เบื้องหลัง "น้ำมันปลา"


1,031 ผู้ชม


เบื้องหลัง "น้ำมันปลา"

เบื้องหลัง "น้ำมันปลา"


          แต่เดิมน้ำมันที่สกัดได้จากปลาโดยเฉพาะตับ ถือว่าเป็นแหล่งของวิตามิน เอ และ วิตามิน ดี ที่สำคัญ ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันน้ำมันตับปลาจะสกัดมาจากตับปลา บางชนิดเช่น ปลาค้อท

          ปัจจุบันเมื่อความรู้ทางโภชนาการเกี่ยวกับน้ำมันจากปลามีมาก ขึ้น จึงมีผู้สกัดน้ำมันจากหนังปลาและเนื้อปลาออกขายในรูปแบบแคปซูลหรือบรรจุขวด น้ำมันปลานอกจากมีวิตามิน เอ และวิตามิน ดี แล้ว ไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides) ของน้ำมันปลาจะมีปริมาณกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 ค่อนข้างสูงและมีกรดไขมันพวก monoenoic สูงด้วย

          หลายคนยังมีความเข้าใจผิดเรื่องน้ำมันตับปลา และน้ำมันปลา ซึ่งทั้งสองมีความ แตกต่างกัน แม้ว่าทำมาจากปลาเหมือนกัน 

         
เบื้องหลัง "น้ำมันปลา" น้ำมันปลา หมายถึงน้ำมันที่อยู่ในเนื้อปลาทะเลหลายชนิดและปลาน้ำจืดบางชนิด ซึ่งน้ำมันปลานี้จะแทรกซึมอยู่ในเนื้อปลา หนังปลา หัวปลาและหางของปลา โดยเฉพาะ ปลาทะเล อย่างปลาซาร์ดีน ปลาเฮอร์ริ่ง ปลาแมคคอเรล ปลาแซลมอนและทูน่า สำหรับปลาทะเลไทย

          กลุ่มโอเมก้า 3 ปริมาณสูงจะมีใน ปลาทู ปลากระพง ปลาตาเดียว 

         
เบื้องหลัง "น้ำมันปลา" ส่วนน้ำมันตับปลา นั้นสกัดจากตับของปลาทะเลและนิยมรับประทานเฉพาะเพื่อ เสริม วิตามิน เอ และวิตามิน ดี กรดไขมัน กลุ่มสำคัญที่มีการอ้างว่า ดีต่อสุขภาพได้แก่ Eicosapentanoic acid (EPA) Docosahexenoic (DHA)

          กรดไขมันทั้ง 2 ตัวนี้ เป็นอนุพันธ์ของ แอลฟ่าไลโนเลอิค แอซิด การเพิ่มพันธะคู่ จำนวนคาร์บอนในห่วงโซ่คาร์บอนของ แอลฟ่าไลโนเลอิค แอซิด ให้กลายเป็นอนุพันธ์ ทั้ง 2 ชนิดจะเกิดได้ดีในหนู แต่ในคนจะเกิดขึ้นได้น้อยมาก ดังนั้นแหล่งของสารทั้ง 2 ชนิด ที่สำคัญจึงได้รับจากอาหาร อาหารที่มีกรดไขมันทั้ง 2 ชนิดนี้มากก็คือ ปลาทะเล หรือน้ำมันจากปลาทะเล โดยเฉพาะปลาที่อาศัยในทะเลเขตหนาว เช่น แมคคลอเรล เฮอร์ริ่ง
          ในปัจจุบัน น้ำมันจากปลาทะเล กำลังได้รับความสนใจในแง่การใช้เพื่อลดไขมัน ในเลือด และป้องกันการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด จริงหรือไม่ก็ยังไม่สามารถ ที่จะสรุปผลลงไปได้ แต่จากการศึกษาทดลองพบว่า ผลเสียที่พบหลังจากที่รับประทานน้ำมันปลา คือ
เบื้องหลัง "น้ำมันปลา"
             1. เมื่อใช้แล้วเกิดอาการเลือดกำเดาไหลไม่หยุด
             2. อาจเป็นสารก่อมะเร็งได้ด้วย
             3. อาจทำให้เกิดสภาวะการขาดวิตามิน อี ได้
             4. อาจเกิดความเป็นพิษจากการรับประทานวิตามิน เอ หรือ ดี มากเกินไป
             5. น้ำหนักเพิ่มขึ้น อ้วนขึ้น
             6. ทำให้ระดับของพลาสม่าลดลงเป็นการเพิ่มน้ำตาลในเลือด
             7. มีความเป็นไปได้ว่าอาจมีสารพิษหรือว่าโลหะตกค้าง

          ถึงแม้ว่า การศึกษาในสัตว์หรือในคนจะชี้ให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่จะใช้ น้ำมันปลาในการลดไขมันในเลือด และลดอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด แต่การนำมาใช้ในการปฏิบัติจริงๆ ยังต้องมีการศึกษาข้อมูลกันต่อไปในอนาคต เนื่องจาก ดังที่กล่าวไปแล้วว่า

          ในทางคลีนิควิทยายังไม่มีการมาระบุว่าเหมาะกับการใช้ในคนป่วย นอกจากเราต้องกินน้ำมันปลาวันละ 10-30 แคปซูลต่อวัน เพื่อให้ได้ประโยชน์ ซึ่งขนาดดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย หรือแม้กระทั่งเกิดพิษ ดังที่ได้บอกกันไปแล้วข้างต้น นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์น้ำมันปลานี้ เป็นผลิตภัณฑ์เสริม อาหารในการขึ้นทะเบียนไม่ใช่ยา จึงไม่สามารถยืนได้ถึงผลการใช้เพื่อรักษา

          เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว ท่านคงมีการคิดพิจารณาอย่างถ้วนถี่ ก่อนที่จะซื้อมา รับประทานเพื่อบำรุงร่างกาย เพราะแทนที่จะบำรุงอาจได้ผลตรงกันข้าม เสียเงินไม่พอ ยังเสียใจ และอาจเสียสุขภาพ ต้องตามรักษากันอีกยาวนาน


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก ladyissue.com


อัพเดทล่าสุด