วันสิ่งแวดล้อมโลก


1,523 ผู้ชม


วันสิ่งแวดล้อมโลก

ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง และวิชาการดอทคอม
https://www.lib.ru.ac.th





วันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน
ของทุกปี ประชาชาติทั่วโลกได้กำหนดให้เป็น วันแห่งการร่วมมือระหว่างชาติของทั่วโลกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
หากนับย้อนไป ณ จุดเริ่มแรกของวันดังกล่าวที่ได้มีการตื่นตัวในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมขึ้นทั่วโลก จึงได้มีมติให้จัดการประชุมใหญ่ที่กรุงสตอกโฮลม์ ระหว่างวันที่ 5 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 โดยมีรัฐบาลของประเทศสวีเดนเป็นเจ้าภาพ เรียกการประชุมนี้ว่า "การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์" ( UN Conference on the Human Environment ) ในการประชุมครั้งนั้นมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,200 คน จาก 113 ประเทศ และมีผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานของรัฐ องค์การสหประชาชาติ สื่อมวลชนแขนงต่างๆ เพื่อพิจารณาร่วมกันในการที่จะหาหนทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่างๆกำลังเผชิญอยู่ ผลจากการประชุมครั้งนั้นได้มีข้อตกลงร่วมกันหลายๆอย่าง อาทิเช่น การจัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ( United Nations Environment Programme ) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา 
                 โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติมีหน้าที่ติดตามและประเมินผลการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ทางที่ดี โดยมีความห่วงใยในเรื่องของ ดิน น้ำ มลพิษทางอากาศ ในฐานะที่ทำหน้าที่กระตุ้นเพื่อให้มีการปฏิบัติทางสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล จึงได้กำหนดวิธีการไว้ ดังนี้คือ
                 1. การสร้างความตื่นตัวในการเรียนรู้เรื่องของสิ่งแวดล้อม และให้การศึกษากับประชาชนและนิสิตนักศึกษาทั่วไป
                 2. ให้การสนับสนุนทางวิชาการ เผยแพร่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อจะได้กระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
                 3. เสริมสร้างให้สถาบันและคนในสถาบันตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อไป 

                 นอกจากนี้แล้วผลจากการประชุมรัฐบาลของประเทสต่างๆได้รับข้อตกลงจากการประชุมมาดำเนินการจัดตั้ง หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน รวมทั้งประเทศไทย รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518 และก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย และต่อมาในปี พ.ส. 2535 ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็น 3 หน่วยงาน คือ
                 1. กรมควบคุมมลพิษ
                 2. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
                 3. สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 
                 ในส่วนของสถาบันการศึกษาก็ได้มีการจัดสอนหลักสูตรด้านสิ่งแวดล้อมขึ้น ในหลายๆ มหาวิทยาลัย ซึ่งนับได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของการตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งบทบาทของสื่อมวลชนก็ได้ทำหน้าที่ส่งเสริม และเกื้อหนุนให้เกิดความตื่นตัวและสนใจกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวางมากขึ้น
 
                วันสิ่งแวดล้อมโลก นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มนุษยชาติมีความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมด้วยกันทั้งสิ้น เพราะทุกชีวิตต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิต มนุษย์ พืช สัตว์ ทุกชีวิตจำเป็นต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา รวมถึงสิ่งที่มนุษย์คิดค้นสร้างขึ้นเพื่อความสะดวกสบาย และจาก พฤติกรรมของมนุษย์ ถ้าจำกัดอยู่เพียงเพื่อดำรงชีวิต ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันคงจะไม่เกิดขึ้น แต่เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติมีอย่างจำกัด และทิศทางการพัฒนาประเทศต่างๆทั่วโลกมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม จึงทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรต่างๆอย่างมากมายเพื่อผลิตสินค้า การพัฒนาประเทศก็นำไปสู่การเกิดภาวะมลพิษในที่สุด ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลสะท้อนกลับมาคุกคามการดำรงชีวิตของมนุษย์เอง ในรูปของวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
                 ถึงเวลาแล้วที่หมู่มวลมนุษยชาติควรจะมาร่วมรณรงค์และประหยัดทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ร่วมมือร่วมใจกันรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีต่อไปในอนาคต เพื่อลูกหลานของเรา โดยที่เรามาช่วยกันเสริมสร้างปลูกจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างทัศนคติในการอนุรักษ์ทรัพยากรกลับมาใช้อย่างรู้คุณค่า เราทุกคนควรมีส่วนช่วยลดปริมาณขยะและรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมให้สดใส สมบูรณ์สำหรับทุกคนในอนาคต 
                 นอกจากนี้ ปัญหาการขาดแคลนน้ำกำลังเป็นปัญหาสำคัญที่สุดในเมืองไทย สาเหตุของการขาดแคลนน้ำ เกิดจากการลดจำนวนลงของพื้นที่ป่าไม้ที่เป็นต้นน้ำลำธารของประเทศ และจากการใช้น้ำกันอย่างฟุ่มเฟือย จากปัญหาต่างๆเราควรมาช่วยเสริมสร้างจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อจะได้มีสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อไปในอนาคต และมาร่วมช่วยกันป้องกันไม่ให้สิ่งแวดล้อมเกิดการเสื่อมลงมากยิ่งขึ้น


หน้าที่ 2 - ฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

ฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
( Environment Label )


วันสิ่งแวดล้อมโลก      วันสิ่งแวดล้อมโลก        วันสิ่งแวดล้อมโลก
             ตัวอย่างฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมประเทศต่างๆ
                 ปัจจุบันมีการตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่มีการปิดฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อมในเชิงอนุรักษ์ จึงได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น แต่ผู้บริโภคก็ยังสับสนว่าข้อความหรือสัญลักษณ์ต่างๆนั้นมีความเชื่อถือได้เพียงใด 
                 ฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจัดทำโดยภาครัฐบาล หรือภาคเอกชนที่เชื่อถือได้ในประเทศนั้นๆ โดยมอบเครื่องหมายรับรอง ให้แก่ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระดับมาตรฐานที่กำหนด โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานขั้นต้น ลดการปล่อยสารพิษในอากาศ น้ำ ดิน และลดปริมาณขยะและเสียง 
                 ประเทศเยอรมนีเป็นประเทศแรกที่ได้จัดทำฉลากสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นประเทศแรก มีผู้ได้รับเครื่องหมายรับรองรายแรกในปี พ.ศ. 2522 เป็นเครื่องหมาย Blue Angel ต่อมาประเทศแคนาดา และญี่ปุ่น ในปี 2532 เป็นเครื่องหมาย Environmental Choice และ EcoMark ตามลำดับ กลุ่มประเทศนอร์ดิก ในปี 2534 เป็นเครื่องหมาย White Swan ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2536 เป็นเครื่องหมาย Green Seal สหภาพยุโรปเป็นเครื่องหมาย Ecolable เป็นต้น การให้เครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมในแต่ละประเทศ จะมีความแตกต่างกันทางด้านโครงสร้าง คณะผู้บริหาร รูปแบบ ขั้นตอนการดำเนินงาน และการวิเคราะห์คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์
ฉลากเขียวของไทย 
วันสิ่งแวดล้อมโลก
                 ฉลากเขียวอาจจัดอยู่ในฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม โครงการนี้ริเริ่มโดยสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยการสนับสนุนของคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย 
                 ฉลากเขียวเป็นฉลากที่ออกให้กับผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้ผ่านการประเมินและตรวจสอบว่าได้มาตรฐานทางสิ่งแวดล้อม ตามข้อกำหนดที่คณะกรรมการโครงการฉลากเขียวประกาศใช้ โดยให้เป็นไปตามความสมัครใจของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย หรือผู้ให้บริการ ที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการกระตุ้นให้กลุ่มผู้ผลิตหันมาใช้เทคโนโลยีที่สะอาดเพื่อผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง ให้รัฐบาลและเอกชนร่วมมือกันฟื้นฟูรักษาสิ่งแวดล้อม ลดปัญหา มลภาวะด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค ด้วยการปลูกจิตสำนึกทางด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้บริโภคโดยการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย และกระตุ้นให้มีการบริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมากยิ่งขึ้น 
                 ฉลากเขียวเป็นเครื่องหมายที่สื่อถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษย์ ( รูปหน้าเด็กกำลังยิ้ม ) สัตว์ ( รูปนก ) สิ่งแวดล้อม ( รูปต้นไม้ ) และโลก การช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในวันนี้เท่ากับช่วยให้เราอยู่ด้วยกันในโลกอย่างมีความสุขตลอดไป 
                 ผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับเครื่องหมายฉลากเขียว หมายถึงสินค้าและบริการหลายประเภท ยกเว้น ยา เครื่องดื่ม อาหาร เนื่องจากผลิตภัณฑ์ 3 ประเภทนี้มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับสุขภาพและความปลอดภัยในการบริโภค 
                 ผลิตภัณฑ์เป้าหมายที่อยู่ในโครงการฉลากเขียว ได้แก่
                 1. กระดาษรีไซเคิล ( กระดาษพิมพ์ เขียน และกระดาษอนามัย )
                 2. ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ทำจากพลาสติกที่ใช้แล้ว แปรรูปกลับมาใช้ใหม่
                 3. หลอดฟลูออเรสเซนซ์ประหยัดพลังงาน
                 4. สีอิมัลชันไม่ผสมสารตะกั่วและสารปรอท
                 5. ตู้เย็นประหยัดพลังงานไฟฟ้า
                 6. เครื่องสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ
                 7. เครื่องปรับอากาศประหยัดพลังงานไฟฟ้า
                 8. ถ่านไฟฉายสูตรไม่ผสมปรอท
                 9. สเปรย์ไม่มีสารซีเอฟซี
                 10. สารซักฟอกที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม


หน้าที่ 3 - คำขวัญของวันสิ่งแวดล้อมโลก

วันสิ่งแวดล้อมโลก
คำขวัญของวันสิ่งแวดล้อมโลก
  พ.ศ. 2528 (1985) เยาวชน ประชากร และสิ่งแวดล้อม Youth, Population and Environment
  พ.ศ. 2529 (1986) ต้นไม้เพื่อสันติภาพ
A Tree for Peace
  พ.ศ. 2530 (1987) theme : Public Participation, Environment Protection and Sustainable Development
  พ.ศ. 2531(1988) การมีส่วนร่วมของประชาชน การปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน Slogan : When people put the environment first, development will last
  พ.ศ. 2532 (1989) ภาวะโลกร้อน Global Warming ; Global Warming
  พ.ศ. 2533 (1990) เด็ก และสิ่งแวดล้อม Children and the Environment (Our Children, Their Earth)
  พ.ศ. 2534 (1991) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change : Need for Global Partnership 
  พ.ศ. 2535 (1992) Only One Earth : Care and Share
  พ.ศ. 2536 (1993) Poverty and the Environment : Breaking the Vicious Circle
  พ.ศ. 2537 (1994) โลกใบเดียว ครอบครัวเดียวกัน One Earth, One Family
  พ.ศ. 2538 (1995) ประชาชน เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมโลก We The Peoples, United for the Global Environment
  พ.ศ. 2539 (1996) รักโลก : ดูแลถิ่นฐานบ้านเรา Our Earth, Our Habitat, Our Home
  พ.ศ. 2540 (1997) เพื่อชีวิตที่ยั่งยืนบนผืนโลก For Life one Earth 
วันสิ่งแวดล้อมโลก
  พ.ศ. 2541(1998) เศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงชีวิตยั่งยืน For Life on Earth "Save our Seas"  
   พ.ศ. 2542 (1999) รักโลก รักอนาคต รักษ์สิ่งแวดล้อม "Our Earth, Our Future...Just Save It"
  พ.ศ. 2543 (2000) ปี 2000 สหัสวรรษแห่งชีวิตสิ่งแวดล้อม : ร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อโลก เพื่อเรา 2000 The Environment Millennium : Time to Act
  พ.ศ. 2544 (2001) เชื่อมโยงโลกกว้าง ร่วมสร้างสานสายใยชีวิต CONNECT with the World Wide Web of Life
  พ.ศ. 2545 (2002) ให้โอกาสโลกฟื้น คืนความสดใสให้ชีวิต Give Earth a Chance
  พ.ศ. 2546 (2003) รักษ์น้ำเพื่อสรรพชีวิต ก่อนวิกฤตจะมาเยือน Water - Two Billion People are Dying for it!
  พ.ศ. 2547 (2004) "Wanted! Sea and Oceans - Dead or Live?" "ร่วมพิทักษ์ ร่วมรักษ์ทะเลไทย" 
  พ.ศ. 2548 (2005) เมืองเขียวสดใส ร่วมใจวางแผนเพื่อโลก GREEN CITIES PLAN FOR THE PLANET!
  พ.ศ. 2549 (2006) เพิ่มความชุ่มชื้น คืนสู่ธรรมชาติ DON'T DESERT DRYLANDS!
  พ.ศ. 2550 (2007) หยุดโลกร้อนด้วยชีวิตพอเพียง MELTING ICE - A HOT TOPIC ?
  พ.ศ. 2551 (2008) ลดวิกฤษโลกร้อน : เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับแนวคิด สู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ CO2 Kick the Habit Towards a Low Carbon Economy
 พ.ศ. 2552 คุณคือพลัง ช่วยหยุดยั้งภาวะโลกร้อน (Your Planet Needs You - Unite to Combat Climate Change)  
วันสิ่งแวดล้อมโลก
แล้วคุณล่ะ ทำอะไรเพื่อโลกใบนี้แล้วหรือยัง ??
 


อัพเดทล่าสุด