ระบบติดตามอากาศยานอัตโนมัติ [ตอนที่ 1]
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันการบินพลเรือน
www.catc.or.th
แปล : รัตนสุดา กิตติก้องนภางค์
บทความ : พวงรัตน์ พิสุทธินันทคุณ
ระบบติดตามอากาศยานอัตโนมัติ การถ่ายทอดสัญญาณ (ADS - B)
ระบบ Automatic Dependent Surveillance Broadcast (ADS-B) เป็นเทคโนโลยีนำร่องอากาศยานที่สามารถแสดงตำแหน่งของอากาศยานที่สามารถแสดงตำแหน่งของอากาศยาน ความสูง ความเร็ว ตลอดจนพารามิเตอร์อื่นๆ ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์โดยไม่ต้องอาศัยผู้ควบคุม
ระบบ ADS-B เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่ใช้กำหนดกระบวนทัศน์ด้านการสื่อสาร (COMMUNICATION) – การนำทาง (NAVIGATION) - และการติดตามอากาศยาน (SURVEILLANCE) ของการจัดการจราจรทางอากาศในปัจจุบัน ทั้งนี ระบบ ADS-B ได้รับการตรวจสอบและรับรองแล้วว่าสามารถนำมาใช้แทนเรดาร์แบบเดิมๆ ได้โดยมีต้นทุนที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ ระบบ ADS-B ยังช่วยให้นักบินและผู่ควบคุมการจราจรทางอากาศ “มองเห็น” และควบคุมอากาศยานได้แม่นยำขึ้นรวมทั้งได้มุมมองจากผิวโลกเป็นเปอร์เซ็นต์ที่กว้างไกลกว่าในอดีต
“ADS-B” ย่อมาจาก :
Automatic ระบบนี้จะ ON อยู่เสมอและไม่จำเป็นต้องมีผู้ควบคุม
Dependent ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งจะขึ้นอยู่กับสัญญาณระบบดาวเทียมนำทางทั่วโลก (GNSS) ที่มีความแม่นยำ
Surveillance ระบบนี้ให้การติดตาม “เหมือนเรดาร์” ซึ่งมีลักษณะเหมือนเรดาร์อย่างยิ่ง
Broadcast ระบบนี้จะแสดงตำแหน่งของอากาศยานรวมทั้งข้อมูลอื่นๆ อย่างต่อเนื่องแก่อากาศยานลำต่างๆ หรือสถานีภาคพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์การรับสัญญาณ ADS-B
ADS-B เป็นเทคนิคร่วมติดตามอากาศยานที่ใช้สำหรับการควบคุมการจราจรทางอากาศรวมทั้งการใช้งานอื่นๆ ทั้งนี้อาการศยานที่ติดตั้งระบบ ADS-B จะจับตำแหน่งของตนเองโดยอาศัยระบบดาวเทียมนำทางทั่วโลก (Global Navigation Satellite System) และถ่ายทอดตำแหน่งและข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมายังสถานีภาคพื้นที่สามารถรับสัญญาณรวมทั้งอากาศยานลำอื่นๆที่ติดตั้งระบบ ADS-B นี้ โดยที่ระบบ ADS-B จะให้ข้อมูลที่แม่นยำ ตลอดจนอัพเดตข้อมูลอย่างสม่ำเสมอแก่ผู้ใช้น่านฟ้ารวมทั้งผู้ควบคุมด้วย ยิ่งไปกว่านั้นยังสนับสนุนให้มีการพัฒนาการใช้น่านฟ้า การลดข้อจำกัดด้านฐานเมฆ (ceiling) / ทัศนวิสัย (visibility) การพัฒนาการติดตามอากาศยาน การพัฒนาด้านความปลอดภัย ตัวอย่างเช่น การบริการจัดการการจราจรทางอากาศที่มีความหนาแน่นสูง ให้ผ่านไปได้
ระบบ ADS-B ทำงานอย่างไร
ระบบ ADS-B มีส่วนประกอบพื้นฐานคือการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมนำทางทั่วโลก (Global Navigation Satellite (GNSS)) แบบดั้งเดิมเชื่อมโยงกับการสื่อสารแสดงผลง่ายๆ นอกจากนี้ระบบ ADS-B ยังแตกต่างจากเรดาร์ทั่วไป เพราะความแม่นยำของระบบ ADS-B จะไม่ลดประสิทธิภาพตามระยะทาง สภาพอากาศ หรือ ระดับความสูงเป้าหมาย ยิ่งไปกว่านั้น ช่วงเวลาในการอัพเดทข้อมูลยังไม่ขึ้นอยู่กับความเร็วของการหมุน (rotational speed) หรือความเชื่อถือได้ของเสาอากาศเชิงกลอีกด้วย
สำหรับการใช้งานหลักๆ นั้น อากาศยานที่ติดตั้งระบบ ADS-B จะใช้ตัวรับสัญญาณ GNSS ทั่วๆไป (เช่น GPS , Galileo เป็นต้น) ซึ่งรับตำแหน่งอากาศยานที่แน่นอนมาจากดาวเทียม GNSS จากนั้นก็นำตำแหน่งที่ได้บวกกับข้อมูลต่างๆของอากาศยาน ซึ่งมีขอบเขตแน่ชัด เช่น ความเร็ว ทิศทางเครื่องบิน (heading) ความสูง และหมายเลขเที่ยวบิน แล้วข้อมูลนี้จะถูกส่งทันทีไปยังอากาศยานที่ติดตั้งระบบ ADS-B รวมทั้งภาคพื้นที่ติดตั้งระบบนี้ หรือเครื่องรับส่งสัญญาณดาวเทียม โดยจะถ่ายทอดตำแหน่งของอากาศยานและข้อมูลอื่นๆ มายังศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศทันที