สำนักงานชีวิต


761 ผู้ชม


สำนักงานชีวิต

ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของวารสารจดหมายข่าว รักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียงและ วิชาการ.คอม
https://www.pttplc.com/TH/Default.aspx 


        เชื่อว่าเจ้าหน้าที่ประจำตำบลหลายคนได้ใช้ชีวิตอยู่ในสำนักงานไม่มากก็น้อย  บางคนผ่านงานประจำมาบ้างแล้ว  ก็อาจจะชินกับการนั่งในสำนักงานตั้งแต่เช้าจรดเย็น  แต่บางคนชอบลุยงานภาคสนาม  พอต้องมานั่งในกล่องสี่เหลี่ยม  ก็มักจะร้อนรนเป็นธรรมดา


สำนักงานชีวิต


        เรื่องราวของสำนักงานมีชีวิต  โดย น้องดา  จิระดา  ทองไทย ณ ตำบลพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม จึงถือกำเนิดขึ้น
        “เวลาเราข้าไปทำงานตรงนั้น  เป็นที่สาธารณะเป็นที่รกร้าง  แต่ยังคงสภาพดีนะ  ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรนอกจากเป็นที่เก็บของ  เราไปเห็นก็รู้สึกว่ามีพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทำกิจกรรมหลายอย่างและจากที่ เราได้ไปดูงานจากคนต้นแบบมาหลายอย่างและจากที่เราได้ไปดูงานจากคนต้นแบบมา หลายที่จึงคิดว่าสำนักงานของเราก็น่าจะมีสิ่งเหล่านี้อยู่บ้างเพื่อให้มี สีสัน  และกระตุ้นให้ชาวบ้านและกรรมการที่มาประชุมได้เห็นเป็นตัวอย่าง  รวมทั้งสอนเด็กที่เข้ามาด้วย เช่น  ไปดูเขาเลี้ยงปลาก็กลับมาจัดพื้นที่ตรงนี้  ซึ่งไม่มีน้ำ  ต้องแก้ปัญหาเรื่องน้ำก่อน  ด้วยการทำบ่อพลาสติก  แต่บ่อพลาสติกต้นแบบ  เขาจะไม่มีสวนครัวนะ  แล้วเราไปเห็นผักสวนครัวอีกที่หนึ่งก็เกิดความคิดว่า  เมื่อมีบ่อมีน้ำมีปลา ก็ต้องมีผักด้วย”

        ภายในอาคารก็เอาคอมพิวเตอร์ของตนเองมาตั้งให้เด็กๆ ใช้งานทำกิจกรรมกับเด้ก เช่น สอนศิลปะ โดยใส่เรื่องของชุมชนเข้าไป  และพี่ตึ๋ง (ที่ปรึกษาภาค) ก็เอาหนังสือมาให้  ให้เด็กได้เรียนรู้บางทีก็จัดการความวุ่นวายของเด้ก  โดยมีสี๙อล์คกับกระดาษให้วาดรูปชุมชนของตนเอง  ให้เขาเล่าเรื่องสื่อความหมาย
        “ในความคิดก็คือ  แทนที่ดาจะเป็นเจ้าของสำนักงานและพื้นที่รอบๆ ก็สร้างเป็นศูนย์ที่ชาวบ้านและเด็กสำนักงานที่มักจะหาย  ตอนนี้ไม่อยู่สักเดือนก็ไม่หาย  ต้นไม้ไม่ตายเพราะคนแถวนี้จะมาช่วยดูแลทำแปลงปลุกผักไว้กินกัน  กลายเป็นของชุมชนที่เข้ามาดูแลให้


สำนักงานชีวิต


        เมื่อสำนักงานมีชีวิต  ก็ต้องมีการเจริญเติบโตต่อไปในอนาคต  โดยเป้าหมายของสำนักงานประจำตำบลพิมานนั้น  จะพัฒนาให้เป้นจุดสาธิต
        “อยากทำให้เป็นจุดสาธิต  ทำไปเรื่อยๆ ทำสำนักงานนี้ให้เป็นตัวกระตุ้น  เวลาคนมาเห็นแล้วรู้สึกว่าสามารถทำได้  ซึ่งตอนนี้คนในชุมชนเริ่มไปทำน้ำหนักชีวภาพ  จากการที่ดาชวน 2-3 คนไปทำให้ดูเป็นตัวอย่าง  พอกลับมาทำก็ได้ผล  บ่อพลาสติกที่เมื่อก่อนที่คนมองว่าใช้ไม่ได้  เด่วนี้ก็มีคนที่ลงทุนไปทำ  มีอยู่ใน 2-3 ครัวเรือน  ไม่ได้เป็นบ่อโดดๆ แต่มีผักสวนครัวล้อมรอบรวมถึงอยากให้มีกิจกรรมด้านพลังงานที่สามารถนำมาใช้ในชุมชนได้ด้วย”
        เจ้าหน้าที่พี่น้องประจำตำบล่ทานใด  อยากเอาแนวคิดไปสานต่อในพื้นที่ของตนเองอย่ามั่วรีรอ
        ฝันให้ไกล  แล้วไปให้ถึง...!



อัพเดทล่าสุด