250 ส่วนต่อยาง 100 ส่วน (phr) ได้แผ่นยางปูพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากภายหลังการนำไปใช้ นอกจากนี้ยังมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำลงประมาณร้อยละ 10-15 ซึ่งอยู่ในระดับที่ผู้ผลิตยอมรับได้ ส่วนผลทดสอบการใช้แผ่นยางปูพื้นในคอกโค พบว่าอาการบาดเจ็บของกีบและขาของโคลดลง นอกจากนั้นยังพบว่าโคมีพฤติกรรมชอบอยู่บนพื้นยางมากกว่าพื้นคอนกรีต ทำให้เกิดผลดีต่อสรีระร่างกายสัตว์ตามหลักการสวัสดิภาพสัตว์(Animal welfare) และพบว่าโคกินอาหารได้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.4 และผลผลิตนมเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4.85 ทำให้มีรายได้จากการจำหน่ายนมเพิ่มขึ้นวันละร้อยละ 5.93  
การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. ได้ขยายผลการใช้แผ่นยางปูพื้นในคอกโคนมในฟาร์มสาธิตของเกษตรกร 2 ฟาร์ม คือ ปังปอนด์ฟาร์ม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม และ เรวัติฟาร์ม อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี  และจากการบรรยายพิเศษให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม พบว่าเกษตรกรยอมรับการใช้แผ่นยาง และกำลังติดต่อสหกรณ์โคนมเพื่อเตรียมการนำมาใช้ในฟาร์มต่อไป  
2. ทำให้เพิ่มการใช้ยางพาราในอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ยางขึ้นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยสามารถเพิ่มมูลค่าของยางพาราในรูปยางดิบขึ้นมากกว่า 2 เท่าขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคายางพารา โดยบริษัท สยามยูไนเต็ดรับเบอร์ จำกัด ผู้ร่วมสนับสนุนการวิจัย สามารถใช้ผลงานวิจัยผลิตแผ่นยางจำหน่ายภายในประเทศและจำหน่ายในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในยุโรป  
3. ทำให้เกิดแนวคิดการวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากยางพาราที่จะใช้เป็นอุปกรณ์ในการเลี้ยงสัตว์อีกหลายๆอย่าง เช่น รองเท้าสำหรับโคที่เป็นแผลที่กีบเท้า พื้นคอกสำหรับแม่สุกรเลี้ยงลูก ซึ่งคาดว่าสามารถลดการเกิดบาดแผลที่ข้อเข่าของลูกหมู และที่หัวไหล่ของแม่หมู ที่เกิดจากการเสียดสีกับพื้นคอกคอนกรีต
 

 

 8 ผลงานเด่นกลุ่มงานวิจัยวิชาการและโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.)
เป็นงานที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่และนำไปต่อยอดได้
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  การประเมินสายพันธุ์ถั่วลิสงผ่านแบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ดำเนินการวิจัยโดย :  ศ.ดร.อารันต์   พัฒโนทัย     ภาควิชาพืชไร่   คณะเกษตรศาสตร์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  
นาย จักรัตน์   อโณทัย          นักศึกษา คปก. รุ่นที่ 5
การประเมินความดีเด่นของสายพันธุ์พืชโดยนำแบบจำลองการเจริญเติบโตของพืชมาใช้ ต้องมีการหาค่าสัมประสิทธิ์ประจำพันธุ์ของแต่ละสายพันธุ์  จำเป็นต้องมีกระบวนการทดสอบในหลายสถานที่  ใช้เวลาและทรัพยากรเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงต้นของการทดสอบพันธุ์ มีสายพันธุ์ที่ต้องทดสอบเป็นจำนวนมาก และเมล็ดพันธุ์มีน้อย การทดสอบจึงทำได้ในวงจำกัด รวมทั้งการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับลักษณะต่างๆของพืช จะต้องใช้ตัวอย่างเป็นจำนวนมาก  
การพัฒนาวิธีการประเมินสายพันธุ์ถั่วลิสงผ่านแบบจำลองการเจริญเติบโตของพืชเพื่อศึกษาลักษณะที่น้อยที่สุดที่จะต้องเก็บข้อมูลจากแปลงทดลอง ในการประมาณค่าสัมประสิทธิ์ประจำพันธุ์ถั่วลิสงสำหรับใช้กับแบบจำลอง และศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของถั่วลิสง ซึ่งใช้ค่าสัมประสิทธิ์ประจำพันธุ์ที่ได้จากข้อมูลจำนวนจำกัด ช่วยในการประเมินศักยภาพในการให้ผลผลิตในหลายสภาพแวดล้อมของสายพันธุ์ถั่วลิสง  
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า สามารถประมาณค่าสัมประสิทธิ์ประจำพันธุ์ถั่วลิสงซึ่งต้องใช้กับแบบจำลองได้ โดยใช้ข้อมูลที่เก็บจากแปลงทดลองเพียงไม่กี่ลักษณะ และค่าสัมประสิทธิ์ที่ได้ก็สามารถใช้ทำนายผลผลิตของสายพันธุ์ถั่วลิสงในหลายสภาพแวดล้อมได้ทำให้นักปรับปรุงพันธุ์พืช สามารถใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช ช่วยในการประเมินความดีเด่นของสายพันธุ์ได้ตั้งแต่ช่วงต้น ๆ ของการทดสอบพันธุ์  ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการทดสอบสายพันธุ์ในหลายสถานที่ลงได้มาก  อีกทั้งช่วยขยายขอบเขตของสภาพแวดล้อมที่ทดสอบได้กว้างขวาง ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนปีที่ทดสอบ อันจะทำให้การคัดเลือกพันธุ์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และวิธีการนี้สามารถนำไปใช้กับพืชอื่น ๆ และในประเทศอื่น ๆ ได้ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่องานปรับปรุงพันธุ์พืชอย่างกว้างขวาง  
ผลงานดังกล่าวได้ลงพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มี impact factor 2 เรื่อง ได้แก่  
1. Anothai, J., Patanothai, A., Pannangpetch, K., Jogloy, S., Boote, K.J., Hoogenboom, G.,  2008. Reduction in data collection for determination of cultivar coefficients for breeding application. Agric. Syst. 96, 195–206. (Impact factor 2006 = 1.378).  
2.Anothai, J., Patanothai, A., Pannangpetch, K., Jogloy, S., Boote, K.J., Hoogenboom, G.,  2008.  Multi-environment evaluation of peanut lines by model simulation with the cultivar coefficients derived from a reduced set of observed field data. Field Crops Res. (In press). doi:10.1016/ j.fcr.2008.07.009 (Impact factor 2006 =1.634).
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลท์ในระดับนาโนมิเตอร์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ดำเนินการวิจัยโดย :   ศ.ดร.จำรัส   ลิ้มตระกูล          ภาควิชาเคมี  คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
                
นางสาว สุภาวดี   นาเมืองรักษณ์  นักศึกษา คปก. รุ่นที่ 8
      
นางสาว จุฬารัตน์   วัฒนกิจ         นักศึกษา คปก. รุ่นที่ 10
การสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์ให้มีขนาดของผลึกในระดับนาโน (Nano Crystal Zeolites) และ มีรูพรุนขนาดนาโน (Nanoporous Zeolites) ด้วยระเบียบวิธี “in situ carbon-templating approach”  
การออกแบบและพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยา Zeolite ให้มีขนาดของผลึกในระดับนาโน (Nano-Crystal Size Zeolite)  และมีรูพรุนขนาดนาโน (Nanoporous Zeolite) เพื่อเพิ่มปริมาณ external active site ในการเร่งปฏิกิริยา ลดปัญหาที่เกิดจากการแพร่ผ่านของโมเลกุลสารผ่านตัวเร่งปฏิกิริยา (diffusion limitation) และเพิ่มโอกาสให้โมเลกุลขนาดใหญ่สามารถเกิดปฏิกิริยาได้ดีขึ้น เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
โครงการนี้เป็นโครงการเชิงพาณิชย์ เป็นการบุกเบิกงานวิจัยทางด้านการออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยาและสารประกอบที่มีโครงสร้างระดับนาโนเมตร โดยอาศัยระเบียบวิธีทางเคมีคอมพิวเตอร์ผสมผสานกับการทดลองและวิจัยในห้องทดลอง ก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่และความเข้าใจเชิงลึก เพื่อศึกษาระบบที่มีขนาดใหญ่ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เช่น ซีโอไลต์ (zeolites) และวัสดุที่มีโครงสร้างและรูพรุนระดับนาโนเมตร (Nanostructured and Nanoporous Materials) ซึ่งตัวเร่งปฏิกิริยานี้ถูกนำมาใช้ในกระบวนการ cracking อย่างแพร่หลาย เนื่องจากตัวเร่งปฏิกิริยานี้มี activity ในการเร่งปฏิกิริยาสูงจากการมี bronsted acid site และยังมีผลของผนังซีโอไลต์ที่ช่วยในเรื่องของ selectivity ของผลิตภัณฑ์อีกด้วย  
ทางกลุ่มวิจัยคาดหวังจะพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการ cracking ของสารไฮโดรคาร์บอนที่มีซีไอโลต์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา และกลไกการเกิดปฏิกิริยาที่เป็นส่วนประกอบของกระบวนการดังกล่าว โดยเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาประเภทซีโอไลต์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งสามารถนำไปสู่การผลิตตัวเร่งปฏิกิริยา hydrocracking ได้ภายในประเทศ เป็นการช่วยลดการเสียดุลการค้าของประเทศไทย อันเนื่องมาจากการนำเข้าตัวเร่งปฏิกิริยาจากต่างประเทศ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณ 800 ล้านบาทต่อปี และเป็นการลดต้นทุนของราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลที่ผลิตได้ในประเทศ เป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจของประเทศ  
โครงการวิจัยนี้มีความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  และ Dow Chemical company เป็นต้น เพื่อออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยาและวัสดุที่มีโครงสร้างระดับนาโนเมตรที่ใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี  
ผลงานเรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำระดับนานาชาติ เช่น Journal of Physical Chemistry (IF= 4.086), Journal of Catalysis (IF= 4.780) ได้รับการอ้างอิงและนำไปประยุกต์ใช้โดยกลุ่มนักวิจัยในสถาบันชั้นนำจากต่างประเทศอย่างมากมาย อาทิเช่น University of California Berkeley (Chemical Engineering Dept.) และมีผลงานได้รางวัลงานวิจัยดีเด่นจากการประชุมสมาคมเคมีแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา สาขาเคมีปิโตรเลียม (Research Awards of the American Chemical Society’s Division of Petroleum Chemistry)
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  การพัฒนาผ้าฝ้ายป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ดำเนินการวิจัยโดย :  รศ.ดร.นันทยา   ยานุเมศ         วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                
นางสาว สุชาดา   ตระกูลวิเชียร   นักศึกษา คปก. รุ่นที่ 8
เป็นที่ทราบกันดีว่า รังสียูวี (อุลตร้าไวโอเล็ต) ที่มีอยู่ในแสงแดดสามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งของผิวหนังได้       โดยเฉพาะในผู้ที่มีโอกาสโดนแสงแดดสูง  เช่น  ประชากรในประเทศที่มีอากาศร้อน   หรือประเทศที่ได้รับแสงแดดที่แรงจัดในบางฤดูกาล  รวมถึงผู้ที่ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้ง  เช่น  การเล่นกีฬา หรือการเดินเล่นริมชายหาด  เป็นต้น    ด้วยความจำเป็นดังกล่าว  ปัจจุบันจึงได้มีการผลิตเสื้อผ้ากันรังสียูวีสำหรับใช้ในโอกาสต่างๆ ออกมาจำหน่ายมากขึ้น
โครงการวิจัยนี้  มีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตผ้าฝ้ายที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีสูงสุด    โดยใช้เทคนิคการเคลือบสารบนพื้นผิวผ้าที่ให้ชั้นของสารเคลือบที่มีความบางระดับนาโน   ทำให้ผ้าภายหลังการเคลือบยังคงมีความนุ่มต่อการสัมผัส  และมีการระบายอากาศที่ดีเช่นเดียวกับผ้าที่ไม่ได้ผ่านการเคลือบ
ผลจากการศึกษาทำให้สรุปได้ว่า  โครงการวิจัยนี้ได้พัฒนาเทคนิคใหม่ในการผลิตผ้าฝ้ายที่สามารถกันรังสียูวีได้ครบทุกช่วงความยาวคลื่นที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์   โดยใช้กระบวนการ ‘แอดไมเซล่าพอลิเมอไรเซชั่น’  ในการเคลือบ  ทำให้ได้ชั้นของสารเคลือบที่มีความบางระดับนาโนเมตร  ผ้าจึงยังคงมีสัมผัสที่นุ่มและระบายอากาศได้ดี  กระบวนการนี้สามารถพัฒนาไปให้ถึงขั้นผลิตจริงในเชิงพาณิชย์ได้ไม่ยาก  เนื่องจากสามารถใช้เครื่องจักรที่มีใช้อยู่แล้วในโรงงานฟอกย้อม และยังเป็นกระบวนการที่มีการใช้พลังงานต่ำ  และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม    อีกทั้งยังได้ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในการกันรังสียูวีได้สูงกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องตลาดด้วย    
หากมีการนำผลวิจัยนี้ไปพัฒนาในเชิงพาณิชย์   ก็จะก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง   เนื่องจากตลาดสิ่งทอเป็นตลาดที่ใหญ่มาก  และความต้องการใช้เสื้อผ้ากันรังสียูวี  ก็มีอยู่ในทุกประเทศทั่วโลก  นอกจากนี้ในแง่วิชาการ  โครงการวิจัยนี้ยังได้นำเสนอแนวคิดในการสังเคราะห์มอนอเมอร์ใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการใช้งาน รวมถึงการใช้วิธีพอลิเมอไรเซชั่นร่วมของมอนอเมอร์สองตัวเพื่อให้ได้คุณสมบัติที่เสริมกัน   ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงสมบัติพื้นผิวของวัสดุอื่นๆ ได้อีกด้วย
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  การสร้างตัวดึงดูดอลวนและการประยุกต์
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ดำเนินการวิจัยโดย :  รศ.ดร.ปิติเขต    สู้รักษา     ภาควิชาวิศวกรรมสารสนเทศ   คณะวิศวกรรมศาสตร์  
      
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
      
นายกฤดากร   กล่อมการ    นักศึกษา คปก. รุ่นที่ 7
ธรรมชาติของสัญญาณอลวนมีลักษณะที่ยุ่งเหยิงและไร้ระเบียบ แต่ในความเป็นจริงนั้นหากนำสัญญาณอลวนมาใช้ก็จะเกิดประโยชน์อย่างมาก  นักวิจัยได้ประยุกต์องค์ความรู้ในข้อที่เกี่ยวกับสัญญาณอลวนไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ  อาทิ
1. การเข้ารหัสลับ
ค่าที่เกิดขึ้นจะถูกกำหนดโดยเงื่อนไขเริ่มต้นจึงสามารถนำเอาปรากฏการณ์มาใช้กับการเข้ารหัสลับ โดยการนำเอาข้อมูลหรือสัญญาณมาเข้ากระบวนการทางคณิตศาสตร์กับสัญญาณอลวน สามารถนำไปใช้เชิงพาณิชย์และเชิงสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ โดยเข้ารหัสเอกสารลับของทางราชการไม่ให้ผู้ก่อการไม่สงบนำไปใช้ในทางที่ผิด
2. การประยุกต์ทฤษฎีอลวนกับการขับเคลื่อนหุ่นยนต์
เนื่องจากสัญญาณอลวนมีลักษณะยุ่งเหยิงหรือเกิดแบบเชิงสุ่ม (random) จึงสามารถนำสัญญาณมาขับเคลื่อนให้หุ่นยนต์ประเภทลาดตระเวน หุ่นยนต์ตรวจจับทุ่นระเบิด โดยใช้วงจรกำเนิดสัญญาณอลวนรูปแบบต่างๆ กำหนดรูปแบบการขับเคลื่อนหุ่นยนต์ ซึ่งได้พัฒนาเป็นหุ่นยนต์เล็กๆ ราคาถูกสำหรับตรวจกับระเบิด รวมทั้งหุ่นยนต์ลาดตระเวน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น หรือหุ่นยนต์ตัดวัชพืช ซึ่งสามารถนำไปใช้ทดแทนการนำเข้าหุ่นยนต์จากต่างประเทศโดยสนองนโยบายรัฐเชิงทดแทนการนำเข้า
3. การปั่นผสมอุตสาหกรรม
การปั่นผสมเป็นกระบวนการที่สำคัญในอุตสาหกรรมเคมี และอุตสาหกรรมอาหาร  ซึ่งต้องนำเอาวัสดุมากว่าสองอย่างขึ้นไปมารวมกัน เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีหรือรวมเป็นเนื้อเดียวกัน โดยจุดมุ่งหมายของการปั่นผสมจะต้องพยายามให้กระบวนการดังกล่าวใช้เวลาน้อยที่สุดเพื่อให้เป็นการประหยัดพลังงาน  โดยงานวิจัยนี้จะทำการขับเคลื่อนมอเตอร์ซึ่งเป็นตัวเริ่มต้นปั่นแบบผสมเป็นแบบอลวนแทนที่จะเป็นแบบปกติ  โดยค้นพบว่าการเคลื่อนนี้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการปั่นผสมไบโอดีเซล  ซึ่งผู้วิจัยได้เปิดเผยวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการปั่นผสมสำหรับไบโอดีเซลชุมชนด้วยเทคนิคสัญญาณอลวนต่อสาธารณะ เป็นวิทยาทานแก่ชุมชนและผู้ที่สนใจ
ผลงานดังกล่าวสามารถสร้างวงจรกำเนิดสัญญาณอลวนรูปแบบต่างๆ เพื่อใช้งาน โดยสามารถจดสิทธิบัตรนานาชาติเพื่อคุ้มครองความรู้ที่จากการคิดค้น อ้างสิทธิบัตร หมายเลข  (WO/2008/044998 AN AUTHENTICATION DEVICE  และขณะนี้ได้มีผู้ประกอบการสนใจจะนำผลงานดังกล่าวไปใช้ประโยชน์
 

 

24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ฝากครรภ์แบบพอเพียง ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ดำเนินการวิจัยโดย :   ศ.นพ.ภิเศก  ลุมพิกานนท์    (เมธีวิจัยอาวุโส  สกว.)  
    
ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา  คณะแพทยศาสตร์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น   และคณะ
รูปแบบการดูแลผู้ตั้งครรภ์ที่ใช้อยู่ทั่วโลกในปัจจุบันนี้ ยังไม่เคยมีการประเมินอย่างจริงจังว่ามีประสิทธิผลมากน้อยเพียงใด ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าการดูแลรักษาแบบใดควรได้รับการนำมาใช้บริการผู้ตั้งครรภ์ ในประเทศที่กำลังพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ตั้งครรภ์ปกติยังไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างทั่วถึง ผู้ตั้งครรภ์ยังมาฝากครรภ์ไม่สม่ำเสมอ เสียเวลารอนาน และได้รับการดูแลที่ไม่ดีพอ
ผู้วิจัยจึงได้หารูปแบบการดูแลผู้ตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า เมื่อเทียบกับการดูแลผู้ตั้งครรภ์ตามมาตรฐานเดิม โดยลดจำนวนครั้งในการฝากครรภ์จาก 8 ครั้ง เหลือ 5 ครั้ง ซึ่งทั้งผู้รับและผู้ให้บริการต่างมีความพึงพอใจ เนื่องจากไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในเรื่องภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรง ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะครรภ์เป็นพิษ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย นอกจากนี้ยังไม่มีความแตกต่างในเรื่องการชักเนื่องจากครรภ์เป็นพิษ การเสียชีวิตของมารดาและทารกแรกเกิด รวมทั้งเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า  
ผลงานวิจัยดังกล่าวได้ถูกนำไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการนานาชาติ (Lancet, International Journal of Sexually Transmitted Diseases and AIDS, Bulletin of the World Health Organization) และองค์การอนามัยโลกใช้ข้อมูลจากงานวิจัยในการออกคู่มือสำหรับเผยแพร่แก่สมาชิกทั่วโลกนำไปใช้ และคัดเลือกโครงการนี้เป็นโครงการตัวอย่างที่มีการทำวิจัย เผยแพร่ผลงาน และนำมาใช้เป็นนโยบายระดับชาติ โดยส่งผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องและเขียนรายงานเสนอองค์การอนามัยโลก  
ขณะที่ในประเทศไทยได้มีการนำรูปแบบการดูแลผู้ตั้งครรภ์แบบพอเพียงนี้ไปใช้ในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดขอนแก่น ก่อนขยายผลไปใช้ในจังหวัดเชียงราย ลพบุรี นครศรีธรรมราช กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม รวมทั้งโรงพยาบาลของศูนย์อนามัยทั้ง 12 เขต โดยสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดพิมพ์คู่มือปฏิบัติการดูแลผู้ตั้งครรภ์แนวใหม่ขององค์การอนามัยโลก ในปี พ.ศ. 2551 เพื่อเผยแพร่ให้กับผู้ให้บริการ ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป็นนโยบายในการนำแนวทางการตั้งครรภ์แบบพอเพียงไปใช้ในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  จมูกอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเกษตรและอาหาร
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ดำเนินการวิจัยโดย :  ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์   เกิดเจริญ       ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลสำเร็จของโครงการ
• เกิดองค์ความรู้ใหม่ตีพิมพ์ผลงานในวารสารสากลจำนวน 5 เรื่อง (ฐานข้อมูล ISI) เสนอในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติจำนวน 8 ครั้ง บทความในลักษณะ popular science จำนวน 5 บทความ
• ได้เทคโนโลยีการตรวจวัดกลิ่น ยื่นจดสิทธิบัตรแล้ว 1 เรื่อง โดยกำลังร่างคำขอจดสิทธิบัตรอีก 1 เรื่อง  
• ได้ต้นแบบจมูกอิเล็กทรอนิกส์ระดับห้องปฏิบัติการขึ้น 1 ต้นแบบ (lab prototype) และต้นแบบจมูกอิเล็กทรอนิกส์ระดับภาคสนาม 1 ต้นแบบ (field prototype)  
• กำลังออกแบบต้นแบบระดับอุตสาหกรรม (industrial prototype) สำหรับการเกษตรและอาหาร
ผลกระทบของโครงการและการนำไปใช้ประโยชน์
• ได้ทดสอบต้นแบบระดับภาคสนามกับผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารหลายชนิด ได้แก่ ไวน์ กาแฟ ใบชา เบียร์ เหล้าวิสกี้ น้ำผลไม้ สมุนไพร น้ำหอม  
• จมูกอิเล็กทรอนิกส์ได้ถูกนำไปบูรณาการเข้ากับ smart farm system ซึ่งได้รับการสนับสนุนให้พัฒนาต้นแบบเชิงพาณิชย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งระบบนี้จะทำให้การทำไร่ทำนามีความแม่นยำสูงขึ้น (precision farming) ขณะนี้มหาวิทยาลัยกำลังเขียนแผนธุรกิจเพื่อจัดตั้ง start-up company เพื่อทำการตลาดระบบ smart farm system ดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะจัดตั้งบริษัทในเดือนมกราคม (venture capitol จากเอกชน)
• ต้นแบบจมูกอิเล็กทรอนิกส์ระดับภาคสนาม (field prototype) ได้นำไปติดตั้งและใช้งานจริงที่ไร่องุ่นไวน์กรานมอนเต้ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา สำหรับควบคุมคุณภาพการผลิตองุ่นและไวน์ และจากการนำเทคโนโลยีชั้นสูงไปใช้ในไร่องุ่น มีส่วนทำให้ไร่กรานมอนเต้ได้รับรางวัลดีเด่น Award of Outstanding Performance จากการประกวด  “อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 7” ของ ททท.
• ต้นแบบจมูกอิเล็กทรอนิกส์ได้ถูกนำไปใช้ช่วยวิจัยร่วมกับกลุ่มวิจัยอื่นๆ ได้แก่ การวิจัยและพัฒนาโรลออนดับกลิ่นกาย / น้ำหอมเลียนกลิ่นกล้วยไม้ไทย ของศูนย์วิจัยเครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยนเรศวร การวิจัยนาโนแคปซูลเก็บกลิ่น ของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะนี้มีนักวิจัยหลายกลุ่มสนใจนำต้นแบบนี้ไปช่วยวิจัย เช่น การจำแนกแมลงโดยใช้กลิ่น การตรวจกลิ่นหมู การวิจัยสมุนไพร เป็นต้น  
• ได้เผยแพร่ต่อสาธารณะในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ บทความในลักษณะ popular science เผยแพร่เว็บไซต์https://nanotech.sc.mahidol.ac.th/i-sense/index.htmlและhttps://smart-farm.blogspot.comและhttps://gotoknow.org/blog/smart-farmออกรายการโทรทัศน์ช่อง 9 “ชีพจรโลกกับสุทธิชัย หยุ่น”ออกรายการโทรทัศน์ NBT ครบรอบ 50 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  เครื่องลดความชื้นข้าวเปลือกและเครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือก : นวัตกรรมเพื่อชาวนาไทย
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ดำเนินการวิจัยโดย :   ศ.ดร.โมไนย   ไกรฤกษ์  (เมธีวิจัยอาวุโส สกว.)  
    
ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม  คณะวิศวกรรมศาสตร์
    สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  และคณะ
แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลกด้วยปริมาณ 41% และราคาข้าวสูงขึ้น แต่ชาวนากลับไม่ได้รับผลประโยชน์เท่าที่ควรจะเป็น นอกจากนี้ยังถูกกดราคาจากโรงสี ด้วยเหตุผลว่าความชื้นสูง การลดความชื้นที่ชาวนาใช้เป็นวิธีธรรมชาติด้วยการตากแดด ซึ่งไม่มีต้นทุน แต่ไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้  
คณะนักวิจัยจึงได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยวข้าวให้มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดไฟ และปลอดภัย ประกอบด้วย
1. เครื่องลดความชื้นข้าวเปลือกแบบใช้ไมโครเวฟร่วมกับลมร้อน ซึ่งใช้ข้อดีของการใช้คลื่นไมโครเวฟที่ให้ความร้อนได้รวดเร็ว ร่วมกับการให้เมล็ดข้าวเปลือกฟุ้งกระจายในบริเวณที่มีลมร้อนจากแหล่งจ่ายพลังงานไมโครเวฟ ทำให้ความร้อนกระจายตัวสม่ำเสมอทั่วถึง ในเครื่องดังกล่าวใช้หลอดแมกนิตรอนที่ใช้ในเตาอบไมโครเวฟตามบ้าน 20 หลอด กินไฟฟ้ารวมทั้งสิ้นประมาณ 18 กิโลวัตต์ และมีคลื่นรัวต่ำกว่า 5 มิลลิวัตต์ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งตามมาตรฐานสากลจะต้องมีคลื่นรั่วต่ำกว่า 8 มิลลิวัตต์ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร จึงปลอดภัยต่อผู้ใช้
เมื่อทดสอบคุณสมบัติของข้าวทั้งด้านสี กลิ่น และการแตกหัก พบว่ามีคุณภาพใกล้เคียงกับข้าวที่ใช้กระบวนการใช้ลมร้อนทั่วไป มีความสามารถในการลดความชื้นจาก 22 % เหลือ 15 % ด้วยปริมาณ 30 กิโลกรัมต่อชั่วโมง และกินไฟฟ้ากิโลกรัมละประมาณ 1 บาท  
2. เครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือกขนาดเล็ก คณะนักวิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยชาวนาตรวจสอบความชื้นของข้าวก่อนนำไปสี โดยใช้การส่งคลื่นไมโครเวฟเข้าไปในข้าว แล้ววัดขนาดของสัญญาณที่แปรผันตามความชื้น โดยสร้างกราฟเพื่อเปรียบเทียบค่าความชื้นกับขนาดของสัญญาณ เครื่องมือนี้ช่วยให้ชาวนามีข้อมูลเพื่อควบคุมความชื้นให้เหมาะสม อันจะมีผลต่อคุณภาพข้าวที่สี
ปัจจุบันคณะนักวิจัยได้สร้างเครื่องนำร่องขนาดประมาณ 15 กิโลวัตต์ เพื่อเก็บข้อมูลในภาคสนาม โดยได้เริ่มนำไปทดลองใช้กับโรงสีเศรษฐกิจชุมชน บ้านคลองสิบสี่ เขตหนองจอก ทั้งนี้เครื่องมือทั้งสองที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถเหมาะสมกับโรงสีชุมชนขนาดเล็ก ซึ่งคณะวิจัยเป็นผู้ติดต่อโดยตรงกับชาวนา แม้ว่าชาวนาอาจไม่สามารถจัดหามาใช้ได้เอง แต่หากสามารถรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์และมีงบประมาณสนับสนุน จะทำให้มีการใช้อย่างแพร่หลาย ส่งผลให้ชาวนามีรายได้สูงขึ้น และไม่ถูกกดราคาจากโรงสี
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ปุ๋ยชีวภาพ “ไรโซแบคทีเรีย” ทางเลือกใหม่ของการพัฒนาเกษตรยั่งยืน
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ดำเนินการวิจัยโดย :   รศ.ดร.กัญชลี    เจติยานนท์   และคณะ
    
ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร  คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    
มหาวิทยาลัยนเรศวร
ปัจจุบันเกษตรกรไทยจำนวนมากยังพึ่งพาปุ๋ยเคมีเพื่อใช้เพิ่มผลผลิตพืช ซึ่งปุ๋ยเคมีเหล่านี้หากใช้มากเกินความจำเป็นติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ดินเสื่อมสภาพและมีความเป็นประโยชน์ต่อพืชน้อยลง   การค้นคว้าวิจัยเพื่อนำเชื้อไรโซแบคทีเรียที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติมาใช้จะก่อให้เกิดประโยชน์ด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน อีกทั้งแบคทีเรียดังกล่าวยังมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย  
ผลสำเร็จของโครงการที่ได้รับ คือ การจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร 1 เรื่อง ได้ผลิตภัณฑ์ไรโซแบคทีเรียในรูปแบบเม็ดที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้ง่าย ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถลดปริมาณการให้ปุ๋ยเคมีกับพืชได้ 50%  นอกจากนี้ยังจัดอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรที่สนใจ  และมีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร Canadian Journal of Microbiology  
โครงการวิจัยนี้มีผลกระทบต่อเกษตรกร 3 ระยะ คือ  
ระยะสั้น : ผลิตภัณฑ์ไรโซแบคทีเรียสามารถนำไปใช้เพื่อลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีในพื้นที่ของเกษตรกร  
ระยะกลาง : หากเกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีนี้ จะสามารถลดต้นทุนการผลิต และในขณะเดียวกันผลผลิตของเกษตรกรจะเพิ่มขึ้น ทำให้เศรษฐสถานะของเกษตรกรดีขึ้น  
ระยะยาว : หากมีการนำไปใช้ในวงกว้าง เศรษฐสถานะของเกษตรกรที่ปลูกผักเป็นพืชหลัก (ประมาณร้อยละ 3 ของเกษตรกรทั่วประเทศ หรือคิดเป็นพื้นที่ 3 ล้านไร่) จะดีขึ้น อีกทั้งการใช้เทคโนโลยีนี้ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีจะทำให้คุณภาพของดินดีขึ้น และผลผลิตมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
 

 

 8 ผลงานเด่นกลุ่มงานวิจัยท้องถิ่น
เป็นงานที่มุ่งสร้างและพัฒนาคนในชุมชนเป็นหลัก
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  การฟื้นฟูและอนุรักษ์ภาษา ตำนาน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการละเล่นพื้นบ้านญ้อ บ้านท่าขอนยาง ต.ท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ดำเนินการวิจัยโดย :  ทีมวิจัยโครงการฯ บ้านท่าขอนยาง  อ.กันทรวิชัย  จ.มหาสารคาม
ความสำเร็จของโครงการ
จากการร่วมมือกันทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของทีมวิจัยที่ประกอบด้วยนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ครูในโรงเรียนของหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และนิสิตนักศึกษา ในการศึกษาประวัติศาสตร์ ตำนาน ภาษาและการละเล่นญ้อ บ้านท่าขอนยางแบบมีส่วนร่วม ได้ก่อเกิดรูปธรรมที่บ่งบอกถึงความสำเร็จดังนี้คือ
1. เกิดการชำระตำนาน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการละเล่นพื้นบ้านญ้อ บ้านท่าขอนยาง ร่วมกัน ซึ่งกระบวนการดังกล่าวก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของชาวบ้านทั้งที่เป็นเด็กนักเรียน คนหนุ่มสาว ผู้เฒ่าและบุคคลทั่วไปอย่างทั่วถึง
2. กระบวนการวิจัยได้สร้างสำนึกให้กับชาวชุมชนบ้านท่าขอนยางในการรักษ์หวงแหนวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คืนกลับมา จากการที่เคยละเลยต่อประวัติศาสตร์ชาติพันธ์ ภาษาและเอกลักษณ์ของท้องถิ่นตนเอง ชาวบ้านท่าขอนยางซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อ ได้เกิดความตื่นตัวในการร่วมคิดร่วมทำในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ภาษาญ้อ การละเล่นญ้อ และตำนานประวัติศาสตร์ของตนเอง โดยในระดับครัวเรือนมีการให้แต่ละครัวเรือนได้เริ่มต้นสอนภาษา เล่าตำนาน ประวัติศาสตร์เครือญาติของตนเอง ให้แก่บุตรหลานคนรุ่นใหม่  
ในระดับชุมชนมีการสร้างศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมญ้อ มีการกำหนดให้มีการสื่อสารภาษาญ้อในชุมชน ทั้งผ่านหอกระจายข่าวและชีวิตประจำวัน มีการกำหนดให้มีการจัดแสดงวัฒนธรรมญ้อในช่วงสงกรานต์ของทุกปีเพื่อสร้างเรียนรู้และปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมไว้แก่บุตรหลาน
ในส่วนวัดประจำหมู่บ้านทั้งวัดเจริญผล วัดสว่างวารี และวัดมหาผล ซึ่งเป็นวัดในเขตบริการชุมชนท่าขอนยาง ได้ร่วมสืบสานต่อวัฒนธรรมดั้งเดิมโดยการทำป้ายติดต้นไม้ เรียกว่า ต้นไม้พูดญ้อ ไว้ตามต้นไม้ต่าง ๆ ในวัด และเทศน์สอนให้เยาวชนสำนึกรักษ์ในภาษาและวัฒนธรรมญ้อ
ผลกระทบหรือการนำไปใช้ประโยชน์
1.โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคมและโรงเรียนท่าขอนยางได้นำเนื้อหาจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ไปสร้างเป็นหลักสูตรท้องถิ่นซึ่งเกี่ยวกับภาษา ตำนาน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และการละเล่นพื้นบ้านญ้อ เพื่อสอนนักเรียนในรายวิชาหมวดภาษาไทย หมวดสังคมศึกษา และเกิดชุมนุมนักเรียนญ้อ ในโรงเรียนมีการนำไปจัดทำเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน
2. อาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหาสารคามซึ่งเป็นทีมวิจัยมีปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการทำงานกับชาวบ้าน โดยมีการให้คุณค่าคนกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และรับฟังคนอื่นมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการสอนนิสิตในมหาวิทยาลัย ได้แก่ ภาษาถิ่นไท (ญ้อ), ตำนานและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นญ้อในท่าขอนยาง และคติชนวิทยา (การละเล่นพื้นบ้านญ้อ) และยังมีการใช้ชุมชนท่าขอนยางเป็นห้องเรียนชุมชนสำหรับการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยามหาสารคามด้วย  
3. เปรียบเสมือนสิ่งเบิกทางให้ชุมชนกับมหาวิทยาลัยมหาสารคามเปิดใจเข้าหากัน และได้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกันตามมามากมาย เช่น มีกิจกรรมการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ร่วมมือกับชุมชนพัฒนาการแหล่งเรียนรู้ชุมชนดั้งเดิม, ท่องเที่ยวชุมชน, การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่น, การย้อนรอยวิศวกรรมท้องถิ่นโดยการจัดทำรถพลังงานไอน้ำ
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  การเพิ่มศักยภาพในการทำงานสถานประกอบการ จ.สมุทรสงคราม บนพื้นฐานของความร่วมมือ
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ดำเนินการวิจัยโดย :  ทีมวิจัยโครงการ การเพิ่มศักยภาพในการทำงานสถานประกอบการ จ.สมุทรสงคราม บนพื้นฐานของความร่วมมือ
สถานการณ์ปัญหาของสถานประกอบการในจังหวัดสมุทรสงครามส่วนใหญ่ พบว่าประสบปัญหาเกี่ยวกับอัตราการเข้า – ออกของแรงงานสูง การขาดประสิทธิภาพของหัวหน้างาน ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ นอกจากนั้น ยังพบปัญหาเกี่ยวกับภาวะส่วนตัวของแรงงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานอีกด้วย เช่น ค่านิยมการทำงานนอกพื้นที่ ภาระหนี้สินล้นพ้นตัว การชักชวนกันลาออกจากงานในหมู่เครือญาติ ความไม่เข้าใจระหว่างผู้ประกอบการและพนักงาน ฯลฯ   ตลอดจนสถานประกอบการในจังหวัดสมุทรสงครามไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการพัฒนาฝีมือแรงงานเท่าที่ควร จึงเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานวิจัยโครงการความร่วมมือของศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานและสถานประกอบการ ในการศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพในการทำงานของสถานประกอบการจังหวัดสมุทรสงคราม
จากการดำเนินงานวิจัยส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งระดับตัวเอง สถานประกอบการ และการปรับระบบการทำงานของหน่วยงานราชการ ดังนี้
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสงคราม มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานโดยให้ความสำคัญกับการค้นหาความต้องการการฝึกอบรม training need โดยการจัดเวทีเรียนรู้เชิงประเด็น ได้แก่กลุ่มผู้ประกอบการรถยนต์ กลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยว กลุ่มผู้ประกอบการแอร์ ฯลฯ จนสามารถพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับจังหวัดสมุทรสงคราม เช่น การอบรมภาษาอังกฤษสำหรับการท่องเที่ยว การอบรมมัคคุเทศก์ท้องถิ่น และเชิงพื้นที่ เช่น การลงพื้นที่สืบค้นเป้าหมายของชุมชนบางจะเกร็ง จนสามารถจัดการอบรมการทำขนมไทยโดยเชื่อมโยงความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น และการปรับเปลี่ยนกระบวนการอบรมที่มุ่งสร้างผลสัมฤทธิ์เชิงคุณภาพ เช่น การอบรมการลดความสูญเสียในที่ทำงาน ที่มุ่งเน้นการฝึกอบรมระยะยาวและรับเฉพาะสถานประกอบการที่สนใจนำปัญหาจริงของสถานประกอบการมาวิเคราะห์ร่วมกัน อีกทั้งยังรับเปลี่ยนบทบาทขององค์กรในฐานะผู้ทำหน้าที่ฝึกอบรมเป็นผู้ประสานงานการฝึกอบรมและที่ปรึกษาการเพิ่มศักยภาพการทำงาน เข้าไปเรียนรู้สภาพปัญหาและร่วมกันวิเคราะห์ภายในองค์กรนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพที่ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ
เกิดความร่วมมือกันระหว่างสโมสรโรตารี หอการค้า สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสงคราม และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน ก่อให้เกิดบรรยากาศความร่วมมือในการร่วมกันเพิ่มศักยภาพการทำงานของสถานประกอบการที่สอดคล้องกับท้องถิ่น เช่น ภาษาอังกฤษสำหรับผู้ประกอบการท่องเที่ยว การอบรม NGV สำหรับรถยนต์ขนาดใหญ่ ของสโมสรโรตารีและกลุ่มผู้ประกอบการอู่ซ่อมรถ การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของสภาอุตสาหกรรม การพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสงคราม และการอบรมมัคคุเทศก์เฉพาะถิ่น ร่วมกับ หอการค้าจังหวัดสมุทรสงครามและชมรมท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสงคราม  รวมถึงเกิดการพัฒนาองค์กรภาคธุรกิจในจังหวัดสมุทรสงคราม เช่น การจัดทำวิสัยทัศน์และกำหนดยุทธศาสตร์ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสงคราม  
นอกจากนี้ยังมีการขยายผลการปฏิรูประบบการทำงานของส่วนราชการ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ด้วยการเรียนรู้พื้นที่และออกแบบกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มเป้าหมายในระดับพื้นที่ ไปยังหน่วยงานอื่น ๆ การดำเนินการในการพัฒนาศักยภาพการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย เช่น การเริ่มต้นจัดประชุมแนวทางการพัฒนาแรงงานของกลุ่มผู้ประกอบการเครื่องปรับอากาศภาคตะวันตก จนเกิดความร่วมมือพัฒนาประเด็นในการพัฒนาศักยภาพและยกระดับช่างแอร์ กลุ่มผู้ประกอบการรถยนต์ กลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยว นอกจากนี้ภายในศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสมุทรสงคราม ยังมีการแบ่งกลุ่มงานรับผิดชอบ โดยแต่ละกลุ่มงานต้องไปค้นหาความต้องการของชุมชน สถานประกอบการ และนำมาออกแบบพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนจังหวัดสมุทรสงคราม
มีการขยายผลจากโครงการจนเกิดโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นของกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวและหอการค้าจังหวัดสมุทรสงคราม ในการศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคราชการ ภาคเอกชนและภาคท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  การเสริมสร้างศักยภาพนักวิชาการเป็นนักวิจัยแบบ PAR เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ดำเนินการวิจัยโดย :  ทีมวิจัยโครงการ การเสริมสร้างศักยภาพนักวิชาการเป็นนักวิจัยแบบ PAR เพื่อพัฒนาท้องถิ่น    
    
งานวิจัยพบว่า วิธีการเสริมสร้างศักยภาพของนักวิชาการจากการศึกษาวิจัย ที่เหมาะสมต้องเริ่มจากการค้นหานักวิชาการที่มีจิตสาธารณะที่ชอบทำงานให้กับสังคม สนใจและมีความต้องการเรียนรู้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น มีมนุษยสัมพันธ์ ไม่เก็บตัว มุ่งมั่นมีความกระตือรือร้นในการทำงานเพื่อส่วนรวม รวมทั้งมีความพร้อมในการปรับตัวเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  ในการลงพื้นที่และพัฒนาโจทย์วิจัยจำเป็นต้องมีพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์ให้ความช่วยเหลือนักวิจัยที่ไม่คุ้นเคยกับการทำงานชุมชน โดยพี่เลี้ยงควรจะมีบทบาทในการให้ความรู้เรื่องการเขียนเอกสารเชิงหลักการ การบริหารจัดการงานวิจัย การสร้างเครื่องมือในการทำงานวิจัยร่วมกับชุมชน และการเขียนรายงานวิจัย ในการดำเนินการวิจัยหากมีการถอดบทเรียนและจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทีมวิจัย จะทำให้นักวิจัยสามารถสังเคราะห์การทำงานของทีมตัวเอง  พร้อมทั้งเปิดมุมมองความรู้ที่นักวิชาการท่านอื่น ๆ ได้ช่วยกันเข้ามาเติมเต็ม       
    
การใช้ประโยชน์จากงานวิจัย    
    
1. โครงการการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมของเด็กที่มีพฤติกรรมและความสามารถที่แตกต่าง ร.ร.บ้านคูเมือง อ.วารินชำราบ   จ.อุบลราชธานี  โดย ดร.ชญาดา  ดานุวงศ์ และคณะ เป็นโรงเรียนตัวอย่างด้านบูรณาการการเรียนการสอนและแก้ปัญหานักเรียนที่มีความรู้และพฤติกรรมที่แตกต่างกัน เป็นที่ศึกษาดูงานของโรงเรียนต่าง ๆ จำนวนมากทั้งในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง และได้รับรางวัลงานวิจัยเด่น สกว.ปี 2550  ขณะนี้ผู้บริหารและคณะครูได้ร่วมกับเครือข่ายโรงเรียนอีก 4 โรงเรียนทำโครงการวิจัย”โครงการวิจัย  นวัตกรรมเครือข่ายโรงเรียนเพื่อค้นหาและพัฒนารูปแบบบูรณาการ การจัดการเรียนการสอนตามศักยภาพของบุคคล ” เป็นการบูรณาการหลักสูตรของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3  ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สกว. ฝ่ายสังคมและชุมชน     
    
2. โครงการวิจัยรูปแบบการพัฒนาตลาดกกยางให้เป็นตลาดชุมชนอย่างมีส่วนร่วม โดย ผศ.ดร.อินทิรา ซาฮีร์ และคณะ  ได้นำรายงานฉบับสมบูรณ์มอบให้ชุมชนชาวตลาดกกยาง  เพื่อเป็นเอกสารประกอบการพิจารณาตัดสินของศาลปกครองในการต่อสู้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น  ในประเด็นยกเลิกจุดผ่อนผันการเป็นตลาด ขณะนี้ กระบวนการต่อสู้ของชาวตลาดกกยางได้เป็นแบบอย่างของการรวมตัวกันของคนเล็กคนน้อยในสังคมที่ประสบปัญหาความขัดแย้งกับหน่วยงานภาครัฐ  เช่น  ชาวตลาดน้อยที่ตลาดกำลังเผชิญปัญหาจะถูกทุบเพื่อปรับปรุงและจัดระเบียบใหม่  ชาวชุมชนวัดหลวงที่ถูกรื้อถอนบ้านเรือนเพื่อโครงการสร้างถนนเลียบริมมูล    
    
3.โครงการวิจัย กระบวนการพัฒนา อสม. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพของชุมชนบ้านหนองบัว จ.อุบลราชธานี  โดย อาจารย์ไพจิตร ศรีธนานุวัฒน์ และคณะ หลังการเสนอผลการวิจัย ได้มีผู้บริหารของ อบต. ขามใหญ่ เข้าร่วมรับฟัง จึงได้เสนอแนวคิดในการพัฒนา อสม. และขอให้ อสม. ทำโครงการเสนอตรงต่อ  อบต. เพื่อรับงบประมาณสนับสนุนโดยตรง ไม่จำเป็นต้องผ่าน  PCU. ขณะนี้ชุมชนได้ตั้งสหกรณ์ร้านค้า ซึ่งเป็นผลจากการที่ชุมชนมาร่วมกันทำวิจัยได้ปรึกษาหารือที่จะทำกิจกรรมร่วมกันเกี่ยวกับเศรษฐกิจชุมชน จึงได้รวมหุ้นเป็นการระดมทุนในหมู่บ้าน    
    
4. โครงการการพัฒนาหอพักอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษา วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร จ.อุบลราชธานี โดย อาจารย์ถนอมศักดิ์ บุญสู่ และคณะ ได้นำผลการศึกษาและแนวทางการแก้ไขปัญหาหอพักเข้าที่ประชุมกรรมการบริหารระดับสูงของวิทยาลัย จึงเป็นโครงการตัวอย่างของวิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธรทั่วประเทศ และได้รับงบประมาณมาปรับปรุงหอพักทางกายภาพเป็นเงิน 1,500,000 บาท    
    
5.โครงการการจัดการอย่างมีส่วนร่วมในการปฏิสังขรณ์องค์เจ้าพระมหาธาตุของชุมชนบ้านธาตุ จังหวัดอุบลราชธานี โดย อาจารย์วศิน โกมุท และคณะ หลังเสร็จสิ้นโครงการ ทางเทศบาลตำบลแสนสุข ซึ่งมีนักวิชาการเข้ามาเป็นทีมวิจัยได้เห็นการใช้งานวิชาการนำงานพัฒนา โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในท้องถิ่น  จึงประสานนักวิจัยให้มาช่วยสอน  และพาเจ้าหน้าที่ของเทศบาลลงทำงานวิจัยในพื้นที่ โดยได้ตั้งงบประมาณของเทศบาล ในการทำงานวิจัย ซึ่งทางทีมวิจัยกำลังคิดรูปแบบและกระบวนการที่จะดำเนินการต่อไป  
 

 

  ทิศทางการทำงานของนักวิชาการชุดโครงการเสริมสร้างศักยภาพฯ ในอนาคต
ได้มีการรวมตัวกันของเครือข่ายนักวิชาการทั้ง 5 โครงการซึ่งมีนักวิชาการทั้งหมด 19 คน รวมทั้งที่ปรึกษาได้ร่วมกันจัดตั้งเป็น สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นภายใต้มูลนิธิประชาสังคม จังหวัดอุบลราชธานี   เพื่อเป็นสถาบันวิจัยของนักวิชาการทุกสังกัด ไม่ว่าจะอยู่ในสถาบันการศึกษา หน่วยงาน องค์กรเอกชน ก็สามารถเข้ามาร่วมเรียนรู้และทำงานวิจัยร่วมกันได้โดยมีหลักการ คือ การขยายแนวคิดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเชื่อมโยงงานวิจัยสู่การพัฒนาชุมชน เพื่อนำไปสู่นโยบายสาธารณะ
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  การจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงบ้านไหล่หิน ต.ไหล่หิน อ.เกาะตา จ.ลำปาง
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ดำเนินการวิจัยโดย :   ทีมวิจัยโครงการ การจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงบ้านไหล่หิน  ต.ไหล่หิน  อ.เกาะคา  จ.ลำปาง
บทเรียนที่เกิดขึ้นได้มีความพยายามที่จะมีการจัดการงานศพ เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของคนในชุมชน ทำให้มองเห็นแนวทางการสร้างรูปแบบของการจัดการงานศพที่ยึดหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” โดยใช้ปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านกระบวนการเรียนและการสร้างรูปแบบการจัดการงานศพ ให้เกิดเป็นรูปธรรมที่มีความเป็นไปได้เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายของเจ้าภาพที่เกิดขึ้น โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและปรับใช้ตามสถานการณ์ ผ่านข้อมูลจากการสะท้อนปัญหาในระดับพื้นที่
ในขณะเดียวกันการสร้างบทบาทใหม่ของอาจารย์ในรั้วมหาวิทยาลัยที่ได้ลงไปร่วมเรียนรู้ปัญหาของชุมชน และหาแนวทางของการเชื่อมโยงความรู้จากภายใน และภายนอกชุมชน เพื่อให้เกิดเป็นรูปแบบที่สอดคล้องและเหมาะสม ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญในการศึกษาที่มีส่วนในการคลี่คลายสถานการณ์ชุมชน ที่นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย
ผลสำเร็จและผลกระทบจากโครงการ
ระหว่างการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้ง 2 ระยะ พบความเชื่อมโยงของข้อมูลและข้อค้นพบที่น่าสนใจนำมาออกแบบเป็นกิจกรรมเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างสอดคล้อง การสร้างเครื่องมือของแบบสอบถามในทัศนะของเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงานศพ และใช้กลไกการคัดกรองอย่างมีส่วนร่วมให้ได้ประเด็นในการขยับเรื่องของรูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง 16 ประเด็น ซึ่งเป็นข้อสรุปภายใต้แนวคิดของตัวแทนกลุ่มคนชุมชน ได้แก่ 1) ควบคุมไม่ให้อาหารรั่วไหล  2) ใช้เครื่องปรุงพอประมาณ   3) ลดน้ำอัดลมเป็นน้ำเปล่า  4) ลดอาหารว่าง   5) เตรียมเมี่ยงอย่างพอประมาณ   6) ลดสุรา   7) งดเล่นการพนัน   8) งดจ้างวงดนตรี   9) ใช้ดอกไม้แห้งในหมู่บ้าน   10) ใช้โครงปราสาท   11) ยืมโลงทองที่สวยงามมาครอบโลงจริง   12) เก็บศพประมาณ 4 คืน 5 วัน   13) จัดผ้าบังสุกุลอย่างพอประมาณ   14) งดการจุดพลุและบั้งไฟ  15) ควรเปลี่ยนสำรับเป็นเงิน  16) ควรให้เงินสดแทนพวงหรีด  
และใช้ข้อสรุปที่ได้เป็นแนวทางในการขยับกิจกรรมในระยะที่ 2 เพื่อให้เกิดผลของการของการรับรู้ข้อมูลและข้อตกลงร่วมในการใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติของคนทั้งชุมชน ภายใต้เงื่อนไขของรูปแบบการจัดการงานศพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง  เกิดการนำร่องของแนวทางการจัดการงานศพเรื่อง เช่น วันดีวันเสีย การเปลี่ยนสำรับเป็นเงิน การเปลี่ยนพวงหรีดเป็นเงิน เพื่อทำให้เป็นบรรทัดฐานทางสังคม ให้ชุมชนรุ่นต่อๆไปได้เรียนรู้ และเข้าใจเพื่อสืบทอดรูปแบบทางความคิด วิธีปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง  
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ชุมชนบ้านผาแตก ต.สบเปิง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ดำเนินการวิจัยโดย : ทีมวิจัยโครงการ รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน  
    
ชุมชนบ้านผาแตก  หมู่ที่ 10  ต.สบเปิง  อ.แม่แตง  จ.เชียงใหม่
ผลสำเร็จของโครงการที่ได้รับ
• ทีมวิจัยและชาวบ้านในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจความหมายเรื่องของการท่องเที่ยวโดยชุมชน  
• การฟื้นฟูองค์ความรู้ชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์เด่นเกี่ยวกับเรื่องราววิถีชีวิตของตัวเอง รวมทั้งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิต
• การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนจากการเข้าร่วมกระบวนการของงานวิจัย ทั้งการคิดร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน หาความรู้และตรวจสอบความรู้ของชุมชน และรวมถึงการทำงานกับหน่วยงานในพื้นที่
• เกิดรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนชุมชนบ้านผาแตก ได้แก่
1 ) แบบกิจกรรมอาสาสมัคร  เน้นการศึกษาเรียนรู้และร่วมทำกิจกรรมด้านต่างๆกับชุมชน  
2 ) แบบศึกษาเรียนรู้ เน้นการเรียนรู้เรื่องราวของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าปกาเกอะญอ การดูแลรักษาทรัพยากร  
3) แบบระยะสั้น  เน้นการเที่ยวภายในชุมชน สัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบดั้งเดิม จากภูมิปัญญาชาวบ้าน
• ชาวบ้านเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติต่อการทำงานของหน่วยงานที่ส่งเสริมพัฒนาชุมชนในการสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวกับชาวบ้าน
ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับชุมชน
• เกิดการเรียนรู้การทำงานระหว่างชุมชนของหน่วยงานพี่เลี้ยงในพื้นที่โดยผ่านเครื่องมือ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น(CBR) ประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน จนเกิดเป็นรูปแบบ (model) ที่เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้วิธีการทำงานกับพื้นที่ท่องเที่ยวอีก 35 ศูนย์ของมูลนิธิโครงการหลวง
• อำเภอแม่แตง เป็นพื้นที่ตัวอย่างขยายการทำงานด้านท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ไปยังบ้านกื๊ดช้าง ต.กึ๊ดช้าง  อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
• กลุ่มเยาวชน รับการฝึกเรื่องศิลปะการแสดง จากการฟื้นฟูองค์ความรู้เดิมของผู้ใหญ่ในชุมชนนำไปแสดงเผยแพร่ในกิจกรรมงานต่างๆ ที่อำเภอจัดขึ้นเป็นประจำ
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  การจัดการศึกษาบูรณาการระหว่างนักเรียนกับชุมชนของโรงเรียนบ้านตะโละใส ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ดำเนินการวิจัยโดย :  ทีมวิจัยโครงการ การจัดการศึกษาบูรณาการระหว่างนักเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนบ้านตะโละใส ต.ปากน้ำ อ.ละงู  จ.สตูล
ผลสำเร็จของโครงการที่ได้รับ
ได้เครื่องมือในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็กนักเรียน 10 ขั้นตอน โดยเป็นเครื่องมือที่มุ่งให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง โดยการคิดเอง ทำเอง ประกอบด้วย ขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ 1) เรียนรู้เรื่องใกล้ตัว บอกความต้องการในเรื่องที่ตัวเองอยากเรียนรู้โดยให้เหตุผลประกอบ ซึ่งมีการสำรวจพื้นที่ก่อน 2) การวิเคราะห์จำแนก การคัดสรรเรื่อง ให้เหลือเพียงเรื่องเดียว ต้องเป็นเรื่องที่ผ่านการวิเคราะห์และเห็นด้วยจากเพื่อนร่วมชั้น  3) ย้อนรอยกระบวนการ ทบทวนวิธีการทำงานที่ได้มาของเรื่องว่าทำอย่างไร ผลเป็นแบบไหน   4) การพัฒนาโจทย์ เป็นการวิเคราะห์โจทย์ใหญ่ โดยการกำหนดเป้าหมาย ขอบเขต ความสัมพันธ์ในการศึกษาวิจัย  5) กิจกรรมการตั้งคำถามย่อย  มี ก) ฝึกทักษะการตั้งคำถาม  ข) กำหนดประเด็นคำถาม  ค) การพัฒนาประเด็นคำถาม 6) ค้นหาวิธีการเก็บข้อมูล โดยกำหนดวิธีการหาข้อมูล กำหนดเครื่องมือและกำหนด กติกา เกี่ยวกับการออกหาข้อมูล 7) เก็บข้อมูล ทำงานตามแผนที่วางไว้  8) สรุปและวิเคราะห์ตรวจสอบข้อมูล 9) ใช้ประโยชน์จากข้อมูล ทดลองทำหรือใช้ในสิ่งที่ได้ศึกษามาให้เห็นเป็นรูปธรรมจับต้องได้  10) สรุป/รายงาน โดยที่รวบรวมข้อมูล/ชิ้นงานเป็นรูปเล่ม  หนังสือเล่มเล็ก แผ่นพับ เอกสาร จัดนิทรรศการ เวทีเสวนา
นอกเหนือจาก 10 ขั้นกระบวนการที่ว่านี้ยังต้องมีชุดความรู้ที่ทีมวิจัยตัวน้อยๆ ต้องทำก่อนเริ่ม ระหว่างทำ และหลังจากจบในแต่ละขั้นตอนก็คือ  การเรียนรู้กระบวนการกลุ่ม มีบทบาทหน้าที่ต่างๆ คือ ประธานนำเสนอ สรุป /บันทึก บริการ ซึ่งจะต้องสับเปลี่ยนไม่ให้ซ้ำกัน
การนำไปใช้ประโยชน์
ครู รู้จักการวางแผนการจัดการเรียนรู้ ฝึกตนเองด้านวิธีการพูด สนทนา สามารถพูดจูงใจ พูดกระตุ้น พูดให้ข้อคิด รู้จักนักเรียนมากขึ้น
เด็ก มีทักษะการอ่าน เขียน พูด คิด/วิเคราะห์ ดีขึ้น รู้จักชุมชนมากขึ้น  
ชุมชน ชุมชนให้ความร่วมมือทั้งแรงคน ทุน ความคิด ความเอื้อเฟื้อ ความมีน้ำใจ ที่ชุมชนหยิบยื่นให้ ประโยชน์ต่อส่วนรวม เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับโรงเรียนและหน่วยงานอื่นๆ ที่เข้ามาเรียนรู้กระบวนการการจัดการเรียนการสอนที่เป็นทางเลือกใหม่ เพราะมีบทพิสูจน์ว่ากระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนสนุก มีความสุข และอยากเรียน
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  การสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่ความเป็นเครือข่ายตลาดนัดสีเขียวอย่างมีส่วนร่วม
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ดำเนินการวิจัยโดย :    ทีมวิจัยโครงการ การสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่ความเป็นเครือข่ายตลาดน้ดสีเขียวอย่างมีส่วนร่วม
ผลสำเร็จของโครงการที่ได้รับ
        
1. เกิดเครือข่ายความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์ความรู้เกษตรปลอดสารพิษของ 5 องค์กรเกษตรกรในจังหวัด ได้แก่ 1) เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดมหาสารคาม  2) เครือข่ายเทศบาลเมืองมหาสารคาม 3) เครือข่ายโครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมในเขตปฏิรูปที่ดินด้วยการทำการเกษตรผสมผสาน 4) เครือข่ายโรงพยาบาลเมืองมหาสารคาม  และ 5) เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกจังหวัดมหาสารคาม    
2. เกิดระบบความสัมพันธ์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค  เป็นพื้นที่ของการจัดการความรู้ ให้คนได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนรู้อย่างต่อเนื่องในตลาดหลายๆเรื่อง เช่น เรื่องเทคนิควิธีการผลิตพืชผักปลอดสาร การดูแลรักษาสุขภาพ สถานการณ์ปัญหาบ้านเมือง รวมไปถึงสถานการณ์โลก, กิจกรรมการรณรงค์ใช้ตะกร้าไปจ่ายตลาดเพื่อลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก และลดภาวะโลกร้อน , กิจกรรมเสวนาผู้ผลิตพบผู้บริโภค, ทัวร์ผู้บริโภคเยี่ยมแปลงผู้ผลิต
3. เกิดรูปแบบการหนุนเสริมงานกันอย่างลงตัวของภาคีองค์กรพี่เลี้ยง ประกอบด้วย 1) โครงการสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดมหาสารคาม 2) เทศบาลเมืองมหาสารคาม 3) โครงการปฏิรูปที่ดินด้วยการทำการเกษตรผสมผสาน(สปก.) 4) โรงพยาบาลเมืองมหาสารคาม 5) เกษตรและสหกรณ์จังหวัดมหาสารคาม 6) เกษตรจังหวัดมหาสารคาม  และ7) เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกจังหวัดมหาสารคาม
4. เกิดรูปแบบกลไกการบริหารจัดการตลาดสีเขียวที่เหมาะสมกับพื้นที่   มีระบบการตรวจสอบย้อนกลับของผลผลิตที่นำมาจำหน่ายในตลาด สร้างระบบความมั่นใจและเชื่อมั่นในการบริโภคสินค้า อาหารปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค มีระบบการออมทรัพย์จากการจัดเก็บเงินค่าแผงเพื่อใช้ในการบริหารจัดการตลาด และนำมาสู่การพึ่งตนเองด้านการเงิน นอกจากนี้ยังมีองค์กรพี่เลี้ยงทำหน้าที่คอยเป็นพี่เลี้ยงให้กับคณะกรรมการในการบริหารจัดการตลาดสีเขียวด้วย
 

 

24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  การนำไปใช้ประโยชน์
1. ทีมวิจัยชาวบ้าน ได้เรียนรู้วิธีการทำวิจัยและการมีส่วนร่วมในการวิจัย เข้าใจบทบาทและนำการวิจัยไปแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันในชุมชน ทุกคนสามารถพูดนำเสนองานได้อย่างเป็นระบบอย่างชัดเจน เกิดทักษะและองค์ความรู้ในการบริหารจัดการงานวิจัย จัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน ปรับเปลี่ยนวิธีคิดในการแก้ปัญหา  
2. พื้นที่เป้าหมาย (ตลาดสีเขียว) ได้เกิดรูปแบบการพัฒนาตลาดที่มีอัตลักษณ์ของระบบอาหารท้องถิ่น มีการแบ่งปัน รักใคร่ เรียนรู้ร่วมกันทุกคนเข้ามาร่วมกันทำงานด้วยความรัก ผูกพัน หนุนช่วยเหลือกัน ตามแบบวัฒนธรรมคนอีสาน  เมื่อมีสิ่งดีก็จะนำมาแจกจ่ายแบ่งปัน หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  มีความเป็นพี่เป็นน้องกัน  
3. หน่วยงานและองค์กรภาคีที่เกี่ยวข้อง
3.1 ตลาดนัดสีเขียวได้ถูกกำหนดจากทางจังหวัดให้พื้นที่ต้นแบบการบูรณาการการทำงานร่วมกันในรูปแบบพหุภาคี (stakeholder) ระหว่างนักวิชาการ นักวิจัยชาวบ้าน และ นักพัฒนาเอกชน ทั้งในเรื่องกระบวนการ แผนงานและงบประมาณในการขับเคลื่อนนโยบายอาหารปลอดภัยระดับจังหวัดมหาสารคาม
3.2 หน่วยงานภาครัฐ เช่น เกษตรและสหกรณ์จังหวัดมหาสารคาม เกษตรจังหวัดมหาสารคาม, เทศบาลจังหวัดมหาสารคาม โรงพยาบาลมหาสารคาม  และสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดมหาสารคาม บรรจุในแผนงานเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานตลาดนัดสีเขียวให้ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง  
3.3 สำนักงานกองทุนนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เห็นความสำคัญของการดำเนินงานโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกองทุน โดยใช้พื้นที่เป็นต้นแบบในการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของจังหวัดอื่นๆ และได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานต่อเนื่องผ่านโครงการสร้างเสริมสุขภาพ จังหวัดมหาสารคาม
3.4 องค์กรภาคีการทำงาน ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม, สำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม, เทศบาลเมืองมหาสารคาม, โรงพยาบาลมหาสารคาม, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, เกษตรและสหกรณ์จังหวัดมหาสารคาม, และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ร่วมมือกันนำผลการวิจัยไปเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การทำงานของจังหวัดมหาสารคาม
3.5 ตลาดนัดสีเขียวยังสามารถพัฒนาและยกระดับให้เป็นพื้นที่แหล่งเรียนรู้สำหรับนิสิตนักศึกษาในสถาบันการศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม เช่น เป็นสถานที่ฝึกงานและจัดกิจกรรมของนักศึกษา และเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนิสิต พนักงาน และอาจารย์ โดยการขยายผลการจัดตลาดสุขภาพเข้าไปสู่มหาวิทยาลัย
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  การสร้างยุทธศาสตร์การจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน บ้านนาบอน ต.ทุ่งงาม อ.เสริมงาม จ.ลำปาง
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ดำเนินการวิจัยโดย :  ทีมวิจัยโครงการ การสร้างยุทธศาสตร์การจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
บ้านนาบอน  หมู่ 2  ต.ทุ่งงาม  อ.เสริมงาม  จ.ลำปาง
บ้านนาบอนเป็นพื้นที่สาธารณะในหมู่บ้านที่ได้โอนกรรมสิทธิ์ให้เทศบาลตำบลทุ่งงามเป็นผู้รับผิดชอบและใช้ประโยชน์ในการจัดการขยะ โดยเทศบาลมีวิธีกำจัดขยะโดยการเทกองแล้วเผา และรอให้เกิดการย่อยสลายตามธรรมชาติ  ในปีพ.ศ.2548 เกิดสถานการณ์ที่ชุมชนได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษทางอากาศ และกลิ่นเหม็นที่เกิดจากขยะ และต่อเนื่องไปจนถึงปี พ.ศ.2551 ที่ส่งผลทางด้านสุขภาพของคนในชุมชน ทั้งโรคภูมิแพ้ ระคายเคือง ปวดเมื่อย และเหงือกบวม  
ผลสำเร็จของโครงการ
เกิดรูปแบบการเรียนรู้  เกิดกลไก และแนวทางการแก้ไขปัญหาขยะที่อาศัยข้อมูลจากงานวิจัย ตอกย้ำรูปธรรมการสร้างแนวทางการทำงานวิจัยที่ใช้ฐานของชุมชนเป็นตัวตั้งในการแก้ไขปัญหา ในรูปแบบของการสร้างคุณค่าวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาโท เพื่อวางกลยุทธ์การแก้ไขปัญหา และให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาในระดับนโยบายท้องถิ่น  
หลังจากผู้วิจัย นักวิจัยชุมชน ตลอดจนคนในชุมชนบ้านนาบอนได้ทราบถึงสภาพปัญหาขยะที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดการจุดประกาย และกระตุ้นให้เกิดการสร้างจิตสำนึกในการแก้ไขปัญหาขยะของชุมชนร่วมกันด้วยการร่วมลงมือปฏิบัติ  ด้วยความพร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมในการจัดการปัญหาขยะของชุมชน เกิดทีมนักวิจัยชุมชนที่สามารถเป็นแกนนำในการศึกษาสำรวจข้อมูล สถานการณ์ขยะ และกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การปฏิบัติการร่วมกันในการพัฒนา ทั้งในระดับครัวเรือนของตนเอง การคัดแยกขยะ การทำน้ำหมักชีวภาพ  จนสามารถคลี่คลายปัญหาขยะในชุมชนภายใต้รูปแบบที่เหมาะสมและสอดคล้อง และเป็นต้นแบบของการจัดการขยะชุมชนที่กองอนามัยและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลเสริมงาม พร้อมให้การอุดหนุนงบประมาณการดำเนินงานต่อไป

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ความผันผวนและเบี่ยงเบนของนโยบายพลังงานทางเลือก
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันดีเซลของไทยมีมากถึงวันละ 48.5 ล้านลิตร และเกี่ยวข้องกับภาคขนส่งโดยตรง และกระทบต่อภาคสาธารณะมากที่สุด รัฐมนตรีพลังงานของรัฐบาลชุดที่แล้ว กลับละเลยความสำคัญของไบโอดีเซล พยายามประกาศวาระแห่งชาติ ด้วยการส่งเสริมการใช้ E85 โดยที่ความต้องการใช้น้ำมันเบนซินทั้งประเทศมีเพียงวันละ 19 ล้านลิตร และผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงเป็นชนชั้นกลางที่ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล กรณีนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนของความเบี่ยงเบนในนโยบายพลังงานทางเลือก
อีกกรณีหนึ่งคือ เมื่อราคาขายปลีกดีเซลหมุนเร็วในประเทศ ขึ้นถึงลิตรละ 40 บาท ภาคขนส่งเดือดร้อนไปทั่ว ต่างพากันหันไปติดตั้งระบบก๊าซ NGV แทน ทั้งๆ ที่ NGV ยังคงไม่พร้อมทั้งในด้านขนส่งและจัดจำหน่าย รวมทั้งปัญหาค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษา และระยะยาวจะเป็นการแย่งแหล่งพลังงานสำหรับการผลิตไฟฟ้า และส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนค่าไฟฟ้า กรณีนี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความเบี่ยงเบนในเชิงนโยบาย
การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเป็นระยะเวลา 6 เดือนของรัฐบาลชุดที่แล้ว ทำให้แต้มต่อระหว่างน้ำมันดีเซลจากฟอสซิล และไบโอดีเซลจากชีวภาพ ซึ่งมีมูลค่าราว 2.7 บาทต่อลิตร ขาดหายไปในทันที พลังงานทางเลือกไม่อาจเบียดแทรกเข้าไปทดแทนพลังงานจากฟอสซิลได้เลย หากไม่มีแต้มต่อสำหรับการส่งเสริมในช่วงแรก และที่สำคัญที่สุดคือ ไม่ว่าจะรู้หรือไม่ก็ตาม มาตรการนี้เป็นการฆ่าทำลายพลังงานทางเลือกโดยตรง
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  แรงบีบคั้น 3 ด้านของผู้ผลิตพลังงานทางเลือก
 ผู้ผลิตไบโอดีเซลชนิด B100 ในปัจจุบันรวม 10 ราย มีกำลังผลิตรวมกัน 2.9 ล้านลิตรต่อวัน ลำพังบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่อย่าง ปตท. และบางจาก (ไม่รวมรายอื่นๆที่กำลังซุ่มวิจัยเพื่อทำการผลิต) มีกำลังผลิตไบโอดีเซลรวมกันวันละประมาณ 0.75 ล้านลิตร และขยายเป็น 1 ล้านลิตรในปีหน้า ในขณะที่ความต้องการน้ำมันไบโอดีเซลในปัจจุบันมีอยู่เพียง 1.3 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งหมายความว่า ผู้ผลิตไบโอดีเซลรายอื่นๆ ผลิตเพียง 25% ของกำลังผลิตที่แท้จริง
ผู้ผลิตน้ำมันไบโอดีเซลที่ไม่ใช่บริษัทน้ำมัน กำลังเผชิญกับแรงบีบคั้นถึง 3 ด้าน ด้านหนึ่งจากยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตน้ำมัน ซึ่งเป็นผู้รับซื้อรายใหญ่ เพื่อนำไปผสมกับน้ำมันดีเซลที่มีความต้องการวันละ 48.5 ล้านลิตร และถูกบังคับผสมไบโอดีเซลไว้เพียง 2% พวกเขาคุมช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดประมาณ 18,000 แห่ง โดยมีอยู่เพียง 1,600 แห่งเท่านั้นที่ขายไบโอดีเซล ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ผลิตพลังงานทางเลือกรายใหญ่ ที่ร่วมแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นๆ ทำให้สามารถสร้างระบบผูกขาด กำหนดราคา หรือกดราคาให้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่รัฐกำหนด หรือกำหนดมาตรฐานใหม่ๆให้สูงขึ้น เพื่อเป็นการกีดกันผู้ผลิตรายอื่นๆ
 

 

 แรงบีบคั้นจากยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตน้ำมันในธุรกิจพลังงานทางเลือก จะยังคงอยู่ต่อไปอีกยาวนานตราบเท่าที่พวกเขาสามารถคุมช่องทางการจัดจำหน่าย หรือจนกว่าผู้ผลิตพลังงานทางเลือกรายอื่นๆสามารถมีช่องทางการจัดจำหน่ายของตนเองที่ไม่ต้องพึ่งพาบริษัทน้ำมัน หรือรัฐจัดตั้งองค์กรกลางรับซื้อพลังงานทางเลือกแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตน้ำมัน แทนที่จะปล่อยให้บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่เป็นผู้ผูกขาดการรับซื้อแต่ฝ่ายเดียว
แรงบีบคั้นอีกทางหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันได้ผ่อนคลายลงไปบ้างแล้ว คือ แรงบีบคั้นจากผู้ผลิตวัตถุดิบ การเติบโตของพลังงานทางเลือกในช่วงแรก โดยเฉพาะภาวะตื่นตระหนก ได้ก่อให้เกิดกระแสการขาดแคลนวัตถุดิบ กระทั่งกระแสตื่นตระหนกกลัวว่า จะกระทบต่อราคาอาหาร ต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น ได้ทำให้ผู้ผลิตรายเล็กและรายกลางไม่สามารถยืนหยัดอยู่ต่อไป ต้องเลิกกิจการไปเป็นจำนวนมาก
ทางออกของแรงบีบคั้นนี้ นอกจากผู้ผลิตจะต้องมีแหล่งวัตถุดิบของตนเองแล้ว หรือเป็นพันธมิตรกับแหล่งวัตถุดิบในรูปของ contract farming หรือรับจ้างผลิต นโยบายการกระจายโรงงานออกไปตามภูมิภาคต่างๆ โดยแต่ละแห่งมีกำลังผลิตแห่งละ 20,000 ถึง 50,000 ลิตรต่อวัน อาจช่วยในการลดแรงบีบคั้นในเรื่องวัตถุดิบ ขณะเดียวกันก็แก้ปัญหาช่องทางการจัดจำหน่ายไปในตัว
 

 

24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  แรงบีบคั้นสุดท้าย อาจจะอยู่ในรูปที่มองไม่เห็น หรือเจ็บปวดเกินกว่าที่จะยอมรับ หากยอมรับว่าน้ำมันกำลังจะหมดจากโลกนี้ไป และพลังงานจากชีวภาพทั้งหลายไม่ใช่คำตอบสุดท้าย สำหรับการทดแทนน้ำมันอย่างแท้จริง
สิ่งที่พอมองเห็นในขณะนี้ พลังงานไฮโดรเจนจากน้ำ ซึ่งมีอยู่มากมาย มีศักยภาพที่จะเข้าแทนที่น้ำมันได้แทบทั้งหมด สิ่งเดียวที่ต้องทำ คือรอคอยเวลาสำหรับการพัฒนาความสมบูรณ์ของเทคโนโลยี
ไบโอดีเซล หรือพลังงานจากชีวภาพอื่นๆ เป็นพลังงานที่อยู่บนเส้นทางเปลี่ยนผ่าน ในช่วงที่น้ำมันมีราคาสูงขึ้นและกำลังจะหมดไป และมีวงจรชีวิตอยู่จนกระทั่งถึงวันที่พลังงานใหม่จากไฮโดรเจน หรือจากแหล่งอื่นๆ จะเข้าแทนที่น้ำมันได้แทบทั้งหมด วงจรชีวิตไม่ได้ยืนยาวนานอย่างที่คิด
ในอีกแง่มุมหนึ่ง พลังงานจากชีวภาพ เป็นเพียงเครื่องมือที่ถูกหยิบยืมมาสำหรับการยืดอายุขัยของยุคน้ำมันให้ยืนยาวที่สุด โดยอาจจะจบสิ้นไปพร้อมๆกับยุคน้ำมัน เส้นทางนี้อาจเป็นสิ่งที่บริษัทยักษ์ใหญ่น้ำมันทั้งหลายได้คาดการณ์ไว้แล้ว
 

 
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  การเพิ่มมาตรฐานเป็น B5 และ B10
24 ผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2551  การเพิ่มสัดส่วนของพลังงานทางเลือก โดยการบังคับให้ผสมน้ำมันไบโอดีเซลในสัดส่วนที่สูงขึ้นเป็น B5 และ B10 ซึ่งทำให้ความต้องการน้ำมันไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 2.4 ล้านลิตร และ 4.8 ล้านลิตรตามลำดับ ช่วยทำให้ตลาดพลังงานทางเลือกเติบโตขึ้น
อย่างไรก็ตามแรงผลักดันมาตรฐานดังกล่าว ในที่สุดแล้วขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตน้ำมันโดยตรง หากพวกเขาพร้อมและมองว่าได้ประโยชน์มากกว่าเดิม อานิสงค์อาจไปไม่ถึงผู้ผลิตพลังงานทางเลือก หรือผู้บริโภค โดยเฉพาะภาคขนส่ง
ความเป็นไปได้ของการประนีประนอมระหว่างผู้ผลิตน้ำมันและพลังงานทางเลือก โดยแต่ละฝ่ายได้ประโยชน์ คือ การผลิตไบโอดีเซลทดแทนการนำเข้าดีเซลสำเร็จรูปจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนราว 2 ล้านลิตรต่อวัน หรือเทียบเท่ากับ B4 เท่านั้น ดังนั้นการประกาศใช้มาตรฐาน B10 ยังเป็นเรื่องที่ต้องต่อสู้กันอีกยาว
 

 


 

   

 แหล่งที่มา :  ประชาคมวิจัย ฉบับที่ 83

อัพเดทล่าสุด