ดาวตก และอุกกาบาต
ขอขอบคุณโครงการการเรียนรู้ในเรื่องวิทยา ศาสจร์โลกและดาราศาสตร์
ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง LESA โครงการวิจัยโดยหอดูดาวเกิดแก้ว , สำนักงานกองทุนกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.),
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิชาการดอทคอม
https://203.114.105.84/virtual/lesa/index1.htm
ดาวตกหรือผีพุ่งใต้(Meteor) เป็นเพียงอุกกาบาต(Meteoroids) เศษวัตถุเล็กๆ หรือฝุ่นที่เกิดตามทางโคจรดาวหาง เมื่อเศษวัตถุเหล่านี้ตกผ่านชั้นบรรยากาศโลก ก็จะถูกเสียดสีและเผาไหม้เกิดเป็นแสงให้เห็นในยามค่ำคืน ในบางครั้งวัตถุขนาดใหญ่สามารถลุกไหม้ผ่านชั้นบรรยากาศและตกถึงพื้นโลกได้ เราเรียกว่า "ก้อนอุกกาบาต" (Meteorite)
การที่ดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ได้ทิ้งเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กตามแนวเส้นทางโคจร ในแต่ละปีโลกจะโคจรผ่านบริเวณดังกล่าว เมื่อเศษฝุ่นเหล่านี้ผ่านเข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศชั้นบนของโลกจะถูกเสียดสีกับชั้นบรรยากาศทำให้เกิดความร้อนและเผาไหม้เศษวัตถุนั้นภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ปรากฏให้เห็นเป็นเส้นสว่างสวยงามเป็นจำนวนมาก เราจึงเรียกว่า “ฝนดาวตก” (Meteor shower)
ปฏิทินฝนดาวตก
เดือน | ฝนดาวตก | กลุ่มดาว | ช่วงเวลาสังเกตการณ์ | คืนที่มีดาวตกสูงสุด | จำนวนดาวตกสูงสุด (ต่อชั่วโมง) | ความเร็วของอุกกาบาต (กม./วินาที) |
มกราคม | คว๊อดแดนติดส์ | คนเลี้ยงสัตว์ | 28 ธ.ค. - 7 ม.ค. | 3-4 ม.ค. | 50 | 41 |
เมษายน | ไลริดส์ | พิณ | 16 - 25 เม.ย. | 20-21 เม.ย. | 10-15 | 48 |
พฤษภาคม | เอต้า อะควอริดส์ | คนแบกหม้อน้ำ | 21 เม.ย.-22 พ.ค. | 4-5 พ.ค. | 20-50 | 65 |
กรกฎาคม | เดลต้า อะควอริดส์ | คนแบกหม้อน้ำ | 14 ก.ค.-18 ส.ค. | 29 ก.ค. | 15-20 | 41 |
สิงหาคม | เพอร์ซิดส์ | เพอร์เซอุส | 23 ก.ค.-22 ส.ค. | 12-13 ส.ค. | 80 | 60 |
ตุลาคม | โอไรออนิดส์ | นายพราน | 15-29 ต.ค. | 21-22 ต.ค. | 20-25 | 66 |
พฤศจิกายน | ลีโอนิดส์ | สิงโต | 14-20 พ.ย. | 17-18 พ.ย. | 15-100+ | 71 |
ธันวาคม | เจมินิดส์ | คนคู่ | 6-19 ธ.ค. | 13-14 ธ.ค. | 80-100 | 35 |