ต้นไม้ดูดกลิ่น-ปลากินยุง
ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของ
สสส. และ วิชาการดอทคอม
ที่มา www.thaihealth.or.th
แนวทางหนึ่งของการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบและยั่งยืน คือการสร้างจิตสำนึกให้ผู้คนในสังคมช่วยกันตระหนัก ปกป้องดูแลและรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึกที่ ดีในการใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งตระหนักถึงคุณที่จะได้รับด้วย
ซึ่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เห็นคุณประโยชน์ของการเสริมสร้างสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศด้านการเกษตร ให้เข้าร่วมโครงการสร้างเสริมสุขภาพ
อาจารย์ วาสนา สุขกุล อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวถึงการเข้าร่วมโครงการมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ ว่า ทางคณะได้จัดทำโครงการไม้ประดับ ปรับอากาศ ซึ่งเป็นเหมือนเป็นห้องเรียนไร้มลพิษแนวนาซ่า ซึ่งการริเริ่มโครงการทางคณะได้เล็งเห็นถึงความตระหนักรู้ของนักศึกษา โดยให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมและได้นำความรู้ทางวิชาการมาปรับประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดกิจกรรมทางด้านวิชาการ
" การริเริ่มโครงการไม้ประดับ ปรับอากาศนี้เกิดจากความคิดที่ว่ามหาวิทยาลัยได้สร้างตึกใหม่จึงมีกลิ่นของ สีที่ทาใหม่ นักศึกษาจึงได้ไปสืบค้นข้อมูลเพื่อหาวัสดุดูดกลิ่นสี ซึ่งก็ได้พบข้อมูลของ ดร.บี ซีวูฟเวอร์ตัน ได้แนะนำถึงไม้ดอกไม้ประดับ 50 ชนิดที่มีความสามารถในการดูดไอพิษจากอากาศ โดยไม้ประดับดูดสารพิษ ได้แก่วาสนาอธิษฐาน มรกตแดง สาวน้อยประแป้ง แววมยุรา หมากเหลืองเดหลี เยอบีร่า บอสตันเฟิร์น เศรษฐีเรือนใน ยางอินเดีย พลูด่างเป็นต้น นับได้ว่าต้นไม้มีคุณมากมายหากเลือกถูกชนิดก็ช่วยลดมลพิษในอากาศลงได้ นอกจากนี้ ยังทำให้รู้สึกผ่อนคลายและสบายใจอีกด้วย"อ.วาสนากล่าว
ขณะที่ ดร.บัญชา ทองมี อาจารย์คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ กล่าวว่า โครงการนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากนักศึกษาได้มีการคิดค้นหาและคิดหากิจกรรมให้ เหมาะกับสภาพปัญหา เพราะจากการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกอาจทำให้ถึงแก่ชีวิต ทางคณะเทคโนโลยีจึงได้คิดหาวิธีที่เป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมไม่สร้าง มลพิษให้เกิดขึ้น
จึงได้คิดค้นหาวิธีที่ไร้สารเคมี ซึ่งปลาหางนกยูงและปลากินยุงเป็นปลาขนาดเล็กที่กินอาหารทั้งพืชและสัตว์และ อดทนต่อสภาพออกซิเจนที่ต่ำและสามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้เร็ว เลี้ยงง่ายใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เป็นวิธีควบคุมไม่ให้ใช้สารเคมีในการกำจัดยุงลายพาหะไข้เลือดออกและมาลาเรีย
"ดังนั้น การหันมาใส่ใจในการป้องกันโรคจากยุง และลดการแพร่ระบาดของยุงด้วยการกำจัดลูกน้ำจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดโรค ระบาดรวมทั้งเป็นการประหยัดงบประมาณทั้งในการกำจัดและการรักษาผู้ติดเชื้อ ได้ ซึ่งนักศึกษาก็เป็นคนคิดค้นมาเสนอซึ่งผมก็เห็นด้วย เพราะเป็นหนึ่งในโครงการสร้างเสริมสุขภาพ ผมจึงเสนอขอทุนสนับสนุนในการดำเนินโครงการ ในเดือนมิ.ย.จะนำแจกจ่ายทั่วมหาวิทยาลัย"ดร.บัญชากล่าว