ระบบเฝ้าระวังเด็กไทย : เพื่อการรู้เท่าก้าวทันเด็กไทย ดร. อมรวิชช์ นาครทรรพ และ ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ โครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch) [email protected] | กว่าสองทศวรรษที่เรื่องของการเฝ้าระวังเด็กและเยาวชน เป็นกระแสความเคลื่อนไหวที่มาแรงทั่วโลก ในนานาประเทศที่ต่างบุกเบิกเรื่อง การเฝ้าระวังเด็กและเยาวชนก็ด้วยเหตุผลสำคัญที่สืบเนื่องมาจากปรากฏการณ์ ปัญหาเด็กและเยาวชนที่นับวันมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น คำว่า “Child Watch” จึงกลายเป็นวาทกรรมที่ทั่วโลกรู้จักกันดี ถือเป็นแนวคิดและพันธกิจสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกลไกการเฝ้าระวังและติดตาม สภาวการณ์เด็กและเยาวชน เพื่อที่จะนำไปสู่การหาแนวทาง “ป้องกัน” “แก้ปัญหา” รวมถึง “การพัฒนา” เด็กและเยาวชน หากได้ทบทวนความเคลื่อนไหวในนานาประเทศ จะพบว่าองค์กรระดับ UNICEF ไปจนถึงองค์กรด้านเด็กและเยาวชนในหลายประเทศทั้งสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย รวมทั้งประเทศไทยที่ต่างบุกเบิกเรื่องนี้ มีการริเริ่มงานเฝ้าระวังด้านเด็กและเยาวชนเป็นรูปธรรมไปแล้วทั้งสิ้น บางองค์กรมีความพยายามเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานระหว่างประเทศจนเป็น Child Watch International ก็มี ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นองค์กรระดับชาติหรือเครือข่ายนานาชาติต่างก็มีแนวคิด ร่วมคล้ายคลึงกันดังที่กล่าวไป นั่นก็คือการสร้างกลไกทางสังคมที่มีประสิทธิภาพในการทำงานเฝ้าระวังติดตาม สภาวการณ์เด็กและเยาวชน รวมถึงการทำงานเชิงขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กและเยาวชนด้านใดด้านหนึ่งหรือหลาย ด้าน เพื่อให้เท่าทันกับปัญหาและแนวโน้มใหม่ๆ ในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทยนั้น คำว่า “Child Watch” หรือในชื่อไทยที่เป็นที่รู้จักกันดีในนามโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและ เยาวชนนั้น ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2545 ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยการนำร่องศึกษาติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนใน 12 จังหวัด ข้อค้นพบของโครงการได้นำไปสู่การพัฒนาระบบเฝ้าระวังเด็กและเยาวชนอย่างจริง จัง และขยายไปสู่โครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch) ซึ่งทำงานครอบคลุม 76 จังหวัดทั่วประเทศในปี 2547 และต่อมาในปี 2548 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ยังได้เข้ามาเป็นภาคีสนับสนุนอีกแรงหนึ่ง โดยเฉพาะในส่วนการนำข้อมูลเฝ้าระวังไปขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กและ เยาวชนให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น งานเฝ้าระวังของโครงการ Child Watch ได้มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเตือนให้สังคมไทยได้ตระหนักว่า สังคมในปัจจุบันต้องเผชิญกับสภาวการณ์ปัญหาเด็กและเยาวชนที่สลับซับซ้อนและ มีแนวโน้มวิกฤตมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างข้อมูลจากโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนหลายจังหวัดหรือ Child Watch ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา (2547-2548) ได้ชี้ถึงสภาวการณ์ทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของเด็กและเยาวชนอย่าง เด่นชัด ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ทางสังคมที่มีพื้นที่เสี่ยงมากกว่าพื้นที่ดีหลายเท่า รวมไปถึงปัญหาพฤติกรรมเด็กและเยาวชนที่ไม่พึงประสงค์ในหลายรูปแบบ ทั้งเรื่องปัญหาพฤติกรรมทางเพศ การเสพสื่อลามก การติดอบายมุข การพนันต่างๆ เป็นต้น ข้อมูลที่สะท้อนจากรายงานในโครงการ Child Watch ของสถาบันรามจิตติ (2548) ดังกล่าวยังชี้ว่า ปัจจัยต้นทางหลายประการได้นำไปสู่ปัญหาเด็กและเยาวชน เริ่มจากต้นทางความไม่มั่นคงของสถาบันครอบครัวหรือการตกอยู่ในวงล้อมของ พื้นที่อบายมุขที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงของเด็กและเยาวชน ตั้งแต่การเที่ยวกลางคืน การใช้สารเสพติดที่ล้วนแล้วนำไปสู่ปัญหามากมาย เช่น การละเมิดทางเพศ การตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม การก่อคดีอาชญากรรม และการเกิดอุบัติเหตุนำสู่ความพิการหรือเสียชีวิต เป็นต้น ความรู้ความเข้าใจใน “ปัจจัยเสี่ยง-ปัจจัยสร้าง” ที่มีอิทธิพลต่อเด็กและเยาวชน ตลอดจนภาพรวมของแนวโน้มปัญหาเด็กและเยาวชนผ่านข้อมูลเฝ้าระวังของ Child Watch ดังที่กล่าวมาไม่เพียงตอกย้ำความสำคัญของระบบการเฝ้าระวังเด็กและเยาวชนเท่า นั้น แต่ยังนำไปสู่การขับเคลื่อนกระบวนทัศน์และกลไกการทำงานด้านเด็กและเยาวชนควบ คู่กับการเฝ้าระวังด้วย อาทิ การดำเนินยุทธศาสตร์ “ขจัดร้าย ขยายดี มีภูมิคุ้มกัน” ร่วมกับหลายหน่วยงานโดยการ ”ขจัดร้าย” เป็นการลดปัจจัยเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยง โดยการมีมาตรการทางสังคมที่เหมาะสมเป็นรูปธรรม การ “ขยายดี” เป็นการเพิ่มพื้นที่ดี สื่อ กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน โดยโรงเรียน สถาบันศาสนา ชุมชน ภาคเอกชนให้การสนับสนุน และ ”มีภูมิคุ้มกัน” โดยการส่งเสริมความเข้มแข็งในภาคส่วนต่างๆ ในสังคม รวมถึงการลงทุนในระบบการวิจัย และติดตามเฝ้าระวังทางสังคม กระบวนทัศน์การทำงานเฝ้าระวังด้านเด็กและเยาวชนในประเทศไทยดังตัวอย่างงานใน โครงการ Child Watch จึงมิได้เป็นแค่กระบวนทัศน์เฝ้าระวังเชิงข้อมูลวิชาการเท่านั้น แต่เป็นกระบวนทัศน์การเฝ้าระวังเพื่อการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกัน ด้วย นอกจาก “Child Watch” แล้วเรื่องของกลไกหรือระบบเฝ้าระวังเด็กและเยาวชนในประเทศไทย ปัจจุบันมีความพยายามในหลายหน่วยงานที่จะพัฒนาระบบเฝ้าระวังที่เกี่ยวข้อง กับเด็กและเยาวชนในมิติต่างๆ เช่นกัน อาทิ ศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรมของกระทรวงวัฒนธรรม ศูนย์เฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคมของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ ซึ่งมีขอบข่ายงานครอบคลุมงานด้านเด็กและเยาวชนด้วย นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่นๆ อีกอาทิ โครงการเฝ้าระวังยาเสพติดในเด็กและเยาวชนของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) โครงการเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (media monitor) ที่มุ่งประเด็นความสนใจการติดตามสภาวการณ์สื่อที่กระทบต่อสุขภาวะของเด็กและ เยาวชนเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งด้วย เป็นต้น นอกจากนี้ในประเทศไทยยังได้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ที่เป็นกฎหมายสนับสนุนการทำงานด้านการเฝ้าระวังเด็กและเยาวชนอีกด้วย กรณีของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นั้น จากการที่เล็งเห็นว่าการมีระบบเฝ้าระวังทางสังคม (Social Watch System) เป็นเรื่องสำคัญยิ่งในสังคมยุคข่าวสารที่มีสถานการณ์ปัญหาต่างๆ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพื่อให้สังคมเท่าทันสถานการณ์ปัญหาที่มีความซับ ซ้อนยิ่งขึ้น และสามารถชี้นำการพัฒนายุทธศาสตร์ทางสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการก่อตั้งศูนย์เฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม โดยมีภารกิจในการติดตามสภาวการณ์ทางสังคมและกระตุ้นเตือนหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นให้สามารถเข้ามามีบทบาทดำเนินการแก้ไข ปัญหาอย่างทันท่วงที ทั้งนี้โดยมีการจัดทำตัวบ่งชี้การเฝ้าระวังทางสังคมขึ้นจำนวนหนึ่งและในส่วน ที่เกี่ยวข้องกับมิติเด็กและเยาวชนก็ได้มีการเชื่อมโยงการทำงานพัฒนาตัวบ่ง ชี้ร่วมกับโครงการ Child Watch อีกด้วย หรือในกระทรวงวัฒนธรรมก็ได้ริเริ่มงานในลักษณะนี้มา แล้ว เช่น การทำโพลวัฒนธรรมสำรวจการใช้ชีวิตของเยาวชนในมิติต่างๆ เช่น วัฒนธรรมการใช้ภาษาไทย วัฒนธรรมการบริโภค วัฒนธรรมและค่านิยมต่อความรุนแรง วัฒนธรรมการใช้ชีวิตที่นำไปสู่พฤติกรรม เสี่ยงต่ออบายมุขต่างๆ โดยมีศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรมเป็นหน่วยดำเนินงาน เฝ้าระวังทางวัฒนธรรมร่วมกับสถาบันวิชาการภายนอก และยังเป็นการดำเนินงานเฝ้าระวังที่เดินควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนเชิง ยุทธศาสตร์ด้วยเช่นกัน อาทิ การนำข้อมูลเฝ้าระวังเข้าไปใช้ในการผลักดันระบบการกำกับดูแลการจัดเรตติ้ง รายการโทรทัศน์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เมื่อมองไปถึงกระบวนทัศน์การทำงานเฝ้าระวังด้านเด็กและเยาวชนในอนาคต ประสบการณ์ที่ผ่านมาทั้งในโครงการ Child Watch ก็ดี ในโครงการของกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก็ดี ชี้ให้เห็นปัญหาในการทำงานที่สำคัญประการหนึ่งนั่นคือ การเผชิญแรงเสียดทานจากสังคม เนื่องจากการทำงานเชิงรุกที่หวังนำข้อมูลไปผลักดันการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ย่อมมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ได้รับผลกระทบไปจนถึงผู้ที่เสียผลประโยชน์ทางธุรกิจ การทำงานเชิงรุกดังกล่าวจึงต้องทำด้วยความมุ่งมั่น เชื่อมั่น และเรียนรู้ยุทธวิธีการทำงานกับภาคส่วนต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำงานเชิงรุกดังกล่าวอาจจำเป็นต้องประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาย นอกให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มพลังในการทำงานขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงให้เป็นผล และลดแรง เสียดทานจากสังคม นี่คือกระบวนทัศน์ในอนาคตที่หวังจะเห็นการทำงานเฝ้าระวังทางสังคมอยู่ในรูป ของเครือข่าย (Social Watch Network) ที่ทรงพลังทั้งในการทำงานระดับข้อมูลและในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ อาศัยการทำงานร่วมกับหลายฝ่ายเป็นเครื่องมือนำไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน พัฒนาเด็กและเยาวชนไทยในอนาคต ปรากฏการณ์การริเริ่มดี ๆ เพื่อเด็กและเยาวชนไทย • ชุมชนน้ำใส โครงการชุมชนน้ำใส โรงเรียนเกิ้งวิทยานุกูล จังหวัดมหาสารคาม เป็นโครงการที่เป็นผลสืบเนื่องจากการประชุมประชาคมตำบล เกิ้ง เกี่ยวกับการอนุรักษ์แหล่งน้ำ ซึ่งในปี 2545 ผู้นำชุมชน ท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ชัชวาล บะวิชัย ได้แจ้งเกี่ยวกับคุณภาพน้ำที่ไหลผ่านบ้านเกิ้งว่ามีคุณภาพระดับ 4 ค่อนข้างเป็นน้ำเสียใช้ได้เฉพาะอุตสาหกรรมเท่านั้น ต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำแบบพิเศษจึงจะใช้อุปโภคบริโภคได้ ผลกระทบที่ตามมาได้นำมาสู่การก่อตั้งชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโรงเรียนเกิ้ง วิทยานุกูลในปีถัดมา โครงการดังกล่าวได้มีการดำเนินการตรวจคุณภาพน้ำ และพบว่าน้ำอยู่ในระดับคุณภาพค่อนข้างต่ำ ด้วยเหตุนี้ นักเรียนชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโรงเรียนเกิ้งวิทยานุกูล จึงได้นำข้อมูลดังกล่าวมาจัดทำโครงการเพื่อสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ แหล่งน้ำ โดยมีการให้ความรู้แก่ชุมชน และแก้ปัญหาแหล่งน้ำแบบยั่งยืนโดยใช้สาร EM มาทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อลดการใช้สารเคมีและหันมาใช้วิถีธรรมชาติในการทำเกษตร • อบต. บางพระ … องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ จังหวัดชลบุรี ได้ดำเนินงานด้านเด็กภายใต้บทบาททางตรงและทางอ้อมของ อบต. เช่น การจัดตั้งศูนย์เยาวชนตำบลบางพระ และโครงการพัฒนาเยาวชนในลักษณะการสร้างศักยภาพการสร้างคุณธรรมจริยธรรม หรืองานด้านศูนย์เด็กเล็กและงานส่งเสริมครอบครัวเข้มแข็ง เป็นต้น โดยเน้นยุทธศาสตร์ทำงานด้วยหลักธรรมภิบาล … • อาจารย์ ชลอ คุปต์กาญจนากุล ศึกษานิเทศก์ นครนายก อาจารย์ชลอ คุปต์กาญจนากุล ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก เป็นบุคคลท่านหนึ่งที่มีบทบาทในการทำงานด้านการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ ... ซึ่งเหตุผลที่มาทำงานนั้น ในรายงานกรณีศึกษาเรื่องคนพิเศษ : เด็กพิเศษ กล่าวไว้ว่า งานจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เป็นงานหนึ่งของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม ทั้งนี้เนื่องจากขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจ อาจารย์ชลอ คุปต์กาญจนากลุ เป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานดังกล่าว ซึ่งไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาพิเศษมากนัก โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับเด็กพิการ อาจารย์จึงได้ขออาสาสมัครชาวอังกฤษ คือ คุณมิรา (Mrs. Mira) อายุ 65 ปี มาช่วยเหลือในด้านนี้เป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้พิการในจังหวัดนครนายก โดยอาจารย์ชลอและคุณมิรา ได้ศึกษา เรียนรู้ สร้างระบบข้อมูลผู้มีความต้องการพิเศษโดยเฉพาะผู้พิการ สร้างเครือข่ายงานการศึกษาพิเศษในหลากหลายรูปแบบได้อย่างน่าชื่นชม … |