คนเป็นหัวใจสำคัญของงาน
ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของวารสารจดหมายข่าว รักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียงและ วิชาการ.คอม
https://www.pttplc.com/TH/Default.aspx
สร้างคนในความหมายที่เป้นงานของโครงการฯ มองได้ลึกหลายระดับ เริ่มไปจากการต่อเนื่องของงานที่วิวัตน์มาจากงานปลูกป่า ความรู้ที่ได้มาจากงานปลูกป่าคือจะปลูกป่าให้ยั่งยืนต้องปลูกป่าในใจคนหรือข้อสังเกตที่ได้จากงานรางวัลลูกโลกสีเขียว พบว่ามีผู้คนจำนวนไม่น้อยกระจายกันอยู่ทั่วแผ่นดินไทย ทุกสาขาอาชีพ ทุกเพศเผ่าพันธุ์ มุ่งมั่นพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า ด้วยจิตสำนึกของตัวเขาเอง
ครั้นทอดสายตาออกไปเบื้องหน้า วิถีพอเพียงที่เป็นทางรอดสังคมไทยนั้นผู้คนขิงเราจำต้องรู้ตัวรู้ตนเสียก่อน เขาจึงจะรู้ว่าสิ่งไหนควร สิ่งไหนพอประมาณสำหรับเขาและสำหรับท้องถิ่นของเขาเอง เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่เขาจะต้องคิดด้วยตนเอง
งานสร้างคนจึงมีความจำเป็นทั้งในความหมายที่แคบและกว้าง เช่นนี้เอง
ครั้นมาได้ฟังแง่คิดความเห็นของนักวิชาการและปราญ์ชาวบ้าน การสร้างคนกลับเป็นภาระกิจสำคัญที่จะต้องทำก่อนอื่นใด ความหมายยิ่งแจ่มชัดและหลากหลายมุมมองยิ่งขึ้น
ดร.ธันวา จิตสงวน หนึ่งในกรรมการที่ปรึกษาโครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง ให้ข้อสังเกตว่า ชื่อโครงการฯ น่าจะเป็นคำสำคัญให้เราได้ยึดมั่นไม่หลงทาง เช่น “รักษ์ป่า” ก็คือรู้จักใช้ รู้จักรักษาทรัพยากรธรรมชาติ “สร้างคน” ตำนี้ยิ่งสำคัญมาก หมายถึง งานของเราเน้นเรื่องการสร้างคนที่มีคุณภาพที่คิดเองเป็น
สำหรับประยงค์ รณรงค์ ปราชญ์ชาวบ้านแห่งชุมชนไม้เรียง นครศรีธรรมราชเห็นว่า โครงการฯ เน้นเรื่องสร้างคนนั้นถูกต้องอย่างยิ่งแล้ว กิจกรรมต่างๆ ควรเน้นเรื่องการสร้างคนให้มากขึ้น เพราะปัญหาส่วนใหญ่เกิดและแก้ได้ที่คนก่อน กระบวนการสร้างคนต้องให้ทั้งความรู้และปัญญาควบคู่กันไป เมื่อคนมีความสามารถในการดูแลตนเองแล้ว ก็จะแก้ไขปัญหาเรื่องส่วนรวมหรือสังคมได้
เล็ก กุดวงค์แก้ว ปราชญ์ชาวบ้านแห่งที่ราบสูงสกลนคร ให้รายละเอียดยิ่งขึ้นกว่าการให้ความสำคัญกับคนนั้นถูกต้องอย่างยิ่ง และควรมีผลมากำหนดการทำงานของโครงการฯ เองด้วย ควรเริ่มต้นตั้งแต่การสร้างความสัมพันธ์คุ้นเคยกับชาวบ้านให้เหมือนกับญาติ มิตรของตน หลีกเลี่ยงการพูดในลักษณะท่าทีแบบเจ้านายกับชาวบ้านอันเป็นเหตุสำคัญหนึ่ง ที่ทำให้งานพัฒนาย่ำเท้าอยู่กับที่ตั้งแต่ยุคผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุมโน่นแล้ว
ความจำเป็นให้เกิดสัมพันธ์คุ้นเคยก็เพื่อเอื้อให้เกิดการพุดคุยปรับทุกข์ถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านเองตั้งแต่หนหลังมา จวบมาถึงวันนี้ การพูดคุยเช่นนี้ก่อให้เกิดความเห็นอกเห็นใจ รู้และเห้นปัญหาร่วมกัน เห็นภัยคุกคาม และการติดขัดของการแก้ไขปัญหา ทั้งหมดนี้คือความทุกข์ที่ชาวบ้านได้รับอยู่
ชาวบ้านจะรับรู้ด้วยตนเองว่า อยู่อย่างทุกวันนี้ไม่ได้แล้วเจ้าหน้าที่โครงการฯ ต้องให้กำลังใจเขา ร่วมหารือถึงทางออกภายใต้ความพอเพียง
ส่วนอัมพร ด้วงปาน ปราชญ์ชาวบ้านจากสงขลา ให้ความเห็นอย่างหนักแน่นว่า โครงการฯ นี้แตกต่างจากโครงการอื่นๆ อย่างชัดเจนตรงที่นำเอาเรื่องการสร้างคนมากำหนดเป็นงานของโครงการฯ การสร้างคนเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าเราไม่ทำแล้วใครเขาจะทำเพราะคนส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการทำเรื่องยากๆ
ความหมายของการสร้างคนต้องเริ่มต้นจากความเข้าใจเข้าใจคน เข้าใจวิถีชีวิตของชาวบ้าน เจ้าหน้าที่โครงการฯ ต้องไม่ไปคิดแทยชาวบ้าน โดยสำคัญว่าตนมีความรู้มากกว่า ไม่เอาตนเองเป็นที่ตั้ง ไม่ควรใช้คำว่า ‘นั่นถูก’ และ ‘นี่ผิด’ แต่ควรใช้คำว่า ‘เหมาะสม’ หรือ ‘ไม่เหมาะสม’ จะดีกว่า
ปราชญ์ชาวบ้านจากดินแดนด้ามขวานท่านนี้ให้ข้อสังเกตว่าปัญหาสังคมทุกวันนี้ถึงทางตัน เพราะคนไปทำลายธรรมชาติ เมื่อธรรมชาติถูกทำลายคนเราก็ไม่สามารถรู้ความจริงอะไรได้เพราะธรรมชาตินอกจากปัจจัย 4 ให้กับคนแล้ว ธรรมชาติยังคือความจริงแท้อีกด้วย และย้ำว่าเราต้องสร้างคนให้เข้าใจและรู้คุณค่าของธรรมชาติ
ส่วนปราชญ์จากที่ราบสูง เล็ก กุดวงค์แก้ว ยังให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่โครงการฯ กับชาวบ้านว่า
“การพูดคุยกันโดยอยู่บนความเท่าเทียมกัน จะช่วยให้ชาวบ้านฟื้นฟูความเชื่อมั่นตนเอง ลบความรู้สึดด้อย และมองเห็นความรู้ของตนเองที่มีอยู่ ซึ่งมันถูกทำลายไปจากการพัฒนาสังคมสมัยก่อนการเห็นเหตุปัจจัยต่างๆ อย่างนี้ทำให้เกิดปัญญา”
“ปัญญา คือการรู้ความเป็นจริงที่เป็นอยู่ สอดคล้องกับหลักพุธทศาสนาที่ให้เรารู้ถึงความเป็นจริงในปัจจุบัน”