หัวผักกาดขาว: อาหารช่วยย่อยที่ดี


1,276 ผู้ชม


หัวผักกาดขาว: อาหารช่วยย่อยที่ดี

ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของหมอชาวบ้าน กับเว็บไซต์วิชาการดอทคอม
www.doctor.or.th 


หัวผักกาดขาว: อาหารช่วยย่อยที่ดี            อาหารสมุนไพร ที่ใช้รักษาอาการหรือโรคที่นำมาเสนอนี้ เป็นการศึกษาของประเทศจีน หากท่านผู้อ่านท่านใดได้เคยใช้ในการรักษาอาการ หรือโรคใดและได้ผล กรุณาแจ้งมายัง “หมอชาวบ้าน” เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลศึกษา และเผยแพร่เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป  จีนเป็นแหล่งกำเนิด แห่งหนึ่งของหัวผักกาดขาว และเป็นอาหารที่สำคัญชนิดหนึ่งของชาวจีน ชาวจีนได้รู้จักหัวผักกาดขาวมาเป็นเวลากว่า 2,000 ปีแล้ว ดังบันทึกไว้ในหนังสือเอ๋อหย่า ซือจิง และ เซินหนง เปิ่นฉ่าวจิง (ตำรายา)
           หัวผักกาดขาวมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Raphanus sativus L.
หัวผักกาดขาว: อาหารช่วยย่อยที่ดี สรรพคุณ
           หัวผักกาดขาว: มีรสเผ็ดหวาน คุณสมบัติเย็น (เป็นยิน) ช่วยย่อย แก้ไอมีเสมหะ ไม่มีเสียง อาเจียนเป็นโลหิต ท้องเสีย
           เมล็ด: มีรสเผ็ดหวาน คุณสมบัติเป็นกลาง แก้ไอมีเสมหะ และหืด ช่วยให้ย่อย ท้องเสีย
           ใบ: มีรสเผ็ดขม คุณสมบัติเป็นกลาง ช่วยย่อย เจ็บคอ ท้องเสีย ขับน้ำนม
หัวผักกาดขาว: อาหารช่วยย่อยที่ดี ตำรับยา
           1. อาการเรอเปรี้ยว: หั่นหัวผักกาดขาวดิบ 3-4 แว่นเคี้ยวกิน
           2. เสียงแห้งไม่มีเสียง: คั้นน้ำหัวผักกาดขาว แล้วเติมน้ำขิงเล็กน้อยดื่ม
           3. ไฟไหม้น้ำร้อนลวกหรือโดนสะเก็ดไฟ: ตำหัวผักกาดขาวให้แหลกแล้วพอกบริเวณที่เป็น หรือจะใช้เมล็ดทำให้แหลกแล้วพอกก็ได้
           4. ฟกช้ำดำเขียว (ไม่เป็นแผล): ใช้หัวหรือใบดำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณที่เป็น หรือใช้เมล็ด 60 กรัม ตำให้ละเอียด คลุกกับเหล้า (อุ่นให้ร้อน) พอกบริเวณที่เป็น
           5. แผลในปาก: คั้นน้ำหัวผักกาดขาวแล้วใช้บ้วนปากบ่อยๆ
           6. หวัด: ต้มหัวผักกาดขาวดื่มน้ำ
           7. ไอ: หัวผักกาดขาวพอประมาณใส่ขิงและน้ำผึ้งเล็กน้อยต้มดื่มน้ำ
หัวผักกาดขาว: อาหารช่วยย่อยที่ดี สารเคมีที่พบ
           ในหัวผักกาดขาวสดส่วนที่ใช้เป็นอาหารได้ 100 กรัม มีน้ำ 91.7 กรัม โปรตีน 0.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม ความร้อน 250,000 แคลอรี่ เส้นใยหยาบ 0.8 กรัม ash 0.8 กรัม คาโรทีน (Carotene) 0.02 มก.วิตามินบีหนึ่ง 0.02 มก. วิตามินบีสอง 0.04 มก. กรดนิโคตินิค (Nicotinic acid) 0.5 มก. วิตามินซี 30 มก. แคลเซียม 49 มก. ฟอสฟอรัส 34 มก. เหล็ก 0.5 มก. โปแตสเซียม 196 มก.ซิลิกอน 0.024 มก. แมงกานีส 1.26 มก. สังกะสี 3.21 มก. โมลิบดีนัม 0.125 มก. โบรอน 2.07 มก.ทองแดง 0.21 มก. นอกจากนี้ยังมีกลูโคส (Glucose) ซูโครส (Sucross) Fructose Coumaric acid,Ferulic acid, Gentisic acid, Phenylpyruvic acid และกรดอะมิโนหลายชนิด
           เมล็ด มีไขมัน เช่น: -Erucic acid, Linolenic acid และ Glycerol sinapate เป็นต้น น้ำมันหอมระเหยที่สำคัญคือ Methyl mercaptan นอกจากนี้ยังมีสารที่ยับยั้งแบคทีเรีย คือ Raphanin


หัวผักกาดขาว: อาหารช่วยย่อยที่ดี


หัวผักกาดขาว: อาหารช่วยย่อยที่ดี ผลทางเภสัชวิทยา
           1. สารที่ได้จากสารสกัดหัวผักกาดขาวด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีความไวต่อแบคทีเรียแกรมบวก และสามารถยับยั้งฟังใจ (Fungi)
           สารที่มีฤทธิ์เป็นกรดในหัวผักกาดขาวเมื่อฉีดเข้าไปใต้ผิวหนัง หนูตะเภาในปริมาณ 3 กรัม/กก. หรือฉีดเข้าท้องในปริมาณ 2 กรัม/กก. ไม่ได้แสดงพิษใดๆ แต่ถ้าฉีดเข้าได้ผิวหนังกระต่ายในปริมาณ 1 กรัม/กก. จะเกิดพิษเล็กน้อยเพียงชั่วคราวนอกจากนี้มีรายงานว่า น้ำที่คั้นจากหัวผักกาดขาวสามารถป้องกันการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี หรือใช้กับผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี
           2. เมล็ดหัวผักกาดขาวมีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย สาร Raphanin ในเมล็ด ในปริมาณความเข้มข้น 1 มก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้ง Staphylococcus และ Colibacillus อย่างเห็นได้ชัด
           นอกจากนี้ยังมีผลต่อการงอกของเมล็ดพืช ทุกชนิดด้วย ได้มีการสกัดน้ำมันชนิดหนึ่งจากเมล็ดหัวผักกาดขาว เรียก Sulforaphen ที่มีความเข้มข้น 1% มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของ Streptococcus, Micrococcus pyogenes,
           3. ฤทธิ์ในการยับยั้งฟังไจ: น้ำที่ได้จากการแช่เมล็ดหัวผักกาดขาว (1: 3) มีฤทธิ์ยับยั้งTrichophyton concentricum และฟังไจที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง 6 ชนิด ในระดับต่างๆ กัน
หัวผักกาดขาว: อาหารช่วยย่อยที่ดี
หัวผักกาดขาว: อาหารช่วยย่อยที่ดี พิษวิทยา
           สาร Raphanin ในหัวผักกาดขาวจะมีพิษเล็กน้อยต่อหนูตะเภา และหัวใจกบที่ทดลองนอกร่างกาย
หัวผักกาดขาว: อาหารช่วยย่อยที่ดี ข้อควรระวัง
           ผู้ที่มีอาการม้ามพร่อง คือ มีอาการท้องอืด แน่น เป็นประจำ กินอาหารแล้วไม่ค่อยย่อย มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก ไม่ควรกิน แต่ถ้ามีอาการท้องอืด แน่น ชั่วคราวเนื่องจากกินอาหารที่ย่อยยาก หรือกินมากเกินไป
           หัวผักกาดขาวมี Mustard oil ซึ่งมีรสเผ็ด เมื่อสารนี้รวมกับเอนไซม์ในหัวผักกาดขาว มีฤทธิ์กระตุ้นให้กระเพาะอาหารและลำไส้เคลื่อนไหว ทำให้กินอาหารได้มากขึ้น และยังช่วยย่อยอาหารอีกด้วย ดังนั้นหลังกินอาหารจำพวกเนื้อหรือของมันๆ ควรกินหัวผักกาดขาวสักเล็กน้อย
           เนื่องจาก Amylase ในหัวผักกาดขาวไม่ทนต่อความร้อน จะถูกทำลาย ณ อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส นอกจากนี้วิตามินซีก็ไม่ทนต่อความร้อนสูง ดังนั้นจึงควรกินหัวผักกาดขาวดิบๆ


ดูหัวข้ออื่นๆที่น่าสนใจ คลิกด้านล่าง


อัพเดทล่าสุด