แข่งขันวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี_มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


919 ผู้ชม


แข่งขันวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี_มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี



แข่งขันวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี_มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
KMUTT SCI & TECH BATTLE 2010


          การแข่งขันวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ภายในงานนิทรรศการ 50 ปี แห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

        
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ขอเชิญชวนน้องๆ เข้าร่วมการแข่งขันวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ชิงโล่ประกาศเกียรติคุณ ใบประกาศนียบัตรและทุนการศึกษา มูลค่ารวมกว่า
100,000 บาท ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม - 1 เมษายน 2553 โดยมีการแข่งขันและมอบรางวัลสำหรับทุกทีมที่ผ่าน


เข้ารอบชิงชนะเลิศทุกวัน

1. รางวัล

รางวัลชนะเลิศ
          -    โล่ประกาศเกียรติคุณสำหรับโรงเรียนที่ส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน
          -    ทุนการศึกษา 10,000 บาท/ทีม
          -    ใบประกาศนียบัตร 3 คน/ทีม
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 
          -        โล่ประกาศเกียรติคุณสำหรับโรงเรียนที่ส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน
          -        ทุนการศึกษา 8,000 บาท/ทีม
          -        ใบประกาศนียบัตร 3 คน/ทีม
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
          -        โล่ประกาศเกียรติคุณสำหรับโรงเรียนที่ส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน
          -        ทุนการศึกษา 5,000 บาท/ทีม
          -        ใบประกาศนียบัตร 3 คน/ทีม
รางวัลชมเชย  จำนวน 2 รางวัล
          -        ทุนการศึกษา 3,000 บาท/ทีม
          -        ใบประกาศนียบัตร 3 คน/ทีม
รางวัลพิเศษ  จำนวน 10 รางวัล 
          -        ทุนการศึกษา 1,000 บาท/ทีม
         -        ใบประกาศนียบัตร 3 คน/ทีม
รางวัลสำหรับการเข้าร่วมแข่งขัน  จำนวน 35 รางวัล
          -        ใบประกาศนียบัตรสำหรับนักเรียน 3 คน/ทีม

2. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน



  1. ผู้เข้าแข่งขันทุกทีมจะต้องเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. หรือเทียบเท่า
  2. ใน 1 ทีมประกอบไปด้วยสมาชิกจำนวน 3 คน ไม่จำกัด อายุและเพศ
    หมายเหตุ
    -          ผู้สมัครเข้าแข่งขันที่มีคุณสมบัติข้างต้น สามารถรวมทีมกับเพื่อนต่างสถาบันได้
    -          สำหรับนักเรียนหญิงที่เข้าร่วมการแข่งขันต้องแต่งกายด้วยชุดพละศึกษาเท่านั้น

3. กำหนดการจัดการแข่งขัน (ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม – 1 เมษายน 2553)
          07.30 - 08.30 น.     ทีมนักเรียนลงทะเบียนรายงานตัว บริเวณงานนิทรรศการ อาคารปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกล
          08.30 - 08.50 น.     พิธีเปิดฉายวีดีทัศน์ และสไลด์มัลติวิชั่น แนะนำมหาวิทยาลัย
          08.50 - 09.00 น.     กรรมการชี้แจงกติกาการแข่งขัน 
          09.00 - 11.30 น.     แข่งขันรอบคัดเลือก(50 ทีม)
          11.30 - 12.00 น.     กรรมการสรุปผลคะแนนและประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ
          12.00 - 12.45 น.     พักทานอาหารกลางวัน
          12.45 - 13.00 น.     กรรมการชี้แจงกติกาการแข่งขัน
          13.00 - 15.30 น.     แข่งขันรอบชิงชนะเลิศ(15 ทีม)
          15.30 - 16.00 น.     กรรมการสรุปผลคะแนน/และประกาศรายชื่อทีมชนะเลิศ
          16.00 - 16.30 น.     มอบโล่และของรางวัล

*****คณะกรรมการสงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลงเวลาและกำหนดการการแข่งขันโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า*****

4. รายละเอียดการแข่งขัน

         
4.1 รอบคัดเลือก (50 ทีม) 
          หัวข้อ : MAGNIFICENT SKY TOWER
          -   เป็นการแข่งขันออกแบบและสร้างชิ้นงานที่มีโครงสร้างสูงและแข็งแรง(จากวัสดุและอุปกรณ์ที่   กำหนดให้)
          -   เกณฑ์การตัดสินพิจารณาผลคะแนนจากความสูงและการรับน้ำหนักของโครงสร้างเป็นหลัก
          -   ทีมที่เข้าแข่งขันทั้งหมด 50 ทีม ในรอบนี้จะถูกคัดเลือกให้เหลือ 15 ทีม เพื่อเข้าแข่งขันในรอบ   ชิงชนะเลิศต่อไป

         
4.2 รอบชิงชนะเลิศ (15 ทีม) 
          หัวข้อ: CAR DRAG REDUCTION RACE
          -       เป็นการแข่งขันออกแบบและสร้างชิ้นส่วนเสริมเพื่อลดแรงต้านทางอากาศพลศาสตร์ของรถ
          -       การตัดสินพิจารณาจากผลการทดสอบวัดแรงต้านทางอากาศพลศาสตร์ของรถจำลองที่ติดชิ้นส่วนเสริมที่สร้างขึ้น(จากวัสดุและอุปกรณ์ที่กำหนดให้) เทียบกับน้ำหนัก และขนาดที่เพิ่มขึ้น
          -       ภายในเวลา 1 ชั่วโมง (13:00 – 14:15) ให้ใช้วัสดุที่ได้รับไปทำชิ้นส่วนเพิ่มเติมติดเข้ากับรถจำลองที่ได้รับ เพื่อลดแรงต้าน และเพิ่มแรงกดตัวรถลงยังพื้นถนนที่เกิดจากลมปะทะกับตัวรถขณะวิ่งได้ โดยในช่วงเวลาดังกล่าวทีมที่เข้าแข่งขันจะมีเวลาในการสร้างชิ้นงานและมีสิทธิในการทดสอบหน้าอุโมงค์ลมเพียง 1 ครั้งโดยใช้เวลาไม่เกิน 3 นาที/ทีม
          -      เวลา 14:15 ส่งชิ้นงาน ให้กรรมการเพื่อชั่งน้ำหนักชิ้นงาน
          -       เวลา 14:30 – 15:30 กรรมการและสมาชิกของกลุ่มร่วมทำการทดสอบชิ้นงานในอุโมงค์ลมทีละกลุ่ม 
           -      แต่ละกลุ่มมีเวลา 3 นาที (รวมเวลาการติดตั้งชิ้นงานและเวลาวัดแรง)เริ่มจับเวลาตั้งแต่กรรมการให้สัญญาณเข้าไปติดตั้งชิ้นงานกับอุปกรณ์วัดแรงร่วมกับกรรมการ เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วให้ส่งสัญญาณให้กรรมการเริ่มทำการวัดแรง ค่าแรงต้านและแรงกดของแต่ละกลุ่มจะใช้ค่าแรงสูงสุดที่เกิดขึ้นในระหว่างการวัด ซึ่งเวลาในการวัดของแต่ละกลุ่มจะเป็นเวลาที่เหลือหลังจากติดตั้งเสร็จจนกระทั่งหมดเวลาของกลุ่มลักษณะการติดตั้งในอุโมงค์ลมดูเค้าโครงจากภาพประกอบในอุโมงค์ลมดูเค้าโครงจากภาพประกอบ


 แข่งขันวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี_มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


-          -       การตัดสินผลจะเรียงลำดับตามกลุ่มที่มีค่าอัตราส่วน (แรงกด / แรงต้าน) มากกว่าเป็นผู้ชนะ โดยค่าแรงกดที่ใช้ตัดสินจะคำนวณจาก (แรงกดที่วัดได้สูงสุด น้ำหนักชิ้นงานทั้งหมดรวมกับตัวรถ
5. กติกาการแข่งขัน

1.   การแข่งขันในแต่ละวันแบ่งออกเป็น 2 รอบ ดังต่อไปนี้
    รอบคัดเลือก(50 ทีม)
       -  ทีมที่เข้าแข่งขันทั้งหมด 50 ทีมในรอบนี้จะถูกคัดเลือกให้เหลือ 15 ทีมเพื่อเข้า แข่งขันในรอบชิงชนะเลิศต่อไป
    รอบชิงชนะเลิศ (15 ทีม)
       -  ทีมที่ได้คะแนนสูงสุดในรอบชิงชนะเลิศเป็นทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ส่วนทีมที่  ได้คะแนนรองลงมาจะได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ และสำหรับอีก 2 ทีมที่ได้คะแนนรองลงมาในอันดับ 4 และ 5 จะได้รับรางวัลชมเชย
2.  ทีมที่เข้าทำการแข่งขันในแต่ละรอบจะต้องเข้ารายงานตัวในบริเวณที่จัดเตรียมไว้ก่อนการแข่งขันไม่น้อยกว่า 15 นาที
3.   ในกรณีที่มีปัญหาใดๆเกิดขึ้น “ก่อน”  “ระหว่าง” และ “ภายหลัง”การแข่งขัน การตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขันถือเป็นที่สิ้นสุด
4.   ห้ามใช้เครื่องคำนวณ และอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดตลอดระยะเวลาการแข่งขัน 
5.   ในกรณีที่เกิดการทุจริตใดๆ หรือมีการฝ่าฝืนกติกาการแข่งขัน เช่น การส่งสัญญาณคำตอบจากผู้เข้าชมผู้เข้าแข่งขันเจตนาหรือส่อเจตนาทุจริตด้วยวิธีการใดๆ คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะพิจารณาตัดสิทธิ์ในการแข่งขันของทีมดังกล่าวทันที

ดาวน์โหลดใบสมัคร คลิ๊กที่นี่
การส่งใบสมัคร ทำได้โดย
1. ส่งใบสมัครทางไปรษณีย์
สถาบันการเรียนรู้ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
2. ส่งโทรสารมาที่หมายเลข 02-872-9082 และ 02-470-8387



********* หมดเขตการรับสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน วันที่ 20 มีนาคม 2553 **********

สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ : คุณจิราพรรณ คนฉลาด และ คุณกานต์พิชชา  สุคนธามัย
หรือเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่  https://www.li.kmutt.ac.th/
สถาบันการเรียนรู้ มจธ.
โทรศัพท์ 0-2470-8384 และ 0-2470-8386
โทรศัพท์และโทรสารสายตรง 02-872-9082
email: [email protected] อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน


อัพเดทล่าสุด