พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง


766 ผู้ชม


พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง



 
 พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต  รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน  เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง   สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม  แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  จากวารสารชัยพัฒนา

“เศรษฐกิจพอเพียง... จะทำความเจริญให้แก่ประเทศได้   แต่ต้องมีความเพียร   แล้วต้องอดทน  ต้องไม่ใจร้อน  ต้องไม่พูดมาก  ต้องไม่ทะเลาะกัน  ถ้าทำโดยเข้าใจกัน  เชื่อว่าทุกคนจะมีความพอใจได้...”
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  พระราชทาน  ณ  วันที่  ๔ ธันวาคม  ๒๕๔๑

  หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

๑. กรอบแนวคิด   เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น
โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย   สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา  
และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย  
และวิกฤติ  เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
๒. คุณลักษณะ  เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ  โดย
เน้นการปฏิบัติบนทางสายกลางและการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
๓. คำนิยาม  ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย  ๓  คุณลักษณะ  พร้อมๆ กัน  ดังนี้
* ความพอประมาณ  หมายถึง  ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป  โดยไม่
เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  เช่น  การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
* ความมีเหตุผล  หมายถึง  การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไป
อย่างมีเหตุผล  โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะ 
เกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ  อย่างรอบคอบ
* การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง  หมายถึง  การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการ
เปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
๔. เงื่อนไข  การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น  ต้องอาศัยทั้ง
ความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน  กล่าวคือ
         เงื่อนไขความรู้  ประกอบด้วย  ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่าง
         รอบด้าน  ความรอบคอบ ที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน  เพื่อประกอบ
การวางแผน  และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
         เงื่อนไขคุณธรรม  ที่จะต้องเสริมสร้าง  ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม  มี  
ความซื่อสัตย์สุจริตมีความอดทน  มีความเพียร  ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตไม่โลภ ไม่
ตระหนี่
๕. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ  จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้คือ 
การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน  พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน  ทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคม 
สิ่งแวดล้อม  ความรู้และเทคโนโลยี

อัพเดทล่าสุด