อันตราย... ในไอศกรีม
7 สารสังเคราะห์ อันตราย... ในไอศกรีม!
ไอศกรีม อาหารว่างเย็นๆ ที่เป็นของโปรดของเด็กๆ หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่หลายคน ต่างชื่นชอบในรสชาติของไอศกรีมกันทั้งนั้น แต่หารู้ไม่ว่า สารสังเคราะห์จากสารเคมีบางอย่าง ที่ใช้เป็นสารเติมแต่งรสชาติและแต่งแต้มสีสันในไอศกรีมบางยี่ห้อนั้น ได้นำพาสิ่งที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของผู้บริโภคเสียแล้ว ที่ เลวร้ายกว่านั้น ผู้ผลิตไอศกรีมหัวใสบางราย ยังได้นำไขมันที่เหลือจากโรงฆ่าสัตว์มาใช้เป็นส่วนผสมในไอศกรีม ซึ่งไขมันจากสัตว์นั้นมีจำนวนของไขมันอิ่มตัวที่สูง เป็นไขมันชั้นเลวที่หากบริโภคไปมากๆ จะก่อให้เกิดโรคอ้วนและไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้ สำหรับสารสังเคราะห์จากสารเคมีที่เป็นอันตราย และได้มีการนำมาผสมในไอศกรีมนั้น มีดังต่อไปนี้
1. ไดอิธิลกลูคอล( Diethyl Glucol)
สารเคมีราคาถูกที่ใช้ในการตีไขมันให้กระจายแทนการใช้ไข่ สารชนิดนี้เป็นสารกันเยือกแข็งที่ใช้กันน้ำแข็งไม่ให้ละลายเร็ว และใช้ในน้ำยากัดสีด้วย
2. อัลดีไฮด์ – ซี71(Aldehyde-C71)
เป็นสารที่ใช้ในการสร้างกลิ่นที่ไม่ค่อยมีในประเทศไทย เช่น เชอร์รี่ และเพื่อให้ไอศกรีมเป็นของเหลวติดไฟง่าย และยังนำไปใช้ทำสีอะนิลีน จำพวกพลาสติกและยาง
3. ไปเปอร์โอรัล( Piperoral)
ใช้แทนกลิ่นวานิลลา เป็นสารเคมีเดียวกับที่ใช้ผสมในยาฆ่าเหาและหมัด
4. อิธิลอะซีเตท (Ethyl acetate)
ใช้สร้างกลิ่นรสสับปะรด อีกทั้งยังใช้เป็นตัวทำความสะอาดหนังและผ้าทอ กลิ่นของสารเคมีตัวนี้ก่อให้เกิดโรคปอดเรื้อรัง ตับ และหัวใจที่ผิดปกติ
5. บิวธีรัลดีไฮด์(Butyraldehyde)
ใช้สร้างกลิ่นรสเมล็ดในผลไม้เปลือกแข็งเช่น ถั่วต่างๆ สารนี้เป็นสารที่ใช้เป็นสารประกอบสำคัญในกาวยาง
6. แอนนิล อะซีเตท(Anyle acetate)
สารนี้จะให้กลิ่นกล้วยหอม และเป็นสารที่ใช้ทำลายล้างไขมัน
7. เบนซิล อะซีเตท(Benzyle acetate)
เป็นสารที่ใช้สร้างกลิ่นและรสสตรอเบอร์รี่เป็นสารละลายไนเตรท ทำให้เกิดความอยากอาหาร
สารเคมีที่กล่าวมาทั้งหมด เช่น สารกันเยือกแข็ง ตัวทำละลายน้ำมัน น้ำยาลอกสี ยาฆ่าเหาและฆ่าหมัด นั้น ไม่ใช่ว่าในไอศกรีมทุกยี่ห้อจะมีสารเหล่านี้ทั้งหมด บางยี่ห้ออาจจะผสมสารตัวนี้หรือตัวอื่น นอกจากสารที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีการใช้สารให้ความหวาน คือ แซคคารินหรือน้ำตาลเทียม เติมเพื่อให้มีสีและกลิ่นที่หอมหวาน
ซึ่งสารแซคคารินนั้นได้มีการพิสูจน์แล้วว่า มีส่วนสนับสนุนทำให้เกิดมะเร็งได้เช่นกัน ไอศกรีมนั้นเป็นอาหารขยะชนิดหนึ่งที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายพอสมควร ทั้งนี้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของผู้ผลิตบางราย และความพอดีในการบริโภคของตัวผู้บริโภคเอง ที่ต้องดูแลเรื่องการบริโภค ให้ได้สัดส่วนที่พอดีกับความต้องการของร่างกายอาหารขยะ! ก็คือขยะที่ร่างกายเราไม่จำเป็นต้องกิน ก็สามารถอยู่ได้ไม่ใช่หรือ?
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากDevil