ตำแหน่งของโลกในจักรวาล


754 ผู้ชม


ตำแหน่งของโลกในจักรวาล

ขอขอบคุณโครงการการเรียนรู้ในเรื่องวิทยาศาสจร์โลกและดาราศาสตร์
ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง LESA โครงการวิจัยโดยหอดูดาวเกิดแก้ว , สำนักงานกองทุนกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.),
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิชาการดอทคอม
https://203.114.105.84/virtual/lesa/index1.htm  


ตำแหน่งของโลกในจักรวาลโลก (The Earth) 
          โลกของเรามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12,756 กิโลเมตร โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 150 ล้านกิโลเมตร แสงอาทิตย์ต้องใช้เวลาเดินทางนาน 8 นาที กว่าจะถึงโลก
ระบบสุริยะ (Solar System)
          ประกอบด้วยดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์อยู่ตรงศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ 9 ดวง เป็นบริวารโคจรล้อมรอบ ดาวเคราะห์แต่ละดวงอาจมีดวงจันทร์เป็นบริวารโคจรล้อมรอบอีกทีหนึ่ง  ดาวพลูโตอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 6 พันล้านกิโลเมตร  แสงอาทิตย์ต้องใช้เวลาเดินทางนาน 5 ชั่วโมงครึ่ง กว่าจะถึงดาวพลูโต
ดาวฤกษ์เพื่อนบ้าน  (Stars)
          ดาวฤกษ์แต่ละดวงอาจมีระบบดาวเคราะห์เป็นบริวาร เช่นเดียวกับระบบสุริยะของเรา   ดาวฤกษ์แต่ละดวงอยู่ห่างกันเป็นระยะทางหลายล้านล้านกิโลเมตร   ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ที่สุดของดวงอาทิตย์ชื่อ “ปร๊อกซิมา เซนทอรี” (Proxima Centauri) อยู่ห่างออกไป 40 ล้านล้านกิโลเมตร หรือ  4.2 ปีแสง  ดาวฤกษ์ซึ่งมองเห็นเป็นดวงสว่างบนท้องฟ้า ส่วนมากจะอยู่ห่างไม่เกิน  2,000 ปีแสง
กาแล็กซี (Galaxy)
          กาแล็กซีคืออาณาจักรของดวงดาว   กาแล็กซีของเราชื่อ “กาแล็กซีทางช้างเผือก” (The Milky Way Galaxy) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 แสนปีแสง ประกอบด้วยดาวฤกษ์ประมาณ 1 พันล้านดวง ดวงอาทิตย์ของเราอยู่ห่างจากใจกลางของกาแล็กซีเป็นระยะทางประมาณ 3 หมื่นปีแสง (2 ใน 3 ของรัศมี)
กระจุกกาแล็กซี (Cluster of galaxies)  
          กาแล็กซีอยู่รวมกันเป็น กลุ่ม (Group) หรือกระจุก (Cluster)  “กลุ่มกาแล็กซีของเรา” (The local group) มีจำนวนมากกว่า 10 กาแล็กซี  กาแล็กซีเพื่อนบ้านของเรามีชื่อว่า “กาแล็กซีแอนโดรมีดา”(Andromeda galaxy)  อยู่ห่าง 2.3 ล้านปีแสง  กลุ่มกาแล็กซีท้องถิ่นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 ล้านปีแสง
ซูเปอร์คลัสเตอร์ (Supercluster)
          ซูเปอร์คลัสเตอร์ ประกอบด้วยกระจุกกาแล็กซีหลายกระจุก  “ซูเปอร์คลัสเตอร์ของเรา” (The local supercluster) มีกาแล็กซีประมาณ 2 พันกาแล็กซี  ตรงใจกลางเป็นที่ตั้งของ “กระจุกเวอร์โก”  (Virgo cluster) ซึ่งประกอบด้วยกาแล็กซีประมาณ 50 กาแล็กซี อยู่ห่างออกไป 65 ล้านปีแสง  กลุ่มกาแล็กซีท้องถิ่นของเรา กำลังเคลื่อนที่ออกจากกระจุกเวอร์โก ด้วยความเร็ว 400 กิโลเมตร/วินาที
เอกภพ (Universe) 
          “เอกภพ” หรือ “จักรวาล” หมายถึง อาณาบริเวณโดยรวมซึ่งบรรจุทุกสรรพสิ่งทั้งหมด  นักดาราศาสตร์ยังไม่ทราบว่า ขอบของเอกภพสิ้นสุดที่ตรงไหน  แต่พวกเขาพบว่ากระจุกกาแล็กซีกำลังเคลื่อนที่ออกจากกัน นั่นแสดงให้เห็นว่าเอกภพกำลังขยายตัว   เมื่อคำนวณย้อนกลับนักดาราศาสตร์พบว่า เมื่อก่อนทุกสรรพสิ่งเป็นจุด ๆ เดียว เอกภพถือกำเนิดขึ้นด้วย ”การระเบิดใหญ่” (Big Bang) เมื่อประมาณ 13,000 ล้านปีมาแล้ว
หมายเหตุ: (1 ปีแสง = ระยะทางซึ่งแสงใช้เวลานาน 1 ปี หรือ 9.5 ล้านล้านกิโลเมตร) 



อัพเดทล่าสุด