ท้องอืด อาหารไม่ย่อย อาเจียน ทําอย่างไร อาหารไม่ย่อยเกิดจาก


1,633 ผู้ชม


อาหารไม่ย่อย

ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและวิชาการดอทคอม
https://ict.moph.go.th/English/Eindex.htm 


 ท้องอืด อาหารไม่ย่อย อาเจียน ทําอย่างไร อาหารไม่ย่อยเกิดจาก


           อาหารไม่ย่อย เกิดจากระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้มีแก๊สในระบบย่อย และเกิดกรดเกินในกระเพาะ ทำให้เกิดอาการจุก เสียด แน่น บริเวณลิ้นปี่ สาเหตุของปัญหาที่พบบ่อย คือ

           การย่อยทำงานไม่มีประสิทธิภาพ เกิดจากการรีบเร่งกินอาหาร รีบเคี้ยว รีบกลืน หรือกินอาหารปริมาณมากเกินไป ทำให้เสียเวลาในกระบวนการย่อยนาน เพราะเอนไซม์ในน้ำลายย่อยอาหารไม่ทัน นอกจากนั้นแล้ว ยังทำให้น้ำย่อยในกระเพาะหลั่งได้น้อยลงอีกด้วย
           ความไวต่ออาหารบางประเภท เช่น อาหารจำพวกแป้งสาลี นม โดยเฉพาะอาหารที่มีเส้นใยมาก เพราะเป็นตัวดูดซับน้ำไว้ เมื่อพองตัวจะทำให้ท้องอืด เกิดอาการจุกแน่น
           การออกกำลังกายเร็วเกินไปหลังกินอาหาร ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะทำให้เลือดที่ควรจะไปเลี้ยงระบบย่อยอาหาร ถูกถึงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อแทนทำให้เลือดไปเลี้ยงระบบย่อยไม่เพียงพอ
           มีแก๊สในระบบทางเดินอาหารมาก เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและ udkl อัดแก๊สบางชนิด หรือการกินผลไม้หลังกินอาหารที่มีไขมัน เนื่องจากไขมันย่อยช้า ผลไม้จึงบูดก่อนที่จะได้ย่อย ทำให้เกิดแก๊สขึ้น
           กรดเกินในกระเพาะเกิดจากความเครียดมีผลกระตุ้นให้กล้ามเนื้อกระเพาะอาหารบีบรัดตัว ซึ่งเป็นการสร้างกรดในกระเพาะ นอกจากนี้การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอลล์ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กรดในกระเพาะอาหารหลั่งมากขึ้น
ท้องอืด อาหารไม่ย่อย อาเจียน ทําอย่างไร อาหารไม่ย่อยเกิดจาก
การป้องกันการเกิดอาการอาหารไม่ย่อย    
           ควรปรับนิสัยการกินและเปลี่ยนอาหารบางอย่าง อาจช่วยให้อาการอึดอัดแน่นท้องที่เป็นบ่อยๆ หายได้ 
           ไม่ควรกินอาหารให้อิ่มเกินไป เว้นช่วงมื้ออาหารให้ห่างกันนานกว่า 4 ชั่วโมง 
           ควรกินอาหารมื้อสุดท้ายก่อนเวลานอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง 
           อย่าดื่มน้ำมากกว่า 1 แก้ว ระหว่างกินอาหาร 
           ควรเลิกกินอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรกินในปริมาณน้อยๆ ก่อน ถ้าเป็นผู้สูงอายุที่กินได้น้อยหรือแพ้อาหารบางชนิด ให้กินวิตามินและเกลือแร่รวมเสริมได้ 
           ลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรืออัดแก๊ส
           ควรรับประทานผักผลไม้ ที่มีส่วนช่วยในการย่อยอาหาร เช่น มะละกอ แอปเปิ้ล ผักชีลาว ซึ่งมีเอนไซม์ช่วยย่อยอาหาร 
           ส่วน กะหล่ำปลี แครอท พาร์สลีย์ และน้ำมันมะกอกชนิดพิเศษ ก็มีสรรพคุณเป็นยาลดกรด ลดการระคายเคือง ควรกินผักผลไม้เหล่านี้พร้อมอาหาร เพื่อช่วยให้การย่อยอาหารมีประสิทธิภาพดีขึ้น



อัพเดทล่าสุด