เพื่ออนาคต : วิวัฒนาการหรือแต่ปางก่อน


962 ผู้ชม


เพื่ออนาคต : วิวัฒนาการหรือแต่ปางก่อน
เพื่ออนาคต : วิวัฒนาการหรือแต่ปางก่อน  รศ.ดร.ชัยวัฒน์   คุประตกุล
[email protected]

อ่านบทความย้อนหลังได้ทางhttps://rescom.trf.or.th
สัญชาตญาณของมนุษย์ ของสรรพสัตว์ มีกำเนิดมาจากไหน?
สำหรับคนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์เชื่อมั่นว่า ทราบคำตอบอย่างชัดเจนอยู่แล้วและคำตอบ คือ วิวัฒนาการ...
แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ ซึ่งไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ก็เชื่อมั่นว่า ทราบคำตอบอย่างชัดเจนอยู่แล้ว และคำตอบคือ เป็นเรื่องของการสืบทอดลักษณะเฉพาะแต่ปางก่อน   ข้ามภพข้ามชาติ  จากอดีตถึงปัจจุบัน

 

 

เพื่ออนาคต : วิวัฒนาการหรือแต่ปางก่อน  อย่างแน่นอน คำถามที่ชัดเจนนี้ จะต้องมีคำตอบที่ถูก ซึ่งคำตอบที่ถูก จะเป็นอย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับวิธีการค้นหาคำตอบที่ถูก และถึงแม้คำตอบที่ถูกที่สุดวันนี้ อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกที่สุดในอีกหนึ่งร้อยปีข้างหน้า แต่ที่แน่นอน สำหรับ “ตุ๊กตา” คำตอบที่เสนอกันขึ้นมาสองคำตอบนั้น มีความขัดแย้งกันอย่างสุดโต่ง จนกระทั่ง จะเป็นคำตอบที่ถูกทั้งสองคำตอบ ย่อมไม่น่าจะได้!
หรือ...ก็เป็นไปได้ ?
“เพื่ออนาคต” วันนี้ มีเป้าหมายที่จะนำท่านผู้อ่าน ไปสำรวจตรวจสอบคำตอบที่เสนอกันขึ้นมา  ภายในกรอบวุฒิปัญญาของมนุษย์เราวันนี้  สัญชาตญาณมีที่มาอย่างน่าจะถูกต้องที่สุด คือ เป็นผลของวิวัฒนาการ หรือ เป็นเรื่องของการข้ามภพข้ามชาติ ?
หรือ...มีคำตอบที่สามอีก ?
สัญชาตญาณ เป็นคุณลักษณะเฉพาะ “วงสัตว์แต่ละชนิด รวมถึงมนุษย์ด้วย ที่ติดตัวหรือเกิดขึ้นเองมาตั้งแต่กำเนิด”
สัญชาตญาณของเด็กเกิดใหม่และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่รู้จักกินนมแม่ตั้งแต่เกิด สัญชาตญาณของสัตว์ป่าที่มีกันรอบตัวตั้งแต่เกิด จะต้องลุกขึ้น และช่วยตนเองได้อย่างรวดเร็ว ดังเช่น ลูกม้า ลูกวัว ลูกช้าง ฯลฯ
 

 

เพื่ออนาคต : วิวัฒนาการหรือแต่ปางก่อน  ในขณะเดียวกัน สัญชาตญาณของเด็กทารกมนุษย์ต่อการปกป้องตนเอง จะมีน้อยกว่าลูกสัตว์ป่า  เพราะทารกมนุษย์จะช่วยตนเองไม่ได้อยู่นานหลายเดือน จนกว่าจะคลานได้ ลุกขึ้นยืนได้ เดินหรือวิ่งหนีภัยได้
สัญชาตญาณของสัตว์ที่ดูจะรู้ตั้งแต่ยังเป็นลูกสัตว์คลอดได้ไม่กี่วันว่าอะไรเป็นศัตรู อะไรเป็นมิตร
อย่างแน่นอน สำหรับมนุษย์ สัญชาตญาณก็มิใช่ทุกสิ่งที่จะช่วยปกป้องมนุษย์ ให้รู้จักดูแลรักษาตนเองให้ปลอดภัย หลายอย่างก็ต้องมาจากประสบการณ์ เช่น เด็กเล็กจะไม่รู้ว่า ไฟเป็นอันตราย การปีนป่ายที่สูง เช่น ชั้นหนังสือหรือโต๊ะ อันตราย  การเล่นกับของมีคม อันตราย
แล้วสัญชาตญาณ มาจากไหน ?
ในเชิงวิทยาศาสตร์ ความเป็นตัวตนของมนุษย์ทุกคน ที่เติบโตถึงระดับหนึ่ง ส่วนหนึ่งจะมาจากพันธุกรรมหรือยีน   ซึ่งสืบทอดมาจากผู้เป็นแม่และพ่อคนละครึ่ง  ดังเช่น ความเป็นเพศหญิง เพศชาย ลักษณะทางกายภาพ สูง ต่ำ ดำ ขาว ตาสีดำ สีเทาหรือสีฟ้า ผมสีดำหรือสีทอง...
อีกส่วนหนึ่ง จะมาจากการเรียนรู้ ซึ่งอาจโดยประสบการณ์ และโดยการศึกษา
ถ้าความเป็นตัวตนของมนุษย์ มีเพียงเท่านี้ คือ มียีนเป็นตัวกำหนดความเป็นตัวตนขั้นต้น เชิงกายภาพของมนุษย์ทั้งหมด สัญชาตญาณของมนุษย์ตั้งแต่เกิด ก็น่าจะขึ้นอยู่กับยีน เป็นสำคัญ
แสดงว่า สัญชาตญาณของมนุษย์ ก็ต้องถ่ายทอดจากผู้ให้กำเนิดได้ผ่านทางยีนและก็มิใช่เฉพาะยีนของผู้ให้กำเนิดโดยตรงคือ คุณแม่และคุณพ่อ  สิ่งที่ตกทอดทางยีนมาถึงมนุษย์แต่ละคน ก็จะสืบสาวย้อนที่มาไปไกลในอดีตอีก ถึงยีนของบรรพบุรุษรุ่นก่อน ๆ  
นี่เอง คือ แนวคิดหนึ่งของการมองกำเนิดที่มาของสัญชาตญาณว่า น่าจะมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากบรรพบุรุษรุ่นก่อน ๆ และก็คือ ผลพวงของวิวัฒนาการของชีวิตมนุษย์นั่นเอง ที่มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นทอด ๆ หลายชั่วรุ่น และแต่ละชั่วรุ่นก็จะปรับเปลี่ยนให้อยู่รอดได้ดียิ่งขึ้น  ซึ่งจะสอดคล้องกับทฤษฎีวิวัฒนาการของชีวิตบนโลกของชาร์ลส์  ดาร์วิน นั่นเอง
 

 

เพื่ออนาคต : วิวัฒนาการหรือแต่ปางก่อน  แล้วแนวคิดคำตอบว่า สัญชาตญาณมาจากการข้ามภพข้ามชาติล่ะ?
ข้อมูลสนับสนุนแนวคิดนี้ หนักแน่นที่สุดคือ หลักฐานเรื่องของเด็กบางคนในหลายประเทศทั่วโลก ที่ออกมาแสดงตนว่า ตนเคยเป็นคนบางคนในชาติปางก่อน แล้วกลับชาติมาเกิดใหม่ โดยสามารถบอกถึงรายละเอียดเฉพาะส่วนบุคคลของคนบางคนที่ถูกอ้างอิงว่า เป็นตัวคนชาติก่อนของเด็กมาก่อน และก็สามารถบอกชื่อบอกรายละเอียดเกี่ยวกับคนอื่น ๆ ในครอบครัว รวมไปถึงสภาพของบ้าน ของท้องถิ่นที่อ้างว่า ตนเคยมีชีวิตอยู่มาก่อน โดยที่เด็กคนนั้น ๆ ไม่เคยไปยังสถานที่หรือรู้จักกับครอบครัวที่ถูกอ้างถึงมาก่อนเลย
อย่างแน่นอน มีอยู่หลายกรณี ซึ่งในที่สุดก็ถูกจับได้ว่า สร้างเรื่องขึ้นมา แต่ก็มีอยู่บางกรณีบางราย ซึ่งแม้แต่องค์พระดะไล ลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณของธิเบตองค์ปัจจุบัน ซึ่งแตกฉานอย่างลึกซึ้งอยู่แล้วทางพุทธศาสนา  แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีความรู้ความเข้าใจวิทยาศาสตร์ยุคใหม่อย่างลึกซึ้ง และให้ความสำคัญของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับการตัดสินใจในเรื่องของความเชื่อความศรัทธาต่าง ๆ  ก็ยอมรับว่า เรื่องราวของเด็กที่ระลึกชาติได้บางคนนั้น เป็นเรื่องราวมีข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธยาก
ถ้ากรณีของการเกิดใหม่ข้ามภพข้ามชาติเป็นเรื่องจริง  ก็ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าจะต้องมีบางสิ่งบางอย่างที่เชื่อมโยงชีวิตคนเราระหว่างภพ ระหว่างชาติ ดังนั้นความคิด ความทรงจำของคนเราจึงอาจจะถ่ายทอดข้ามภพข้ามชาติได้  รวมไปถึงเรื่องของสัญชาตญาณด้วย
 

 

เพื่ออนาคต : วิวัฒนาการหรือแต่ปางก่อน  ถึงวันนี้ เรื่องที่มาของสัญชาตญาณ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ของมนุษย์) จึงมีทั้งแนวคิดและข้อมูลหลักฐานที่สนับสนุนทั้งแนวคิดเรื่องสัญชาตญาณว่า เป็นเรื่องของวิวัฒนาการ และเรื่องของการข้ามภพข้ามชาติมาแต่ปางก่อน
แล้วแนวคิดใด น่าจะเป็นไปได้มากกว่า?  
จริง ๆ แล้ว ทั้งสองแนวคิด เมื่อมาวิเคราะห์อย่างละเอียดลึกซึ้งก็มี “จุดอ่อน”  ทั้งสองแนวคิด เพราะกรณีของวิวัฒนาการก็ยังขาด “หลักฐานที่ปฏิเสธไม่ได้”   ส่วนกรณีของแต่ปางก่อน  กรณีตัวอย่างที่เชื่อถือได้ก็มีน้อยเกินไป
ดังนั้น บทสรุปเรื่องนี้ ถึงขณะนี้จึงยังถือเป็นประเด็นที่เปิดอยู่ที่ยังจะต้องถกเถียง ต้องศึกษาต่อไปได้อีก จนกว่าจะมีหลักฐานข้อมูลชนิดที่ปฏิเสธไม่ได้ ช่วยตัดสินว่าแนวคิดใดถูก
แล้วแนวคิดที่สามล่ะ   จะมีได้หรือไม่?
คำตอบอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ คือ ทราบเท่าที่คำถามหนึ่งยังไม่มีคำตอบอันเป็นที่ยุติ โอกาสที่จะมีคำตอบที่คาดกันไม่ถึงมาก่อน  ก็เป็นไปได้เสมอ!

 
เพื่ออนาคต : วิวัฒนาการหรือแต่ปางก่อน  ความผันผวนและเบี่ยงเบนของนโยบายพลังงานทางเลือก
เพื่ออนาคต : วิวัฒนาการหรือแต่ปางก่อน  ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันดีเซลของไทยมีมากถึงวันละ 48.5 ล้านลิตร และเกี่ยวข้องกับภาคขนส่งโดยตรง และกระทบต่อภาคสาธารณะมากที่สุด รัฐมนตรีพลังงานของรัฐบาลชุดที่แล้ว กลับละเลยความสำคัญของไบโอดีเซล พยายามประกาศวาระแห่งชาติ ด้วยการส่งเสริมการใช้ E85 โดยที่ความต้องการใช้น้ำมันเบนซินทั้งประเทศมีเพียงวันละ 19 ล้านลิตร และผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงเป็นชนชั้นกลางที่ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล กรณีนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนของความเบี่ยงเบนในนโยบายพลังงานทางเลือก
อีกกรณีหนึ่งคือ เมื่อราคาขายปลีกดีเซลหมุนเร็วในประเทศ ขึ้นถึงลิตรละ 40 บาท ภาคขนส่งเดือดร้อนไปทั่ว ต่างพากันหันไปติดตั้งระบบก๊าซ NGV แทน ทั้งๆ ที่ NGV ยังคงไม่พร้อมทั้งในด้านขนส่งและจัดจำหน่าย รวมทั้งปัญหาค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษา และระยะยาวจะเป็นการแย่งแหล่งพลังงานสำหรับการผลิตไฟฟ้า และส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนค่าไฟฟ้า กรณีนี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความเบี่ยงเบนในเชิงนโยบาย
การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเป็นระยะเวลา 6 เดือนของรัฐบาลชุดที่แล้ว ทำให้แต้มต่อระหว่างน้ำมันดีเซลจากฟอสซิล และไบโอดีเซลจากชีวภาพ ซึ่งมีมูลค่าราว 2.7 บาทต่อลิตร ขาดหายไปในทันที พลังงานทางเลือกไม่อาจเบียดแทรกเข้าไปทดแทนพลังงานจากฟอสซิลได้เลย หากไม่มีแต้มต่อสำหรับการส่งเสริมในช่วงแรก และที่สำคัญที่สุดคือ ไม่ว่าจะรู้หรือไม่ก็ตาม มาตรการนี้เป็นการฆ่าทำลายพลังงานทางเลือกโดยตรง
 

 
เพื่ออนาคต : วิวัฒนาการหรือแต่ปางก่อน  แรงบีบคั้น 3 ด้านของผู้ผลิตพลังงานทางเลือก
 ผู้ผลิตไบโอดีเซลชนิด B100 ในปัจจุบันรวม 10 ราย มีกำลังผลิตรวมกัน 2.9 ล้านลิตรต่อวัน ลำพังบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่อย่าง ปตท. และบางจาก (ไม่รวมรายอื่นๆที่กำลังซุ่มวิจัยเพื่อทำการผลิต) มีกำลังผลิตไบโอดีเซลรวมกันวันละประมาณ 0.75 ล้านลิตร และขยายเป็น 1 ล้านลิตรในปีหน้า ในขณะที่ความต้องการน้ำมันไบโอดีเซลในปัจจุบันมีอยู่เพียง 1.3 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งหมายความว่า ผู้ผลิตไบโอดีเซลรายอื่นๆ ผลิตเพียง 25% ของกำลังผลิตที่แท้จริง
ผู้ผลิตน้ำมันไบโอดีเซลที่ไม่ใช่บริษัทน้ำมัน กำลังเผชิญกับแรงบีบคั้นถึง 3 ด้าน ด้านหนึ่งจากยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตน้ำมัน ซึ่งเป็นผู้รับซื้อรายใหญ่ เพื่อนำไปผสมกับน้ำมันดีเซลที่มีความต้องการวันละ 48.5 ล้านลิตร และถูกบังคับผสมไบโอดีเซลไว้เพียง 2% พวกเขาคุมช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดประมาณ 18,000 แห่ง โดยมีอยู่เพียง 1,600 แห่งเท่านั้นที่ขายไบโอดีเซล ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ผลิตพลังงานทางเลือกรายใหญ่ ที่ร่วมแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นๆ ทำให้สามารถสร้างระบบผูกขาด กำหนดราคา หรือกดราคาให้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่รัฐกำหนด หรือกำหนดมาตรฐานใหม่ๆให้สูงขึ้น เพื่อเป็นการกีดกันผู้ผลิตรายอื่นๆ
 

 

 แรงบีบคั้นจากยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตน้ำมันในธุรกิจพลังงานทางเลือก จะยังคงอยู่ต่อไปอีกยาวนานตราบเท่าที่พวกเขาสามารถคุมช่องทางการจัดจำหน่าย หรือจนกว่าผู้ผลิตพลังงานทางเลือกรายอื่นๆสามารถมีช่องทางการจัดจำหน่ายของตนเองที่ไม่ต้องพึ่งพาบริษัทน้ำมัน หรือรัฐจัดตั้งองค์กรกลางรับซื้อพลังงานทางเลือกแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตน้ำมัน แทนที่จะปล่อยให้บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่เป็นผู้ผูกขาดการรับซื้อแต่ฝ่ายเดียว
แรงบีบคั้นอีกทางหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันได้ผ่อนคลายลงไปบ้างแล้ว คือ แรงบีบคั้นจากผู้ผลิตวัตถุดิบ การเติบโตของพลังงานทางเลือกในช่วงแรก โดยเฉพาะภาวะตื่นตระหนก ได้ก่อให้เกิดกระแสการขาดแคลนวัตถุดิบ กระทั่งกระแสตื่นตระหนกกลัวว่า จะกระทบต่อราคาอาหาร ต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น ได้ทำให้ผู้ผลิตรายเล็กและรายกลางไม่สามารถยืนหยัดอยู่ต่อไป ต้องเลิกกิจการไปเป็นจำนวนมาก
ทางออกของแรงบีบคั้นนี้ นอกจากผู้ผลิตจะต้องมีแหล่งวัตถุดิบของตนเองแล้ว หรือเป็นพันธมิตรกับแหล่งวัตถุดิบในรูปของ contract farming หรือรับจ้างผลิต นโยบายการกระจายโรงงานออกไปตามภูมิภาคต่างๆ โดยแต่ละแห่งมีกำลังผลิตแห่งละ 20,000 ถึง 50,000 ลิตรต่อวัน อาจช่วยในการลดแรงบีบคั้นในเรื่องวัตถุดิบ ขณะเดียวกันก็แก้ปัญหาช่องทางการจัดจำหน่ายไปในตัว
 

 

เพื่ออนาคต : วิวัฒนาการหรือแต่ปางก่อน  แรงบีบคั้นสุดท้าย อาจจะอยู่ในรูปที่มองไม่เห็น หรือเจ็บปวดเกินกว่าที่จะยอมรับ หากยอมรับว่าน้ำมันกำลังจะหมดจากโลกนี้ไป และพลังงานจากชีวภาพทั้งหลายไม่ใช่คำตอบสุดท้าย สำหรับการทดแทนน้ำมันอย่างแท้จริง
สิ่งที่พอมองเห็นในขณะนี้ พลังงานไฮโดรเจนจากน้ำ ซึ่งมีอยู่มากมาย มีศักยภาพที่จะเข้าแทนที่น้ำมันได้แทบทั้งหมด สิ่งเดียวที่ต้องทำ คือรอคอยเวลาสำหรับการพัฒนาความสมบูรณ์ของเทคโนโลยี
ไบโอดีเซล หรือพลังงานจากชีวภาพอื่นๆ เป็นพลังงานที่อยู่บนเส้นทางเปลี่ยนผ่าน ในช่วงที่น้ำมันมีราคาสูงขึ้นและกำลังจะหมดไป และมีวงจรชีวิตอยู่จนกระทั่งถึงวันที่พลังงานใหม่จากไฮโดรเจน หรือจากแหล่งอื่นๆ จะเข้าแทนที่น้ำมันได้แทบทั้งหมด วงจรชีวิตไม่ได้ยืนยาวนานอย่างที่คิด
ในอีกแง่มุมหนึ่ง พลังงานจากชีวภาพ เป็นเพียงเครื่องมือที่ถูกหยิบยืมมาสำหรับการยืดอายุขัยของยุคน้ำมันให้ยืนยาวที่สุด โดยอาจจะจบสิ้นไปพร้อมๆกับยุคน้ำมัน เส้นทางนี้อาจเป็นสิ่งที่บริษัทยักษ์ใหญ่น้ำมันทั้งหลายได้คาดการณ์ไว้แล้ว
 

 
เพื่ออนาคต : วิวัฒนาการหรือแต่ปางก่อน  การเพิ่มมาตรฐานเป็น B5 และ B10
เพื่ออนาคต : วิวัฒนาการหรือแต่ปางก่อน  การเพิ่มสัดส่วนของพลังงานทางเลือก โดยการบังคับให้ผสมน้ำมันไบโอดีเซลในสัดส่วนที่สูงขึ้นเป็น B5 และ B10 ซึ่งทำให้ความต้องการน้ำมันไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 2.4 ล้านลิตร และ 4.8 ล้านลิตรตามลำดับ ช่วยทำให้ตลาดพลังงานทางเลือกเติบโตขึ้น
อย่างไรก็ตามแรงผลักดันมาตรฐานดังกล่าว ในที่สุดแล้วขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตน้ำมันโดยตรง หากพวกเขาพร้อมและมองว่าได้ประโยชน์มากกว่าเดิม อานิสงค์อาจไปไม่ถึงผู้ผลิตพลังงานทางเลือก หรือผู้บริโภค โดยเฉพาะภาคขนส่ง
ความเป็นไปได้ของการประนีประนอมระหว่างผู้ผลิตน้ำมันและพลังงานทางเลือก โดยแต่ละฝ่ายได้ประโยชน์ คือ การผลิตไบโอดีเซลทดแทนการนำเข้าดีเซลสำเร็จรูปจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนราว 2 ล้านลิตรต่อวัน หรือเทียบเท่ากับ B4 เท่านั้น ดังนั้นการประกาศใช้มาตรฐาน B10 ยังเป็นเรื่องที่ต้องต่อสู้กันอีกยาว
 

 


 

   

 แหล่งที่มา :  ประชาคมวิจัย ฉบับที่ 83

อัพเดทล่าสุด