กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย แจ้งเตือนประชาชน 42 จังหวัดระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนช่วง 8 – 12 มีนาคมนี้


1,088 ผู้ชม


กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย แจ้งเตือนประชาชน 42 จังหวัดระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนช่วง 8 – 12 มีนาคมนี้

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย


           กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประสาน 42 จังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยระมัดระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน ในช่วงวันที่  8–12 มีนาคม 2553 พร้อมสั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัย จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง ตลอดจนจัดเตรียมเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย 
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย แจ้งเตือนประชาชน 42 จังหวัดระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนช่วง 8 – 12 มีนาคมนี้
           นายอนุชา  โมกขะเวส  อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่า ในช่วงวันที่ 8–12 มีนาคม 2553  ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก  จะมีสภาพอากาศแปรปรวน ส่งผลให้เกิดพายุฤดูร้อน ซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัย และพืชผล
           ทางการเกษตรในพื้นที่เสี่ยงภัย 42 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี หนองบัวลำภู เลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงได้ประสาน 42 จังหวัดดำเนินการแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยตัดโค่นกิ่งไม้ที่ไม่มั่นคงแข็งแรง บริเวณชุมชนและบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ดูแลผลผลิตทางการเกษตรเป็นพิเศษ รวมถึงตรวจสอบป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง หากอยู่ในสภาพไม่ปลอดภัยหรือติดตั้งโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการแก้ไขโดยด่วนต่อไป รวมทั้งได้สั่งการให้ศูนย์ ปภ. เขต และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยที่เกิดขึ้น โดยจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที หากเกิดสถานการณ์รุนแรงให้ดำเนินการตามขั้นตอนของแผนป้องกันภัยของจังหวัด เพื่อสามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที 

           นายอนุชา กล่าวเตือนประชาชนว่า ในขณะที่เกิดพายุฤดูร้อน ควรจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในยามฉุกเฉินให้เพียงพอ เช่น เครื่องอุปโภคบริโภค ไฟฉาย ไม้ขีดไฟ ถ่านไฟฉาย เทียนไข หลีกเลี่ยงการออกไปนอกบ้านขณะเกิดพายุ เพราะจะเสี่ยงต่อการโดนสิ่งของปลิวใส่หรือล้มทับ หากอยู่ในอาคารควรปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันแรงลมหอบพัดบ้านเรือน กรณีอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้หลบเข้าไปในอาคารหรือที่กำบัง เพื่อป้องกันมิให้กิ่งไม้ ต้นไม้ หรือเศษวัสดุปลิวใส่จนได้รับอันตราย แต่ไม่ควรหลบใต้ต้นไม้หรือป้ายโฆษณา เพราะอาจโดนล้มทับ ที่สำคัญ ไม่ควรหลบใต้ต้นไม้สูง เสาไฟฟ้า ไม่สวมเครื่องประดับประเภททองคำ ทองแดง เงิน ซึ่งมีส่วนประกอบของโลหะ และเป็นสื่อนำไฟฟ้า อีกทั้งควรงดใช้อุปกรณ์สื่อสาร ตลอดจนไม่ประกอบกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น ทำนา เล่นกีฬา เพื่อป้องกันการถูกฟ้าผ่า


กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย แจ้งเตือนประชาชน 42 จังหวัดระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนช่วง 8 – 12 มีนาคมนี้


           สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากพายุฤดูร้อน สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
ปภ.ชู 7 มาตรการ สู้วิกฤติภัยแล้ง ปี 53 

           กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กำหนดมาตรการเร่งด่วน 7 ด้าน แก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้งที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยเร่งจัดหาน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร ควบคู่กับการส่งเสริมรายได้และอาชีพระยะสั้น การดูแลรักษาสุขภาพ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงเปิดสายด่วนภัยแล้ง ตลอดจนประสานจังหวัดเตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติอื่นๆ ในฤดูร้อน ทั้งพายุฤดูร้อน หมอกควัน ไฟป่า เพื่อมิให้ผู้ประสบภัยแล้งได้รับความเดือดร้อนซ้ำเติมอีก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย แจ้งเตือนประชาชน 42 จังหวัดระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนช่วง 8 – 12 มีนาคมนี้

           นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง พบว่า แม้ประเทศไทยจะเพิ่งเข้าสู่ฤดูร้อน  แต่ขณะนี้มีพื้นที่ประสบภัยแล้งแล้ว 36 จังหวัด 277 อำเภอ 1,874 ตำบล 13,975 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 3,931,713 คน 1,029,811 ครัวเรือน คาดว่าจะมีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายรวม 118,414  ไร่ หากเปรียบเทียบกับสถานการณ์ภัยแล้งปี 2552 พบว่า  หมู่บ้านประสบภัยแล้งกลับเพิ่มกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมากว่าร้อยละ 50  ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่าปีนี้ประเทศไทยจะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างหนัก โดยเฉพาะในพื้นที่ประสบภัยแล้งซ้ำซากและนอกเขตพื้นที่ชลประทาน เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือปัญหาภัยแล้งที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้กำหนด 7 มาตรการเร่งด่วนแก้ไขวิกฤตภัยแล้ง ให้จังหวัดดำเนินการเพิ่มเติม  ดังนี้ 
           1.จัดหาน้ำอุปโภคบริโภค สำหรับในเขตเมือง ให้ประเมินปริมาณน้ำต้นทุนที่นำมาผลิตน้ำประปา และวางแผนรองรับกรณีขาดแคลน ส่วนเขตชนบท ให้เร่งซ่อมบำรุง จัดหาแหล่งน้ำสำรองสำหรับระบบประปาหมู่บ้าน กำหนดจุดแจกจ่ายน้ำประจำหมู่บ้าน  
           2.จัดหาน้ำเพื่อการเกษตร ให้ยึดมาตรการส่งเสริมการปลูกพืชฤดูแล้งเป็นหลัก  พร้อมควบคุมพื้นที่ทำนาปรัง รวมถึงประสานสำนักฝนหลวงและการบินออกปฏิบัติการฝนหลวงทันทีที่สภาพอากาศเอื้ออำนวย  
           3. สร้างรายได้และส่งเสริมอาชีพระยะสั้น ประสานให้ท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐจ้างแรงงานในหมู่บ้าน เพื่อสร้างได้แก่ราษฎรและป้องกัน การอพยพเข้าไปหางานทำในเมือง 
           4. ดูแลรักษาสุขภาพและสุขอนามัย ประสานให้สาธารณสุขจังหวัดวางแผนป้องกันโรคระบาดในช่วงฤดูร้อน พร้อมเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพ  ไม่บริโภคอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด 
           5.ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จัดทำแผนป้องกันและปราบปรามโจรผู้ร้าย เพื่อมิให้ผู้ประสบภัยได้รับความเดือดร้อนซ้ำเติมอีก                 
           6.เปิดสายด่วนภัยแล้ง สำหรับเป็นช่องทางให้ผู้ประสบภัยประสานขอความช่วยเหลือกรณีประสบความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้ง 
           7.เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติอื่นในฤดูร้อน  เร่งวางแผนป้องกันและกำหนดแนวทางช่วยเหลือผู้ประสบภัย จากพายุฤดูร้อน อัคคีภัย หมอกควัน และไฟป่า รวมถึงรณรงค์ให้ประชาชนร่วมเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติในฤดูร้อน
           ทั้งนี้ หากประชาชนในพื้นที่ใดได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยแล้ง สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1–18 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด 75 จังหวัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง  เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป



อัพเดทล่าสุด