ขนมปังฟรุตสติ๊ก โอทอปไทยไอเดียสร้างสรรค์
ขนมปังแท่งอบกรอบรสทุเรียน หรือฟรุตสติ๊ก สินค้าเลื่องชื่ออีกหนึ่งชนิดของชาวจังหวัดระยอง เป็น
ความคิดสร้างสรรค์ของ
“กลุ่มเกษตรกรแม่บ้านพงลำดวน” ตำบลละหาร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ที่
มาของโอทอปนี้ คุณขวัญยืน นิติธีรวรรณ ประธานกลุ่มเกษตรกรแม่บ้านพงลำดวน เล่าให้ฟังว่า จ
.ระยอง
มักประสบกับปัญหาทุเรียนล้นตลาดขายไม่ได้ราคา ตนจึงคิดนำมาแปรรูปเป็นอาหารออกจำหน่าย แต่ก็มีหลาย
รายที่นำทุเรียนมาแปรรูปออกจำหน่ายกันอยู่แล้วมีทั้ง ทุเรียนกวน ทุเรียนทอด จึงคิดอยากทำอะไรที่แปลกแตก
ต่างไม่ซ้ำกับของเจ้าอื่น ที่สุดจึงออกมาเป็น
“ฟรุตสติ๊กรสทุเรียน”
สิ่งสำคัญที่ช่วยให้ฟรุตสติ๊กรสทุเรียน สามารถฝ่าฝันก้าวขึ้นสู่ตลาดครองใจผู้บริโภคได้ นอกจากความ
แปลกไม่เหมือนใครและรสชาติอร่อยแล้วคุณขวัญยืนเผยว่า เครื่องหมาย มผช
. ที่รับรองโดย สำนักงานมาตร
ฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ
. ก็มีส่วนช่วยเพิ่มยอดขายมากทีเดียว ปัจจุบันฟรุตสติ๊กรสทุเรียนได้
รับ มผช
. เลขที่ 523 / 2548 เป็นเครื่องหมายการันตี
“
ทางกลุ่มของเราทำเรื่องขอ มผช. ไปที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ครั้งแรกที่ขอยังไม่ได้ก็มีเจ้าหน้า
ที่เข้ามาช่วยแนะนำว่าต้องปรับปรุงขนมอย่างไรจึงจะได้มาตรฐานเป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดไว้อย่างเช่น
ขนมที่บรรจุในกล่องเดียวกันต้องมีขนาดรูปร่างใกล้เคียงกัน ซึ่งเดิมขนมปังของเราใช้มือคลึงแล้วกะประมาณ
ความยาวจึงตัด ทำให้ขนมปังที่ได้มีขนาดและความยาวไม่เท่ากันไม่เป็นมาตรฐาน ทางเจ้าหน้าที่ก็มาช่วยดู
แลและออกแบบเครื่องตัดเส้นขนมปังให้ ทำให้ขนมปังฟรุตสติ๊กของทางกลุ่มเราดู น่ารับประทานขึ้น
หรืออย่างเรื่องของกลิ่นก็ต้องเป็นกลิ่นธรรมชาติไม่เหม็นหืนเหม็นอับ เมื่อนำไปอบแล้วต้องไม่ไหม้เกรียมมีสี
สันน่ารับประทาน บางอย่างเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆที่เรามองข้ามไปทางเจ้าหน้าที่ก็มาช่วยแนะนำให้ค่ะ
”
ท้ายสุดคุณขวัญยืนยังฝากบอกมายังผู้ผลิตรายอื่นๆอีกว่า การผลิตสินค้าโอทอปไม่ว่าจะชนิดใดออก
จำหน่ายในท้องตลาดนั้นสิ่งสำคัญคือ เราต้องคิดอะไรที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำกับใคร และเหนืออื่นใดสินค้าที่เราผลิต
ออกจำหน่ายต้องเป็นสินค้าที่ดีมีมาตรฐาน สำหรับผู้ที่สนใจต้องการลิ้มลองฟรุตสติ๊กรสทุเรียน หรือต้องการพูด
คุยเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์แล้วทาง
“กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรพงลำดวน” ก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะ โดยติดต่อ
ที่
164 หมู่ 1 ต. ละหาร อ. ปลวกแดง จ. ระยอง หรือโทร. 0 – 1007 – 7571
ตอนที่
6 มัดหมี่สร้อยดอกหมาก ผ้าลายเอกลักษณ์มหาสารคาม
“
ผ้าไหมมัดหมี่ลายสร้อยดอกหมาก” เป็นผ้าลายเอกลักษณ์ของชาวจังหวัดมหาสารคาม ที่มีความละเอียด
ประณีตมาก ความงดงามของผืนผ้าไม่เพียงแต่เป็นที่ยอมรับของชาวมหาสารคามเท่านั้น หากแต่ใครที่ได้เห็น
หรือสัมผัส
“ผ้าไหมมัดหมี่ลายสร้อยดอกหมาก” ต่างเอ่ยชมว่าเป็นผ้าคุณภาพอีกผืนหนึ่งของประเทศไทย
ป้าสมจิตร บุรีนอก ประธานกลุ่มทอผ้าไหมบ้านกุดรัง เล่าให้ฟังว่า
....ผ้าไหมมัดหมี่ลายสร้อยดอกหมาก
นอกจากจะมีลายผ้าที่ละเอียดสวยงามแล้ว เนื้อผ้ายังมีลักษณะตรงตามที่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาห
กรรม
(สมอ.) กำหนดไว้ใน มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ผ้ามัดหมี่ นั่นคือ.....
ผ้าจะเรียบตลอดทั้งผืน เส้นด้ายชิดแน่นทั้งตามแนวเส้นด้ายพุ่งและเส้นด้ายยืน เมื่อนำไปตัดเป็นชุดสวมใส่ผ้า
จะอยู่ตัวไม่ย่นไม่หด ที่สำคัญมีสีสันที่สดใสสะดุดตา สีไม่ตกซีดจางซึ่งการย้อมผ้าของกลุ่มมีทั้งการย้อมสีธรรม
ชาติและย้อมสีเคมี จากการใส่ใจในทุกขั้นตอนของการผลิตไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบเส้นใยธรรม
ชาติที่ได้มาจากรังไหมแท้ๆ การมัดย้อมสี ไปจนถึงการทอออกมาเป็นผืนผ้า
จึงไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างไร
? ที่ผ้าไหมมัดหมี่ลายสร้อยดอกหมากจะได้รับการรับรอง มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุม
ชน มผช
. เลขที่ 17 (1) / 2546
ป้าสมจิตร ยังเล่าต่ออีกว่า
..... “หลังจากที่ได้ มผช.รับรองคุณภาพมาตรฐานแล้ว ทางกลุ่มก็มีการ
ประชุมสมาชิกทุกคนว่าให้ใช้ผ้าผืนที่ส่งไปขอการรับรอง มผช
. เป็นผ้าต้นแบบในการผลิต ให้สมาชิกทุกคนทอ
ผ้าให้เหมือนกับผืนที่ส่งไปขอ มผช
. ผ้าทุกผืน....ผ้าทุกสี.... เรามีกรรมการในกลุ่ม ของเราช่วยกันตรวจดูแลคุณ
ภาพ ถ้าสมาชิกคนไหนทำไม่ได้มาตรฐานก็จะมีการสอนและอบรมให้ คือ กลุ่มทอผ้าไหมบ้านกุดรังจังหวัด
มหาสารคามต้องเข้มแข็งและผ้าไหมมัดหมี่ลายสร้อยดอกหมากของเราต้องมีคุณภาพ นี่คือสิ่งที่เราเน้น เพราะ
เดี๋ยวนี้คู่แข่งผ้าไหมจากทั่วประเทศเราเยอะมากถ้าไม่มีคุณภาพ ไม่มี มผช
.รับรอง ก็ขายยาก ลูกค้าที่มาซื้อก็ถาม
ถึง มผช
. ก่อนที่จะดูสินค้าดูผ้าของเรา”
จากที่ทอผ้าไหมเป็นอาชีพเสริม
....ปัจจุบันผ้าไหมมัดหมี่ลายสร้อยดอกหมากกลับกลายเป็นอาชีพหลักที่
สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้แก่กลุ่มทอผ้าไหมบ้านกุดรัง นับหลักแสนบาทต่อเดือน นี่คืออีกความสำเร็จของ
ชาวบ้านระดับรากหญ้าที่น่าภาคภูมิใจ
..... และหากท่านผู้อ่านท่านใดสนใจ
“
ผ้าไหมมัดหมี่ลายสร้อยดอกหมาก” สามารถติดต่อโดยตรงได้ที่...... กลุ่มทอผ้าไหมบ้านกุดรัง หมู่ 1
ตำบลกุดรัง กิ่งอำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม โทร
. 0 – 9350 – 8276
ตอนที่
7 ดอกไม้รังไหมภูมิปัญญาไทย....มาตรฐานส่งออกต่างประเทศ
ด้วยเห็นว่ารังไหมที่เหลือจากการทอผ้าหากทิ้งก็คงเสียเปล่า ชาวบ้านหนองบัวพัฒนา กิ่งอำเภอบัว
ลาย จ
.นครราชสีมา จึงได้คิดนำมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ที่เลียนแบบธรรมชาติได้อย่างเหมือนจริงและสวยงาม
ซึ่งมีทั้งดอกว่านแสงอาทิตย์ ดอกกุหลาบ ดอกทานตะวัน และอีกกว่า
60 แบบ
ป้าหนูจีน ศรีนัมมัง ประธานกลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้รังไหม เล่าว่า
“แรกเริ่มสมาชิกในกลุ่มช่วยกันคิด
ช่วยกันทำเองภายในกลุ่ม โดยทำเลียนแบบดอกไม้จริงๆ ใช้แค่มือกับกรรไกรไม่มีอุปกรณ์เครื่องจักร
.....ต่อมา
ทางสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด เข้ามาช่วยส่งเสริมให้ทางกลุ่มของเรามีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้มีรูปแบบที่
สวยงามสัดส่วนเหมาะสม รังไหมที่นำมาใช้ต้องสะอาดไม่ขึ้นรา สีที่ใช้ย้อมเป็นสีธรรมชาติให้สีสม่ำเสมอไม่
เลอะติดมือ และบรรจุภัณฑ์ก็มีการออกแบบให้ได้มาตรฐานสวยงาม ซึ่งทั้งหมดนี้ทางกลุ่มเราได้พัฒนาปรับ
ปรุงตามที่เจ้าหน้าที่แนะนำอยู่ตลอดเวลา ทำให้ดอกไม้ประดิษฐ์รังไหมของเราเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าทั้งเรื่อง
ความสวยงามที่เลียนแบบธรรมชาติได้อย่างเหมือนจริงรวมทั้งคุณภาพมาตรฐานจนได้โอทอป
5 ดาว”
“
ประจวบกับในช่วงเวลานั้นปี 2546 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเข้ามาแนะนำให้กลุ่มได้รู้จักกับ
เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือ มผช
. ที่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
ให้การับรอง ทางกลุ่มเราก็เห็นว่าเป็นเรื่องดีหากจะมีใบรับรองคุณภาพสินค้าที่ออกให้โดยหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ
จึงทำเรื่องติดต่อยื่นขอใบรับรองไป ไม่นานก็มีเจ้าหน้าที่มาเก็บตัวอย่างดอกไม้ประดิษฐ์ไปเพื่อทดสอบคุณภาพ
มาตรฐาน ประมาณ
2 สัปดาห์ ดอกไม้ประดิษฐ์รังไหมของเราก็ผ่านการรับรองได้ใบ มผช. เลขที่ 24/2546
และทุกปีอุตสาหกรรมจังหวัดก็จะมาสุ่มเก็บตัวอย่างไปตรวจซ้ำว่าดอกไม้ของเรายังคงคุณภาพหรือไม่
? ....ซึ่ง
ดอกไม้ประดิษฐ์รังไหมของเราก็ผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานทุกครั้ง
”
ณ วันนี้
....หัตถกรรมดอกไม้ประดิษฐ์รังไหมจากภูมิปัญญาและฝีมือชาวบ้านธรรมดาๆ ไม่เพียงแต่จะ
เป็นที่รู้จักของชาวไทยทั้งประเทศแล้ว
...... หากแต่ยังก้าวไกลเป็นสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศทั่วโลกทั้ง
ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อังกฤษ และเยอรมัน นำเงินตราและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยได้อย่าง
น่าชื่นชม
....
สำหรับผู้ที่สนใจผลงานของกลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้รังไหม บ้านหนองบัวพัฒนา
กิ่งอำเภอบัวลาย จ
. นครราชสีมา สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 044 - 495 -109 หรือ 0 - 9987 - 1394
ตอนที่
8 มผช. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ก้าวไกลสู่สากล
โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ
OTOP ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลที่ประสบ
ความสำเร็จมากที่สุดอีกโครงการหนึ่ง แม้กระทั่งประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นต้นแบบของโครงการนี้ยังยอมรับ
ในความสำเร็จของประเทศไทย จนถึงขณะนี้หลายประเทศในภูมิภาคได้ให้ความสนใจที่จะนำแนวคิด
OTOP
ไปใช้ในประเทศของตนและเดินทางเข้ามาศึกษาแนวทางการทำงานจากประเทศไทย
ย้อนกลับไปในปี พ
.ศ. 2546 “สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม” (สมอ.) ได้รับมอบ
หมายให้ดำเนินการ
“โครงการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน” หรือ มผช. ขึ้นเพื่อสนับสนุนการผลิตผลิต
ภัณฑ์ชุมชนให้ได้มาตรฐาน และให้รับการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์โดยแสดงเครื่องหมาย มผช
. เพื่อ
เป็นหลักประกันแก่ผู้บริโภค ตลอดจนเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยเชื่อมโยงต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน สู่ตลาดผู้
บริโภคอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งแนวทางการดำเนินงานโครงการมาตรฐานผลิต
ภัณฑ์ชุมชน
(มผช.) ที่ สมอ. ดำเนินงานอยู่นั้นแบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้
•
ด้านการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สมอ. ได้จัดทำข้อกำหนดที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์
ชุมชนและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ผ่านมา สมอ
. ได้จัดสัมมนาเพื่อจัดทำข้อกำหนดมาตร
ฐานและได้จัดทำมาตรฐานแล้วถึง
1,124 เรื่อง
•
ด้านการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน สมอ. ให้การรับรองแก่ผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยการอนุญาต
ให้แสดงเครื่องหมาย มผช
. โดยมีผู้ผลิตชุมชนได้รับการรับรองแล้วจำนวน 12,849 ราย
•
ด้านการพัฒนาผู้ผลิตชุมชน ในกรณีที่ผู้ผลิตชุมชนไม่สามารถทำผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเป็นไปตาม
มาตรฐาน สมอ
.จะส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปช่วยเหลือให้คำปรึกษาแนะนำถึงสถานที่ผลิตจริง จนมีขีดความสามารถ
มีความพร้อมในการขอรับรอง มผช
. ที่ผ่านมา สมอ.ได้พัฒนาผู้ผลิตชุมชนหลายกลุ่ม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ผ้า
ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป สุรากลั่นชุมชน สาโท ไวน์ผลไม้ และผ้าทอพื้นเมือง ซึ่งกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค
ของประเทศไทย
•
ด้านการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ สมอ.ได้สร้างกระแสการรับรู้ต่อเครื่องหมาย มผช. จนเกิดการรับรู้
ในวงกว้างก่อให้เกิดความตระหนักในเรื่องมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแก่ทุกฝ่าย พร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจเสริม
ภาพลักษณ์ให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนได้การยอมรับว่าเป็นสินค้าคุณภาพเทียบเท่าสินค้าแบรนด์เนมทั้งหลาย
ณ วันนี้
“สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” หรือ สมอ. ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าจัดทำโครง
การมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้พัฒนาและก้าวไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านข้อกำหนดคุณภาพและการพัฒนา
ศักยภาพของผู้ผลิตชุมชน เพื่อยกระดับให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาไทยก้าวขึ้นสู่ตลาดสากลได้อย่างน่า
ภาคภูมิใจ