รู้จัก "ไมเกรน" ดีหรือยัง


885 ผู้ชม


รู้จัก

รู้จัก "ไมเกรน" ดีหรือยัง


          ไมเกรนเป็นอาการ ปวดหัวที่พบได้บ่อย พบได้ทุกวัยและพบมากในช่วงอายุ 10-30 ปี โรคนี้มักเป็นๆหายๆ เรื้อรัง สร้างความรำคาญทรมานและทำให้เสียงานได้

รู้จัก "ไมเกรน" ดีหรือยัง
ปวดหัวอย่างไรถึงเป็นไมเกรน
          มีอาการนำมาก่อนที่จะปวด ประมาณ 15-20 นาที เช่น เห็นแสงวูบวาบเป็นสีเหลืองๆ ตามัว คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย บางรายมีอาการหงุดหงิด ง่วงนอนมาก หรือมีอาการทางจิต เช่น วิตกกังกล ซึมเศร้า แต่อาการเหล่านี้ไม่พบในทุกรายที่ปวดไมเกรน
          มักมีอาการปวดหัวข้างเดียว(หรือ 2 ข้าง) บริเวณขมับหรือเบ้าตา บางคนอาจปวดท้ายทอยได้ มักปวดแบบตุบๆ และจะปวดในระดับกลางถึงมาก แต่ถ้าปวดพอรำคาญน้อยๆ โอกาสเป็นไมเกรนจะน้อย นอกจากนั้นอาการปวดแบบไมเกรนนั้น เมื่อหายปวดจะหายสนิท โดยในช่วงที่ปวดจะปวดนาน 2-4 ชั่วโมง หรือนาน 2-3 วัน
          มีอาการร่วมขณะปวดหัว ซึ่งแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องเดิน รู้สึกเย็นตามปลายมือปลายเท้า กลัวแสง เป็นต้น
รู้จัก "ไมเกรน" ดีหรือยังไมเกรนเกิดจากอะไร
          ยังไม่มีการยืนยันสาเหตุที่แน่นอน เชื่อว่าเกิดจากการมีปัจจัยกระตุ้นให้เส้นประสาทในสมองหลั่งสารบางอย่างออก มาและสาร พวกนี้ไปทำให้เส้นเลือดขยายตัว การที่เส้นเลือดขยายตัวนี้เองทำให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรน
รู้จัก "ไมเกรน" ดีหรือยัง
สาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดการปวด
        สิ่งกระตุ้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน เช่น
         
อยู่ในที่มีเสียงดัง อากาศร้อนหรือเย็นเกินไป มีแสงสว่างจ้า
          การใช้สายตาเพ่งดูอะไรนานๆ
          การสูดดมกลิ่นฉุนๆ เช่น ควันบุหรี่
          การอดนอนหรือนอนมากเกินไป
          หิวจัดหรือกินอาหารผิดเวลา
          ความเครียดทางอารมณ์
          การถูกกระแทงแรงๆที่ศีรษะ
          อิทธิพลของฮอร์โมนเพศ มีประจำเดือน หรือก่อนมีประจำเดือน การใช้ยาคุมกำเนิด
          อาหารบางชนิด เช่น กาแฟ เนยแข็ง ช็อกโกแลต นมเปรี้ยว เหล้า เบียร์ อาหารทะเล อาหารทอด ผงชูรส ผลไม้รสเปรี้ยวอย่าง ส้ม มะนาว เป็นต้น

รู้จัก "ไมเกรน" ดีหรือยังไมเกรนรักษาอย่างไร
          ที่สำคัญคือ ควรสังเกตตัวเองว่า อะไรที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดแล้วหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น
รู้จัก "ไมเกรน" ดีหรือยัง
การรักษาด้วยยา
          การใช้ยาขณะมีอาการ ควรใช้ให้เร็วที่สุด ถ้าใช้ตอนที่ปวดหัวมากแล้ว มักจะไม่ค่อยได้ผล ถ้าปวดไม่มาก หรือคาดการณ์ล่วงหน้าว่า จะเกิดอาการปวดให้กินยาพาราเซตามอล หรือแอสไพรินทันทีเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการและพักผ่อนในที่มืดและเงียบๆ สักครู่ ถ้าวิธีดังกล่าวไม่ได้ผล ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
          การใช้ยาพวกเออร์กอตตามีน เช่น คาเฟอร์กอต(Cafergot) โพลีกอต(Polygot) เพื่อรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์หรือเภสัชกรคำแนะนำวิธีใช้ยานี้ มีดังนี้
          ให้รับประทานยาทันทีที่มีอาการ 1-2 เม็ด ถ้าไม่หายให้ซ้ำได้อีก 1 เม็ด ทุก 30 นาที แต่ไม่เกิน 6 เม็ดต่อวันและ10 เม็ดต่อสัปดาห์
          ไม่ควรทานเกินขนาดเพราะอาจเกิดพิษจากยา เช่น เส้นเลือดปลายมือปลายเท้าหดตัวรุนแรงจนขาดเลือด หรือหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้มีอาการปวดหัวเรื้อรังได้
          ห้ามใช้ในหญิงคั้งครรภ์
          ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคตับ โรคไต โรคหัวใจขาดเลือดและเส้นเลือดตีบ
          มียาที่ใช้ป้องกันการเกิดหรือไม่ ในบางรายที่มีอาการปวดบ่อยๆ ปวดรุนแรง อาจจำเป็นต้องใช้ยาป้องกันลดความถี่หรือความรุนแรง แต่เนื่องจากเป็นยาที่มีผลข้างเคียงและมีข้อห้ามใช้หลายประการจึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชก่อนใช้
รู้จัก "ไมเกรน" ดีหรือยัง
ข้อพึงระวัง
          อาการปวดศีรษะบ่อยๆ อาจเป็นอาการแสดงของปัญหาที่รุนแรงได้และการใช้ยาแก้ปวดนานๆอาจได้รับพิษจากยาได้ ในกรณีนี้ไม่ควรใช้ยารักษาเองแต่ควรปรึกษาแพทย์


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากคณะเภสัชสาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


อัพเดทล่าสุด