3 G นวัตกรรมใหม่ของผู้บริโภคโทรศัพท์มือถือ
ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.)และ วิชาการ.คอม
ปัจจุบันผู้ค้าอุปกรณ์เครือข่ายและผู้พัฒนาทางเทคโนโลยีส่วนใหญ่ถูกกระแสโลก การสื่อสารไร้พรมแดนต้อนเข้าสู่ยุคที่ 3 ของการสื่อสารไร้สายที่มุ่งเน้นเป้าหมายเชิงธุรกิจกับแหล่งที่มาของรายได้ จากสินค้าและบริการกับผู้ใช้บริการที่ชื่นชอบความทันสมัยและความล้ำยุคของ การใช้บริการโทรศัพท์มือถือ
อีกด้านหนึ่งของนวัตกรรม 3G ที่ เป็นเรื่องน่าสนใจและน่าห่วงกังวลของสังคมไทยไม่น้อย นั่นก็คือ ผลที่จะเกิดขึ้นตามมาในภายหลัง เนื่องจากเทคโนโลยีไฮเทคและมีความทันสมัยที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ ที่ติดตามและก้าวทันความล้ำหน้านั้น ก็ยากยิ่งนักที่จะหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาได้ เพราะหากผู้ใช้ไม่สามารถทัดทานกระแสการบริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่เชี่ยว กรากอย่างปัจจุบันได้ นั่นคือช่องทางที่อาจถูกข่มเหงทางเทคโนโลยี
ปัจจุบัน 72 ประเทศทั่วโลก กว่า 162 โอเปอเรเตอร์ให้บริการในรูปแบบของ WCDMA ขณะ ที่เครื่องลูกข่ายก็พัฒนาให้มีน้ำหนักเบาลง ราคาถูกลง จำนวนเครื่องมีมากขึ้น ทำให้คนทั่วโลกมีโอกาสที่จะถือเครื่องลูกข่ายที่เป็น 3G เข้ามาในเมืองไทยมากขึ้น แต่ปัจจุบันนี้คนไทยมีโอกาสใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบรอดแบรนด์กว่า 6 แสนคน เพราะฉะนั้นประเทศไทยจึงดูเหมือนว่าคนทั่วไปจะไม่เรียกร้องในการเกิดขึ้นของ โทรศัพท์ 3G เท่าไรนัก ส่วนเรื่องของเทคโนโลยีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น 3G ไวแมกซ์ ไว-ไฟ บลูทูธ หรือเทคโนโลยีอื่นๆ ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่เป็นปัญหาสำหรับบริการความล้ำสมัยของไทย เพราะแต่ละเทคโนโลยีมีจุดดีอยู่ในตัว ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้มากกว่า
มีหลายมุมมองเกี่ยวกับนวัตกรรมล่าสุดบนธุรกิจโทรคมนาคมทั้งที่มองในด้าน ประโยชน์ของความรู้ทางเทคโนโลยี พัฒนาการของความทัดเทียมและเท่าทันการพัฒนาทางเทคโนโลยีโทรคมนาคมกับนานา ประเทศซึ่งล้วนมองถึงประโยชน์มากกว่าสิ่งอื่นใด แต่ขณะเดียวกันในมุมของผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างในด้านการคุ้มครองผู้ บริโภคก็มีความห่วงใยและวิตกกังวลว่าเทคโนโลยี 3G จะเป็นการพัฒนาที่แซงหน้าความรู้และความเท่าทันของผู้บริโภคไทยหรือไม่ และมีความหวั่นเกรงถึงความพร้อมของผู้ใช้ ความพร้อมของสังคมไทยที่จะรับมือกับความทันสมัย และรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดตามขึ้นมาได้อีกมากมาย
เรื่องความทันสมัยของโทรศัพท์ 3G กับสังคมไทยดูเป็นเรื่องชวนให้ถกเถียงและร่วมกันหาทางออกที่ดีที่เหมาะสม หากจะหาทางออกที่หลีกเลี่ยงปัญหาให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดและสร้างประโยชน์แก่ ประชาชนผู้ใช้บริการมากที่สุดนั้น เป็นสิ่งที่จำต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมากด้วยความถูกต้องเป็นธรรมตามสิทธิที่ ผู้บริโภคพึงจะได้รับอย่างเท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตามแต่ไม่ว่าจะมุมมองนักธุรกิจผู้ให้บริการหรือมุมมองของคนทั่วไป ผู้เขียนเห็นว่าสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าความทันสมัยทางเทคโนโลยี หรือการวิ่งให้ทันชาติอื่นๆ นั้น ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องควรจะให้ความสำคัญในสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ทุกๆ ด้านด้วยเช่นกัน