ประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตสำหรับการทำวิจัยในต่างประเทศของนักศึกษา คปก. : Monash University เมือง Melbourne ประเทศออสเตรเลีย


1,666 ผู้ชม


ประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตสำหรับการทำวิจัยในต่างประเทศของนักศึกษา คปก. : Monash University เมือง Melbourne ประเทศออสเตรเลีย
ประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตสำหรับการทำวิจัยในต่างประเทศของนักศึกษา คปก. : Monash University เมือง Melbourne ประเทศออสเตรเลีย  อ.น.สพ.ดร. ปณัฐ อนุรักษ์ปรีดา  
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
[email protected]      
อาจารย์ที่ปรึกษา: รศ.ดร. ชัยทิพย์ วนิชานนท์  
ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  
[email protected]

ผมอาจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. ปณัฐ อนุรักษ์ปรีดา ผมจบการศึกษาระดับปริญญาตรี   สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (สพ.บ., เกียรตินิยม) จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.2544 และในปี พ.ศ. 2546 ผมได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอก (หลักสูตรนานาชาติ) ที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผมเป็นนักศึกษาทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) รุ่นที่ 7 โดยมี รศ.ดร. ชัยทิพย์ วนิชานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ผมจบการศึกษาระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขากายวิภาคศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) เมื่อปี พ.ศ. 2551 และปัจจุบันผมเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรีครับ

ตลอดระยะเวลา 5 ปี สำหรับการศึกษาระดับปริญญาเอก หรือที่เราเรียกติดปากกันว่า “เรียนต่อด๊อกเตอร์” ของผมนั้น มีทั้งสุข และทุกข์ผสมปนเปกันไป สุขในที่นี้ก็คือวันไหนที่เราทำ lab แล้วได้ผล lab ดีเป็นที่น่าพอใจ เราก็จะมีความสุขและหายเหนื่อยโดยอัตโนมัติทันที แต่หากวันไหนโชคร้ายผล lab ออกมาไม่ดี หรือ fail เราก็จะรู้สึกเศร้าและทุกข์ใจเสมอ แต่ผมจะนึกเสมอว่า “อุปสรรคมีไว้ให้ข้ามไม่ใช่ให้ถอยหนี” ถ้า “ fail ก็ try ” ใหม่ทันที แล้วเราก็จะได้ผลตามที่เราต้องการแม้ว่าจะต้อง try หลายครั้งก็ตาม ในระหว่างที่ผมกำลังศึกษาและทำ lab วิจัยอยู่ที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ผมก็ได้มีโอกาสไปทำงานวิจัยในต่างประเทศ โดยความเมตตาของท่าน รศ.ดร. ชัยทิพย์ วนิชานนท์ อาจารย์ที่ปรึกษา และ ศ.ดร. ประเสริฐ โศภน อาจารย์ที่ปรึกษาร่วมอันเป็นที่รักของผม ที่ได้ติดต่อและเชิญ Prof. Dr. David Piedrafita มาเป็น co-advisor ให้ผม หลังจากที่ Prof. Dr. David Piedrafita ตอบรับว่าจะเป็น co-advisor ให้ผม ผมก็รู้สึกดีใจมากที่เรากำลังจะได้ไปทำวิจัยที่ต่างประเทศแล้ว ซึ่งผมจะต้องไปทำวิจัยที่ Animal Biotechnology Research Laboratories (ABRL), Department of Physiology, Faculty of Medicine, Nursing & Health Sciences, Clayton campus, รัฐ Victoria เมือง Melbourne ประเทศออสเตรเลีย เป็นเวลา 7 เดือน
แต่กว่าจะได้ไปเมืองนอกนั้น ก็ต้องทำการบ้านพอสมควร โดยเฉพาะประเทศออสเตรเลียซึ่งเป็นประเทศที่ค่อนข้างเข้มงวดมากสำหรับคนต่างด้าวที่จะเข้าประเทศของเขา สิ่งที่เราต้องทำการบ้านก็คือเราจะต้องเตรียมเอกสารทุกอย่างเพื่อยื่นขอวีซ่า (VISA) หลังจากเราได้ VISA แล้ว เราถึงจะสามารถเดินทางเข้าประเทศออสเตรเลียได้ เอกสารต่างๆ ที่เราควรจะต้องเตรียมไว้มีดังนี้
1. หนังสือเดินทาง (passport)  
2. หนังสือรับรองจากมหาวิทยาลัยที่เราเรียนอยู่
3. หนังสือรับรองเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ จาก คปก.
4. บัตรประจำตัวนักศึกษา
5. Invitation letter จาก co-advisor ต่างประเทศ
6. Sponsorship nomination approval letter
7. ประกันสุขภาพสำหรับการเดินทางไปต่างประเทศ
8. ตรวจสุขภาพจากโรงพยาบาล
9. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 4 รูป
 

 

ประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตสำหรับการทำวิจัยในต่างประเทศของนักศึกษา คปก. : Monash University เมือง Melbourne ประเทศออสเตรเลีย  สิ่งที่ผมอยากจะแนะนำก็คือ เราควรรีบดำเนินการขอ VISA ทันทีหลังจากที่เรามีเอกสารต่างๆดังกล่าวข้างต้นครบถ้วน ซึ่งจะทำให้การเดินทางของเราเป็นไปตามกำหนดหรือคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด แต่จะเห็นว่าการที่เราจะได้เอกสารมาแต่ละอย่างนั้นต้องใช้เวลาพอสมควร ตัวอย่างเช่น การยื่นขอ  sponsorship nomination approval letter จากประเทศออสเตรเลียโดยตรงต้องใช้เวลานาน 1-2 เดือนเลยทีเดียวครับ สำหรับเอกสารอื่นๆ นั้นผมคงไม่สามารถกล่าวได้หมด ณ ขณะนี้  แต่ท่านสามารถเข้าไปอ่านข้อมูลต่างๆได้ที่ www.vfs-au.net  หลังจากที่ผมได้ VISA แล้วผมก็ออกเดินทางไปประเทศออสเตรเลียได้อย่างตรงตามกำหนดเวลา
จากประเทศไทยถึงประเทศออสเตรเลีย ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 9 ชั่วโมงกว่า ผมมาถึง Melbourne airport ผมต้องผ่านด่านต่างๆ กว่าจะออกไปได้ก็ใช้เวลาไปพอสมควรโดยเฉพาะด่านสุดท้ายที่เป็น Australian Quarantine and Inspection Service (AQIS) จะตรวจของของเราอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็น baggage, back pack, carry on หรือ reagent ต่างๆ ที่เราเตรียมไป ทั้งหมดโดนตรวจแทบทั้งสิ้นครับ สิ่งสำคัญคือเราจะต้อง declare ตามความเป็นจริงนะครับ พอดีผมมี import permit เลยผ่านฉะลุย แต่มีสิ่งของที่ทาง AQIS ไม่อนุญาตให้ผ่านไปได้ เช่น เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ไข่ ผลิตภัณฑ์จากไข่ ผัก ผลไม้ และ สัตว์เลี้ยง เป็นต้น  
เมื่อผมเดินจากด่านสุดท้ายนี้แล้วก็รู้สึกตื่นเต้นและดีใจมากที่ Prof. David มารับผมที่สนามบินและกล่าวต้อนรับคำแรกว่า “ Welcome to Australia…Panat ! ” เพราะนี่เป็นครั้งแรกในชีวิตของผมที่ได้พบกับ Prof. David ซึ่งก่อนหน้านี้ได้แต่ e-mail คุยกันตลอด จากนั้นเราสองคนก็คุยในรถยนต์ส่วนตัวของ Prof. David ไปตลอดทางจนทำให้ผมลืมความเหนื่อยล้าไปเลยว่าเราเพิ่งเดินทางมาจากประเทศไทย  
เมื่อถึง ABRL ผมรู้สึกตื่นเต้นอีกครั้งที่ผมจะได้พบกับเพื่อนร่วมงานอีกหลายคน (ฝรั่งล้วนๆ) ที่เป็นนักวิจัยมืออาชีพเลยทีเดียว จากนั้น Prof. David ได้แนะนำให้ผมได้รู้จักกับเพื่อนร่วมงาน, ห้อง lab, อุปกรณ์ต่างๆ, สารเคมีที่ต้องใช้, ความปลอดภัยในห้อง lab และเลี้ยงต้อนรับผมอย่างเป็นทางการ  
จากคืนนั้น…ถึงวันนี้ ช่วงเวลา 7 เดือนที่ผมใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ล้วนแล้วแต่เป็นช่วงเวลาอันมีค่ายิ่งที่หาไม่ได้ง่ายๆ  
การใช้ชีวิตอยู่ที่ต่างประเทศนั้น ผมคิดว่าเราต้องมีการปรับตัวอย่างมากเพื่อให้สามารถเข้ากับสังคม วัฒนธรรม ประเพณี และสิ่งแวดล้อมของประเทศนั้นๆ ผมใช้เวลาในการ settle down ประมาณ 2 สัปดาห์ทุกอย่างถึงจะลงตัว ไม่ว่าจะเป็น 1) ที่พักอาศัย 2) อาหารการกิน 3) การทำงาน 4) การเดินทางไปทำงาน 5) การพบปะกับเพื่อนใหม่ และ 6) การดูแลสุขภาพของตัวเอง เป็นต้น
 

 

ประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตสำหรับการทำวิจัยในต่างประเทศของนักศึกษา คปก. : Monash University เมือง Melbourne ประเทศออสเตรเลีย  สำหรับเรื่องที่พักอาศัยนั้นผมได้เลือก rent house ที่ราคาพอประมาณไม่แพงมาก และอยู่ใกล้ที่ทำงานให้มากที่สุดเพื่อจะได้สะดวกในการเดินทาง บ้านที่ผมเช่าอยู่เป็นบ้านใหม่ น่าอยู่ครับ เพราะห้องครัว ห้องน้ำ และห้องนอนสะอาดดี ผมเลยเลือกบ้านนี้ บ้านนี้มีเจ้าของบ้านเป็นคนจีน นิสัยดี และพูดภาษาอังกฤษได้ เราก็เลยพูดกับเขารู้เรื่อง ส่วนอาหารการกินนั้นแน่นอนครับต้องเป็นอาหารแบบฝรั่งล้วนๆ แต่อาหารไทยก็มี แต่มีน้อย ราคาอาหารก็แตกต่างกันไปตามสถานที่นั้นๆ ถ้าในเมืองก็แพงหน่อย ส่วนนอกเมืองก็ถูกกว่าเล็กน้อย ผมอยู่ที่ Clayton ซึ่งเป็น suburb ของ Melbourne ราคาข้าวของและอาหารการกินส่วนใหญ่จะถูกกว่าในเมืองเมลเบิร์น (City of Melbourne) แต่ราคาบางอย่างในเมืองก็ถูกกว่าก็มีเหมือนกันนะครับ บางครั้งถ้ามีเวลาว่างผมก็มักจะทำอาหารทานเองโดยที่ผมจะไปซื้อข้าวสาร ไข่ไก่ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้   น้ำมันพืช ซีอิ๊วขาว น้ำตาลทราย และอื่นๆ มาเก็บไว้แล้วจึงค่อยหยิบออกมาปรุงแต่งจนได้อาหารจานเด็ดของผม  
ส่วนการคมนาคมขนส่งและการเดินทางไปไหนมาไหนของผมก็สะดวกสบายครับ เพราะที่ clayton มีทั้ง train, tram และ bus คอยให้บริการตลอดเวลาเพียงแค่เราซื้อตั๋ว (ticket) แค่ใบเดียวก็สามารถใช้บริการได้ทั้ง 3 ชนิด ซึ่งราคาของตั๋วจะไม่เหมือนกันในแต่ละวันครับ วันอาทิตย์ราคาจะถูกกว่าวันอื่นๆ (เฉพาะตั๋วรายวัน)  
เวลาในการทำงานนั้นไม่ค่อยแตกต่างจากประเทศไทยเท่าไหร่เพราะที่ Monash University คนส่วนใหญ่จะเริ่มงาน 8.30 ถึง 16.30 น. แต่สำหรับอาจารย์ นักวิจัย หรือนักศึกษา (ตรี โท เอก) ที่ทำ lab ก็มักจะกลับบ้านกันดึกหน่อยแต่มักจะไม่ค่อยทำ lab ค้างคืนที่ห้อง lab เพราะเป็นห่วงเรื่องของความปลอดภัย (safety) ค่อนข้างมาก เช่น ไฟฟ้าช็อต ไฟไหม้ น้ำรั่ว หรือสัมผัสกับสารเคมีที่อันตราย เป็นต้น เพราะถ้าหากเกิดเหตุการณ์เหล่าขึ้นมาจะไม่มีใครมาช่วยเราได้ทันและอาจเกิดอันตรายกับเราได้  
นอกจากนี้อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้กับงานวิจัยของผมที่ ABRL ทันสมัยมากครับ Prof. David เตรียมจัดมาให้ผมใช้แบบไม่ขัดสน การที่ผมได้มาทำ lab ที่เมืองนอกย่อมเป็นการเปิดหูเปิดตาแบบ 360 องศา ทำให้ผมได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เทคนิคใหม่ๆ มากมายจาก Prof. David และเพื่อนๆที่ ABRL ซึ่งผมก็จะขอเก็บเป็นความรู้เอาไว้ในสมองส่วน cerebrum ของผม และจะนำไปใช้ในชีวิตการทำงานของผมในอนาคตต่อไป  
โดยปกติในแต่ละวันของผมนั้น ผมยึดหลักเลข 8-8-8 ซึ่งหมายถึง 8 ชั่วโมงสำหรับทำงาน 8 ชม.สำหรับงานอดิเรก (อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ และออกกำลังกาย) และ 8 ชม.สำหรับนอนหลับ ผมรู้สึกมีความสุขดี ไม่เครียด สบายๆ กับสิ่งที่เรากำลังจะได้พบเจอในวันต่อๆ ไป “ ลืมอดีต…คิดถึงอนาคต ” ผมคิดว่าหลายคนที่กำลังทำ lab แล้ว fail ก็มักจะคิดมากและเครียดกับงานที่ไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ ยิ่งเครียดมากก็จะทำให้งานใหม่ในอนาคตไม่เกิดขึ้นเสียที พลอยจะทำให้งานทุกชิ้นเสียไปหมด ผมก็เคยเป็นแบบนี้มาก่อน แต่พอกลับมานอนคิดดูอีกที ก็ทำให้ผมรู้ว่าอดีตอันเลวร้ายที่เกิดขึ้นนั้นไม่สำคัญเท่ากับชัยชนะในอนาคตที่เรากำลังจะได้รับ จงให้กำลังใจตัวเองด้วยตัวเราเองอย่างสม่ำเสมอเพราะไม่มีกำลังใจจากที่ไหนดีไปกว่ากำลังใจจากตัวเราเอง  
แน่นอนครับการได้มาทำ lab วิจัยที่เมืองนอก ผมได้อะไรอีกหลายอย่างที่เรายังไม่เคยรู้มาก่อน หรือถ้ารู้แล้วก็จะได้รู้มากขึ้น งานวิจัยที่ได้มาทั้งหมดจาก ABRL ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ thesis ของผมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น แต่กว่าจะได้งานวิจัยที่ดีๆ แต่ละชิ้นนั้น ทำไมมันแสนยากลำบากเสียเหลือเกิน แต่ผมคิดเสมอว่าไม่มีอะไรยากเกินไปกว่าความพยายามของตัวเราเอง ผมนึกเสมอว่า “ขยัน  อดทน  ใจสู้” แล้วผมก็มักจะได้ผลตรงตามวัตถุประสงค์ตลอดถึงแม้ว่าผล lab อันนั้นจะได้มาช้าก็ตาม
 

 

ประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตสำหรับการทำวิจัยในต่างประเทศของนักศึกษา คปก. : Monash University เมือง Melbourne ประเทศออสเตรเลีย  การทำ lab วิจัยที่เมืองนอกนั้น นอกจากจะได้ประสบการณ์ชีวิตอันมีค่าแล้ว เรายังได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมงานที่มี style การทำงานแบบฝรั่ง สิ่งที่ผมได้รับก็คือ เรื่องของภาษาอังกฤษ เพราะผมจำเป็นต้องทักทายและพูดคุยเป็นภาษาอังกฤษทุกวัน เพื่อนร่วมงานวิจัยที่ ABRL มีมากมายหลายเชื้อชาติครับ เช่น อังกฤษ เบลเยี่ยม สเปน โปแลนด์ แอฟริกาใต้ อินเดีย จีน และออสเตรเลีย เป็นต้น ผมได้เรียนรู้สำเนียงการพูดจากเพื่อนๆ เหล่านี้ซึ่งนำมาใช้กับชีวิตจริงของผม    Prof. David และเพื่อนร่วมงานทุกคนที่ ABRL ดีมากครับ คอยดูแลและคอยแนะนำสิ่งที่ดีๆ ให้กับผมตลอดเวลา เรื่องสุขภาพร่างกายของตัวเราเองก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน ผมต้องดูแลสุขภาพของผมเองให้ดีที่สุด อย่าเจ็บไข้ได้ป่วยเลยทีเดียวเพราะค่ารักษาพยาบาลที่นี่แพงมาก ผมจะทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และออกกำลังกายทุกวันตอนเย็นหลังเลิกทำ lab แล้ว เช่น วิ่งกับเพื่อนฝรั่งที่อยู่ชมรม Monash sport team เล่นแบดมินตัน และเล่นเทนนิส เป็นต้น อย่างน้อยก็เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศ เพราะอากาศที่ Melbourne มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในแต่ละวัน เช่น ตอนเช้าอากาศหนาว กลางวันอบอุ่น และเย็นฝนตกมีลมแรง อาจพูดได้ว่าที่ Melbourne ใน 1 วันมี 3 ฤดู เลยทีเดียว ถ้าช่วงวันหยุดไหนอากาศดี ฝนไม่ตก ผมก็มักจะนั่งรถไฟเข้าไปในเมือง เพื่อไปเดินเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ บ้างก็นั่ง tram ชมเมือง Melbourne บ้างก็เดินไปตาม walking street ดูตามแผนที่ที่มีอยู่ในมือผม บางครั้งก็หลงทางแต่โชคดีมีฝรั่งใจดีบอกทางให้ผม
 

 

 สถานที่ที่นักท่องเที่ยวมักนิยมไปเยี่ยมชม ได้แก่ Flinders Street Station  Federation Square  Queen Victoria Market  Fitzroy gardens  China town และอื่นๆ โดยเฉพาะเมื่อตอนวันสิ้นปีวันที่ 31 ธันวาคม ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 1 มกราคม ผมได้มีโอกาสไปร่วมงาน count down และ ดู fire work ในวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่กับเพื่อนๆ ฝรั่งที่ city of Melbourne งานนี้มีคนเยอะมากแต่ก็สนุกดีครับ คล้ายกับที่ central world บ้านเราเลย
 

 

ประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตสำหรับการทำวิจัยในต่างประเทศของนักศึกษา คปก. : Monash University เมือง Melbourne ประเทศออสเตรเลีย  เวลา 7 เดือนมันช่างเร็วเสียเหลือเกินครับ ผมกำลังสนุกกับงานวิจัยยังไม่เท่าไหร่ก็ต้องกลับเมืองไทยเสียแล้ว แต่ผล lab ของผมก็เสร็จสมบูรณ์พอดี สิ่งที่โชคดีอีกอย่างหนึ่งของผมก็คือ ผมได้สรุปผลงานวิจัยและเขียน thesis ทั้งเล่มเสร็จพอดีเลยส่งเล่มให้ Prof. David ช่วยตรวจสอบ หลังจากที่ Prof. David ได้ตรวจแก้ให้ผมแล้ว ผมก็รีบดำเนินการแก้ไขจนเสร็จสมบูรณ์ ผมรู้สึกดีใจมากที่ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษจาก original native English speaker เพราะจะทำให้ thesis ของผมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เมื่อใกล้จะถึงวันที่ผมต้องกลับเมืองไทย ผมรู้สึกอยู่ 2 อย่างคือ อย่างแรกรู้สึกดีใจที่เรากำลังจะได้กลับบ้านเกิดแล้ว แต่อีกความรู้สึกทำให้ผมเศร้าเล็กน้อยว่าเราจะต้องจากที่นี่ไปแล้วหรือ วันสุดท้ายก่อนกลับเมืองไทยทาง ABRL นำทีมโดย Prof. David และคณะได้เลี้ยง farewell ให้ผมแบบ surprise !!! ผมรู้สึกปลื้มใจอีกครั้งที่ Prof. David ได้อาสาขับรถพาผมมาส่งที่ Melbourne airport และคุยกันอยู่สักพักจึงได้ say goodbye กัน  
ผมเดินทางกลับมาถึงประเทศไทยอย่างปลอดภัยและดำเนินการสอบ thesis defense เป็นที่แล้วเสร็จ และผมต้องขอขอบคุณโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) รศ.ดร.ชัยทิพย์ วนิชานนท์ อาจารย์ที่ปรึกษา และทุกๆท่านที่มิได้เอ่ยนามในที่นี้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้ผมจบการศึกษาระดับปริญญาเอกได้อย่างภาคภูมิใจ…จากใจจริงครับ
 

 
ประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตสำหรับการทำวิจัยในต่างประเทศของนักศึกษา คปก. : Monash University เมือง Melbourne ประเทศออสเตรเลีย ความผันผวนและเบี่ยงเบนของนโยบายพลังงานทางเลือก
ประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตสำหรับการทำวิจัยในต่างประเทศของนักศึกษา คปก. : Monash University เมือง Melbourne ประเทศออสเตรเลีย  ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันดีเซลของไทยมีมากถึงวันละ 48.5 ล้านลิตร และเกี่ยวข้องกับภาคขนส่งโดยตรง และกระทบต่อภาคสาธารณะมากที่สุด รัฐมนตรีพลังงานของรัฐบาลชุดที่แล้ว กลับละเลยความสำคัญของไบโอดีเซล พยายามประกาศวาระแห่งชาติ ด้วยการส่งเสริมการใช้ E85 โดยที่ความต้องการใช้น้ำมันเบนซินทั้งประเทศมีเพียงวันละ 19 ล้านลิตร และผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงเป็นชนชั้นกลางที่ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล กรณีนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนของความเบี่ยงเบนในนโยบายพลังงานทางเลือก
อีกกรณีหนึ่งคือ เมื่อราคาขายปลีกดีเซลหมุนเร็วในประเทศ ขึ้นถึงลิตรละ 40 บาท ภาคขนส่งเดือดร้อนไปทั่ว ต่างพากันหันไปติดตั้งระบบก๊าซ NGV แทน ทั้งๆ ที่ NGV ยังคงไม่พร้อมทั้งในด้านขนส่งและจัดจำหน่าย รวมทั้งปัญหาค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษา และระยะยาวจะเป็นการแย่งแหล่งพลังงานสำหรับการผลิตไฟฟ้า และส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนค่าไฟฟ้า กรณีนี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความเบี่ยงเบนในเชิงนโยบาย
การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเป็นระยะเวลา 6 เดือนของรัฐบาลชุดที่แล้ว ทำให้แต้มต่อระหว่างน้ำมันดีเซลจากฟอสซิล และไบโอดีเซลจากชีวภาพ ซึ่งมีมูลค่าราว 2.7 บาทต่อลิตร ขาดหายไปในทันที พลังงานทางเลือกไม่อาจเบียดแทรกเข้าไปทดแทนพลังงานจากฟอสซิลได้เลย หากไม่มีแต้มต่อสำหรับการส่งเสริมในช่วงแรก และที่สำคัญที่สุดคือ ไม่ว่าจะรู้หรือไม่ก็ตาม มาตรการนี้เป็นการฆ่าทำลายพลังงานทางเลือกโดยตรง
 

 
ประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตสำหรับการทำวิจัยในต่างประเทศของนักศึกษา คปก. : Monash University เมือง Melbourne ประเทศออสเตรเลีย แรงบีบคั้น 3 ด้านของผู้ผลิตพลังงานทางเลือก
 ผู้ผลิตไบโอดีเซลชนิด B100 ในปัจจุบันรวม 10 ราย มีกำลังผลิตรวมกัน 2.9 ล้านลิตรต่อวัน ลำพังบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่อย่าง ปตท. และบางจาก (ไม่รวมรายอื่นๆที่กำลังซุ่มวิจัยเพื่อทำการผลิต) มีกำลังผลิตไบโอดีเซลรวมกันวันละประมาณ 0.75 ล้านลิตร และขยายเป็น 1 ล้านลิตรในปีหน้า ในขณะที่ความต้องการน้ำมันไบโอดีเซลในปัจจุบันมีอยู่เพียง 1.3 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งหมายความว่า ผู้ผลิตไบโอดีเซลรายอื่นๆ ผลิตเพียง 25% ของกำลังผลิตที่แท้จริง
ผู้ผลิตน้ำมันไบโอดีเซลที่ไม่ใช่บริษัทน้ำมัน กำลังเผชิญกับแรงบีบคั้นถึง 3 ด้าน ด้านหนึ่งจากยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตน้ำมัน ซึ่งเป็นผู้รับซื้อรายใหญ่ เพื่อนำไปผสมกับน้ำมันดีเซลที่มีความต้องการวันละ 48.5 ล้านลิตร และถูกบังคับผสมไบโอดีเซลไว้เพียง 2% พวกเขาคุมช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดประมาณ 18,000 แห่ง โดยมีอยู่เพียง 1,600 แห่งเท่านั้นที่ขายไบโอดีเซล ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ผลิตพลังงานทางเลือกรายใหญ่ ที่ร่วมแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นๆ ทำให้สามารถสร้างระบบผูกขาด กำหนดราคา หรือกดราคาให้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่รัฐกำหนด หรือกำหนดมาตรฐานใหม่ๆให้สูงขึ้น เพื่อเป็นการกีดกันผู้ผลิตรายอื่นๆ
 

 

 แรงบีบคั้นจากยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตน้ำมันในธุรกิจพลังงานทางเลือก จะยังคงอยู่ต่อไปอีกยาวนานตราบเท่าที่พวกเขาสามารถคุมช่องทางการจัดจำหน่าย หรือจนกว่าผู้ผลิตพลังงานทางเลือกรายอื่นๆสามารถมีช่องทางการจัดจำหน่ายของตนเองที่ไม่ต้องพึ่งพาบริษัทน้ำมัน หรือรัฐจัดตั้งองค์กรกลางรับซื้อพลังงานทางเลือกแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตน้ำมัน แทนที่จะปล่อยให้บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่เป็นผู้ผูกขาดการรับซื้อแต่ฝ่ายเดียว
แรงบีบคั้นอีกทางหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันได้ผ่อนคลายลงไปบ้างแล้ว คือ แรงบีบคั้นจากผู้ผลิตวัตถุดิบ การเติบโตของพลังงานทางเลือกในช่วงแรก โดยเฉพาะภาวะตื่นตระหนก ได้ก่อให้เกิดกระแสการขาดแคลนวัตถุดิบ กระทั่งกระแสตื่นตระหนกกลัวว่า จะกระทบต่อราคาอาหาร ต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น ได้ทำให้ผู้ผลิตรายเล็กและรายกลางไม่สามารถยืนหยัดอยู่ต่อไป ต้องเลิกกิจการไปเป็นจำนวนมาก
ทางออกของแรงบีบคั้นนี้ นอกจากผู้ผลิตจะต้องมีแหล่งวัตถุดิบของตนเองแล้ว หรือเป็นพันธมิตรกับแหล่งวัตถุดิบในรูปของ contract farming หรือรับจ้างผลิต นโยบายการกระจายโรงงานออกไปตามภูมิภาคต่างๆ โดยแต่ละแห่งมีกำลังผลิตแห่งละ 20,000 ถึง 50,000 ลิตรต่อวัน อาจช่วยในการลดแรงบีบคั้นในเรื่องวัตถุดิบ ขณะเดียวกันก็แก้ปัญหาช่องทางการจัดจำหน่ายไปในตัว
 

 

ประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตสำหรับการทำวิจัยในต่างประเทศของนักศึกษา คปก. : Monash University เมือง Melbourne ประเทศออสเตรเลีย  แรงบีบคั้นสุดท้าย อาจจะอยู่ในรูปที่มองไม่เห็น หรือเจ็บปวดเกินกว่าที่จะยอมรับ หากยอมรับว่าน้ำมันกำลังจะหมดจากโลกนี้ไป และพลังงานจากชีวภาพทั้งหลายไม่ใช่คำตอบสุดท้าย สำหรับการทดแทนน้ำมันอย่างแท้จริง
สิ่งที่พอมองเห็นในขณะนี้ พลังงานไฮโดรเจนจากน้ำ ซึ่งมีอยู่มากมาย มีศักยภาพที่จะเข้าแทนที่น้ำมันได้แทบทั้งหมด สิ่งเดียวที่ต้องทำ คือรอคอยเวลาสำหรับการพัฒนาความสมบูรณ์ของเทคโนโลยี
ไบโอดีเซล หรือพลังงานจากชีวภาพอื่นๆ เป็นพลังงานที่อยู่บนเส้นทางเปลี่ยนผ่าน ในช่วงที่น้ำมันมีราคาสูงขึ้นและกำลังจะหมดไป และมีวงจรชีวิตอยู่จนกระทั่งถึงวันที่พลังงานใหม่จากไฮโดรเจน หรือจากแหล่งอื่นๆ จะเข้าแทนที่น้ำมันได้แทบทั้งหมด วงจรชีวิตไม่ได้ยืนยาวนานอย่างที่คิด
ในอีกแง่มุมหนึ่ง พลังงานจากชีวภาพ เป็นเพียงเครื่องมือที่ถูกหยิบยืมมาสำหรับการยืดอายุขัยของยุคน้ำมันให้ยืนยาวที่สุด โดยอาจจะจบสิ้นไปพร้อมๆกับยุคน้ำมัน เส้นทางนี้อาจเป็นสิ่งที่บริษัทยักษ์ใหญ่น้ำมันทั้งหลายได้คาดการณ์ไว้แล้ว
 

 
ประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตสำหรับการทำวิจัยในต่างประเทศของนักศึกษา คปก. : Monash University เมือง Melbourne ประเทศออสเตรเลีย การเพิ่มมาตรฐานเป็น B5 และ B10
ประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตสำหรับการทำวิจัยในต่างประเทศของนักศึกษา คปก. : Monash University เมือง Melbourne ประเทศออสเตรเลีย  การเพิ่มสัดส่วนของพลังงานทางเลือก โดยการบังคับให้ผสมน้ำมันไบโอดีเซลในสัดส่วนที่สูงขึ้นเป็น B5 และ B10 ซึ่งทำให้ความต้องการน้ำมันไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 2.4 ล้านลิตร และ 4.8 ล้านลิตรตามลำดับ ช่วยทำให้ตลาดพลังงานทางเลือกเติบโตขึ้น
อย่างไรก็ตามแรงผลักดันมาตรฐานดังกล่าว ในที่สุดแล้วขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตน้ำมันโดยตรง หากพวกเขาพร้อมและมองว่าได้ประโยชน์มากกว่าเดิม อานิสงค์อาจไปไม่ถึงผู้ผลิตพลังงานทางเลือก หรือผู้บริโภค โดยเฉพาะภาคขนส่ง
ความเป็นไปได้ของการประนีประนอมระหว่างผู้ผลิตน้ำมันและพลังงานทางเลือก โดยแต่ละฝ่ายได้ประโยชน์ คือ การผลิตไบโอดีเซลทดแทนการนำเข้าดีเซลสำเร็จรูปจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนราว 2 ล้านลิตรต่อวัน หรือเทียบเท่ากับ B4 เท่านั้น ดังนั้นการประกาศใช้มาตรฐาน B10 ยังเป็นเรื่องที่ต้องต่อสู้กันอีกยาว
 

 


 

   

 แหล่งที่มา :  ประชาคมวิจัย ฉบับที่ 83

อัพเดทล่าสุด