ปัจจัยสู่ความสำเร็จของปาล์มน้ำมันไทย


811 ผู้ชม


ปัจจัยสู่ความสำเร็จของปาล์มน้ำมันไทย
 สำนักประสานงานวิจัยและพัฒนา “ปาล์มน้ำมัน”    
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

 

 
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของปาล์มน้ำมันไทย  ภาพรวมของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของปาล์มน้ำมันไทย   “ปาล์มน้ำมัน” จัดเป็นพืชยืนต้นและเป็นพืชน้ำมันอุตสาหกรรมชนิดเดียวของโลกที่สามารถให้ผลผลิตน้ำมันต่อหน่วยพื้นที่สูงกว่าพืชน้ำมันทุกชนิด และสามารถปลูกได้จำกัดเฉพาะในเขตพื้นที่ร้อนชื้นเท่านั้น ทำให้ปัจจุบันมีเพียง 42 ประเทศจาก 223 ประเทศทั่วโลกที่สามารถปลูกได้ ในจำนวนนี้มีเพียง 4 ประเทศที่สามารถปลูกปาล์มน้ำมันได้ผลดี เช่น ประเทศมาเลเซีย โคลัมเบีย ไทย และอินโดนีเซีย
 

 

 สำหรับประเทศไทย ปาล์มน้ำมันได้ถูกนำเข้ามาเพาะปลูกในภาคใต้ของประเทศเมื่อประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา และมีการขยายพื้นที่การเพาะปลูกโดยเกษตรกรรายย่อยอย่างจริงจังนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา จากการประเมินสถานการณ์ปาล์มน้ำมันล่าสุดในปี พ.ศ. 2550 พบว่า ไทยมีพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มน้ำมันประมาณ 2.7 ล้านไร่ ผลผลิตทะลายปาล์มประมาณ 6.7 ล้านตัน/ปี มูลค่าผลผลิตทะลายประมาณ 30,000 ล้านบาท/ปี เกษตรกรที่มีอาชีพในการทำสวนปาล์มน้ำมันมีมากกว่า 1 แสนครัวเรือน  ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่ปลูกอยู่ในจังหวัดทางภาคใต้  ผลผลิตทะลายทั้งหมดที่เกษตรกรผลิตได้จะขายให้กับพ่อค้าคนกลาง (อาจเรียก “ลานเท” หรือ “แล็ม”)  หรือขายให้กับโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบโดยตรง  ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า 48 โรงงาน ที่ตั้งโรงงานส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดทางภาคใต้เช่นกัน  
ปริมาณน้ำมันปาล์มดิบที่สกัดได้ประมาณ 1.3 ล้านตัน/ปี มูลค่าประมาณ 40,000 ล้านบาท/ปี  ปริมาณเนื้อเมล็ดในปาล์มประมาณ 8 แสนตัน/ปี มูลค่าประมาณ 8,000 ล้านบาท/ปี     น้ำมันปาล์มดิบจากโรงงานสกัดเกือบทั้งหมดจะขายให้กับโรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มในไทย ซึ่งมีจำนวน 12 โรงงาน ที่ตั้งโรงงานส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดทางภาคกลาง  ปริมาณน้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ที่ผลิตได้ประมาณ 1 ล้านตัน/ปี  มีมูลค่าประมาณ 40,000 ล้านบาท ปริมาณน้ำมันปาล์มสเตียรีนประมาณ 3 แสนตัน/ปี  มีมูลค่าประมาณ 6,000 ล้านบาท นอกจากผลผลิตหลักที่ได้จากปาล์มน้ำมันที่กล่าวข้างต้นแล้ว ในกระบวนการผลิตระดับสวนปาล์มและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มยังมีวัสดุพลอยได้อื่นๆ อีกจำนวนมากที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น ลำต้นแก่ ช่อดอกเพศผู้ ทางใบปาล์ม  ทะลายเปล่าปาล์ม กากเนื้อเมล็ดในปาล์ม กากเส้นใยปาล์ม  กะลาปาล์ม  กากตะกอนในโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม น้ำจากบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงาน และน้ำมันปาล์มใช้แล้ว เป็นต้น
 

 

ปัจจัยสู่ความสำเร็จของปาล์มน้ำมันไทย  
 

 
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของปาล์มน้ำมันไทย  ปัจจัยความสำเร็จของปาล์มน้ำมันไทยและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของปาล์มน้ำมันไทย  ดัชนีบ่งชี้ถึงความสำเร็จของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของไทยที่สำคัญ คือ ผู้ลงทุนในธุรกิจนี้มีกำไรพอเพียงที่จะดำเนินการในธุรกิจได้อย่างมั่นคงในระยะเวลายาวนาน (ตามอายุพืช)  ซึ่งมีปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ปัจจัย คือ ผู้กำหนดนโยบาย และผู้ผลิต ในส่วนของผู้กำหนดนโยบายมีบทบาทสำคัญในการสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่างภาคการผลิตน้ำมันปาล์ม และการใช้ประโยชน์ (ภายในประเทศและการส่งออก) ในส่วนของผู้ผลิตมีหลายระดับ เช่น สวนปาล์ม โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ โรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ และโรงงานไบโอดีเซล เป็นต้น  แต่ละระดับมีบทบาทสำคัญในการใช้ความรู้เพื่อยกระดับการผลิตให้ดีกว่าเดิมและสามารถแปรรูปเพิ่มมูลค่าของผลผลิตให้สูงขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ  
ตัวอย่างความรู้ที่ผู้ผลิตสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งเกิดจากผลงานของนักวิจัยที่ได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)   เช่น
 

 

 • เทคโนโลยีการผลิตในระดับสวนปาล์ม
เทคโนโลยีด้านพันธุ์ปาล์ม (พ่อ-แม่พันธุ์ปาล์ม)  การจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างเหมาะสม (ด้านปุ๋ย น้ำ และแมลง)  การจัดการปาล์มน้ำมันหลังเก็บเกี่ยว (ปริมาณและคุณภาพของน้ำมันปาล์ม) และเครื่องแยกผลปาล์มจากทะลายปาล์ม
• เทคโนโลยีแปรรูปเพิ่มมูลค่าจากน้ำมันปาล์ม
เครื่องมือและกรรมวิธีในการสกัดสารแคโรทีนอยด์จากน้ำมันปาล์มดิบ  เครื่องมือและกรรมวิธีในการสกัดวิตามินอีจากกรดไขมันปาล์ม กรรมวิธีในการแปรรูปน้ำมันปาล์มเพื่อใช้เป็นสารหล่อลื่นในอุตสาหกรรม และกรรมวิธีการใช้น้ำมันปาล์มดิบในอาหารไก่ไข่เพื่อเพิ่มคุณภาพไข่ไก่  เป็นต้น
• เทคโนโลยีด้านการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้ง
เทคโนโลยีการทำปุ๋ยหมักจากกากเส้นใยและกากตะกอนปาล์ม  กรรมวิธีใช้ทางใบปาล์มน้ำมันเป็นอาหารเสริมสำหรับโคเนื้อ กรรมวิธีใช้วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเพื่อปลูกไม้ดอก(กล้วยไม้และหน้าวัว)  และเทคโนโลยีหัวเผาเตาก๊าซที่ใช้กับน้ำมันพืชใช้แล้ว เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่
ฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)  
หรือ ชุดโครงการวิจัยปาล์มน้ำมัน  
ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่  จ.สงขลา

 แหล่งที่มา :  ประชาคมวิจัย ฉบับที่ 82

อัพเดทล่าสุด