ก่อนรู้ทัน ลดเสี่ยงถูกตัดเท้า!


1,305 ผู้ชม


ก่อนรู้ทัน ลดเสี่ยงถูกตัดเท้า!


ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของ สสส. และ วิชาการดอทคอม
www.thaihealth.or.th





           อย่างไรก็ตามการรักษาแผลที่เท้าด้วยการตัดเท้านั้น ไม่ใช่สิ่งที่ปลอดภัยเสมอไป เพราะผู้ป่วยร้อยละ 3-7 เสียชีวิตจากการผ่าตัด ส่วนผู้ที่ไม่เสียชีวิตจะเกิดปัญหาต่างๆ จากการผ่าตัดถึงร้อยละ 36 ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดแผลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การป้องกันทำได้ง่าย โดยการดูแลสุขภาพเท้าอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ลดหรือขจัดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้เกิดแผลให้หมดไปหรือให้เหลือน้อยที่สุด


ก่อนรู้ทัน ลดเสี่ยงถูกตัดเท้า!


           จากข้อมูลข้างต้น ได้มีโอกาสพาญาติผู้ใหญ่ในบ้านที่ป่วยเป็นเบาหวาน ไปร่วมกิจกรรมเข้าค่ายเบาหวานที่โรงพยาบาลบางพลี จ.สมุทรปราการที่ผ่านมา จึงไม่พลาดที่จะนำความรู้ที่ได้จากค่ายมาฝากทุกบ้านที่มีผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งนี้เพื่อให้รู้จักรักษาตัวเองไม่ให้เกิดแผล โดยเฉพาะแผลที่เท้า มีข้อปฏิบัติในการดูแลสุขภาพเท้าของผู้ป่วยเบาหวานดังต่อไปนี้
ก่อนรู้ทัน ลดเสี่ยงถูกตัดเท้า! รู้ก่อน รู้ทันเรื่อง "เท้า" ลดเสี่ยงตัดขา!
           - เริ่มจากล้างเท้าด้วยน้ำธรรมดาและสบู่อ่อนๆ ทุกวันหลังอาบน้ำ ไม่ควรใช้แปรงหรือขนแข็งขัดเท้า
           - ซับเท้าให้แห้งด้วยผ้าที่สะอาดและนุ่ม เช่น ผ้าขนหนู โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณซอกนิ้วเท้า
           - สำรวจเท้าด้วยตนเองทุกวัน ว่ามีอาการบวม ปวด มีแผล รอยช้ำ ผิวเปลี่ยนสีหรือเม็ดพองหรือไม่ โดยตรวจทั่วทั้งฝ่าเท้า ส้นเท้า (ถ้ามองเห็นไม่สะดวกอาจใช้กระจกส่อง) ซอกระหว่างนิ้วเท้าและรอยเล็บเท้า เมื่อพบความปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
           - ถ้าผิวแห้งอาจทำให้คันเกิดการเการอยแตกและติดเชื้อได้ง่าย วิธีที่ดีที่สุดให้ทาครีมบางๆ เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว โดยเว้นบริเวณซอกนิ้วเท้า เพื่อป้องกันการหมักหมม ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
           - ถ้าผิวหนังชื้น เหงื่อออกง่าย หลังเช็ดเท้าให้แห้งแล้ว ควรใช้แป้งฝุ่นโรย
           - ใส่ถุงเท้าที่ทำด้วยผ้าฝ้ายนุ่มไม่ใช่ถุงเท้าไนลอนหรือถุงเท้าที่รัดมาก เปลี่ยนถุงเท้าทุกวันและควรใส่ถุงเท้าทุกครั้งที่สวมรองเท้า
           - สวมรองเท้าหรือรองเท้าแตะตลอดเวลาทั้งในและนอกบ้าน (รองเท้าเฉพาะสำหรับเดินในบ้าน)
           - สวมรองเท้าที่เหมาะสม เช่น หุ้มส้น ไม่ใส่ส้นสูง โดยดูที่ขนาดพอดี ไม่คับ หรือหลวมเกินไป เมื่อยืนควรมีระยะห่างระหว่างรองเท้า และปลายนิ้วเท้าที่ยาวที่สุดประมาณครึ่งนิ้ว และมีความกว้างที่สุด คือบริเวณปุ่มกระดูกด้านข้างของนิ้วหัวแม่เท้า (โคนของนิ้ว) มีส่วนหัวที่ป้านสูงพอสมควร เพื่อป้องกันไม่ให้นิ้วเท้า และหลังเท้าเสียดสีกับรองเท้า
           นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ทำรองเท้าควรมีลักษณะนิ่ม มีส่วนรองเท้าเป็นแผ่นรองรับแรงกระแทกภายใน เช่น รองเท้ากีฬาจะช่วยลดแรงกดที่ฝ่าเท้าได้ดี ผู้ป่วยเบาหวานบางราย อาจต้องใช้รองเท้าที่มีความลึกและกว้างเป็นพิเศษ เพื่อจะได้ใส่แผ่นซับน้ำหนัก ที่สั่งตัดขึ้นมาให้เหมาะสมกับฝ่าเท้าของผู้ป่วยแต่ละราย
ก่อนรู้ทัน ลดเสี่ยงถูกตัดเท้า!
           สำหรับในรายที่ฝ่าเท้าผิดรูปมาก ควรใส่รองเท้าที่ตัดขึ้นโดยเฉพาะ ส่วนรองเท้าชนิดผูกเชือก จะปรับได้ง่าย เวลาขยายเท้า ไม่ควรใส่รองเท้าแตะชนิดมีที่คีบที่ง่ามนิ้วเท้า อย่างไรก็ดีการเลือกซื้อรองเท้า ควรเลือกซื้อในช่วงบ่ายหรือเย็น เพื่อไม่ให้ซื้อรองเท้าที่คับเกินไป และเมื่อใส่รองเท้าคู่ใหม่ ควรใส่เพียงละ 1/2-1 ชม. แล้วเปลี่ยนเป็นคู่เก่าสลับก่อนสัก 3-5 วัน เพื่อป้องกันรองเท้ากัด ที่สำคัญควรสังเกตรอยแตกหรือตุ่มพองก่อนทุกครั้งหลังใส่รองเท้าคู่ใหม่
           - ก่อนใส่รองเท้า ควรตรวจดูก่อนว่า มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในรองเท้าหรือไม่ ถ้ามีให้เอาออก
           - การตัดเล็บ ให้ใช้ที่ตัดเล็บตัดตรงๆ เสมอปลายนิ้ว อย่าตัดเล็บโค้งเข้าจมูกเล็บ หรือตัดลึกมา เพราะจะเกิดแผลได้ง่าย ถ้ามีเล็บขบต้องปรึกษาแพทย์ทันที ขณะเดียวกัน ไม่ควรใช้วัตถุแข็งแคะซอกเล็บ และการตัดเล็บควรทำหลังล้างเท้า หรืออาบน้ำใหม่ๆ เพราะเล็บจะอ่อน และตัดง่าย
           - ไม่ควรแช่เท้าก่อนตัดเล็บ เพราะผิวหนังรอบเล็บอาจเปื่อย และเกิดแผลขณะตัด
           - ถ้าสายตามองเห็นไม่ชัด ควรให้ผู้อื่นตัดเล็บให้ เช่น วานให้ลูกหลายช่วยตัด
           - ในการใช้ตะไบเล็บเท้าที่หนาผิดปกติ ให้ตะไบไปทางเดียวกันไม่ควรย้อนไปมา เพื่อป้องกันการเสียดสีผิวหนังรอบเล็บ
           - ถ้ามีผิวหนังที่หนาหรือตาปลา ควรได้รับการตัดให้บางๆ ทุก 6-8 สัปดาห์ โดยแพทย์ผู้ชำนาญ
           สรุปแล้ว ข้อหลักๆ ที่ห้ามปฏิบัติคือ ห้ามแช่เท้าในน้ำร้อนโดยเด็ดขาด ห้ามเอากระเป๋าน้ำร้อนมาวางไว้บนเท้าหรือขา ไม่ควรเดินเท้าเปล่า แม้เมื่ออยู่ในบ้าน ห้ามตัดตาปลา ลอกตาปลา หรือใช้ยาจี้หูดด้วยตนเองและไม่ควรนั่งไขว่ห้าง อาจทำให้การไหลเวียนโลหิตไม่สะดวก

ก่อนรู้ทัน ลดเสี่ยงถูกตัดเท้า! Take Care ตัวเองเมื่อเกิด "แผล" ที่เท้า
           - ถ้าแผลเล็กน้อยเป็นตุ่มพองหรือแผลถลอก รักษาให้สะอาดแผลสดทำความสะอาดด้วยน้ำต้มสุกที่ทิ้งไว้จนเย็นและสบู่อ่อนๆ จากนั้นซับให้แห้ง ทายาฆ่าเชื้อโรคที่ไม่ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ เช่น น้ำยาเบตาดีน ยาเหลือง หรือยาปฏิชีวนะที่เป็นครีมเช็ดจากแผลวนออกมารอบแผล โดยไม่ต้องเช็ดซ้ำที่เดิม หลีกเลี่ยงการใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ปิดแผลด้วยผ้าก็อชสะอาด ตรวจดูแผลทุกวันว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ ถ้าแผลไม่ดีขึ้น มีการอักเสบ ปวด บวมแดง จับดูร้อน หรือมีไข้ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที
           - ถ้าแผลยังไม่หายดีอย่าเดินไปเดินมา การเดินจะทำให้เท้ารับน้ำหนักตัว ปากแผลก็จะเปิด ทำให้แผลหายช้า ดังนั้นให้นอนพัก หรือนั่งบนเก้าอี้รถเข็นหรือใช้ไม้พยุงตัวอย่ายืน เพราะจะทำให้แผลหายยาก ในกรณีที่ต้องการออกกำลังกาย เลือกชนิดที่ไม่ต้องลงน้ำหนัก แต่เป็นการออกกำลังกายด้วยแขนแทน
           - ถ้าแผลใหญ่อักเสบมากควรปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อให้การรักษาตั้งแต่ระยะแรกไม่ควรรักษาเอง
           เห็นได้ว่าคนในบ้านที่ป่วยเป็นเบาหวานและเกิดแผลที่เท้าสามารถป้องกันได้ โดยการดูแลเท้าอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เลือกใส่รองเท้าที่เหมาะสม ควบคุมเบาหวานที่ดีและพบแพทย์เป็นระยะ โดยเฉพาะผู้สูงวัยบางท่าน อาจเดินทางไปหาคุณหมอไม่สะดวก ลูกหลาน คือผู้ช่วยสำคัญในการพาไปพบแพทย์ตามนัด นั่นจะช่วยลดอัตราการตัดเท้าได้ถึงร้อยละ44-85 เมื่อติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลา2-4 ปี

อัพเดทล่าสุด