BIRD STRIKE


1,215 ผู้ชม


BIRD STRIKE


ขอขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันการบินพลเรือน
www.catc.or.th
โดย  จำรัส  เลาสัตยา





 BIRD STRIKE


BIRD STRIKE            ยินดีต้อนรับสู่  My  space  ฉบับนี้มีเรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟัง  ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังถดถอยสภาพของอุตสาหกรรมการบินก็มีผลกระทบด้วย  ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากราคาน้ำมัน  จนท้ายที่สุดสายการบินต่างๆได้ปิดตัวลง  บางแห่งก็ลดจำนวนพนักงาน  หรือยกเลืกเส้นทางบิน  แต่ภาวะอย่างนี้จะเกิดขึ้นอีกสักพัก  แล้วก็จะกลับมาคึกคักใหม่อีกครั้งเนื่องจากสภาวะของฤดูกาลของทั้งโลกส่งผล  บางแห่งร้อนเกินกว่าปกติ  บางแห่งหนาวเกินกว่าปกติ  การเดินทางไปที่ต่างๆ  ซึ่งอยู่ในวิสัยที่ปกติมักจะทำกันอยู่แล้วก็จะกลับมาทำให้อุตสาหกรรมการบินดีเหมือนเดิม  แต่ปัญหาที่จะเกิดขึ้นซึ่งบางท่านอาจจะนึกไม่ถึงนั่นคือการย้ายถิ่นฐานหากินของสัตว์ต่างๆ  เช่น  นก  เป็นต้น  เมื่อฤดูกาลเปลี่ยนแปลง  การย้ายถิ่นฐานจะมีผลตามไปด้วย  และส่งผลต่อการบิน  ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่นัก  แต่เป็นที่ที่ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น  ในทางการบินเราจัดให้อันตรายที่อาจเกิดจากสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ  อาทิ  กวาง  เต่า  นก  งู  แม้กระทั่งวัว  ซึ่งจะส่งผลต่อความปลอดภัยด้านการบินรวมเรียกว่า  wildlife  hazard  ซึ่งทุกสนามบินจะต้องมีหน่วยงานี่ทำหน้าที่ป้องกันหรือตรวจสอบอันตรายที่เกิดจากสัตว์เหล่านี้แล้วแต่ภูมิภาคที่เกิดขึ้น  ปกติแล้วที่มีมากที่สุดคือ  นก  การควบคุมๆไม่ให้นกมาอยู่ใกล้ๆ  เขตทำการบิน  บางท่านคิดว่าอันตรายที่เกิดจากนกคงมีไม่มากนัก  ในทางการบินนับว่าอันตรายอย่างยิ่ง  เพราะส่งผลกระทบเกินกว่าที่คิดไว้เช่น  ทำให้เครื่องยนต์พัง  หรือบินชนเครื่องบิน  ซึ่งอาจทำให้เครื่องบินตกได้  ตามปกติแล้วนกที่มีน้ำหนักตั้งแต่ครึ่งกิโลกรัมขึ้นไปจะส่งผลอันตรายร้ายแรงถึงขั้นทำให้เครื่องบินตกได้  จากสถิติแล้วพบว่าการเสียหายที่เกิดจากการชนของนก  (Bird  Strike)  จะเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันและมักพบนกได้ในระดับความสูงไม่เกิน  1,000  เมตรจากพื้น  และที่สำคัญมักเกิดขึ้นในขณะ  take  off  หรือ  Landing  ส่วนกลางคืนมักเกิดจากสัตว์อื่น  เช่น  เต่า  หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม


BIRD STRIKE


BIRD STRIKE            สำหรับการป้องกันนั้นทำได้หลายรูปแบบ  แต่ที่เป็นหลักใหญ่ๆ  คือ  การลดหรือจำกัดเขตการหากินของสัตว์ไม่ให้อยู่บริเวณประชิดเขตสนามบินรวมถึงการขับไล่นก  ในกรณีที่มีฝูกสัตว์หรือนกมาประชิดเขตสนามบิน  สนามบินสุวรรณภูมิเราก็มีการจัดตั้งหน่วยงานที่คอบทำงานด้านนี้โดยเฉพาะได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาควบคุมสัตว์อันตรายต่อการบิน  (Wild  Life  Hazard  Control  Sub  Division)  หรือที่เรียกกันว่า  Bird  Control  Unit  ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรงในการทำการขับไล่  ป้องกัน  และควบคุมนกต่างๆ  ไม่ให้เขามาในเขตการบินเพื่อก่อให้เกิดอันตรายต่อการบินได้  เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการอาศัยของนกที่เกิดจากสภาพแวดล้อมเช่น  ทะเลสาบ  แหล่งน้ำ  กิจกรรม  การประมง  รวมทั้งการเกษตรในบริเวณใกล้เคียงสนามบิน
           หากท่านได้มีโอกาสไปที่สนามบินแห่งไหนก็ตาม  หากสังเกตแล้วอาจจะพบเจ้าหน้าที่ที่กำลังขับรถแปลกๆ  เพื่อทำหน้าที่ไล่นก  หรือไม่ก็จะมีปืนพิเศษที่ใช้ยิงไล่นก  ซึ่งปืนเหล่านี้จะทำให้เกิดเสียงดังเพื่อทำให้นกตกใจและบินหนีก่อนที่จะทำการบิน  และรถที่ติดตั้งอุปกรณ์ไล่นก  อาจจะมีรูปเหยี่ยวและคลื่นเสียงที่ส่งถึงอันตรายต่อนกประเภทต่างๆ
           หากเกิดเหตุการณ์นกพุ่งชนอากาศยานหรือเครื่องบินก็ต้องทำการรายงานต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  สำหรับประเทศไทยเรา  กรมการขนส่งทางอากาศได้กำหนดแนวปฏิบัติไว้ดังนี้  คือ
           การรายงานเมื่อประสบเหตุการณ์อากาศยานชนนกต่อกรมการขนส่งทางอากาศให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้  ลักษณะของเหตุการณ์  ต้องรายงานเมื่ออากาศยานชน  นก  กลุ่มนก  หรือ  นก , กลุ่มนกบินมาชนอากาศยาน  นักบินต้องรายงานโดยใช้  แบบฟอร์มที่  1  (Bird  Strike  Reporting  Form)  โดยทันทีที่สามารถดำเนินการได้ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์


BIRD STRIKE


           และแบบฟอร์มที่  2  (Supplementary  Bird  Strike  Reporting  Form)  สายการบินได้มีการประเมินมูลค่าความเสียหายแล้ว  ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานโดยจัดส่งแบบฟอร์ม  กรอกรายละเอียดเหตุการณ์  /  มูลค่าความเสียหายแล้วให้กรมขนส่งทางอากาศโดยทันที  โดยสามารถใช้ช่องทางจดหมายแฟกซ์ถึง
           กองมาตรฐานสนามบินและการอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ
           กรมการขนส่งทางอากาศ
           71  ซอมงามดูพลี  ถนนพระราม  4
           แขวงทุ่งมหาเมฆ  เขตสาทร  กรุงเทพ  10120
           หน่วยงาน  กลุ่มมาตรฐานผู้ประกอบการสนามบิน
           โทรศัพท์  02  286  2918  ,  02  286  1013  หรือ  02  287  0320-9  ต่อ  1313  
           แฟกซ์  02  286  1013
           อีเมล์ 
[email protected]
           ทั้งนี้การรายงานตามขั้นตอนนี้ดำเนินการเมื่อเกิดเหตุการณ์อากาศยานชนกับนกเท่านั้น  ในกรณีที่เป็นการพบเห็นนกในระยะใกล้เคียงสนามบิน  ให้นักบินแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ , หอบังคับการบิน  หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของท่าอากาศยาน  ที่เกิดเหตุการณ์  เพื่อดำเนินการตามมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องต่อ
           เรื่องของนกตัวเล็กที่ทำให้เกิดอันตรายต่อการบินมากมาย  และหากอยากลองดูตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงลองเข้าชมคลิปที่บันทึกเหตุการณ์ที่เครื่องบินโดยสารต้องทำอย่างไรบ้างเหตุเพราะนกตัวเล็กๆ  ตัวเดียว  ตามลิงค์นี้เลยครับแล้วจะรู้ว่านกอันตรายแค่ไหนในสนามบิน

อัพเดทล่าสุด