เชื้อเพลิงทางเลือกสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล


694 ผู้ชม


เชื้อเพลิงทางเลือกสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล
เชื้อเพลิงทางเลือกสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล  ศ. ดร.ธีระ สูตะบุตร
ประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ

ถึงแม้ในช่วงปลายปี 2551 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะลดลงเป็นอย่างมาก แต่ประชาคมวิจัยไทยจะยังคงให้ความสนใจและตั้งใจในการพัฒนาด้านพลังงานทดแทน ดังเช่นที่เคยปฏิบัติในช่วงเวลาในอดีตเมื่อราคาน้ำมันดิบลดลง องค์กรสนับสนุนงานวิจัยและองค์กรวิจัย เช่น
สภาวิจัยแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ตลอดจนสถาบันวิจัยและสถาบันการศึกษา
จะต้องไม่หวั่นไหวต่อแรงต้านจากแหล่งต่างๆ จะเร่งทำการวิจัยทั้งในเชิงนโยบายระยะสั้นและระยะยาว และการวิจัยเรื่องพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานนำเข้า ซึ่งการวิจัยและพัฒนาจะต้องมีเป้าหมายทั้งในภาพรวมและเป้าหมายเฉพาะในประเด็นต่างๆ ดังนี้
 

 
เชื้อเพลิงทางเลือกสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล เป้าหมายในภาพรวม
 • พืชมีระบบในการสะสมพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่มีศักยภาพสูง โดยมนุษย์ได้ใช้พืชเพียงไม่กี่ชนิดเป็นแหล่งพลังงานจึงต้องมีการศึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มชนิดและประสิทธิภาพของพืชมาใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กว้างขวางขึ้น ทั้งนี้รวมทั้งพืชน้ำ เช่น สาหร่าย ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม
• ประชาคมวิจัยของโลกชี้นำให้มีการผลิตพืช/สัตว์ เพื่อเป็นอาหารและพลังงานในสัดส่วนที่เหมาะสม สำหรับประเทศไทยมีการผลิตพืชเพื่อเป็นอาหารในสัดส่วนที่สูงกว่าการผลิตพืชเพื่อเป็นพลังงานมาก ดังนั้น ประชาคมวิจัยของประเทศไทยจึงต้องศึกษาและวิจัย การปรับสัดส่วนให้มีการผลิตพืชเพื่อใช้เป็นพลังงานมากขึ้น โดยคำนึงถึงศักยภาพของพื้นที่และสิ่งแวดล้อมโดยรวม
• ต้องนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของพืชให้ตรงกับความต้องการของมนุษย์ให้มากขึ้น รวมทั้งการใช้จุลินทรีย์ เช่น ไรโซเบียม ในการตรึงไนโตรเจน การใช้ประโยชน์จากเชื้อรา เช่น กลุ่มมายโคไรซ่า ในการเพิ่มธาตุอาหารแก่พืช การใช้จุลินทรีย์ไปสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากผลิตผลทางการเกษตร เป็นต้น
 

 
เชื้อเพลิงทางเลือกสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล เป้าหมายเฉพาะ
เชื้อเพลิงทางเลือกสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล  • ให้มีการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ให้มีพื้นที่ประมาณ 5 ล้านไร่ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมมือกับสถาบันวิจัยฯ ในการกำหนดพื้นที่และการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่จำเป็น
• ใช้เทคโนโลยีใหม่ เช่น พันธุวิศวกรรมในการพัฒนาพันธุ์สบู่ดำ เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของน้ำมันจากสบู่ดำอย่างจริงจัง
• ให้มีการวิจัยเพื่อแยกสารประกอบมูลค่าสูงจากปาล์มน้ำมันและสบู่ดำ เพื่อใช้ประโยชน์ก่อนนำไปเป็นเชื้อเพลิง

        
 

   

 แหล่งที่มา :  ประชาคมวิจัย ฉบับพิเศษที่ 12

อัพเดทล่าสุด