ช้าง : เศรษฐกิจชุมชน งานเทศกาลและงานบุญประเพณี


1,252 ผู้ชม


ช้าง : เศรษฐกิจชุมชน งานเทศกาลและงานบุญประเพณี


ช้างกับเศรษฐกิจชุมชน

ชาวหมู่บ้านตากลางแม้จะมีการประกอบอาชีพหลากหลาย แต่อาชีพที่สามารถนำรายได้กลับสู่หมู่บ้านมากที่สุดก็ยังคงมาจากช้างซึ่งสร้างรายได้ให้กับตากลางในหลายลักษณะดังนี้
- การซื้อขายช้าง
ในอดีตรายได้จะมาจากการขายช้างป่าที่จับมาได้ให้กับธุรกิจทำไม้และคนทั่วไปที่ต้องการใช้ช้าง ถ้าคิดเป็นการลงทุนกที่มีกำไรมากหากไม่นับความเสี่ยงที่เหล่าหมอช้างต้องผจญในป่า แต่ปัจจุบันช้างที่ดีดีหายาก อีกทั้งช้างป่าก็เป็นสัตว์คุ้มครองทำให้การค้าช้างไม่คึกคักอย่างแต่ก่อน
- การนำช้างไปลากไม้
เดิมทีชาวกวยเคยนำช้างไปลากไม้แถวจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ อุดรธานี ฯลฯ แต่มีไม่มากนัก เนื่องจากมองว่าเป็นงานหนักประกอบกับรัฐบาลไทยปิดป่าสัมปทานไม้ ทำให้งานชักลากไม้ กลายเป็นงานผิดกฎหมายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ปัจจุบันชาวกวยจากบ้านตากลางจึงไม่มีรายได้จากส่วนนี้
ช้าง : เศรษฐกิจชุมชน งานเทศกาลและงานบุญประเพณี
- การรับจ้างตามปางช้างหรือสวนสนุก
ควาญจะนำช้างเข้าร่วมแสดงความสามารถ เช่น เล่นชักคะเย่อ และเต้นรำ ฯลฯ ช้างบางเชือก
จะทำหน้าที่เป็นช้างต่างนักท่องเที่ยวหรือเรียกกันในหมู่ควาญช้างว่าช้างแท็กซี่ หรือช้างเล็ก ๆก็จะแสดงผาดโผนซึ่งยังมีให้เห็นอยู่รวมถึงรับจ้างถ่ายรูป ซึ่งเจ้าของปางจะเป็นผู้จัดหาแขกมาเที่ยว จัดอาหาร ให้ช้างรับผิดชอบที่พักรวมทั้งเงินเดือนควาญ งานรับจ้างตามแหล่งท่องเที่ยวนี้เป็นงานที่ช้างจากบ้านตากลางทำมากที่สุดโดยเฉพาะที่เมืองพัทยาและจังหวัดภูเก็ต
- การเดินทางท่องเที่ยว
ช้างกลุ่มนี้จะเป็นช้างกลุ่มที่ยังไม่มีงานทำ ควาญจะรวมกลุ่มช้างพากันออกเดินทางเร่ร่อนไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศในลักษณะค่ำไหนนอนนั่น ส่วนอาหารช้างจะได้รายทาง ซึ่งจะมีประชาชนที่รักช้างหามาให้และตามที่รกร้างที่ผูกช้าง ส่วนรายได้จะได้จากการขายเครื่องรางของขลัง ซึ่งต่อมาผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ค่อยได้รับความสนใจมากนัก เนื่องจากมีการรณรงค์ต่อต้านกันทั่วไป ต่อมาควาญจึงเปลี่ยนสินค้ามาเป็นกล้วย อ้อย ขายให้ประชาชนซื้อเลี้ยงช้างโดยวิธีนี้ ในการเร่ร่อนนี้ในปัจจุบันกลายเป็นปัญหาอย่างมาก ทำให้มีการออกมาตรการผักดันไม่ให้ช้างเข้าไปหากินในเมืองใหญ่อีกต่อไป
- การถ่ายโฆษณา ภาพยนตร์
เจ้าของช้างบางคนที่มีช้างแสดงเก่ง สวนและนิสัยดีจะมีรายได้จากการโฆษณาในอัตราที่สูง งานลักษณะนี้มีค่อนข้างมากในปัจจุบัน เพราะกระแสอนุรักษ์ได้ช่วยให้คนไทยหันมาสนใจช้างมากขึ้น รวมทั้งระยะนี้มีการถ่ายทำภาพยนต์และละครอิงประวัติศาสตร์หลายเรื่อง ทำให้ช้างบ้านตากลางมีงานแสดงชุกกว่าแต่ก่อน



ช้าง : เศรษฐกิจชุมชน งานเทศกาลและงานบุญประเพณี ช้าง : เศรษฐกิจชุมชน งานเทศกาลและงานบุญประเพณี
   

- การเดินทางไปต่างประเทศ
ปัจจุบันทางราชการอนุญาตให้นำช้างออกนอกประเทศได้ในกรณีที่เกี่ยวกับการเผยแพร่ชื่อเสียงและการท่องเที่ยวของประเทศ โดยการเดินทางไปนี้ประเทศที่นิยมไปกันมากคือประเทศญี่ปุ่น


งานเทศกาลและงานบุญประเพณี
- งานแสดงช้างสุรินทร์
การแสดงช้างเริ่มขึ้นครั้งแรกในงานสมโภชน์ที่ทำการอำเภอหลังใหม่ของอำเภอท่าตูม เมื่อ พ.ศ. 2503 ซึ่งในงานได้มีการนำช้างมาร่วมขบวนแห่ โดยจัดให้มีการคล้องช้างและนำช้างมาวิ่งแข่งกัน ซึ่งต่อมางานนี้ได้รับความสนใจมากจากประชาชนทั่วไป จังหวัดสุรินทร์จึงได้ย้ายมาจัดที่สนามกีฬาในตัวจังหวัดจนถึงทุกวันนี้ โดยกำหนดให้ทุกวันเสาร์อาทิตย์ที่สามของเดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันจัดงาน โดยประมาณปลายเดือนตุลาคมของทุกปี ควาญช้างนำช้างออกไปเร่ร่อนหรือทำงานในต่างถิ่น จะทยอยกันนำช้างกลับมายังหมู่บ้านช้างเพื่อเตรียมตัวเข้าร่วมงาน ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่ควาญทุกคนอยากจะเข้าร่วม เพราะนี่เป็นวันแห่งเกียรติยศสำหรับควาญทุกคนซึ่งในหนึ่งปีมีอยู่ไม่กี่วันที่พวกเขาจะได้รับบทพระเอก
ช้าง : เศรษฐกิจชุมชน งานเทศกาลและงานบุญประเพณี
- งานแข่งช้างว่ายน้ำและแข่งเรืออำเภอสะตึก
ตรงกับเสาร์อาทิตย์แรกของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยงานนี้จะจัดขึ้นที่ที่ว่าการอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ บริเวณสองฝั่งริมแม่น้ำมูล กิจกรรมที่น่าสนใจของงานก็คือการแข่งเรือยาว และการแข่งขันช้างว่ายน้ำ ซึ่งในแต่ละปีจะมีช้างเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก โดยมีช้างจากบ้านตากลางและช้างในหมู่บ้านใกล้เคียงไปร่วมงานอย่างคับคั่ง โดยเฉพาะการแข่งช้างว่ายน้ำนั้นได้รับความสนใจมากและถือเป็นจุดเด่นของงานที่ไม่ปรากฏในงานเทศกาลช้างแห่งอื่น
ช้าง : เศรษฐกิจชุมชน งานเทศกาลและงานบุญประเพณี
- บุญเดือนห้า
เป็นประเพณีวันเดือนดับ จะตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือนเมษายนของทุกปี  ในวันนี้ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวกวย
- บุญเดือนหก
เป็นบุญประเพณีก่อนลงมือทำนา โดยทุกครอบครัวจะต้มไก่ไปไหว้ศาลปู่ตาหรือ “ยะจัวฮอ” ซึ่งเป็นศาลหลักเมืองของหมู่บ้านเพื่อเสี่ยงทายผลผลิต และขอโชคขอพรในฤดูเพราะปลูกที่กำลังมาถึง
- งานแห่นาค (วันวิสาขบูชา)
ชาวกวยบ้านตากลางแม้จะนับถือผีประกรรม แต่ในเรื่องศาสนานั้นชาวกวยนับถือพุทธศาสนาเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป ดังนั้นชาวบ้านตากลางจึกจัดให้ให้มีงานบวชขึ้นโดยถือเอาวันวิสาขบูชาเป็นวันบวชลูกหลาน โดยงานจะเริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 13 ค่ำ วันนี้เป็นวันเตรียมพิธีบวชส่วน วันขึ้น 14 ค่ำ เป็นวันแห่ งานบางปีมีขบวนคนและช้างเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ขณะเคลื่อนขบวนไปที่วังทะลุ สามารถมองเห็นขบวนช้างและคนยาวเหยียดเป็นภาพที่หาดูได้ยากยิ่ง พอวันขึ้น 15 ค่ำ ก็จะเป็นวันบวช ซึ่งประกอบพิธีในวัด โดยทั้งสามวันนี้จะมีกิจกรรมทุกวัน และกลางคืนก็มีมหรสพทุกคืนจวบจนรุ่งสาง จึงนับเป็นงานบุญที่ใหญ่ที่สุดของหมู่บ้านตากลาง


อัพเดทล่าสุด