กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เตือนเบรกแตก – ยางระเบิด อันตรายถึงชีวิต


797 ผู้ชม


กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เตือนเบรกแตก – ยางระเบิด อันตรายถึงชีวิต

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย


           ระบบเบรกและยางรถยนต์เป็นอุปกรณ์สำคัญประจำรถที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในการเดินทาง  เพื่อความปลอดภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอแนะวิธีป้องกันและข้อควรปฏิบัติแก่ผู้ขับขี่กรณีเบรกแตกหรือยางระเบิด ดังนี้


กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เตือนเบรกแตก – ยางระเบิด อันตรายถึงชีวิต


ระบบเบรก 
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เตือนเบรกแตก – ยางระเบิด อันตรายถึงชีวิต
           การดูแลระบบเบรก  เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกอย่างน้อยปีละครั้ง  หลีกเลี่ยงการเหยียบเบรกอย่างรุนแรง   เพราะจะทำให้ผ้าเบรกเสื่อมประสิทธิภาพเร็วขึ้น  กรณีเหยียบเบรกแล้วเบรกจมหรือต่ำกว่าปกติ  มีเสียงดังขณะเบรก น้ำมันเบรกลดต่ำกว่าระดับที่กำหนด ให้นำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อให้ช่างดำเนินการตรวจสอบและเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ทันที
 
           กรณีเบรกแตก  เหยียบย้ำเบรกซ้ำแบบถี่อย่างแรงๆ  เพื่อให้ผ้าเบรกมีกำลังดีขึ้น  หากไม่สามารถควบคุมได้ให้ใช้เบรกมือช่วยโดยกดปุ่มล็อคไว้ พร้อมดึงเบรกมือขึ้นลงเป็นระยะ  เพื่อป้องกันเบรกมือสึกหรอ  กรณีเบรกมือใช้งานไม่ได้  ให้ลดระดับเกียร์ลงตามลำดับ  จะช่วยลดความเร็วของรถ  และรีบนำรถเข้าจอดริมข้างทาง

ยางรถยนต์ 
           การดูแลยางรถยนต์  หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้ยางเสื่อมสภาพเร็วขึ้น  เช่น ออกรถอย่างรุนแรง  เบรกกะทันหัน   ยางเบียดขอบถนนและบรรทุกสิ่งของที่มีน้ำหนักเกินพิกัด  เป็นต้น  รวมทั้งหมั่นตรวจสอบสภาพยางรถยนต์ หากสังเกตพบรอยบวบ  รอยฉีก หรือรอยแตกปริของหน้ายาง  ให้เปลี่ยนยางเส้นใหม่ทันที  
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เตือนเบรกแตก – ยางระเบิด อันตรายถึงชีวิต
           กรณียางระเบิด ให้จับพวงมาลัยให้มั่น  ค่อยๆ ถอนคันเร่ง  เหยียบย้ำเบรกแบบเบาอย่างถี่ๆ หรือลดระดับเกียร์เพื่อชะลอความเร็ว  กรณีรถแฉลบให้ดึงพวงมาลัยกลับมาในทิศทางตรงข้ามกับยางที่ระเบิด  ห้ามเหยียบเบรกหรือดึงเบรกมือกะทันหัน เพราะจะทำให้รถเสียหลักพลิกคว่ำ  รวมถึงห้ามเหยียบคลัทซ์โดยเด็ดขาด  เพื่อป้องกันรถลอยและบังคับยาก



อัพเดทล่าสุด