จำเป็นสำหรับ พนักงานเจาะเลือด : การเจาะเลือด ขั้นตอนการเจาะเลือด วิธีเจาะเลือด


1,342 ผู้ชม


เตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้อง “เจาะเลือด”

ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของ
สสส. และ วิชาการดอทคอม
ที่มา
www.thaihealth.or.th


           ปัญหาเหตุการณ์บ้านเมืองขณะนี้คงพูดได้ว่าร้อนระอุพอๆ กับโลกที่กำลังร้อนขึ้นๆ ทุกๆวัน การดูแลรักษาสุขภาพอนามัยจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอันดับต้นๆ ที่เราควรจะดูแลเอาใจใส่ ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ การป้องกันที่ถูกวิธี อีกทั้งยังมีเจ้าพวกโรคร้ายที่เกี่ยวกับโรคระบาด  ยิ่งต้องทำให้ระมัดระวังให้มากขึ้น


จำเป็นสำหรับ พนักงานเจาะเลือด : การเจาะเลือด ขั้นตอนการเจาะเลือด วิธีเจาะเลือด


           เห็นอย่างนี้แล้วอดห่วงกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ได้ ที่ได้ทยอยกันเจาะเลือดเพื่อการบริจาคเลือด(10 ซีซี) ซึ่งมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้ออย่างมาก โดยเฉพาะเชื้อเอสไอวี(HIV) และ ไวรัสตับอักเสบประเภทบี ซึ่งการเจาะเลือดต้องได้รับการกระทำที่ถูกต้อง
           น.ท.พญ.อุบลวัณณ์  จรูญเรืองฤทธิ์  รองผอ.ศูนย์บริการโลหิต สภากาชาดไทย ได้ออกมาเตือนถึงการเจาะเลือด ตามกฏกระทรวงว่าโลหิตที่เจาะถือว่าเป็นของติดเชื้อห้ามไม่ให้ผู้ใดกระทำการ เพื่อให้แพร่กระจายของมูลฝอย เพราะมีโอกาสแพร่กระจายของเชื้อโรคเพราะเชื้อบางอย่างทนอากาศร้อนหรือปะปนไป กับน้ำดื่มเช่นไวรัสตับอักเสบชนิดบี เอชไอวี เพราะเชื้อสามารถกระจายไปในที่สาธารณะได้
           บุคคลที่สามารถจะทำการเจาะเลือดได้ต้องเป็นผู้บุคคลากรทางการแทพย์ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ ที่มีใบอนุญาตผู้ประกอบโรคศิลป์ และการเจาะเลือดคนละ 10 ซีซีนั้นก็ไม่ได้มากเกิน แต่ความพร้อมของร่างกายแต่ละคนต่างกัน หากผู้เจาะมีโรคประจำตัวอยู่แล้วอาจมีการกำเริบของโรคที่เป็นอยู่แล้ว เพราะร่างกายไม่พร้อม ถึงจะเอามาเพียงแค่ 10 ซีซีก็เหอะ อาจส่งผลให้มีภาวะแทรกซ้อนตามมาดังนั้นอะไรที่เป็นความเสี่ยงต่อโรค ทางเราก็อยากให้หลีกเลี่ยง
           การรับบริจาคเลือดทั่วไปปกติอยู่ที่ 350-450 ซีซี แต่ก็ไม่สามารถที่จะทำการบริจาคได้ทุกคน เพียงขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละบุคคล เช่นน้ำหนัก การพักผ่อน ของผู้บริจาค
จำเป็นสำหรับ พนักงานเจาะเลือด : การเจาะเลือด ขั้นตอนการเจาะเลือด วิธีเจาะเลือด
           เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่ต้องการบริจาคเลือด เรื่องที่สำคัญอันดับแรกๆ ก่อนที่จะไปบริจาคเลือด คือ ต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี, ชนิดซี, ซิฟิลิส, เชื้อ HIV อย่าง น้อย 3 เดือนก่อนการบริจาคเลือด หลีกเลี่ยงการรับประทานหวานจัดหรือมันจัดก่อนการบริจาคเลือดเพราะจะทำให้ พลาสมาขุ่น ต้องอยู่ในสภาพแข็งแรงและสบายดี หลีกเลี่ยงการบริจาคเลือดหากรู้สึกไม่สบาย หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ
           หลังจากที่ได้บริจาคเลือดแล้ว ควร

1. นอนพักสักครู่หลังการบริจาคเลือด ห้ามลุกขึ้นจากเตียงทันที เพราะอาจเวียนศีรษะเป็นลมได้

2. ควรรับประทานขนมหวานและน้ำหวานที่จัดเตรียมไว้ให้

3. เปลี่ยนสำลีปิดแผลด้วยปลาสเตอร์ปิดแผล ซึ่งควรดึงออกทิ้งในตอนเย็นของวันนั้น

4. หากมีอาการผิดปกติ ทั้งก่อน ขณะหรือหลังการบริจาคเลือด เช่น หน้ามืดเวียนศีรษะ ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบทันที

5. หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือประวัติที่ทำให้ไม่สามารถบริจาค เลือดได้ กรุณาสอบถามจากเจ้าหน้าที่และขอคำปรึกษาแนะนำจากแพทย์

6. หากมีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นหลังการบริจาคเลือด ควรติดต่อภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด โรงพยาบาลศิริราช ตึก 72 ปี ชั้น 3 หรือโทรศัพท์แจ้งที่หมายเลข 0 – 2412 – 2424
           ทางที่ดีที่สุดเมื่อบริจาคเลือดเสร็จแล้วอย่าอยู่ในที่ร้อนจัด หรืออบอ้าวจนเกินไป เพราะจะทำให้หน้ามืดหมดสติถึงขั้นช็อคได้
           รู้อย่างนี้แล้ว!! ก่อนบริจาคเลือดครั้งต่อไป เตรียมตัวเอาไว้ก่อนก็ดีนะครับ!



อัพเดทล่าสุด