เมลิออยโดซิส การป้องกัน - งานวิจัยโรคเมลิออยโดซิส รู้จักหรือยัง?.


1,251 ผู้ชม


รู้จักหรือยัง?...โรคเมลิออยโดซิส

ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของ
สสส. และ วิชาการดอทคอม
ที่มา
www.thaihealth.or.th 


ภัยแฝงในดินและน้ำ

           เมลิออยโดซิส (Melioidosis)...เป็นโรคติดเชื้ออีกโรคหนึ่งที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ  ซึ่งสถานการณ์ของโรคในประเทศไทย จากการรายงานของกรมควบคุมโรค เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2550 มีผู้ป่วย 789 ราย เสียชีวิต 6 ราย จากการพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้มีอาการหลายรูปแบบ ที่อาจคล้ายคลึงกับโรคอื่นๆ เช่น มาลาเรีย วัณโรค จึงได้ชื่อว่า “ยอดนักเลียนแบบ” เมลิออยโดซิส เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Burkholderia pseudomalliei ซึ่งพบได้ในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น แพะ แกะ โค กระบือ โรคนี้พบได้ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  สำหรับ ประเทศไทยมีถิ่นระบาดในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ พบได้ทั่วไปในบริเวณระบาดโดยเฉพาะในดินและน้ำ มักพบในฤดูฝนหลังจากที่มีฝนตกประมาณ 1-2 เดือน ซึ่งคาดว่าเกิดจากการที่น้ำชะเอาเชื้อที่อยู่ในดินขึ้นมาอยู่ที่บริเวณผิว ดิน ซึ่งเพิ่มโอกาสการติดเชื้อได้ง่าย


เมลิออยโดซิส การป้องกัน - งานวิจัยโรคเมลิออยโดซิส รู้จักหรือยัง?.


เมลิออยโดซิส การป้องกัน - งานวิจัยโรคเมลิออยโดซิส รู้จักหรือยัง?.การติดต่อของโรค
           ทั่วไปสามารถติดต่อจากการสัมผัสกับดินหรือน้ำ ผ่านทางแผลที่ผิวหนัง หรือหายใจเอาฝุ่นจากดิน หรือดื่มน้ำที่มีเชื้อเจือปนอยู่เข้าไป เชื้อเมลิออยโดซิส สามารถอยู่ได้ในซากสัตว์ที่อยู่ในดินและน้ำ สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคเมลิออยโดซิส ส่วนใหญ่คือผู้ที่มีอาชีพที่ต้องสัมผัสดินและน้ำโดยเฉพาะ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคไตและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ เช่น ติดสุราหรือทานยากดภูมิคุ้มกัน โรคนี้ก็อาจเข้าแทรกซ้อนได้ เพราะเชื้อโรคชนิดนี้มีความพิเศษตรงที่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองโดยหลบหลีก ระบบการตรวจสอบสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย  ทำให้สามารถ หลบซ่อนอยู่ในร่างกายของเราได้นาน 20-30 ปี แต่ทั้งนี้ระยะฟักตัวอาจสั้นเพียง 2 วันหรือเป็นปี ขึ้นอยู่กับระยะการติดเชื้อและอาการของโรค

เมลิออยโดซิส การป้องกัน - งานวิจัยโรคเมลิออยโดซิส รู้จักหรือยัง?.อาการและอาการแสดง
           เมื่อเชื้อเมลิออยโดซิสเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดการอักเสบตามอวัยวะต่างๆ ได้ทุกระบบ อาการของโรคจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อและความต้านทานโรคของร่างกาย
           อาการโดยทั่วไป ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หายใจไม่สะดวก หรือหอบเหนื่อย ซึมแบบไม่รู้ตัว ผู้ป่วยบางรายมีอาการคล้ายโรคปอดบวมรุนแรง บางรายมีอาการคล้ายวัณโรค ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการและอาการแสดงได้หลายรูปแบบ ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 แบบใหญ่ๆ คือ
           1.อาการไข้นานไม่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วยบางรายมีไข้เป็นเวลานานโดยไม่ทราบสาเหตุ น้ำหนักลด ต่อมาจึงเกิดอาการรุนแรงขึ้น
           2.การติดเชื้อเฉพาะที่ (Localized melioidosis) ส่วนใหญ่พบการ   ติดเชื้อที่ปอด เรียก pulmonary melioidosis ซึ่ง จะมีอาการเหมือนปอดอักเสบ คือ มีไข้ ไอมีเสมหะเล็กน้อย น้ำหนักลด บางรายไอมีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก พบว่าการเกิดโรคมีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเรื้อรัง บางรายอาจมีอาการของฝีในตับ ฝีในกระดูกหรือเป็นเพียงฝีที่ผิวหนังเท่านั้น ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้อง อาจเกิดอาการรุนแรงขึ้น
           3.การติดเชื้อแบบแพร่กระจายเชื้อไปทั่ว / ติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemic melioidosis) เชื้อจะกระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปทั่วร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่มักเสียชีวิตภายใน 2-3 วัน
เมลิออยโดซิส การป้องกัน - งานวิจัยโรคเมลิออยโดซิส รู้จักหรือยัง?.
ความรุนแรงของโรค มีสาเหตุสำคัญมาจาก

           • การตรวจวินิจฉัยได้ช้า ไม่ทันท่วงทีต่อการรักษา
           • การ ได้รับการรักษาช้า และการรักษาไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เช่น ให้ยาปฏิชีวนะที่เชื้อดื้อยา จำเป็นต้องให้ยาที่รักษาโดยเฉพาะ เนื่องจากเชื้อดื้อยาต่อยาปฏิชีวนะเกือบทุกชนิดในปัจจุบัน
           • ปัจจัยจากตัวเชื้อเองที่ทำให้มีความรุนแรงมากกว่าเชื้อชนิดอื่นๆ
           • ปัจจัยพื้นฐานเรื่องสภาพของผู้ป่วย ซึ่งมีความสามารถในการต้านทานต่อเชื้อได้ต่างกัน

เมลิออยโดซิส การป้องกัน - งานวิจัยโรคเมลิออยโดซิส รู้จักหรือยัง?.การวินิจฉัยโรค

           เนื่องจากอาการของโรคคล้ายกับโรคติดเชื้ออื่นหลายชนิด อาจทำให้การวินิจฉัยผิดได้ ซึ่งจะมีผลต่อการรักษา เพราะการรักษาโรคเมลิออยซิสมีรูปแบบจำเพาะไม่เหมือนโรคติดเชื้ออื่น จำเป็นต้องพัฒนาวิธีการตรวจอย่างมีประสิทธิภาพ การวินิจฉัยจึงต้องตรวจยืนยัน โดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยเฉพาะ ซึ่งถือเป็นวิธีมาตรฐาน
เมลิออยโดซิส การป้องกัน - งานวิจัยโรคเมลิออยโดซิส รู้จักหรือยัง?.แนวทางการรักษาเมลิออยโดซิส การป้องกัน - งานวิจัยโรคเมลิออยโดซิส รู้จักหรือยัง?.

           1.แยกผู้ป่วยไม่ให้ผู้อื่นสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งจากทางเดินหายใจและโพรงจมูก
           2.นำสิ่งส่งตรวจ (Specimen) ของ ผู้ป่วย เช่น เลือด ปัสสาวะ เสมหะหรือหนองมาเพาะเลี้ยง แล้วนำมาทดสอบดูว่ามีเชื้อนี้อยู่หรือไม่ ซึ่งจะใช้เวลา 3-5 วัน จึงจะรู้ผล
           3.ให้ยาปฏิชีวนะแก่ผู้ป่วย โดยให้ยาฉีดในระยะแรก 2 สัปดาห์ และให้ยารับประทานต่อจนครบ 20 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

เมลิออยโดซิส การป้องกัน - งานวิจัยโรคเมลิออยโดซิส รู้จักหรือยัง?.การป้องกัน
           1. ป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผลเมื่อต้องสัมผัสดินและน้ำ หรือรีบทำความสะอาดร่างกายหลังการทำงาน ในบุคคลที่มีอาการของโรคเบาหวาน และแผล บาดเจ็บ รุนแรง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดินและน้ำ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้อาจต้องสวมถุงมือ รองเท้ายาง เพื่อป้องกัน
           2.หากมีแผลถลอกหรือไหม้ ซึ่งสัมผัสกับดินหรือน้ำในพื้นที่ที่เกิดโรค ควรทำความสะอาดทันที
           3. เมื่อมีบาดแผลและเกิดมีไข้ หรือเกิดการอักเสบเรื้อรัง ควรรีบไปพบแพทย์นอกจากนี้แล้ว การมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต่างๆ และการดูแลสุขภาพของร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ได้...


เมลิออยโดสิส

ธรรมชาติของโรคเมลิออยโดสิส

 ลักษณะโรคเมลิออยโดสิส

เมลิออยโดสิสเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรีย พบมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย มาเลเซีย
เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เกาหลี พม่า เขมร ลาว) และทางเหนือของทวีปออสเตรเลีย 

เชื้อสามารถก่อโรคได้ทั้งในคนและสัตว์ โดยแสดงอาการทางคลินิกได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งชนิดเฉียบพลันหรือแบบเรื้อรัง ในกรณีเฉียบพลันถ้าเชื้อเข้าสู่กระแสโลหิต จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ภายใน 1-3 วัน แม้จะได้รับการวินิจฉัยและรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่ถูกต้องก็ตาม ส่วนชนิดเรื้อรัง สามารถทำให้เกิดอาการหลังติดเชื้อได้นานตั้งแต่เป็นเดือน หรือนานหลายปี โดยแสดงอาการได้ทั้งเกิดอาการไข้เรื้อรัง ไอเรื้อรัง ก้อนฝีที่ต่อมน้ำเหลือง ฝีภายในอวัยวะช่องท้อง โดยเฉพาะที่ตับ ม้าม ไต ต่อมลูกหมาก ฝีหรือโพรงฝีในปอดคล้ายวัณโรค ผิวหนัง ข้อหรือกระดูกอักเสบเรื้อรัง การติดเชื้อแบบเรื้อรัง ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่ถูกต้องสามารถทำให้เกิดอาการแบบเฉียบพลันขึ้นมาใหม่ได้

สาเหตุของโรคเมลิออยโดสิส

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียแกรมลบชนิดแท่งชื่อ Burkholderia pseudomallei เป็นเชื้อพบได้ในดินและแหล่งน้ำธรรมชาติโดยเฉพาะในนาข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เชื้อ B. pseudomallei เป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีความคงทนและสามารถปรับตัวให้เจริญเติบโตในสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกันมากได้เป็นอย่างดีสามารถเจริญเติบโตได้ในธรรมชาติที่อุณหภูมิระหว่าง 15-42 องศาเซลเซียสและในดินหรือน้ำที่มี pH ตั้งแต่ 2.8-9 สามารถเพาะแยกเชื้อได้จากชั้นใต้ดินที่ความลึกต่างๆมากกว่าบริเวณผิวดินการศึกษาในถิ่นระบาดที่ประเทศออสเตรเลียพบว่า สามารถแยกเชื้อได้จากชั้นดินลึกถึง 24- 45 ซม . จากผิวดินเช่นเดียวกับการศึกษาในประเทศไทยที่พบว่าสามารถแยกเชื้อชนิดนี้จากชั้นดินที่ลึกถึง 90 ซม. จากผิวดิน

วิธีการติดต่อของโรคเมลิออยโดสิส

            •  การติดต่อทางผิวหนัง เชื่อว่าเป็นช่องทางหลักสำคัญในการเข้าสู่ร่างกาย เพราะเชื้อ B. pseudomallei อยู่ในดินและน้ำ จึงมักพบผู้ป่วยจำนวนมากในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพกสิกรรม หรือต้องสัมผัสกับดินและน้ำอยู่ตลอดเวลา โดยเชื้อเข้าทางบาดแผล แม้รอยถลอกเล็กน้อย

           •  การติดต่อทางหายใจ เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สำคัญ เพราะมักพบการก่อโรคชนิดปฐมภูมิที่ปอดร่วมด้วย

           •  การติดต่อทางการกิน เชื่อว่าเป็นช่องทางติดต่อที่สำคัญของการติดโรคในสัตว์ แต่ยังไม่มีรายงานยืนยันในคน

            •  การติดต่อระหว่างคนสู่คนมักพบน้อยมาก มักจะพบในการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก หรือกรณีสัมผัสกับผู้ป่วยชนิดแพร่กระจายอย่างใกล้ชิด

•  การติดเชื้อจากสิ่งแวดล้อมหรือในโรงพยาบาล มีอุบัติการณ์น้อยมาก พบจากรายงานตัวอย่างละ 1 รายงาน จากการได้รับเชื้อโดยตรงจากอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการแล้วสัมผัสเชื้อ หรือมีการปนเปื้อนของเชื้อเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย มีรายงานพบการปนเปื้อนเชื้ออยู่ในน้ำยาฆ่าเชื้อได้

ระยะฟักตัว

แบบเฉียบพลัน ระยะเวลาสั้นเฉลี่ย 3-7 วัน มักเกิดอาการชนิดรุนแรง

แบบเรื้อรัง ตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์จนถึงเป็นเดือน เป็นปี หรือหลายปีมักมีอาการมาด้วยแผลเรื้อรัง ไข้เรื้อรัง ไอเรื้อรัง ปอดอักเสบเรื้อรังคล้ายวัณโรค ฝีหรือก้อนฝีที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง หรือพบในหลายๆอวัยวะพร้อมๆกัน

อาการและอาการแสดงโรคเมลิออยโดสิส 

อาการของโรคในคน

อาการและอาการแสดงของโรคนี้อาจพบได้หลายรูปแบบ ในที่นี้จะแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ

•  การติดเชื้อในกระแสโลหิต (septicemic melioidosis) ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลจะมีการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วย เชื้อจะกระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปทั่วร่างกาย ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะมีภาวะช็อกและเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว

•  อาการของการติดเชื้อเฉพาะที่ การติดเชื้อในปอด (pulmonary melioidosis) มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะพบการติดเชื้อที่ปอด ซึ่งจะมีอาการเหมือนปอดอักเสบคือ มีไข้ ไอมีเสมหะ บางรายเสมหะอาจมีลักษณะเป็นหนองได้ อาการของผู้ป่วยอาจเป็นแบบเฉียบพลัน หรือค่อยเป็นค่อยไป มีอาการเรื้อรังมานานเกิน 1 เดือนได้ น้ำหนักลดบางรายไอมีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก ลักษณะอาการดังกล่าวทำให้แยกได้ยากจากวัณโรคปอดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โรคนี้ทำให้เกิดการอักเสบที่ทางเดินปัสสาวะได้บ่อย ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหลังบริเวณเอว

ฝีในตับหรือม้าม ผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสที่มีอาการปวดท้อง หรือคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วยพบได้บ่อย และในรายที่มีอาการรุนแรงมักตรวจพบการทำงานของตับผิดปรกติการติดเชื้อที่ผิวหนัง ต่อมน้ำเหลือง กล้ามเนื้อหรือข้อต่าง ๆ โรคเมลิออยโดสิสเป็นสาเหตุสำคัญของต่อมน้ำเหลืองอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ (pyomyositis) กระดูกอักเสบ (osteomyelitis) ซึ่งไม่ได้เกิดตามหลังอุบัติเหตุ ตลอดจนข้ออักเสบต่าง ๆ โดยอาจพบได้ในเกือบทุกข้อ โดยเฉพาะที่ ข้อที่มีการรับน้ำหนักหรือมีความเจ็บป่วยอยู่ก่อน ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หรือโรคไต ภาวะเหล่า นี้พบได้ประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสที่เป็นผู้ใหญ่ โดยประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยเหล่านี้มีการติดเชื้อที่อวัยวะอื่น ๆ ร่วมด้วย การติดเชื้อในระบบประสาท กลุ่มอาการนี้พบประมาณร้อยละ 1-5 ของผู้ป่วยโรคนี้เท่านั้น โดยสรุปลักษณะทางคลินิกของโรคนี้สามารถคล้ายโรคอื่นๆ ได้เกือบทุกโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของอวัยวะที่เกิดโรค


อาการของโรคในสัตว์

สัตว์ที่มักติดเชื้อได้ง่าย ได้แก่ สุกร แพะ แกะ รองลงมา คือ โค กระบือ ม้า สุนัข สัตว์แทะ และนก นอกจากนี้ปลาโลมา สัตว์ตระกูลลิง สัตว์ป่าหลายชนิด และสัตว์ทดลองเช่น หนูแฮมสเตอร์ หนูตะเภา และกระต่ายก็ติดเชื้อได้เช่นกัน การติดเชื้อเกิดจากการได้รับเชื้อจากสิ่งแวดล้อม หนองน้ำหรือในโคลนตมที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ โดยมีสัตว์ฟันแทะเป็นต้นตอสำคัญของการกระจายเชื้อ เชื้อที่ถูกปล่อยออกมาจะคงอยู่ได้นานหลายเดือนในน้ำและดินที่ชุ่มชื้น ในพื้นที่เขตร้อนชื้นระหว่างที่มีฝนตกหนักและน้ำท่วมจะทำให้อุบัติการณ์ของโรคสูงขึ้น สัตว์ติดเชื้อได้ทั้งการกิน การหายใจ และทางบาดแผล การติดเชื้อผ่านทางแมลงกัดพบได้น้อย การติดต่อระหว่างสัตว์สู่สัตว์จะมีค่อนข้างน้อย จะเกิดได้ต่อเมื่อมีการสัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือสารหลั่งที่มีเชื้อปนอยู่จำนวนมาก ซึ่งอาจรวมถึงปัสสาวะ น้ำมูก หรือน้ำนมด้วย ตำแหน่งที่สัมผัสเชื้อก็มีผลต่อการติดเชื้อเช่นกัน ระยะฟักตัวของโรคอาจใช้เวลาตั้งแต่หลายวันจนถึงเป็นเดือนหรือปี

เมื่อสัตว์ได้รับเชื้อ จะทำให้เกิดเป็นหนองซึ่งมีทั้งลักษณะที่เป็นหนองเหลวหรือเหลืองข้นในต่อมน้ำเหลือง หรืออวัยวะต่างๆ โดยที่สัตว์อาจแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการใดๆให้เห็นก็ได้ ในกรณีที่สัตว์แสดงอาการก็มักจะเป็นอาการที่ไม่เฉพาะต่อโรค และขึ้นกับตำแหน่งที่มีรอยโรค เช่น มีไข้ เบื่ออาหาร ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ โดยเฉพาะในสุกรมักจะเป็นที่ต่อมน้ำเหลืองใต้คาง ในบางรายจะมีอาการเจ็บขา ขาหลังไม่มีแรง สมองอักเสบ รวมทั้งอาจแสดงอาการทางระบบทางเดินอาหาร หรือระบบทางเดินหายใจ ในรายที่มีก้อนฝีจำนวนมากในอวัยวะสำคัญจะตายได้

ในแพะแกะ มักเกิดฝีที่ปอด หรืออาจมีไข้ ไอ น้ำมูกน้ำตาไหล ข้อบวม ค่อยๆ ผอมแห้งลง บางตัวอาจแสดงอาการแค่มีไข้และอ่อนเพลียเท่านั้น ในแพะมักเกิดเต้านมอักเสบและต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงอักเสบด้วย การติดเชื้อที่ปอดในแพะจะรุนแรงน้อยกว่าในแกะ

ในม้ามักจะมีอาการทางสมอง อาการในระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งเสียดแน่นท้องหรือท้องเสียด้วย ในสุกรมักมีการติดเชื้อแบบเรื้อรัง แต่บางครั้งจะมีการติดเชื้อแบบเฉียบพลันได้ โดยจะมีไข้ ไม่กินอาหาร ไอ มีน้ำมูกและน้ำตา แม่สุกรอาจแท้งลูก หรือลูกตายในท้อง ส่วนในตัวผู้จะพบอัณฑะอักเสบ การติดเชื้อในโคกระบือจะค่อนข้างน้อย


การรักษาโรคเมลิออยโดสิส

การดำเนินการของโรคเมลิออยโดสิสขึ้นกับความรุนแรงของโรคที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์ ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดและมี ภาวะช๊อกจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงได้ถึงร้อยละ 75 ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเฉพาะที่จะมีอัตราการตายต่ำ โดยเฉลี่ยผู้ป่วยโรคนี้ยังมีอัตราตายสูงถึงร้อยละ 40 แม้ได้รับการรักษาเบื้องต้นอย่างเหมาะสมดังนั้นในรายที่สงสัยทางคลินิกและมีอาการรุนแรงต้องรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านจุลชีพที่มีความไวครอบคลุมเชื้อนี้ไว้ก่อนเสมอและปรับเปลี่ยนยาต้านจุลชีพให้เหมาะสมหลังทราบผลเพาะเชื้อแล้วอีกครั้งดังกล่าวแล้ว

ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีการดำเนินของโรคแย่ลงอย่างรวดเร็วหรือมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและการรักษาที่เหมาะสม ดังนั้นถ้าพบผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีการติดโรคเมลิออยโดสิสที่สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลชุมชนที่มีขีดจำกัดในการวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยควรทำการส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลจังหวัดหรือโรงพยาบาลศูนย์ใกล้เคียงทันที เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างรวดเร็วที่สุด

การรักษาในสัตว์

จากการทดสอบ microbial susceptibility test พบว่ายาที่ใช้ได้ดีคือ tetracycline และ chloramphenicol อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ สัตว์ที่ติดเชื้อ B. pseudomallei มักจะเป็นโรคเรื้อรังโดยที่สัตว์จะแสดงอาการเมื่อใกล้ตาย ทำให้การรักษามักไม่ได้ผล ในบางรายที่ได้รับการรักษาในตอนแรกสัตว์สามารถกลับสู่สภาพปกติได้ แต่เมื่อใดที่สัตว์อ่อนแอลง เชื้อที่หลบซ่อนในร่างกายจะเจริญขึ้นทำให้เกิดโรคขึ้นอีกได้

https://thaigcd.ddc.moph.go.th/zoo_may.html

อัพเดทล่าสุด