Slow Living ช้าอีกนิดเพิ่มคุณภาพชีวิตมุมมองใหม่
ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือระหว่างวารสาร สื่อชุมชนและวิชาการดอทคอม
www.pttplc.com
ดูเหมือนไลฟ์ไตล์คนเมืองทุกวันนี้จะค่อนข้าง ‘เร่งรีบ’ และมีวิถีชีวิต ‘รีรัน’ ซ้ำๆ ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ซึ่งทางการแพทย์ระบุว่า ความเร่งรีบร้อนรน เป็นตัวการก่อให้เกิดโรค Hurry Sickness Syndrome ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจไม่ทัย หอบ หัวใจเต้นเร็ว ส่งผลให้แขนขาไม่มีแรงใจหวิว นอกจากนี้ ความเร่งรีบของคนเมือง ยังส่งผลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างง่ายๆ เช่น การผลิตพืชผลทางการเกษตรต่างๆ ที่ต้องใช้สารเคมีเพื่อกระตุ้นผลผลิตให้ได้มาก และรวดเร็วขึ้น หรือการใช้พลังงานต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน
แล้วนักสิ่งแวดล้อมและนักบำบัดทั้งหลายก็ได้ออกมานำเสนอแนวทางการใช้ชีวิต แบบใหม่ที่ช้าลง แต่เน้นคุรภาพชีวิตมากขึ้น ซึ่งเรียกกันว่า ‘Slow Living’ เพื่อเพิ่มความละเมียดละไมสุนทรีย์ในชีวิต ได้มองเห็นคุณค่าที่ละเอียดอ่อนของกิจกรรมต่างๆ รอบตัว ขณะที่ยังคงก่อให้เกิดประสิทธิผลต่างๆ เช่นเดิมหรืออาจดีกว่าเดิม ทำให้เราได้อยู่กับตัวเองมากขึ้นเห็นคุณค่าของตัวเองมากขึ้น มีเวลาอยู่กับคนที่เรารักหรือคนในครอบครัวมากยิ่งขึ้น ด้วยแนวทางง่ายๆ ดีงนี้
ตื่น ให้เร็วขึ้น หายใจให้ช้าลง
ถ้าตื่นเร็วขึ้น เราก็จะมีเวลาเพิ่มขึ้น ทีนี้ให้ลองหายใจใหม่ให้ช้าลง เพื่อเรียกสติให้กลับมาจดจ่อกับสิ่งที่ทำอยู่ในขณะนั้น ค่อยๆ สัมผัสกับกิจวัตรช่วงเช้าอย่างมีความสุข สูดากาศยามเช้ารับออกซิเจนให้เต็มปอดจากผลวิจัย ถ้าเราจะดึงศักยภาพของสมองมาใช้ให้ได้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ ต้องทำให้คลื่นสมองช้าลง นั่นคือเราต้องลดความเร่งรีบยามเช้านั่นเอง
พัก หัวใจในมุมเงียบสงบ
อันนี้ไม่ได้แปลว่าอกหัก หรือซ้ำรักอะไรคือให้เราลองหยุกอยู่กับตัวเองบ้างอาจจะสัปดาห์ละครั้ง โดยให้พักการติดต่อสื่อสารทุกประเภท งดรับข่าวสารต่างๆ แล้วลองทำเรื่องโรแมนติกต่อไปนี้ดู เช่น ฟังเสียงของธรรมชาติ ฟังเสียงหัวใจตัวเอง บางคนอาจหมายถึงการนั่งสมาธิก็ได้ คุณจะรู้สึกว่าตัวเองได้พักผ่อนจริงๆ
ทำ งานช้าลง แต่ได้ผลเต็มร้อย
ทำงานด้วยความผ่อนคลาย ในอิริยาบทที่สบายสร้างสรรค์ด้วยจินตนาการที่สวยงาม รอบคอบกับงานมากขึ้น แต่ไม่ใช่การย้ำคิดย้ำทำ จดจ่อใส่ใจกับปัจจุบันตรงหน้า ไม่กังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือถ้าต้องเครียดก็ให้ใช้สติทบทวนสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา แล้วแก้ให้ตรงจุด เท่านี้คุณก็จะได้ประสิทธิผลของงานเต็มที่
บริโภค อย่างสุนทรีย์
เน้นให้ความสำคัญเรื่องศิลปะการปรุงและการทานอาหารให้มากขึ้น ซึ่งบางคนอาจเลือกใช้วัตถุดิบสดใหม่ในท้องถิ่น ไม่ต้องเดินทางไปซื้อไกลๆ ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการขนส่งได้อีกด้วย หรือหันมาทานพืชผักผลไม้ตามฤดูกาล ช่วยลดการใช้ยาปราบศัตรูพืช ปุ๋ย และสารเคมีในการเร่งดอกออกผลเลือกปรุงอาหารด้วยการนึ่ง ต้ม ตุ๋น แทนการผัดทอดเพื่อรักษาคุณค่าสารอาหาร สุดท้ายก็คือการเคี้ยวอาหารอย่างช้าๆ ซึ่งนอกจากจะช่วยระบบย่อยอาหารแล้ว ยังทำให้เราได้สัมผัสกับรสชาติของอาหารอย่างมีความสุขด้วย
ทอด อารมณ์เที่ยว
ลองเปลี่ยนวิธีการเดินทางท่องเที่ยวที่เร่งรีบ ไปเป็นวิธีอื่นๆ ที่ทำให้เราได้มีเวลาซึมซับ และสัมผัสกับสิ่งรอบๆ ตัวมากขึ้น เช่น จากเครื่องบิน อาจเปลี่ยนมาเป็นรถไฟ รถยนต์ หรือเรือ ซึ่งอาจจะเพิ่มเวลาให้กับทริปเดินทางนั้นมากขึ้นด้วย เพื่อให้ความสำคัญกับกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น เที่ยวตลาดสดในพื้นที่ แวะเยี่ยมชมทักทายชาวหมู่บ้าน ศึกษา เรียนรุ้วัฒนธรรมท้องถิ่น เลือกพักในที่พักแบบโฮมสเตย์แทนพักโรงแรมหรู เป็นต้น
ออก กำลังกาย สร้างสมาธิ
หันมาออกกำลังกันแบบช้าๆ แต่ว่าได้สติ และสมาธิเพิ่มมากขึ้น เช่น โยคะ ไทเก๊ก ๙กง และการออกกำลังกายแบบเต๋า ศาสตร์การเคลื่อนไหวเหล่านี้ล้วนมุ่งผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อให้ ยืดหยุ่นขึ้น อีกทั้งยังช่วยกำหนดให้เราเกิดสติจดจ่ออยู่กับลมหายใจ และการเคลื่อนไหวจังหวะชีวิตที่เร่งรีบของเราให้ค่อยๆ ช้าลงอย่างมีคุณภาพ และมีคุณค่า
ลองปรับจังหวะการใช้ชีวิตจากกิจกรรมที่ทำระหว่างวัน เริ่มจากสิ่งที่มีเวลามาก ไปหาสิ่งที่มีเวลาน้อยค่อยๆ ปรับทำไปเรื่อยจนคุ้นเคย แล้วเราจะค้นพบ Slow living ในแบบของตัวเอง ซึ่งนอกจากจะดีต่อตัวเราแล้ว เชื่อว่าคงส่งผลดีต่อทุกชีวิตรอบข้าง รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมที่ดีของเราทุกคน