จากนโยบายมหภาคถึงการขับเคลื่อนท้องถิ่น MUSLIMTHAIPOST

 

จากนโยบายมหภาคถึงการขับเคลื่อนท้องถิ่น


874 ผู้ชม


จากนโยบายมหภาคถึงการขับเคลื่อนท้องถิ่น
จากนโยบายมหภาคถึงการขับเคลื่อนท้องถิ่น  ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ  
สถาบันรามจิตติ
ramajitti@yahoo.com

ปัญหาด้านเด็กและเยาวชนในสังคมไทยมีความสลับซับซ้อนทุกขณะ และผูกโยงกับสถาบันทางสังคมทุกสถาบัน ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สื่อ หรือแม้แต่สถาบันทางเศรษฐกิจที่ต่างมีส่วนอธิบายหรือมีอิทธิพลต่อสภาพปัญหาเด็กและเยาวชนที่เกิดขึ้น ตัวอย่างงานวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis) ในโครงการ Child Watch ได้สะท้อนประเด็นนี้อย่างชัดเจนจากการพิจารณาข้อมูลเป็นรายจังหวัด ที่พบแบบแผนของปัญหาที่น่าสนใจ อาทิ จังหวัดที่มีอัตราเด็กไม่ได้อยู่กับพ่อแม่สูงก็จะมีอัตราการเกิดปัญหาต่างๆ เช่น ยาเสพติด การละเมิดทางเพศสูงตามกัน หรือจังหวัดใดที่มีอัตราพื้นที่เสี่ยงสูง ก็จะมีอัตราการก่ออาชญากรรมและปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนสูงตามไปด้วยเช่นกัน
 

 

จากนโยบายมหภาคถึงการขับเคลื่อนท้องถิ่น  เมื่อเป็นเช่นนี้ การแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนของประเทศจึงต้องขับเคลื่อนงานอย่างบูรณาการทุกด้าน เหมือนดังเช่นที่ โครงการ Child Watch ได้เคยเสนอนโยบาย 4 คุณภาพต่อรัฐบาลนั่นคือ “ครอบครัวคุณภาพ สื่อคุณภาพ การศึกษาคุณภาพ พื้นที่คุณภาพ” มาโดยตลอด โดยหวังที่จะผลักดันให้เกิดนโยบายมหภาคที่บูรณาการมุมมองทุกมิติที่สำคัญต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน
อย่างไรก็ตาม แม้งานขับเคลื่อนนโยบายมหภาคจะเป็นเรื่องสำคัญระยะยาวต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเวลาและการทำงานในภาคนโยบายที่สลับซับซ้อนกินเวลา และอาจเห็นผลได้ช้า ในขณะเดียวกัน การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในสังคมผ่านยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ (area based strategy) ที่อาจมีพลังและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นผลเร็วกว่า แม้จะเป็นการขับเคลื่อนในพื้นที่เล็กๆ (pocket area) แต่หากเกิดขึ้นนับร้อยนับพันจุดทั่วประเทศที่เชื่อมโยงกับเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก็อาจนำไปสู่กระแสขับเคลื่อนและการเปลี่ยนแปลงในระดับมหภาคได้เช่นกัน   สอดคล้องกับแนวคิดของนักคิดยุคหลังทันสมัยนิยม (postmodernism) ที่เชื่อในพลังของ “คนตัวเล็ก” ที่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับชีวิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้มาก  ภายใต้ยุคสมัยที่เทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารได้เสริมพลังอำนาจ (empower) ให้แก่ปัจเจกบุคคลมากขึ้นกว่าแต่ก่อนอย่างมากมาย
 

 

จากนโยบายมหภาคถึงการขับเคลื่อนท้องถิ่น  นี่เองจึงเป็นที่มาของแนวคิดของการขับเคลื่อนงานด้านเด็กและเยาวชนในระดับท้องถิ่นโดยเล็งกลุ่มเป้าหมายไปที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) อาทิ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล เป็นต้น ด้วยความเชื่อในศักยภาพและฐานทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น แนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้เริ่มก่อตัวเป็นรูปธรรมแล้วในปัจจุบัน อาทิ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมืองน่าอยู่สำหรับเด็กในระดับจังหวัดและท้องถิ่นภายใต้โครงการ Child Watch ซึ่งมีจังหวัดเข้าร่วมกว่า 20 จังหวัด  ที่ อบต. และเทศบาลกว่า 100 แห่ง ให้ความสนใจงานด้านเด็กและเยาวชนโดยในกระบวนการทำงานนอกจากการจุดประกายขายความคิดผ่านเวทีประชุมและพบปะกับผู้นำท้องถิ่นระดับต่างๆ แล้ว  ยังยึดหลักให้องค์กรในท้องถิ่น “มีเพื่อน มีพี่เลี้ยง มีที่นัดพบ”   ซึ่งหมายถึงการทำให้เกิดเครือข่ายการทำงานระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับองค์กรภาคีอื่นๆ เช่น สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรภาครัฐในพื้นที่ที่จะนำไปสู่การมีเพื่อนเข้ามาช่วยในการทำงาน มีพี่เลี้ยงในการให้คำปรึกษาหารือ ตลอดจนการมีที่นัดพบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขับเคลื่อนการทำงานในระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกัน ทั้งนี้โดยเน้นบทบาทของสถาบันวิชาการในท้องถิ่น เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏที่สามารถดำเนินบทบาทได้ ทั้งการเป็นเพื่อนร่วมพัฒนาโครงการบางอย่างด้วยกัน การเป็นพี่เลี้ยงให้ข้อมูลข่าวสารคำแนะนำต่างๆ ตลอดจนการเป็นจุดนัดพบในการเปิดเวทีประชุมพบปะในแบบต่างๆ ให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
ปัจจุบันรูปแบบการขับเคลื่อนดังกล่าวได้ดำเนินงานไปแล้วในหลายจังหวัด อาทิ ลำปาง พิจิตร อยุธยา สุพรรณบุรี มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ อุบลราชธานี ตราด ฉะเชิงเทรา ตรัง พังงา เป็นต้น  
ภายใต้วิธีการทำงานดังกล่าว นอกจากการริเริ่มงานและโครงการต่างๆ ในระดับท้องถิ่นแล้ว ยังอาจทำให้เกิดโครงการใหม่ๆ ในลักษณะของการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับภาคีอื่นๆ อาทิ การพัฒนาห้องสมุดไทยคิด ที่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราดกับสำนักอุทยานการเรียนรู้ (TK -park) การริเริ่มโครงการบ้านหลังเรียนที่จังหวัดเลย ซึ่งเป็นความร่วมมือจากหลายฝ่ายทั้งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเลย โครงการ Child watch จังหวัดเลย และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย การพัฒนายุทธศาสตร์ตำบลน่าอยู่สำหรับเด็ก อบต.กุดรัง และ อบต.ยาง ที่จังหวัดมหาสารคาม  ซึ่งการพัฒนาโครงการบางโครงการร่วมกับองค์กรภาคีภายนอกเช่นกัน เช่น การจัดทำโครงการถนนเด็กเดินร่วมกับโครงการ Child Watch เป็นต้น
 

 

จากนโยบายมหภาคถึงการขับเคลื่อนท้องถิ่น  การมี “เพื่อนเข้ามาช่วยริเริ่มงานในลักษณะต่างๆ แบบนี้ ประกอบกับการมีสถาบันวิชาการในท้องถิ่นเป็นที่ปรึกษาและเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เชื่อว่าจะเป็นแนวทางการทำงานที่มีพลังที่ทำให้เกิดยุทธศาสตร์บูรณาการด้านเด็กและเยาวชนในระดับพื้นที่ได้อยากแท้จริง”  
ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้ความเชื่อว่าถ้าเราสามารถช่วยหนุนเสริมให้คนตัวเล็กทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่และผลกระทบสูงในพื้นที่เล็กๆ ของตัวเองได้ และทำให้สังคมมีคนตัวเล็กที่ทรงพลังเหล่านี้เป็นจำนวนมากกระจายกันอยู่ในทุกพื้นที่ก็ย่อมจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้โดยไม่ยากนัก
 

 

จากนโยบายมหภาคถึงการขับเคลื่อนท้องถิ่น  ดร.สีลาภรณ์   บัวสาย    
รองผู้อำนวยการ  และผู้อำนวยการฝ่ายชุมชนและสังคม สกว.    
    
    
“การขับเคลื่อนงานด้านเด็กและเยาวชนจริง ๆ แล้วเหมาะเป็นงานเชิงพื้นที่มาก เพราะผู้ที่จะแก้ปัญหาและดูแลเด็กได้ดีที่สุดคือ สถาบันครอบครัว ชุมชน โรงเรียน  ฉะนั้นยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนที่ตรงจุดที่สุดและเป็นการแก้ปัญหาอย่างเป็นองค์รวมคือ ยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่  แต่อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาเชิงระบบ เช่น ระบบคุ้มครองเด็ก  ระบบการศึกษา  ฯลฯ ก็มีความจำเป็น  แต่เนื่องจากครอบครัวไทยปัจจุบันมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น  พ่อแม่ต้องย้ายถิ่นฐานมาทำมาหากินในเมือง  ลูกต้องให้ปู่ย่าตายายดูแลแทน  ผู้สูงอายุก็ตามเด็กสมัยนี้ไม่ทัน  เด็กเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นก็เริ่มมีปัญหา  ซึ่งจะเห็นว่าปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่เรากลับยอมแลกปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นกับมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ต้องเอาแรงงานพ่อแม่ย้ายถิ่นมาหางานทำในเมือง    
    
ดังนั้นจะเห็นว่าสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนได้นั้น จะเกี่ยวโยงกับเรื่องการจ้างงานในพื้นที่  เพื่อให้ครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา ครอบครัวก็จะอบอุ่น....การแก้ปัญหาที่ระบบการศึกษาอย่างเดียวไม่เพียงพอ  เพราะตลอดช่วงชีวิตเด็ก เขาใช้เวลาอยู่ที่โรงเรียนไม่ถึง 20% แถมเวลาเรียน เด็กยังต้องอยู่กับเพื่อนอีกด้วย   ฉะนั้นการดูแลเด็กอย่างเป็นองค์รวมถึงต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของหลายภาคี  แต่การทำงานเชิงระบบที่เป็นระบบราชการทำให้การทำงานข้ามภาคียาก ถึงต้องอาศัยการทำงานเชิงพื้นที่ด้วย
 

 

จากนโยบายมหภาคถึงการขับเคลื่อนท้องถิ่น  การทำงานเชิงพื้นที่ จะต้องมียุทธศาสตร์สร้างทางเลือกให้แก่เด็ก โดยเฉพาะเด็กที่ย่างเข้าสู่วัยรุ่น เขากำลังค้นหาตัวตนและต้องการการยอมรับในหมู่เพื่อนสูงมาก  ถ้าเราไม่มีทางเลือกให้เด็กได้ค้นพบตัวตนและได้รับการยอมรับในหมู่เพื่อนด้วยการสร้างช่องทางบวกแล้ว   ปัญหาเด็กติดยาเสพยา  ปัญหาเรื่องเพศ  ปัญหาความรุนแรง  ฯลฯ จะเกิดขึ้นได้ง่ายมาก โดยเฉพาะในหมู่เด็กวัยรุ่น   แต่ถ้าได้สร้างช่องทางบวกให้เด็กได้มีพื้นที่ของตัวเอง  ดังเช่น การเปิดพื้นที่ถนนเด็กเดิน  ให้เด็ก ๆ ทำกิจกรรมสร้างสรรค์และแสดงออก เช่น  เล่นดนตรีแล้วมีคนฟัง  วาดภาพแล้วมีคนซื้อ  ประดิษฐ์สิ่งของแล้วมีคนชื่นชม  ฯลฯ  สิ่งเหล่านี้จะเป็นพลังบวกที่มีแรงดึงดูดที่สูงมาก  แต่อย่างไรก็ตามการสร้างช่องทางบวกเหล่านี้ ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนกับสื่อ  พ่อแม่กับชุมชน  
การขับเคลื่อนด้านเด็กและเยาวชนสามารถทำได้ทั้งในเชิงระบบและเชิงพื้นที่  ในเชิงระบบ ก็คือ การทำงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน   แต่การทำงานเชิงพื้นที่ก็คือ ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของหลาย ๆ หน่วยงานในพื้นที่  ยกตัวอย่างเช่น เรื่องครอบครัว เป็นงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  เรื่องสื่อและอินเทอร์เน็ตเป็นงานของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   เรื่องการจัดโซนนิ่งสถานบันเทิงของจังหวัด เป็นงานของผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น”
 

 

จากนโยบายมหภาคถึงการขับเคลื่อนท้องถิ่น  ผศ.จำลอง   คำบุญชู
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ทีมวิจัย Child Watch ภาคเหนือตอนบน

“เครือข่ายทำงานขับเคลื่อนด้านเด็กและเยาวชนของภาคเหนือตอนบนและภาคอื่นๆ จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันคือ เราจะเน้นที่ระบบเฝ้าระวังทางสังคมที่ให้ท้องถิ่นหรือองค์กรระดับจังหวัดเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาฐานข้อมูล พยายามจะเสนอแนวคิดเรื่องการนำผลงานวิจัยหรือข้อมูลไปใช้ในการวางแผนทั้งในระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น  
 

 

จากนโยบายมหภาคถึงการขับเคลื่อนท้องถิ่น  ปีนี้เราเน้นไปที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)  อย่างในจังหวัดลำปาง  เชียงราย   เริ่มเห็นความสำคัญของการเก็บข้อมูลด้านเด็กและเยาวชนที่เป็นระบบมากขึ้น เพราะทำให้เห็นภาพชัดขึ้นว่าสถานการณ์ด้านเด็กและเยาวชนของจังหวัดเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง เห็นตัวเลขได้ชัดเลยว่าเด็กฆ่าตัวตาย เด็กเครียดสูง  ปีนี้เขาจึงตั้งเป้าไว้ว่าจะแก้ปัญหาเรื่องนี้   สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องของวัฒนธรรม การเฝ้าระวังในเรื่องของวัฒนธรรม ก็ได้นำข้อมูลตัวเลขที่เราจัดทำขึ้นไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเปรียบเทียบกับจังหวัดอื่น เพื่อวางแนวทางในการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนในพื้นที่เสี่ยง เช่น การดูแลร้านอินเทอร์เน็ต  ร้านคาราโอเกะ  โต๊ะสนุกเกอร์    ฯลฯ   กลุ่มเครือข่ายครอบครัวสุขภาวะในโรงเรียน นำข้อมูลที่เรามีอยู่แล้วไปประกอบการนำเสนอให้ผู้ปกครองและครูในโรงเรียนให้เห็นว่า ณ ขณะนี้ความสัมพันธ์ของครอบครัวเป็นอย่างไร ปัญหาเด็กมีเรื่องใดบ้าง    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  ก็ใช้ข้อมูลงานวิจัยด้านเด็กและเยาวชนไปจัดอบรมเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤติของนักเรียนนักศึกษา   หรืออย่างบ้านพักเด็กและครอบครัว (บ้านพักฉุกเฉิน) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ก็ได้นำข้อมูลเรื่องเด็กถูกละเมิด เด็กถูกทำร้ายร่างกาย เด็กถูกกรรโชกทรัพย์ ฯลฯ  ไปเป็นข้อมูลประกอบการจัดอบรมป้องกันการค้ามนุษย์และยุติความรุนแรงในครอบครัว    ในกลุ่มพระสงฆ์ ก็ได้นำข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การพบเห็นสารเสพติดในโรงเรียน ข้อมูลเรื่องเด็กกระทำผิดอันเนื่องมาจากยาเสพติด  ไปเป็นข้อมูลประกอบโครงการแกนนำเยาวชนพุทธอาสาทำดีต่อต้านยาเสพติด ของศูนย์พัฒนาคุณธรรม  ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งที่เราได้นำเสนอให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้เห็นถึงความสำคัญของข้อมูล การเชื่อมโยงข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เราได้เครือข่ายการทำงานเพิ่มขึ้น  
โดยส่วนใหญ่การนำข้อมูลด้านเด็กและเยาวชนที่จัดทำขึ้นไปใช้มี 4 รูปแบบคือ (1) ไปเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนข้อมูลในเวทีอภิปราย  (2) จัดเวทีประชุมเครือข่ายเพื่อทำงานร่วมกัน (3) นำข้อมูลสู่การปฏิบัติเชิงนโยบาย โดยเน้นที่กลุ่ม อบต. และ (4) สร้างตัวบ่งชี้ในพื้นที่แต่ละจังหวัดว่า ณ วันนี้เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้วมีแนวโน้มว่าสถานการณ์เด็กและเยาวชนไทยมีประเด็นใดที่น่าจับตามองต่อไป   ซึ่งแนวทางการเคลื่อนงานทั้งหมดของเรานี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย”
 

 

จากนโยบายมหภาคถึงการขับเคลื่อนท้องถิ่น  ผศ. จินตนา   เวชมี
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทีมวิจัย Child Watch ภาคกลาง

“ลักษณะการทำงานของทีมวิจัยของเราคือ จะใช้ข้อมูลในการต่อยอด เผยแพร่ และขยายผลการวิจัยโดยเริ่มจากการจัดทำฐานข้อมูลขึ้นมาก่อน แล้วใช้กระบวนการมีส่วนร่วมไปกระตุ้นให้องค์กรปกครองท้องถิ่นที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนใช้ข้อมูลเป็นฐานในการขับเคลื่อนกิจกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชน เช่นที่ อบต.บางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา, เทศบาลอโยธยา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา  ได้เริ่มนำข้อมูลและรูปแบบการเก็บข้อมูลที่ทีมวิจัยได้พัฒนาในรูปแบบของเว็บไซต์ (https://www.centralcwt.com ) ไปเป็นเครื่องมือในการวางแผนงานเพื่อขับเคลื่อนงานด้านเด็กและเยาวชนในพื้นที่  ซึ่งขณะนี้เริ่มมีองค์กรปกครองท้องถิ่นในจังหวัดอื่น ๆ เริ่มให้ความสนใจที่จะนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้มากขึ้น  และขณะเดียวกันเราก็ได้ไปเป็นวิทยากรรับเชิญให้กับภาคีที่เกี่ยวข้องและกระตุ้นให้เขาเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพเด็กและเยาวชน เช่น ขณะนี้มีโรงเรียนแห่งหนึ่งได้จัดอาหารเช้าให้เด็กรับประทานแล้ว  เพราะเราได้นำข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของเด็กและพบว่าเด็กประมาณ 40% ไม่ได้ทานข้าวเช้ามาโรงเรียน ทำให้ช่วงสาย ๆ เด็กจะปวดท้องและไม่ตั้งใจเรียนหนังสือ
 

 

จากนโยบายมหภาคถึงการขับเคลื่อนท้องถิ่น  มีการนำผลการวิจัยไปขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ของเด็กและเยาวชนในรูปแบบของการสร้างหลักสูตรพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจำนวน 10 แห่ง  เพื่อให้นักศึกษานำไปสอนเด็ก ๆ ต่อไป   ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ได้ถูกไปนำเสนอในการประชุมเอดส์โลกครั้งที่ 17 เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ณ ประเทศเม็กซิโก ด้วย   ซึ่งนี่เป็นอีกรูปธรรมหนึ่งที่ทำให้เห็นว่าคนเริ่มเห็นความสำคัญของการใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนงานด้านเด็กและเยาวชนแล้ว”
 

 

จากนโยบายมหภาคถึงการขับเคลื่อนท้องถิ่น  ผศ.ดร.สมบัติ  ฤทธิเดช
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ทีมวิจัย Child Watch ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

“เราจะพบปัญหาด้านเด็กและเยาวชนในหลายพื้นที่  บางปัญหามีลักษณะคล้าย ๆ กัน เช่น เรื่องการใช้เวลา  ซึ่งส่วนใหญ่หลังเลิกเรียน เด็กจะใช้เวลาส่วนหนึ่งไปกับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์  โหลดเพลง  เสพสื่อลามก คุยโทรศัพท์กับเพื่อน  ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บ้านเพื่อน เพราะเด็กที่มาเรียนในเมืองจะห่างไกลจากพ่อแม่ หรือบางครอบครัวก็ฝากไว้กับผู้ปกครองซึ่งเป็นปู่ ย่า ตา ยาย   จากข้อมูลพบว่าเด็กร้อยละ 25 ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่  และใช้เวลาหลังเลิกเรียนไปกับการเสพสื่อลามกค่อนข้างสูง   ดังนั้นเพื่อเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ทางทีมวิจัยจึงมีแผนงานขับเคลื่อนในประเด็นปัญหาร่วมเชิงพื้นที่ ตัวอย่างรูปธรรมที่ชัดเจนคือ กรณีจังหวัดเลย  ทีมวิจัยร่วมกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.เลย โดยการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด จัดโครงการ “บ้านหลังเรียน” โดยใช้ห้องสมุดประชาชนเป็นสถานที่จัดให้เด็กได้ใช้เวลาหลังเลิกเรียนในเชิงสร้างสรรค์ มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เช่น มุมทำการบ้าน  มุมผู้เฒ่าเล่าเรื่องเมืองเลย  มุมสื่อมัลติมีเดีย  มุมภาษา ฯลฯ   ซึ่งมีเด็กมาใช้บริการในวันธรรมดากว่าร้อยคน และในวันเสาร์-อาทิตย์ประมาณ 400-500 คน  ก็พบว่าเวลาที่เคยเป็นปัจจัยเสี่ยงกลายเป็นเวลาที่เด็กใช้ทำกิจกรรมดี ๆ   มีการขยายผลโดยให้สภาเด็กและเยาวชนมาช่วยออกแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลายมากขึ้นอีก  การดำเนินการดังกล่าวได้ขยายผลไปสู่จังหวัดอื่น ๆ ที่ไปเยี่ยมชมโครงการแล้วนำกลับมาประยุกต์ให้เข้ากับสภาพพื้นที่ของจังหวัดนั้น ๆ  อย่างเช่น  ที่จังหวัดมหาสารคาม จัดเป็นโครงการ “ห้องเรียนข้างบ้าน”  โดย อบต.บรบือ
โครงการ “สวนหลังเรียน”  โดย อบต.พยัคฆภูมิพิสัย  โครงการ “ห้องเรียนคนหลายวัย”  โดย อบต.ยางสีสุราช  เป็นต้น  
จากประสบการณ์พบว่าการขับเคลื่อนงานวิจัยด้านเด็กและเยาวชนผ่านทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเช่น อบต.  นายกเทศมนตรี  เทศบาลตำบล ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในเขตพื้นที่เล็ก ๆ  ทำให้งานขับเคลื่อนด้านเด็กและเยาวชนไปได้เร็วมาก”
 

 
จากนโยบายมหภาคถึงการขับเคลื่อนท้องถิ่น  บ้านหลังเรียน คือ ??
จากนโยบายมหภาคถึงการขับเคลื่อนท้องถิ่น  คือ พื้นที่สำหรับการจัดกิจกรรมที่หลากหลายตามความสนใจของเด็ก ซึ่งอาจเป็นพื้นที่หรืออาคารในโรงเรียน สถาบันอุดมศึกษาในชุมชนหรือองค์กรสมาคมที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงที่สามารถให้ความอนุเคราะห์ โดยกิจกรรมที่จัดมีความหลากหลายทั้งในแง่เนื้อหา รูปแบบ ช่วงเวลาที่จัด  ตลอดจนผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมเน้นกลุ่มเป้าหมายหลักคือ กลุ่มนักเรียนที่มีเวลาว่างหลังเลิกเรียนก่อนกลับบ้านและเน้นการมีส่วนร่วมของเยาวชนและชุมชนเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ
 

 
จากนโยบายมหภาคถึงการขับเคลื่อนท้องถิ่น  ตัวอย่างบ้านหลังเรียน จ.เลย
จากนโยบายมหภาคถึงการขับเคลื่อนท้องถิ่น  ริเริ่มและดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.เลย ร่วมกับทีม Child watch จ.เลย  โดยการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้ใช้ห้องสมุดประชาชนเป็นสถานที่จัดให้เด็กได้ใช้เวลาหลังเลิกเรียนในเชิงสร้างสรรค์ มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจ อาทิ มุมทำการบ้าน มุมสื่อมัลติมีเดีย มุมวาดภาพ มุมดนตรี  ผู้เฒ่าเล่าเรื่องเมืองเลย เป็นต้น
ติดต่อดูงาน : ห้องสมุดประชาชน จ.เลย
โทร. 042-815-420

 
   

 แหล่งที่มา :  ประชาคมวิจัย ฉบับที่ 81

อัพเดทล่าสุด