Paradox ของสินค้าใหม่กับสินค้ามือสอง


768 ผู้ชม


Paradox ของสินค้าใหม่กับสินค้ามือสอง

บังเอิญวันนี้คิดอะไรได้ก็เลยรีบมาเขียนบทความชวนคิดซะหน่อยครับ


ยุคนี้ผู้อ่านทุกท่านคงทราบดีครับว่าเป็นยุคเศรษฐกิจตกต่ำ
เราๆ ท่านๆ ถึงขั้นต้องรัดเข็มขัดในการจับจ่ายสินค้า
ซึ่งหากไปอ่านบทความเก่าของผมที่ชื่อ
Paradox
of Thrift
จะพบว่าเป็นแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวว่าเศรษฐกิจหรือผลผลิตมวลประชาชาติ (GDP) จะขยายตัวก็ต่อเมื่อการใช้จ่ายของภาคประชาชนมีมาก
เพราะว่าเมื่อประชาชนจับจ่ายใช้สอยมาก
ภาคธุรกิจก็จะขยายตัวและจ้างงานมากขึ้น
และทำให้มีเงินมาจับจ่ายซื้อสินค้าอีกเป็นทอดๆ
แต่ในแนวคิดเดียวกันก็บอกว่าถ้าใช้เงินมากก็ในระบบจะไม่มีเงินเก็บในธนาคารและไม่มีเงินปล่อยกู้ไปลงทุนกันต่อ


มาหัวข้อวันนี้ก็จะคล้ายๆ
กันครับ
แต่ผมได้เล็งเป้าไปที่สินค้ามือใหม่กับสินค้ามือสอง
ในช่วงเศรษฐกิจหดตัวแบบนี้ทุกท่านก็รับทราบโดยสามัญสำนึกว่าต้องรัดเข็มขัดกันอย่างหนักดังที่ว่าไว้ในย่อหน้าก่อนนี้
เนื่องจากไม่มีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะฟื้นเมื่อไหร่
แต่อย่าลืมนะครับถ้ารัดเข็มขัดกันมากๆ
เกินไป
เศรษฐกิจก็จะไม่ขยายตัวเพราะว่านักธุรกิจก็จะมียอดขายที่ต่ำ
ก็จะไม่ลงทุนเพิ่มหรือจ้างงานเพิ่ม
ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดมาจากความเชื่อมั่นที่ขาดหายไปว่าอนาคตจะมีเงินใช้หรือไม่
ถ้ามีประชาชนก็กล้าใช้จ่าย
เศรษฐกิจก็จะขยายตัว
ซึ่งเป็นหน้าที่รัฐบาลต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนด้วยการแจกงาน
มากกว่าการแจกเงิน
ดังนั้นการซื้อสินค้าผลิตใหม่ก็จะช่วยให้เกิดการจ้างงานและเศรษฐกิจขยายตัว
(แม้ว่าอาจจะเดือดร้อนกระเป๋า) แต่ถ้าซื้อสินค้ามือสองเราอาจจะสบายกระเป๋ากว่าแต่ไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว
ซึ่งประชาชนทั่วไปก็ต้องคิดกันดีๆ
ก่อนจะซื้อสินค้าครับ


อย่างไรก็ตาม
ถึงเศรษฐกิจจะแย่อย่างไร
แต่เราก็ต้องใช้เงินอยู่ดี
โดยเฉพาะปัจจัยสี่ครับ
เครื่องนุ่งห่มกับที่อยู่อาศัย
เป็นสองสิ่งที่ประชาชนมีทางเลือกว่าจะบริโภคสินค้าใหม่หรือสินค้ามือสองดี
(ส่วนอาหารกับยารักษาโรคนี่ตัดไปเลยครับ
ยังไงก็บริโภคมือสองไม่ได้
) ซึ่งก็แน่นอนครับว่าการบริโภคสินค้าใหม่ย่อมมีผลต่อระบบเศรษฐกิจในการที่ทำให้เกิดการขยายตัวในการลงทุน
เช่น หากผมซื้อบ้านใหม่
ก็จะเกิดการจ้างงาน ซื้ออิฐ
หิน ปูน ทราย ฯลฯ
เงินก็หมุนสะพััดในระบบเงินก็หมุนกันไปทอดๆ
แต่ถ้าผมซืื้อบ้านมือสอง
ผมก็ได้บ้านเหมือนกันครับ
แต่ไม่เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
ดังนั้นรัฐบาลในหลายประเทศจึงมักจะใช้นโยบายการลดหย่อยภาษีให้กับประชาชนที่ซื้อบ้านใหม่ในภาวะเศรษฐกิจไม่ปกติ
หรือปรกติก็ตาม
เพื่อเป็นการกระตุ้นกำลังซื้อและกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการจ้างงานด้วย
ดังนั้นบ้านมือสองก็อาจจะขายกันไม่ง่ายนักในสถานการณ์เศรษฐกิจแบบนี้
สำหรับเครื่องนุ่งห่มแล้วประชาชนทั่วไปตอนนี้ก็มักจะเลือกที่จะไม่ซื้อเสื้อใหม่
(ยอมใส่ตัวเก่าไป) มากกว่าที่จะไปซื้อเสื้อมือสอง
เพราะว่าไม่ทราบว่าเสื้อผ้ามือสองนี่ใครใส่มาก่อน
อาจจะไปเอามาจากที่ไหนก็ไม่ทราบ
(กลัวต้องคำสาป) แต่หลายท่านอาจจะไม่ทราบว่าตอนนี้เสื้อผ้าของมนุษย์กำลังกลายเป็นขยะที่ล้นโลก
เพราะว่าไม่รู้ว่าจะเอาเสื้อผ้ามือสองไปไว้ที่ไหน
นอกจากบริจาค
ซึ่งก็อาจจะมีความต้องการไม่มากขนาดที่จะรองรับเสื้อผ้ามือสองได้ทั้งหมดครับ


จริงๆ แล้วมีสินค้ามือสองที่ล้นโลกอยู่จำนวนมากครับ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเหมือนกับเสื้อผ้าครับที่กำลังกลายเป็นขยะล้นโลก ทั้งๆ ที่หลายอย่างยังอยู่ในสภาพที่ยังใช้งานได้ดีครับ


แต่มีสินค้าบางประเภทที่เราอาจจะซื้อมือสองได้
โดยเฉพาะสินค้าที่ไม่จำเป็นหรือแม้ว่าซื้อแล้วไม่เกิดการจ้างงานในประเทศมากนัก
เช่น นาฬิกายี่ห้อหรูๆ
จากต่างประเทศก็สามารถซื้อ
นาฬิกามือสองได้
หรือสินค้าหรูๆ จากต่างประเทศอื่นๆ
เช่น กระเป๋าถือแพงๆ เป็นต้น
ซึ่งจริงๆ
แล้วล้วนแต่เป็นสินค้าที่ไม่จำเป็นกับการดำรงชีวิต
แต่อาจจะอยากซื้อเนื่องจากสาเหตุอะไรก็แล้วแต่
สินค้ามือสองก็เป็นทางเลือกที่จะสนองความต้องการได้แบบไม่เดือดร้อนกระเป๋า
แต่ก็ไม่สร้างประโยชน์อะไรให้กับระบบเศรษฐกิจมากนัก


ดังนั้นหากท่านผู้อ่านจะซื้อสินค้ามาใช้ก็ลองพิจารณาถึงความเหมาะสม
และประโยชน์ในภาพรวมของประเทศก็จะดีครับว่าสินค้าไหนจะซื้อใหม่เอี่ยม
สินค้าไหนทนใช้ของเก่าไป
และสินค้าไหนที่ซื้อมือสองได้ครับ
แต่ในยุคนี้เก็บหอมรอมริบไว้จะดีที่สุดครับ


ปล. จริงๆ แล้วมีคนจำนวนมากได้ลงทุนกับสินค้ามือสอง เพื่อหวังกำไร เช่น นาฬิกามือสอง กางเกงยีนส์ พระแขวน ฯลฯ ที่มีการผลิตในจำนวนที่จำกัด เนื่องจากราคาของสินค้าจะขึ้นอยู่กับ Demand-Supply ตามหลักเศรษฐศาสตร์ครับ


ที่มา: Paradox ของสินค้าใหม่กับสินค้ามือสอง


อัพเดทล่าสุด