งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน


1,353 ผู้ชม


งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน

panchee (37,330 views) first post: Tue 19 January 2038 last update: Fri 21 May 2010

รวมพลัง ต้นกล้าวิทย์ สร้างแนวคิดแห่งปัญญา งานที่เปิดโอกาสให้ เยาวชน นำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่เป็นประโยชน์สู่สังคม

สารบัญ


หน้าที่ 1 - งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน

งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 5 (วทท.5) จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “รวมพลังต้นกล้าวิทย์ สร้างแนวคิดแห่งปัญญา” ระหว่างวันที่ 19-20 มีนาคม 2553 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดย 3 องค์กรคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์ ได้แก่
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
คลิปวิดีโอการเสวนาพิเศษ เรื่อง หลากมุมมองนักวิทยาศาสตร์กับการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมและภัยธรรมชาติกับชีวิตมนุษย์ในปัจจุบัน

รองศาสตราจารย์ ดร.บุษบา  ฤกษ์อำนวยโชค


คำถามและบทสรุป
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 5 (วทท.5) จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “รวมพลังต้นกล้าวิทย์ สร้างแนวคิดแห่งปัญญา” จัดขึ้นโดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษา และบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ ได้นำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่เป็นประโยชน์ให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป ผ่านเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่างนิสิต นักศึกษา กับผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันต่างๆ

ในงานนี้ยังประกอบด้วยการนำเสนอผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของนิสิต นักศึกษา การประชาสัมพันธ์หลักสูตรคณะวิทยาศาสตร์และทุนการศึกษา นิทรรศการการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสื่อการสอน นิทรรศการภาวะโลกร้อน กิจกรรมปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี การออกร้านจำหน่ายหนังสือสื่อการสอน เป็นต้น


นอกจากนี้ยังมีเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการสร้างเครือข่ายทางวิชาการ อาทิ การเสวนาพิเศษ เรื่อง หลากมุมมองนักวิทยาศาสตร์กับการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมและภัยธรรมชาติกับชีวิตมนุษย์ในปัจจุบัน ในวันศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2553 ส่วนในวันเสาร์ที่ 20 มีนาคม 2553 นั้น มีการบรรยายพิเศษเรื่อง ธรรมะ กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ดร.สนอง วรอุไร


ภายในงานยังมีกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีให้เยาวชนได้ร่วมสนุก อาทิ กิจกรรมการวาดการ์ตูน Sci-Fi โดย วิทยากรจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กิจกรรมการพับกระดาษ โอริงามิ ศาสตร์ในงานศิลป์ โดย ดร.บัญชา  ธนบุญสมบัติ นักวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ


การอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อการเขียนบทความวิทยาศาสตร์ เพื่องานต่างๆ  หนังสือวิทยาศาสตร์ทำมือ โดยคณะวิทยากรจากชมรมนักเขียนและผู้จัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์ (นจวท.) กิจกรรมสาธิตแนวทางการประดิษฐ์สื่อการสอนและเครื่องมือทดลองวิทยาศาสตร์ แนะแนวการศึกษาต่อ โดยสมาคมนักเรียนทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


ทีมงานวิชาการดอทคอม ได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมวิชาการในวันศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2553 โดยเข้าฟังการเสวนาพิเศษ เรื่อง หลากมุมมองนักวิทยาศาสตร์กับการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมและภัยธรรมชาติกับชีวิตมนุษย์ในปัจจุบัน ซึ่งมีวิทยากร ดังต่อไปนี้


งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์  ปัญหา

นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ประจำปี 2553
ประธานสมาคมหอยนานาชาติ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


รองศาสตราจารย์ ดร.เป็นหนึ่ง  วานิชชัย
ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย
สอนและกำกับดูแลการศึกษาวิจัยของนักศึกษาปริญญาโทและเอก ในสาขาวิศวกรรมโครงสร้าง แผ่นดินไหว แรงลมและสะพาน


รองศาสตราจารย์ ดร.บุษบา  ฤกษ์อำนวยโชค
ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
หัวหน้าหน่วยมนุษย์พันธุศาสตร์ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี


ดร.เครือวัลย์  จันทร์แก้ว
นักธรณีวิทยาที่ค้นพบสึนามิโบราณในประเทศไทย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ดำเนินรายการ โดย


งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ นักวิชาการ ฝ่ายสื่อสิ่งพิมพ์และมัลติมีเดีย  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

             งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์  ปัญหา
นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ประจำปี 2553
ประธานสมาคมหอยนานาชาติ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร.สมศักดิ์ ให้ผู้สนใจทำงานวิจัย เรื่องใดก็ได้ ให้ดีที่สุด เพราะงานวิจัยต่างๆ สามารถเชื่อมโยงถึงกันเอง เช่น การศึกษาเรื่องเกี่ยวกับหอยยังเกี่ยวโยงกับเรื่องต่างๆ
แผ่นดินมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม ไม่ได้เป็นเช่นปัจจุบัน โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เกิดจากมนุษย์ ภูมิอากาศ เพราะมนุษย์มีส่วนสำคัญที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป เราควรจะใช้ทรัพยากรอย่างระมัดระวัง เพราะภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงไม่มากเท่าภูมิอากาศ จะเห็นได้ว่ามนุษย์ทำให้บรรยากาศของโลกเปลี่ยนแปลง เราต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป


งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน


งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
จากภาพ แสดงให้เห็นถึงออกซิเจนเมื่อหลายล้านปีก่อนที่ยังมีน้อยอยู่ และเมื่อต่อมามีออกซิเจนมากขึ้นจึงมีสิ่งชีวิตอุบัติขึ้น นอกจากนี้ในประเทศไทย เคยมีหมีแพนด้า ลิงอุรังอุตัง ไฮยีน่า เพราะมีซากฟอสซิลที่ขุดค้นพบในประเทศไทย นั่นแสดงว่า สภาพภูมิอากาศประเทศเรา เคยหนาวเย็นมาก่อน และมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ จนเกิดการสมดุลย์ มีการปรับตัวต่างๆ
เขาหินปูนที่เป็นอดีตปะการังในทะเล กลายเป็นภูเขาที่โผล่ขึ้นมา จะเห็นความไม่แน่นอนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง เกิดการกร่อนโดยฝน
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
จากภาพจะเห็นเขาหินปูนที่มีจำนวนมาก หลายพื้นที่ในจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย


งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
                                    ซากฟอสซิล ลิงอุรังอุตัง



งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน


งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน

ภาพหอยทากจิ๋ว มีการเปลี่ยนรูปแบบ จะเห็นว่ามีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เปลือกหอยแต่ก่อนจะลวดลายง่ายๆ และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นลวดลายสวยงาม มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของ 'เขา'  เขาของหอยเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ระดับมิลลิเมตร เปลี่ยนแล้วอยู่ในรูปแบบนั้นได้เป็นล้านๆ ปี


งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
ธรรมชาติจะมีการปรับเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อม เฉกเช่น สิ่งมีชีวิตในถ้ำ สิ่งที่สามารถอาศัยอยู่ได้ ได้แก่ ปลาตาบอด กิ้งกือ ไส้เดือน เป็นต้น อย่างไรก็ตามมนุษย์เป็นผู้เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม มากกว่าธรรมชาติ เช่น ฝน เสียอีก เห็นได้จากมนุษย์เป็นผู้ตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ป่าไม่มีฟองน้ำไว้ซึมซับน้ำฝน ฝนส่วนหนึ่งที่ไม่ถูกดูดซึมจากป่าไม้ จะตกลงไปในทะเล ทำให้น้ำกร่อย ไม่เค็ม ทำให้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์ด้วยกันเอง สิ่งแวดล้อม และสัตว์ป่า เช่น ช้าง เป็นต้น จนทำให้เกิดโครงการ 1,000 ปี ที่จะสร้างโลกใหม่ที่ดาวอังคารแทน ซึ่งยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่


งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
            งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
ดร.เครือวัลย์  จันทร์แก้ว
นักธรณีวิทยาที่ค้นพบสึนามิโบราณในประเทศไทย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



ตำแหน่งของเปลือกโลกมีการเคลื่อนตัวตลอดเวลา บางตำแหน่งเปลือกโลกเคลื่อนตัวเข้าหากัน บางตำแหน่งเปลือกโลกเคลื่อนตัวออกจากกัน
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
เรามีหลักฐานทางธรณีวิทยา ว่า โลกเปลี่ยนแปลงและตำแหน่งของเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา เปลือกโลกมี 2 เปลือกโลก พอมาชนกัน ต้องมีเปลือกโลกใดเปลือกโลกหนึ่งมุดลง โดยเปลือกโลกฝั่งมหาสมุทรจะหนักกว่า จะมุดลงสะดวกกว่า หากเกิดการมุดได้ปกติ จะไม่เกิดอะไรขึ้น แต่หากเกิดการมุดไม่สะดวก จะเกิดการสะสมแรงเครียด หรือ การล็อค ส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหว และหากเกิดแผ่นดินไหวที่ระดับตื้น จะมีโอกาสเกิดสึนามิได้ 
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
จากภาพเป็นแนวเปลือกโลกที่เป็นรอยต่อมาพบกัน พื้นที่สีแดง เหลือง ส้ม เป็นตำแหน่งที่มีทำให้เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง หากแต่พื้นที่สีเขียวที่กระทบประเทศไทย แต่ไม่ค่อยปรากฎการเกิดแผ่นดินไหว


การศึกษาว่ามีการเกิดสึนามิในอดีตหรือไม่

งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน 
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
เมื่อเกิดสึนามิในประเทศไทย ในปี 2547  ทีมงานของอาจารย์เครือวัลย์ ประมาณ 20 คน เข้าไปศึกษาตะกอนสึนามิในพื้นที่ เพื่อดูว่าโดนกัดเซาะไปมากน้อยเพียงใด มีผลกระทบทางกายภาพเป็นอย่างไร ลักษณะทางกายภาพเป็นอย่างไร โดยไปศึกษาที่ประเทศที่เคยเกิดสึนามิก่อน คือ ประเทศชิลี และย้อนกลับมาศึกษาในประเทศไทยใหม่ โดยทีมงานของอาจารย์ ได้เข้าไปศึกษาตะกอนสึนามิหลายจังหวัด แต่จังหวัดหลักๆ คือ จ.ภูเก็ต และเกาะพระทอง จ.พังงา  
ตะกอนสึนามิจะต้องเห็นรอยต่อระหว่างชั้นชัดเจน เป็นการทำให้เกิดการตกตะกอนภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ไม่ใช่ตะกอนที่มาจากแม่น้ำหรือพายุ หรือตะกอนที่ต้องใช้เวลาหลายปี นั่นหมายถึง ตะกอนสึนามิ  ตะกอนชั้นสีขาว คือ ทราย   เพราะเกิดจากการกวาดตะกอน ทรายหน้าหาดและบริเวณชายฝั่งที่ตื้นๆ เข้ามาด้วย  ทีมงานไปศึกษาเรื่องตะกอนสึนามิ โดยขุดหลุมหาตะกอนทั้ง 6 จังหวัด ที่เกิดสึนามิ เมื่อปี 2547
หากจะแน่ใจว่าพื้นที่นั้นๆ เกิดสึนามิจริง จะต้องมีชั้นดินลักษณะเดียวกันมากกว่า 1 หลุม จึงขุดจำนวนเป็นร้อยๆ หลุม ซึ่งพบว่า เป็นลักษณะเดียวกัน และนำรากหญ้า ใบไม้ เปลือกไม้ เมล็ดพืช
การขุดพบชั้นตะกอนสึนามิที่เคยเกิดขึ้นในอดีต สามารถคำนวณอายุได้ถึง 600 ปี  แสดงว่าสึนามิลักษณะความรุนแรงระดับนั้น ได้เคยเกิดมาในอดีตเมื่อ 600 ปีที่ผ่านมา ก่อนหน้า 600 ปี ก็เคยเกิดสึนามิขึ้น แต่ยังไม่สามารถสรุปอายุได้แน่นอน

อย่างไรก็ตามไม่มีใครสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าสึนามิจะเกิดขึ้นอีกเมื่อไร  และการเกิดสึนามิขึ้นอยู่กับศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ที่ใด และความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน ต้องพิจารณารวมกับประวัติในอดีตด้วยว่า สถานที่นั้นเคยเกิดสึนามิหรือไม่


งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
จากภาพ
หากความแรง 9.3 คลื่นมาที่ บางเนียง ภูเก็ต 5.10 เมตร
หากความแรง 8.5 คลื่นมาที่ บางเนียง ภูเก็ต 1.2 เมตร
หากความแรง 7.5 คลื่นมาที่ บางเนียง ภูเก็ต น้อยกว่า หรือ ประมาณ 0.2 - 0.5 เมตร


งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
เหตุการณ์สึนามิที่รุนแรงเท่าปี 2547 นั้น เคยเกิดเมื่อ 600 ปีที่แล้ว ส่วนเหตุการณ์ที่คลื่นสูง แต่ผลกระทบต่อประเทศไทยน้อยนั้น เกิดขึ้นบ่อย ส่วนสึนามิที่มีความรุนแรงปานกลางจะมีโอกาสบ่อยกว่า และยังไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้นอีกเมื่อใด จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม


            งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน               
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
รองศาสตราจารย์ ดร.เป็นหนึ่ง  วานิชชัย
ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย
สอนและกำกับดูแลการศึกษาวิจัยของนักศึกษาปริญญาโทและเอก ในสาขาวิศวกรรมโครงสร้าง แผ่นดินไหว แรงลมและสะพาน

งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
จากที่เคยมีการศึกษาว่าจะต้องรอการสะสมพลังงานเป็นพันๆ ปี จึงจะเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.2 ได้ แต่ก็เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวเมื่อใด


งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
การเกิดแผ่นดินไหว หากศูนย์กลางอยู่ใกล้เมืองมากเกินไป จะทำให้เกิดความเสียหายมาก
ในภาพเป็นแผ่นดินไหวที่โกเบ ญี่ปุ่น ซึ่งเสียหายมาก เนื่องจากศูนย์กลางอยู่ใต้เมืองพอดี


งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย ในรูปจะเห็นว่ามีประมาณ 15 รอยเลื่อนกระจายอยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันตกและภาคใต้ แต่ภาคใต้จะมีการสะสมพลังงานช้า ทำให้ไม่ค่อยเกิดแผ่นดินไหว  เพราะฉะนั้นภาคเหนือจะมีความเสี่ยงแผ่นดินไหวมากกว่าภาคอื่น แต่หากเกรงเรื่องแผ่นดินไหว ควรสร้างบ้านที่อยู่อาศัยให้สามารถทนต่อแรงแผ่นดินไหวได้
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
การเตรียมพร้อมรับมือกับแผ่นดินไหว
ควรควบคุมให้อาคารในพื้นที่เสี่ยงภัย มีการออกแบบก่อสร้างให้ต้านทานแผ่นดินไหวได้อย่างเหมาะสม
ศึกษา สำรวจและวิจัยเกี่ยวกับแผ่นดินไหว เพื่อให้มีข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
เผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ
หากเกิดแผ่นดินไหวในกรุงเทพฯ อาคารสูงจะได้รับผลกระทบมากกว่า ส่วนภาคเหนือจะมีผลกระทบต่ออาคารทุกขนาด


            งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
รองศาสตราจารย์ ดร.บุษบา  ฤกษ์อำนวยโชค
ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
หัวหน้าหน่วยมนุษย์พันธุศาสตร์ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
ภัยธรรมชาติมีหลากหลายรูปแบบ แผ่นดินไหว น้ำท่วม ทำให้เกิดบุคคลสูญหายจำนวนมาก
หากเกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติเราจะต้องเรียนรู้ เข้าใจ รู้รับมือ ภัยธรรมชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
ผลของภัยพิบัติ

- ความบาดเจ็บทางกายและจิตใจ
- การสูญหายของบุคคลและทรัพย์สิน
- เด็กกำพร้า
- ธุรกิจการท่องเที่ยว ฯลฯ


วิธีการพิสูจน์บุคคลสูญหาย
- ลายพิมพ์นิ้วมือ เป็นเอกลักษณ์รายบุคคล
- ประวัติฟัน ควรทำฟันในสถานที่เดียว เพื่อเป็นการเก็บประวัติฟัน
- พยาธิสภาพ
- ของใช้ เช่น แหวนแต่งงาน
- ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ


วิธีการตรวจดีเอ็นเอ
1. ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA Typing)
2. ดีเอ็นเอบนโครโมโซม Y (Y-Chromosomal DNA)
3. ดีเอ็นเอในไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial DNA)
 งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน   งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน  งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
เมื่อเกิดสึนามิเมื่อปี 2547 ทีมงานของ ร.พ.รามาธิบดี ช่วยเหลือญาติผู้เสียชีวิตด้วยการพิสูจน์บุคคลสูญหาย ทำให้ญาติได้รับกลับไปทำพิธี แต่ยังคงเหลือบางส่วน สามารถติดต่อได้ที่ ร.พ.รามาธิบดี
เราสามารถมั่นใจได้ว่า ประเทศไทยเรามีการตรวจดีเอ็นเอ ที่เป็นมาตรฐาน สามารถตรวจพิสูจน์บุคคลสูญหายได้ ตรวจหาความผูกพันทางสายเลือดว่าเป็นบุตรธิดาของบุคคลนั้นจริงหรือไม่
             งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน


หน้าที่ 2 - ตัวอย่างบทคัดย่อโครงงานที่น่าสนใจ

คลิปสัมภาษณ์ผลงานวิจัยของนิสิต นักศึกษา จากโครงงานต่างๆ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 และระดับบัณฑิตศึกษา ผู้รับทุนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีจากโครงการต่างๆ อาทิ โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) และทุนอื่นๆ ตลอดจนบุคคลทั่วไป ได้นำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยายและแบบโปสเตอร์ เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่เป็นประโยชน์แก่สาธาณชน นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างเวที สำหรับแสดงความสามารถและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างเยาวชนกับผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการที่มีประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการนำเสนอข้อมูลและนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ให้เยาวชน ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปได้รับทราบ

การคิดโครงงานวิทยาศาสตร์นั้น ต้องเตรียมข้อมูลอย่างละเอียด ทั้งจุดประสงค์ของการทำหัวข้อนั้นๆ รายละเอียดการทำโครงงาน ระยะเวลาที่คาดว่าจะเสร็จสิ้น และผลการทำโครงงาน ดังนั้น จะขอยกตัวอย่างการสัมภาษณ์น้องๆ คนเก่งจากหัวข้อต่างๆ และต่างมหาวิทยาลัย ถึงโครงงานที่น่าสนใจ 3 เรื่อง ถึงรายละเอียดโครงงาน ระยะเวลาในการทำโครงงาน อุปสรรคปัญหาที่พบ และการต่อยอดโครงงานในอนาคต (ดังคลิปวิดีโอ) ดังต่อไปนี้ค่ะ
สาขาชีววิทยา
การคัดเลือกและจำแนกแบคทีเรียแลคติคที่สร้างแบคเทอริโอซินจากแหนม
โดย พฤษท์ หาญวรวงศ์ชัย และ อัครพล วัชราวิภาส นักศึกษาชั้นปีที่ 4
อาจารย์ที่ปรึกษา วัฒนาลัย ปานบ้านเกร็ด
ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ราชเทวี
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
บทคัดย่อ
ได้คัดเลือกเชื้อแบคทีเรียแลคติคแตกต่างกันจากตัวอย่างแหนม 14 ตัวอย่าง พบ 38 isolates ซึ่งสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแลคติคทดสอบ ได้แก่ Ped, Pantosaceus, Lb.plantarum และ En. Faecium มี 31 isolates ที่สามารถยับยั้ง methicillin resistant S. aureus (MRSA) ได้ด้วย ได้จำแนกชนิดของแบคเทอริโอซิน โดยใช้ bacteriocin specific primers จำนวน 6 คู่ พบว่า 8 isolates สร้าง nisin ได้วิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของ 16S rRNA gene ของแบคทีเรียแลคติคที่คัดเลือก 3 isolates พบว่า 1 isolate ที่สร้าง nisin เป็น L.lactis อีก 2 isolates ซึ่งสร้างแบคเทอริโอซินไม่ทราบชนิด เป็น Lb.plantarum นอกจากนี้ ได้ใช้ 16S rRNA specific primers พบว่า 6 isolates เป็น Ped. Pentosaceus

งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
             งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
สาขาคณิตศาสตร์

กล่องพีทาโกรัส
โดย สุชาดา ปฐมกำเนิด นักศึกษาชั้นปีที่ 4
อาจารย์ที่ปรึกษา จิราภา ลิ้มบุพศิริพร
ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม

งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
บทคัดย่อ
กล่องพีทาโกรัส Pythagorean box คือ สี่สิ่งอันดับ (x, y, z, w) โดยที่ x, y, z และ w เป็นจำนวนเต็ม ซึ่ง w>0 และ x2 + y2 + z2  = w2  เป็นการขยายแนวคิดมาจากสามจำนวนของพีทาโกรัส (Pythagorean triple) ซึ่งคือ สามจำนวน (x, y, z) โดยที่ x, y และ z เป็นจำนวนเต็มที่สอดคล้องสมการ x2 + y2 = z2  จากการศึกษาเราทราบว่า เซตของกล่องพีทาโกรัสเป็นกรุป ภายใต้การดำเนินการ * ซึ่งนิยามโดย [x1, y1, z1, w1] * [x2, y2, z2, w2] = [x1w2 + w1x2, y1z2 + z1y2, z1z2 – y1y2, x1x2 + w1w2] และเราสามารถนิยามการดำเนินการอีกการดำเนินการหนึ่ง ซึ่งทำให้เซตของกล่องพีทาโกรัสเป็นฟิลด์ ภายใต้การดำเนินการนี้ และการดำเนินการ * นอกจากนี้ เราพบว่า ฟิลด์ของกล่องพีทาโกรัสไอโซมอร์ฟิค กับ ฟีลด์ของ Gaussian retionals Q (i) และเป็นฟิลด์ภาคขยายของฟิลด์ของสามจำนวนของพีทาโกรัส


งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
             งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
สาขาเคมี

ฟิล์มอุ้มน้ำจากไคโตซานที่เชื่อมขวางด้วยยูวี
โดย ปิยะชัย ขอมอินทร์ และ ทวินดา คงประเทศ นักศึกษาชั้นปีที่ 4
อาจารย์ที่ปรึกษา วราวุฒิ ตั้งพสุธาดล
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
บทคัดย่อ
ในงานวิจัยนี้ได้ดัดแปลงไคโตซาน เพื่อนำมาทำเป็นวัสดุดูดซับน้ำ โดยทำสายโซ่ไคโตซานให้เป็นประจุบวกและเชื่อมขวางสายโซ่พอลิเมอร์นี้ ด้วยสารเชื่อมขวาง 1,3-diazido-2-propanol (DAZ) ที่กระตุ้นให้เกิดการเชื่อมขวางได้ ด้วยแสงแดดหรือรังสียูวี สภาวะที่ให้การเชื่อมขวางที่เหมาะสม คือ การใช้สาร DAZ 1 โมลต่อไคโตซาน 1 โมล และให้แสง UV-C เป็นเวลา 10 นาที การเชื่อมขวาง ได้ช่วยให้ฟิล์มไคโตซานคงรูปในน้ำได้นานกว่าฟิล์มที่ไม่ได้เชื่อมขวาง นอกจากนี้ยังได้ทดลองเตรียมฟิล์มที่เชื่อมขวางของอนุพันธ์ไคโตซานที่มีประจุบวกในรูปของหมู่เกลือแอมโมเนียม 2 ชนิด แต่พบว่า แผ่นฟิล์มของอนุพันธ์ที่มีประจุบวกของไคโตซานทั้งสองนี้ ไม่สามารถอุ้มน้ำได้ดีนัก แต่กลับแตกออกเป็นชิ้นอันเป็นผลมาจากการละลายที่สูงของอนุพันธ์ไคโตซานทั้งสองชนิดในน้ำนั่นเอง
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
             งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน
ผลงานของพี่ๆ น่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้น้องๆ จุดประกายความคิดในการสร้างสรรค์โครงงานวิทยาศาสตร์ที่มีประโยชน์กันต่อไปนะคะ ไม่แน่นะคะ..นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังในอนาคตอาจจะเป็นน้องก็ได้นะคะ...


บทคัดย่อผลงานวิจัยของนิสิต นักศึกษา จากโครงงานต่างๆ


เริ่มเรื่องและแนะนำวิทยากร


ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์  ปัญหา


ดร.เครือวัลย์  จันทร์แก้ว


รองศาสตราจารย์ ดร.เป็นหนึ่ง  วานิชชัย




อัพเดทล่าสุด