เก็บตกข่าวดังวิทยาศาสตร์


1,084 ผู้ชม


เก็บตกข่าวดังวิทยาศาสตร์

ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวทช. และ วิชาการดอทคอม
www.nstda.or.th


จี้รัฐพิสูจน์จีที 200
          หลังจากที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันถึงประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิดจีที 200 ในเว็บบอร์ดห้องหว้ากอ (วิทยาศาสตร์) ของเว็บพันทิปอยู่เป็นแรมเดือน จนต่อมาประจวบเหมาะกับทางสำนักข่าวบีบีซี ของอังกฤษได้ออกข่าวถึงผลการตรวจพิสูจน์การทำงานของเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิดรุ่น ADE-651 ซึ่งมีหลักการทำงานทำนองเดียวกับเครื่องจีที 200 (ขอขอบคุณ คุณทวีธรรม ลิมปานุภาพ หนึ่งในสมาชิกThaiSMC ที่ช่วยส่งข่าวจากเมืองนอกมาบอกทีมงานเราตั้งแต่ช่วงที่บีบีซีออกข่าวใหม่ๆ ท่านที่สนใจสามารถเข้าไปดูคลิปวิดีโอการพิสูจน์ได้ที่เว็บไซต์
https://news.bbc.co.uk/2/hi/programmes/newsnight/8471187.stm)
เก็บตกข่าวดังวิทยาศาสตร์           ผลจากการพิสูจน์ปรากฏว่า ภายในตัวเครื่อง ไม่พบแผงวงจรทางอิเล็กทรอนิกส์หรือแหล่งจ่ายพลังงานใดๆเลย แม้กระทั่งการผ่าการ์ดเซ็นเซอร์ที่ทางผู้ผลิตอ้างว่าเป็นการ์ดที่ใช้ตรวจจับสารเคมีที่ใช้ประกอบระเบิด ก็ปรากฏว่าไม่พบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมสั่งงาน หน่วยความจำ หรือตัวควบคุมใดๆเลยเช่นกัน จนเป็นข่าวใหญ่โตในบ้านเราที่ถูกนำไปเปรียบเทียบกับการทำงานของจีที 200
          และบุคคลที่เชื่อว่าตอนนี้คนค่อนประเทศไทยคงจะรู้จักดีนั่นก็คือชื่อของ ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะเป็นผู้ออกมาเรียกร้องให้มีการตรวจสอบการทำงานของเครื่อง จีที 200 นี้ในเชิงวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถืออย่างเข้มข้น โดยอาจารย์เจษฎากล่าวว่า หลักการทำงานของเครื่องนี้ไม่ต่างอะไรกับลวดเดาน์ซิ่ง (dowsing rod) ลักษณะคล้ายเสาอากาศ ที่เมืองนอกใช้ชี้หาศพที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งดูไม่ค่อยเป็นวิทยาศาสตร์เท่าไหร่ ไม่ต่างอะไรกับการเลือกโดยการเดาสุ่ม
          นายจุฬา พิทยาภินันท์ นิสิตปริญญาเอก คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งข้อสังเกตถึงประสิทธิภาพเครื่องจีที 200 ว่า แม้ปัจจุบันจะมีหน่วยงานของไทยหลายหน่วยงานใช้เครื่องดังกล่าวในการตรวจระเบิดแต่ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการใช้งานที่ จ.ยะลา และเหตุการณ์คาร์บอมที่ อ.สุไหงโกลก ทำให้ต้องตั้งคำถามว่าสมควรที่จะใช้เครื่องมือดังกล่าวจริงหรือ เมื่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมีทั้งในแบบที่เรียกว่า false-negative คือเครื่องเก็บตกข่าวดังวิทยาศาสตร์รายงานว่าไม่มีระเบิด แต่จริงๆแล้วมี และแบบ false-positive คือเครื่องรายงานว่ามีระเบิดแต่จริงๆแล้วไม่มี (จากประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553)
          ทางรัฐบาลเองได้หันมาสนใจอย่างจริงจังมากขึ้น ผลการดำเนินงานหรือการพิสูจน์จะมีหรือไม่อย่างไร เราจะนำมาเสนอในจดหมายข่าวฉบับหน้า
หมอไทยเพาะ “เห็ดถั่งเช่า” ได้ ยันคุณภาพเทียบเท่าไวอะกร้า


เก็บตกข่าวดังวิทยาศาสตร์
ภาพจาก
https://www.deozone.com/deozone_general/cordycep.html


           นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีกับวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์ไทย ที่ นพ.สมยศ กิตติมั่นคง หัวหน้ากลุ่มโรคเอดส์สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประสบความสำเร็จจากการทดลองนำเส้นใยของเห็ดถั่งเช่ามาเพาะเลี้ยงเองตั้งแต่ปี 2550 จนเห็ดถั่งเช่าออกดอกเป็นผลสำเร็จครั้งแรกในไทย
          เห็ดถั่งเช่า เป็นราแมลงชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนตัวหนอนจนกระทั่งหนอนตายลงในฤดูหนาว พอถึงฤดูร้อน ราชนิดนี้จะงอกออกจากตัวหนอนเป็นลักษณะคล้ายต้นหญ้าหรือเห็ด (เห็ดในที่นี้ ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงราอะไรก็ตามที่มีขนาดใหญ่และมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าอยู่ในกลุ่มของเห็ดราหรือ fungi ทำนองเดียวกับว่านจักจั่นที่เราเคยนำเสนอไปแล้วค่ะในจดหมายข่าวฉบับที่ 7)
          เห็ดถั่งเช่าจะพบได้เฉพาะในแถบภูเขาสูงของจีน ทิเบต ภูฏาน การเก็บเห็ดชนิดนี้จึงมีความยากลำบากมาก ทำให้มันมีราคาสูง คือตกกิโลกรัมละเป็นหลักแสนบาท คุณหมอสมยศจึงได้ทดลองเพาะเองโดยนำเส้นใยของเชื้อราดังกล่าวมาเพาะลงในขวดแก้วขนาดเล็กที่ภายในมีข้าวสาร วิตามินต่างๆ ที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อมาแล้ว จากนั้นนำไปใส่ในตู้เย็น และควบคุมอุณหภูมิที่ 10 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2 เดือน ก็พบว่าเห็ดถั่งเช่ามีการออกดอก
          ด้านสรรพคุณของเห็ดถั่งเช่าน่าสนใจไม่น้อย เนื่องจากมันมีสาร "ไนตริกออกไซด์" ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยผู้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้โดยให้ผลได้ใกล้เคียงกับยาไวอะกร้าทีเดียว ส่วนสรรพคุณด้านอื่นๆ ก็คือ ช่วยในเรื่องระบบทางเดินหายใจ อาการไอ ถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบ ทำให้การทำงานของไตดีขึ้น ทำให้ร่างกายสดชื่น ความจำดีขึ้น ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดการอักเสบ ต้านมะเร็ง เพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย ต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความชรา เป็นต้น
          โอ้โฮ ! ประเทศไทยจะรวยแล้วสิเรา ถ้าทำเป็นยาขายแข่งกับไวอะกร้าของฝรั่งได้ก็คงดีไม่น้อยอ่านรายละเอียดข่าวเพิ่มเติมได้ที่
https://www.thairath.co.th/today/view/61950
https://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20100130/97999/หมอไทยเพาะ“เห็ดถั่งเช่า”ออกดอกสำเร็จ.html
10 ข่าวดังวิทยาศาสตร์ 2552
          เป็นประจำทุกปีที่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะทำการสำรวจและจัดอันดับ 10 ข่าวดังด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อประเมินความสนใจข่าวสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในหมู่เยาวชนและสังคมไทย โดยในปี 2552 นี้ได้ร่วมกับศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็นประชาชน 3,000 คน ในช่วงปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา และผลการสำรวจปรากฏว่า 10 อันดับข่าวดังวิทยาศาสตร์ที่ประชาชนให้ความสนใจมากที่สุดดังนี้
          อันดับ 1ไข้หวัดใหญ่ 2009
          อันดับ 2 พระจันทร์ยิ้ม
          อันดับ 3 ปรากฏการณ์จันทรุปราคา
          อันดับ 4 ถวายสิทธิบัตรข้าวในหลวง
          อันดับ 5 กฎหมายลดภาวะโลกร้อน
          อันดับ 6 ฝนดาวตกลีโอนิดส์
          อันดับ 7 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคา เมืองจินซาน ประเทศจีน
          อันดับ 8 นักวิทยาศาสตร์นาซ่าพบน้ำบนดวงจันทร์ ภาพจาก นสพ.เดลินิวส์
          อันดับ 9 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมว.วิทยาศาสตร์หญิงคนแรกของไทย
          อันดับ 10 นาซ่ายิงจรวดพุ่งชนดวงจันทร์ตรงเป้า
อ่านรายละเอียดข่าวเพิ่มเติมได้ที่
https://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/science/20100128/97800/หวัด2009-ติดอันดับข่าววิทย์ดังข้ามปี.html 
เด็กไทยคว้าเหรียญรางวัลดาราศาสตร์โอลิมปิก
          จดหมายข่าวฉบับที่แล้ว เราได้รายงานถึงผลการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการไปแล้ว 5 สาขา ยังเหลืออีกหนึ่งสาขาคือ การแข่งขันดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิก ระหว่างประเทศ ครั้งที่ 3 ระดับมัธยมปลาย ระหว่างวันที่16-27 ตุลาคม 2552 ณ กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน ผลปรากฏว่า เยาวชนไทยคว้ารางวัลมาได้ 1 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน และ 3 เหรียญทองแดง ได้แก่
เก็บตกข่าวดังวิทยาศาสตร์
          1.นายณัฐนันท์ ตันติวัสดากา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้เหรียญทอง
          2.นายธนวุฒิ ธนาธิบดี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้เหรียญเงิน
          3.นายทวีวัฒน์ สมบูรณ์ปัญญากุล โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้เหรียญทองแดง
          4.นายพุทธิวัตร คงแก้ว โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เหรียญทองแดง
          5.นายยศธร ทะวะบุตร โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้เหรียญทองแดง
          สุดยอดเลย
อ่านรายละเอียดข่าวเพิ่มเติมได้ที่
https://www.thairath.co.th/content/edu/42443


หน้าที่ 2 - กิจกรรมศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย


ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวทช. และ วิชาการดอทคอม
www.nstda.or.th


เสวนา“วิกฤติโลก! เมื่อขั้วโลกเหนือไม่เหลือน้ำแข็ง”


เก็บตกข่าวดังวิทยาศาสตร์


          งานนี้จัดเมื่อวันที่29 ตุลาคม 2552 ณ ห้องประชุม 720 ชั้น 7 อาคารสวทช.โยธี วิทยากรคือ ดร.อ า น น ท์ ส นิ ท ว ง ศ์ ณอยุธยา ผอ.ศูนย์จัดการค ว า ม รู้ ด้ า น ก า รกิจกรรมศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทยภาพจาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
          สาระสำคัญคือ จากภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน จึงทำให้ช่วงฤดูร้อนของขั้วโลกเหนือ นับวันแผ่นน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกจะเหลือน้อยลง ซึ่งทุกวันนี้จะเหลืออยู่ราวร้อยละ 10 ของพื้นที่มหาสมุทรอาร์คติคเท่านั้น และคาดการณ์กันว่าภายใน 20 ปี ข้างหน้านี้ ในช่วงฤดูร้อนของมหาสมุทรอาร์คติค จะไม่มีน้ำแข็งเหลืออยู่เลย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศหลายด้าน ทั้งด้านอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้น รูปแบบการไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทรที่เปลี่ยนไป ถิ่นอาศัยของหมีขั้วโลกเหนือเหลือน้อยลง เป็นต้น
ชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์


เก็บตกข่าวดังวิทยาศาสตร์


          ฝนดาวตกลีโอนิดส์สร้างความฮือฮาอีกครั้ง เมื่อนักดาราศาสตร์หลายสำนักคาดการณ์ว่า ปี 2552 นี้เราจะมีโอกาสเห็นได้มาก ในอัตราความชุกของการตกที่100-500 ดวงต่อวินาที โอกาสนี้ ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย จึงได้ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต จัดกิจกรรมการชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์ในคืนวันที่ 17 พ.ย.ต่อเนื่องถึงวันใหม่ในวันที่ 18พ.ย.52 ที่ลานจอดรถ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต โดยในตอนเย็นวันที่ 17 พ.ย.ได้มีการจัดการแสดงท้องฟ้าจำลองรอบพิเศษเรื่องฝนดาวตกลีโอนิดส์ ให้กับคณะนักเรียนและครูที่มาร่วมกิจกรรมด้วย
เก็บตกข่าวดังวิทยาศาสตร์           สำหรับในช่วงเวลาหลังเที่ยงคืนไปแล้วปรากฏว่ามีประชาชนมาร่วมชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์อย่างคึกคักทีเดียว รวมแล้วหลายร้อยคน ซึ่งฝนดาวตกก็มาปรากฏให้เห็น เพียงแต่ว่าไม่มากนัก แต่มีรายงานว่าที่ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ เห็นได้มากกว่า
          สำหรับงานนี้ของเรา ต้องยกความอึดให้กับ อ.นิพนธ์ ทรายเพชรราชบัณฑิตสาขาดาราศาสตร์ ที่ช่วยบรรยายความรู้เรื่องดวงดาวให้ผู้มาชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกได้ฟังตลอดคืนยันรุ่งสางทีเดียวบุคคลอีกท่านหนึ่งที่ทางศูนย์ฯ ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งนั่นก็คือ อ.ปัญญา ศรีกระจ่าง หัวหน้าส่วนท้องฟ้าจำลอง ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา รังสิต ที่ได้ดำเนินการให้การจัดงานครั้งนี้เป็นไปด้วยดีพบกันใหม่ฉบับหน้า





อัพเดทล่าสุด