เฮลิคอปเตอร์ ประวัติเฮลิคอปเตอร์ และพัฒนาการของเฮลิคอปเตอร์


1,307 ผู้ชม


ประวัติ และพัฒนาการของเฮลิคอปเตอร์

มนุษย์เมื่อหลายศตวรรษ ที่ผ่านมาได้มีความคิดที่จะทำให้ตัวเองมีแรงยกลอยขึ้นสู่อากาศในแนวดิ่งโดยมิต้องใช้ทางวิ่งขึ้น-ลง ซึ่งแนวคิดนี้มีมาตั้งแต่สมัย เลียวนาร์โด ดาวินซี (Leonado da Vinci) และ เซอร์ยอร์จ เคย์ลีย์ (Sir Gerorge Cayley) แห่งอังกฤษ แต่ก็ประสบกับอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย จนกระทั้งถึง พ.ศ.๒๔๕๐ ความคิดนี้จึงได้เป็นจริงขึ้นมา

เฮลิคอปเตอร์ ประวัติเฮลิคอปเตอร์ และพัฒนาการของเฮลิคอปเตอร์
                      Leonado da Vinci

ในปีนี้เอง ที่มีช่างชาวฝรั่งเศส ชื่อ คอร์นู (Cornu) ได้สร้างเฮลิคอปเตอร์เครื่องหนึ่งตามมูลฐานการทดลองที่เข้าสร้างหุ่นจำลองขึ้นมา แผนแบบของเขานั้นมุ่งตรงมาที่เครื่องยนต์ ฮังตัวเน็ทท์ กำลัง ๒๔ แรงม้า ในการขับโรเตอร์สองชุด ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๖.๒ เมตร (๒๐ ฟุต) โดยถ่ายทอดกำลังผ่านสายพาน ให้นักบินนั่งอยู่ด้านหลัง
เครื่องยนต์ โดยมีโครงสร้างลำตัวเป็นรูปตัววีอยู่บนล้อ ๔ ล้อ โดยมีน้ำหนักรวม ๒๖๐ กิโลกรัม (๕๗๓ ปอนด์)

เฮลิคอปเตอร์ ประวัติเฮลิคอปเตอร์ และพัฒนาการของเฮลิคอปเตอร์
             ภาพวาดของ ดาวินซี

ในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๐ เครื่องทดสอบของคอร์นู สามารถลอยตัวอยู่ในอากาศได้ ที่ระยะสูงจากพื้นดินประมาณ ๑ ฟุต เป็นเวลา ๒๐ วินาที ถึงแม้ว่าเครื่องทดสอบของคอร์นูจะปราศจากเสถียราภาพหลังจากการลอยตัวอยู่ในอากาศชั่วระยะเวลาอันสั้นก็ตาม แต่เขาก็ได้บรรลุจุดมุ่งหมายในหลักการของเฮลิคอปเตอร์แล้ว

เฮลิคอปเตอร์ ประวัติเฮลิคอปเตอร์ และพัฒนาการของเฮลิคอปเตอร์
                                          เฮลิคอปตเตอร์ที่คอร์นูสร้าง

แต่ที่จริงแล้ว ยังมีชาวรัสเซีย ชื่อ อิกอร์ ซิกอร์สกี (Igor Sikorsky) ได้ทดลองสร้างเฮลิคอปเตอร์จำลอง มาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๓ โดยในระยะแรกนั้นมีรูปลักษณะที่ใช้โรเตอร์ ๒ ชุด สวมซ้อนกันอยู่ในแกนเดียวกัน แต่ให้หมุนสวนทางกันเพื่อแก้แรงบิดที่เกิดขึ้น แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากเฮลิคอปเตอร์เครื่องแรกของเขาไม่ลอยตัวขึ้นจากพื้นดิน และเครื่องที่สองสามารถยกตัวเองขึ้นได้เท่านั้นแต่ไม่สามารถยกน้ำหนักนักบินขึ้นไปได้ และเมื่อพลาดหวัง ซีกอร์สกี ก็หันความมุ่งหวังไปสู่อากาศยานที่มีปีกตรึง    
ความสำเร็จในเรื่องการคิดค้นเฮลิคอปเตอร์ก็ยังไม่เกิดขึ้นตราบจนกระทั่ง ซิกอร์สกี ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในสหรัฐอเมริกา ใน ปี พ.ศ.๒๔๖๒ เขาจึงได้หันกลับมาทบทวนความคิดเกี่ยวกับปัญหาในด้านแรงบิดและเสถียรภาพของเฮลิคอปเตอร์อีกครั้งหนึ่ง

เฮลิคอปเตอร์แบบใหม่ ก็คือ วีเอส-๓๐๐ (VS-300) ซึ่งติดตั้งโรเตอร์หลักเพียงชุดเดียวและโรเตอร์หางเพื่อต้านแรงบิด

เฮลิคอปเตอร์ ประวัติเฮลิคอปเตอร์ และพัฒนาการของเฮลิคอปเตอร์
                     วีเอส-๓๐๐

เฮลิคอปเตอร์ ประวัติเฮลิคอปเตอร์ และพัฒนาการของเฮลิคอปเตอร์
                     วีเอส-๓๐๐

วีเอส - ๓๐๐ นั้นได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่หลายครั้งก่อนประสบผลสำเร็จในการบินเมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๓ ดังนั้น ในเดือน เมษายน พ.ศ.๒๔๘๔ เขาได้ติดตั้งทุ่นแบบพองตัวไว้กับเฮลิคอปเตอร์ แบบนี้ ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน วีเอส -๓๐๐ ก็ได้ซื่อว่าเป็นเฮลิคอปเตอร์ของ สหรัฐฯ แบบแรกที่เป็นเฮลิคอปเตอร์ที่สามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้

จากนั้น วีเอส -๓๐๐ ก็เป็นเฮลิคอปเตอร์ ที่นำไปสู่การพัฒนาปรับปรุง จนเป็นเฮลิคอปเตอร์ แบบอาร์-๔ (R-4) ซึ่งนับว่าเป็นเฮลิคอปเตอร์แบบแรกที่ผลิตเป็นจำนวนมากเพื่อประจำการในหน่วยกำลังทางอากาศ
ของกองทัพบกสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐฯ และกองทัพอากาศอังกฤษ โดยกองทัพอากาศอังกฤษได้เรียกเฮลิคอปเตอร์ แบบ อาร์-๔ ว่า ฮัฟเวอร์ฟลาย (Hover-Fly) โดยบรรจุประจำการในฝูงบิน ที่ ๕๒๙ เพื่อปฏิบัติภารกิจเพื่อการปรับตั้งการทำงานของเรดาร์ และบรรจุประจำการแทน แอฟโรโรเตอร์ ซี่งเคยปฏิบัติภารกิจนี้มาก่อน

เฮลิคอปเตอร์ ประวัติเฮลิคอปเตอร์ และพัฒนาการของเฮลิคอปเตอร์
                                      อาร์-๔

Specifications (R-4B)

Rotor diameter: 38 ft (11.5 m)
Length: 33 ft 7 3/4 in (10.2 m)
Height: 12 ft 5 in (3.8 m)
Weight: 2,581 lb (1170 kg) loaded
Armament: None
Engine: Warner R-550 - 200 hp. (149 kW)
Maximum speed: 75 mph (120 km/h)
Cruising speed: 65 mph (105 km/h)
Service Ceiling: 8,000 ft (2400 m
 
จากนั้นได้มีการผลิต อาร์-๕ ขึ้นมาซึ่งนับว่าเป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่เครื่องแรก และซิกอร์สกี เอส-๕๑ นั้น นับว่าเป็นเฮลิคอปเตอร์แบบแรกที่ได้รับประกาศนียบัตรสมควรเดินอากาศ เพื่อการบินพลเรือนจากสำนักงานการบินพลเรือนสหรัฐฯ

เฮลิคอปเตอร์ ประวัติเฮลิคอปเตอร์ และพัฒนาการของเฮลิคอปเตอร์
                                       อาร์-๕

Specifications R-5

Main rotor diameter: 48 ft (14.6 m)
Tail rotor diameter: 8 ft 5 in (2.5 m)
Fuselage Length: 41 ft 2 in (12.5 m)
Height: 12 ft. 11 in. (3.9 m)
Weight: 4,815 lb (2,184 kg) loaded
Armament: None
Engine: Pratt & Whitney R-985 of 450 hp (335.5 kW)
Maximum speed: 90 mph (144.8 km/h)
Cruising speed: 70 mph (112.6 km/h)
Range: 280 miles (450.6 km)
Service ceiling: 10,000 ft (3000 m)
เอส-๕๑ และเฮลิคอปเตอร์ในตระกูล ซิกอร์สกี ที่แผนแบบในอันดับต่อมานั้น บริษัทเวสแลนด์ได้ซื้อลิขสิทธิ ไปสร้างในอังกฤษ ที่เมือง เยโอวิล สิทธิในการผลิต เอส-๕๑ นั้นเริ่มใน พ.ศ.๒๔๙๐ ซึ่งทำการผลิตทั้งเฮลิคอปเตอร์ที่ใช้ในกิจการทหารและกิจการพลเรือน

สำหรับเฮลิคอปเตอร์ที่ใช้ในกิจการทหารนั้น กองทัพอากาศอังกฤษสั่งสร้างโดยให้สมญาว่า ดรากอนฟลาย (Dragon-fly) หรือมังกรบิน โดยใช้ปฏิบัิติภารกิจเป็นเฮลิคอปเตอร์จู่โจมและส่งกลับทางอากาศ จนกระทั่งปลดประจำการ ใน พ.ศ.๒๔๙๓ ถึงแม้กระนั้น การผลิต เอส-๕๑ ของบริษัทเวสต์แลนด์ ก็ยังคงดำเนินต่อไปอีกโดยได้แผนแบบโครงสร้างให้ทันสมัยขึ้น และกำหนดชื่อใหม่ว่า วิดเจียน(Widgon) จำหน่ายแก่ลูกค้า้้ด้านการบินพาณิชย์

บริษัทเวสต์แลนด์ ก็ได้รับลิขสิทธิ์ในการสร้าง เอส-๕๕ , เอส-๕๘ และ เอส-๖๑ โดยกำหนดชื่อว่า เวิร์ลวินด์ (Whirl-wind), เวสเซ็กซ์ (Wessex) ,ซีคิง (Sea king) ตามลำดับอีกด้วย

ขอบคุณที่มา - ฝูงบิน203 กองบิน2 ฐานบินโคกกะเทียม

อัพเดทล่าสุด