อาณาจักรเจนละ ประวัติศาสตร์ไทยที่ต้องเรียนรู้


1,270 ผู้ชม


อาณาจักรเจนละ

                    ในระหว่าง พ.ศ.๑๑๗๐-๑๒๕๐ นั้นอาณาจักรขอมมีกษัตริย์ครองราชย์คือ พระเจ้าภววรมันที่ ๒ พระโอรสของพระเจ้าอีศานวรมันที่ ๒ และพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ โอรสของพระเจ้าภววรมันที่ ๒    ยุคนี้ได้สร้างศิลปขอมแบบไพรกเมง ขึ้นระหว่างพ.ศ.๑๑๘๐-๑๒๕๐

                  สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ นั้นอาณาจักรเจนละนั้นได้แตกแยกเป็นพวกเจนละบกคืออยู่ลุ่มน้ำโขงตอนใต้  และพวกเจนละน้ำ อยู่ในดินแดนลาวตอนกลาง  พ.ศ.๑๒๕๐-๑๓๕๐  ยุคนี้ได้มีการสร้างศิลปขอมแบบกำพงพระขึ้น           

                   อาณาจักรขอมนั้นล่มสลายมาจนถึงรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ หรือพระเจ้าปรเมศวรพ.ศ.๑๓๔๕-๑๓๙๓ พระองค์ได้รวบรวมพวกเจนละบกและพวกเจนละน้ำเป็นอาณาจักรใหม่โดยรับเอาลัทธไศเลนทร์หรือ เทวราชาเข้ามาทำการสถานปนาอาณาจักรใหม่ขึ้น  โดยทำการสร้างราชธานีขึ้นใหม่หลายแห่งและสร้างปราสาทหินหรือเทวาลัย เป็นการใหญ่  ซึ่งมีเหตุการณ์ย้ายราชธานีขึ้นหลายครั้ง    จนกว่าจะลงตัวเป็นนครวัตนครธมในที่สุด

                  ด้วยเหตุนี้อาณาจักรขอมสมัยนี้จึงรุ่งเรืองด้วยการสร้างราชธานีขึ้นหลายแห่งและมีปราสาทหินที่เป็นศิลปขอมเกิดขึ้นหลายแบบ กล่าวคือ สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ นั้นพระองค์ได้ทำการสร้างเมืองอินทรปุระเป็นราชธานี ขึ้นที่บริเวณใกล้เมืองกำแพงจาม   สร้างเมืองหริหราลัยหรือร่อลวย เป็นราชธานี  สร้างเมืองอมเรนทรปุระ เป็นราชธานี และสร้างเมืองมเหนทรบรรพต หรือพนมกุเลน เป็นราชธานี    ยุคนี้ได้สร้างศิลปขอมแบบกุเลนขึ้นระหว่างพ.ศ.๑๓๗๐-๑๔๒๐       

                เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒   พระโอรสได้ครองราชย์ทรงพระนามว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ ๓ หรือ พระเจ้าวิษณุโลก ครองราชย์ พ.ศ.๑๓๙๓-๑๔๒๐ พระองค์ได้กลับมาใช้เมืองหริหราลัยหรือร่อลอย เป็นราชธานี ต่อมาจนถึงรัชกาลพระเจ้าอินทรวรมันที่ ๑ หรือ พระเจ้าอิศวรโลก  ครองราชย์พ.ศ.๑๔๒๐-๑๔๓๒ ยุคนี้ได้สร้างศิลปขอมแบบพระโคขึ้นในพ.ศ.๑๔๒๐-๑๔๔๐

              ในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ หรือ พระเจ้าบรมศิวโลก พระโอรสของพระเจ้าอินทรวรมันที่ ๑ ซึ่งครองราชย์เป็นกษัตริย์ขอมโบราณในพ.ศ.๑๔๓๒-๑๔๔๓ นั้น   พระองค์ได้สร้างเมืองยโศธรปุระหรือเมืองพระนครแห่งแรกขึ้นที่เขาพนมบาเค็ง เมื่อพ.ศ.๑๔๓๖  ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือทะเลสาบเมืองเสียมเรียบ  เมืองนี้คนไทยเรียก เสียมราฐ     การสร้างปราสาทหินขึ้นบนเขาพนมบาเค็งนั้น    เป็นอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูที่แผ่อิทธิพลเข้ามายังดินแดนแถบนี้  ซึ่งถูกสมมติขึ้นเป็นศูนย์กลางของจักรวาลตามความเชื่อนั้น  นับเป็นศิลปขอมแบบบาเค็ง

              เมืองยโศธรปุระ ราชธานีแห่งนี้มีกษัตริย์ครองราชย์ต่อมาคือ พระเจ้าหรรษวรมันที่ ๑ หรือ พระเจ้ารุทรโลก พระโอรสของพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ ครองราชย์ พ.ศ.๑๔๔๓-๑๔๕๖ และพระเจ้าอีศานวรมันที่ ๒ หรือพระเจ้าบรมรุทรโลก  พระอนุชาของพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๑ ครองราชย์ พ.ศ.๑ ๔๕๖-๑๔๖๘ จึงเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแผ่นดิน

              ในที่สุดพระเจ้าชัยวรมันที่ ๔ หรือพระเจ้าบรมศิวบท ซึ่งเป็นน้องเขยของพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรขอมในพ.ศ.๑๔๗๑-๑๔๘๕ พระองค์ได้สร้างราชธานีขึ้นที่เมืองโฉกการยกยาร์หรือเกาะแกร์  และพระเจ้าหรรษวรมันที่ ๒หรือพระเจ้าพรหมโลก พระโอรสขององค์ได้ครองราชย์ต่อมาระหว่างพ.ศ.๑๔๘๕-๑๔๘๗ ยุคนี้ได้สร้างศิลปขอมแบบเกาะแกร์  พ.ศ.๑๔๖๕-๑๔๙๐

              ต่อมาพระเจ้าราเชนทรวรมัน หรือพระเจ้าศิวโลก  พระนัดดาของพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ ได้ครองราชย์ในพ.ศ.๑๔๘๗-๑๕๑๑ ได้ย้ายราชธานีมาที่เมืองยโศธรปุระ หรือเมืองพระนครแห่งแรก ยุคนี้ได้สร้างศิลปขอมแบบแปรรูป พ.ศ.๑๔๙๐-๑๕๑๐ 

             เมืองยโศธรปุระ  ราชธานีเก่าแห่งนี้มีกษัตริย์ครองราชย์ต่อมาหลายพระองค์ ได้แก่

               พระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ หรือพระบรมวีรโลก ซึ่งเป็นพระนัดดาของพระเจ้าราเชนทรวรมัน ครองราชย์พ.ศ.๑๕๑๑-๑๕๔๔  สมัยนี้สร้างศิลปขอมแบบบันทายศรี พ.ศ.๑๕๑๐-๑๕๕๐ ขึ้น

               พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ ๑ พระนัดดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ ครองราชย์พ.ศ.๑๕๔๔       สร้างศิลปขอมแบบคลังขึ้นพ.ศ.๑๕๑๐-๑๕๖๐

               พระเจ้าชัยวีรวรมัน  ครองราชย์พ.ศ.๑๕๔๕(สวรรคตพ.ศ.๑๕๕๓)

               พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑  ครองราชย์ พ.ศ.๑๕๔๕-๑๕๙๓   สมัยนี้พระองค์ได้ทำการสถาปนาราชวงศ์ขึ้นใหม่        และน่าจะมีการสร้างเมืองพระนครขึ้นใหม่เป็นแห่งที่สอง    เป็นยุคที่สร้างศิลปแบบปาบวนขึ้นใช้ในพ.ศ.๑๕๖๐-๑๖๓๐

               เมืองพระนครแห่งที่สองนี้ ยังไม่มีรายละเอียด  จึงสรุปไม่ได้ว่าอยู่ที่ใด

                      ในดินแดนพายัพนั้น เดิมหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดเป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติลาว ครั้นเมื่อขอมมีอำนาจขยายอาณาจักรมาสู่ดินแดนพายัพ จึงตั้งเมืองละโว้ให้เจ้านครขอมคอยดูแล และพระนางจามเทวีพระธิดาของเจ้าผู้ครองเมืองละโว้ได้ขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย (เมืองลำพูน) ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวงของขอมละโว้ พระธิดาเจ้าผู้ครองเมืองนี้จึงได้ปกครองพวกลาวทั้งปวงในมณฑลพายัพ

                     เมืองหริภุญชัย (เมืองลำพูน) จึงเป็นเมืองลูกหลวงของขอมละโว้ ที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้ดูแลดินแดนพายัพ ต่อมาได้ตั้งเมืองนครเขลางค์  (เมืองลำปาง) ขึ้นและปกครองร่วมกัน

อัพเดทล่าสุด