https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
แคะหูมาก ระวัง!ขี้หูอุดตัน MUSLIMTHAIPOST

 

แคะหูมาก ระวัง!ขี้หูอุดตัน


1,000 ผู้ชม


แคะหูมาก ระวัง!ขี้หูอุดตัน

ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของ
สสส. และ วิชาการดอทคอม
ที่มา
www.thaihealth.or.th
 


แคะหูมาก ระวัง!ขี้หูอุดตัน            ใครที่ชอบแคะขี้หูบ่อย ๆ คงจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียใหม่ เพราะการรักความสะอาดจนเกินเหตุ อาจเป็นเหตุให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “ขี้หู อุดตัน” ก็เป็นได้
           ผศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน สาขาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้ ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบาย ว่า ขี้หูถูกสร้างออกมาจากต่อมสร้างขี้หู ซึ่งอยู่ในช่องหูชั้นนอก มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน ๆ ประโยชน์ของขี้หู คือ ช่วยปกป้องผิวหนังของช่องหูชั้นนอก ให้ความชุ่มชื้น ช่วยต่อต้านเชื้อโรค ป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรีย และช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในช่องหู
           ปกติร่างกายมีกลไกกำจัดขี้หูออกมาได้อยู่แล้ว คือมันจะออกของมันมาเอง ถ้าเราไปแคะจะกระตุ้นให้ต่อมสร้างขี้หูทำงานมากขึ้น ทำให้ปริมาณขี้หูมากขึ้น ถ้าเรามีขี้หูอยู่ข้างใน มันจะยิ่งดันขี้หูในช่องหูให้อัดแน่นมากขึ้น อาจทำให้ขี้หูอุดตันในช่องหูชั้นนอกได้ ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา คือ คนไข้หูอื้อ ปวดหู หูตึง โดยเฉพาะถ้าเราแคะแรงเกินไปอาจจะทำให้เกิดรอยถลอกของช่องหูชั้นนอก มีเลือดออก เกิดการอักเสบ มีอาการปวดหู หูอื้อ หรือถ้าแคะลึกไปอาจทำให้แก้วหูทะลุได้ ดังนั้นไม่ควรแคะหูอย่างเด็ดขาด ถ้าจะแคะหูจริง ๆ แนะนำให้ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำอุ่น เช็ดเฉพาะบริเวณรอบนอกของช่องหู อย่าแยงเข้าไปข้างใน ต้องเช็ดตื้น ๆ
           อาการของขี้หูอุดตัน คือ หูอื้อ หูตึง ไม่ได้ยินเสียง เวลาคนไข้มาพบแพทย์ อาจซักประวัติได้ว่า ปกติคนไข้สบายดี แต่วันดีคืนดีไปว่ายน้ำ แล้วน้ำเข้าหู ขี้หูจะอุ้มน้ำ ทำให้บวมปิด เกิดอาการหูอื้อ บางคนอาจจะมีอาการปวดหรือแน่น ๆ ในช่องหูได้
แคะหูมาก ระวัง!ขี้หูอุดตัน            ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการศึกษาอุบัติการณ์คนที่มีภาวะขี้หูอุดตันมาก่อน แต่จากประสบการณ์ พบได้เรื่อย ๆ ถ้าออกตรวจผู้ป่วยนอกประมาณ 30 ราย จะพบประมาณ 1-2 รายที่มีปัญหาขี้หูอุดตัน โดยพบได้ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงผู้สูงอายุ คือจะพบในผู้ใหญ่ ที่ชอบปั่นหูบ่อย ๆ มักจะไม่ค่อยพบในเด็ก ยกเว้นผู้ปกครองเห็นขี้หูเด็ก แล้วแคะให้ พอแคะไม่ออก ก็ยิ่งดันขี้หูเข้าไปข้างใน จนทำให้เกิดอาการอุดตัน แต่ในเด็กพบขี้หูอุดตันน้อยกว่า

           การรักษา อันดับแรกจะต้องตรวจก่อนว่าสาเหตุของหูอื้อเกิดจากอะไร ถ้าเกิดจากขี้หูอุดตัน แพทย์จะพยายามนำขี้หูออกให้ โดยใช้เครื่องมือแคะขี้หู มีลักษณะคล้าย ๆ ลวดกลม ๆ ใส่เข้าไปในหูและแคะออกมา ส่วนใหญ่จะออกหรืออาจจะใช้ที่ดูดขี้หูดูดออกมา แต่ถ้าเอาออกไม่ได้  ก็ ไม่อยากแคะเพราะจะทำให้เจ็บหู หรือหูชั้นนอกอักเสบถลอก กรณีเช่นนี้จะให้ยาละลายขี้หูไปหยอดที่บ้านบางที ก็ 5 วัน หรือ 1 สัปดาห์ จากนั้นก็นัดให้คนไข้มาเอาขี้หูออก จะทำให้เอาออกได้ง่ายขึ้น
           การป้องกันไม่ให้ขี้หูอุดตัน มีดังนี้ 1.อย่าใช้นิ้วแหย่ช่องหูเด็ดขาดเพราะขอบเล็บที่ปลายนิ้วจะทำให้ช่องหูชั้น นอกถลอก ติดเชื้อและอักเสบได้ง่าย 2.อย่าใช้ไม้พันสำลีทำความสะอาดหู หรือปั่นหูเมื่อน้ำเข้าหูควรป้องกันไม่ให้น้ำเข้าขณะอาบน้ำ โดยหาสำลีชุบวาสลินหรือสวมหมวกอาบน้ำดึงลงมาคลุมถึงใบหู ในรายที่เล่นกีฬาทางน้ำอาจใช้ที่อุดหูสำหรับนักดำน้ำซึ่งมีขายตามร้านกีฬามา ช่วย 3.หลายคนมักคิดว่า การทำความสะอาดข้างในช่องหูหรือเช็ดรูหูนั้น ก็เหมือนกับการทำความสะอาดร่างกายทั่วไป แต่จริง ๆ แล้ว การปล่อยให้มี ขี้หูเคลือบช่องหูบ้างจะดีกว่าเพราะยิ่งเช็ดหรือแคะหูมาก ช่องหูจะยิ่งแห้ง คันและระคายเคืองได้มากกว่า แต่ถ้าน้ำเข้าหูอาจใช้ไม้พัน สำลีชนิดเนื้อแน่นขนาดเล็กซับน้ำที่ปากช่องหูเล็กน้อยก็พอ แต่ถ้าน้ำเข้าหู เป็นชั่วโมงแล้ว ยังไม่ออกมา หูยังอื้ออยู่ส่วนใหญ่เป็นเพราะมีขี้หูซึ่งอยู่ในส่วนลึกของช่องหูอมน้ำไว้ ถ้ามีอาการเช่นนี้ควรให้แพทย์หู คอ จมูก ตรวจทำความสะอาดช่องหูจะดีที่สุด 4.ในรายที่ขี้หูแห้ง อาจใช้ยาละลายขี้หูหยอดรูหูเป็นประจำเพื่อทำการล้างขี้หู อาจใช้เพียงอาทิตย์ละครั้ง ถ้าไม่มีปัญหา อาจห่างออกไปเป็น 2 หรือ 3 หรือ 4 อาทิตย์ หยอด 1 ครั้ง ก็จะช่วยลดการอุดตันของขี้หูในช่องหูชั้นนอกได้


แคะหูมาก ระวัง!ขี้หูอุดตัน


           ท้ายนี้ขอย้ำว่า อย่าปั่น อย่าแคะขี้หู ไม่ต้องทำความสะอาดอะไรทั้งนั้น เพราะร่างกายมีกลไกกำจัดออกได้อยู่แล้ว ถ้าไม่มีปัญหาอะไรอย่าไปยุ่งกับมัน ยกเว้นมีขี้หูไหลออกมาแล้วทำให้เราเข้าสังคมลำบาก ก็เช็ดเท่าที่มันไหลออกมา อย่าปั่นลงไปลึก ๆ ถ้าขี้หูไม่ไหล ก็ไม่ต้องไปทำอะไร เพราะอย่างที่บอกว่าขี้หูมันมีประโยชน์



อัพเดทล่าสุด