อาหารต้านโรคมะเร็ง 22 ตำหรับอาหารไทยต้านโรคมะเร็ง กินทุกวันห่างไกลมะเร็ง


1,394 ผู้ชม


อาหารต้านโรคมะเร็ง

โรคมะเร็งเป็นแล้วรักษายาก บางรายรักษาไม่หาย การป้องกันโรคมะเร็งมิให้เกิดกับทานและครอบครัวจึงเป็นวิธีที่ท่านสามารถนำไปปฏิบัติ การป้องกันมะเร็งทำได้ไม่ยาก เนื้อหาที่จะเกล่าเป็นแนวทางในการดูแลตัวเองให้แข็งแรงและลดปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็ง แนวทางการป้องกันมะเร็งได้มาจากสมาคมการวิจัยเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง American Institute for Cancer Research ดังนี้

  1. เลือกอาหารที่มาจากพืช

ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ได้ทราบแล้วว่าอาหารเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง การรับประทานอาหารที่มาจากพืชรวมทั้งการรักษาน้ำหนักที่เหมาะสม และการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายสามารถต่อต้านโรคมะเร็ง เนื่องจากสารอาหาร วิตามินในพืชสามารถทำให้ร่างกายซ่อมแซมเซลล์ได้ดี ยับยังการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และยังทำลายสารที่จะก่อให้เกิดมะเร็ง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการรับประทานผักและผลไม้เพิ่ม 2 หน่วยร่วมกับการออกกำลังกายเพิ่มจะสามารถป้องกันมะเร็งได้ร้อยละ 60-70 เช่นการเปลี่ยนขนมปังธรรมดาเป็นขนมปังธัญพืช

  • ให้รับประทานอาหารพวกผักชนิดใหม่ๆซึ่งจะเพิ่มความอยากรับประทานอาหารพวกผัก  
  • ให้มีอาหารพร้อมปรุงที่ทำจากพืชไว้ในตู้เย็นเช่นพวกถั่วต่างๆ อาหารแช่แข็ง ผลไม้กระป๋อง  
  • ให้ใช้ถั่วในการปรุงอาหารเช่นผสมในสลัด ใส่ถั่วในส้มตำ ใส่ถั่วในแกง อาจจะใช้ถั่วได้หลายชนิดเช่น ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วแขก เม็ดมะม่วงหิมะพาน
  • ให้รับประทานอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์สัปดาห์ละครั้ง
  • หัดปรุงอาหารที่ทำจากพืช  
  1. รับประทานผักและผลไม้เพิ่ม

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าอาหารที่เรารับประทานควรจะมาจากพืชเสีย 2/3 เช่นผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว ส่วนที่เหลือ 1/3 มาจากเนื้อสัตว์และนม วิธีการที่จะรับประทานเนื้อสัตว์ให้ลดลงทำได้ดังนี้

  • ใช้เนื้อเพียงแค่ปรุงรสเท่านั้น ไม่ใช่อาหารหลักอย่างบ้านเราทำกันคือผัดผักใส่หมูหรือกุ้งเพื่อปรุงรสและกลิ่น
  • รับประทานอาหรโปรตีนที่ทำจากพืชเช่น เนื้อปลอมที่ทำจากถั่วเหลืองหรือจากเห็ด
  • เลือกอาหารว่างที่ทำจากพืช เช่น น้ำผลไม้ ผลไม้ต่างๆ
  • เลือกผลไม้กระป๋องไว้ประจำบ้าน ควรเลือกผลไม้ที่บรรจุในน้ำผลไม้หรือน้ำไม่ควรใส่น้ำหวานหรือเกลือ
  • รับประทานผักใบเขียวให้มาก
  • มื้อกลางวันให้รับประทานสลัด
  • ใช้รับผลไม้หลังจากรับประทานอาหาร

หากท่านรับประทานผักและผลไม้มากเท่าใดท่านจะได้รับสารอาหาร วิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระมากขึ้นเท่านั้นซึ่งจะต่อสู้กับมะเร็ง

  1. รักษานำหนักที่เหมาะสมและออกกำลังกายเป็นประจำ

น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับท่านควรอยู่ระหว่างดัชนีมวลกาย 18.5-23 สำหรับท่านที่น้ำหนักน้อยก็ต้องรับประทานอาหารเพิ่ม หากรับประทานไม่พอก็ต้องรับประทานอาหารเสริมเพิ่มขึ้น โรคอ้วนทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพมากมายสำหรับท่านที่มีน้ำหนักเกินท่านต้องรับประทานอาหารน้อยลง วิธีการรับประทานอย่างฉลาดมีดังนี้

  • อ่านฉลากอาหารทุกครั้ง หากปริมาณสารอาหารที่ท่านซื้อมากเกินไปท่านต้องแบ่งอาหารออกมา เพื่อมิให้ได้รับพลังงานเกินไป
  • อย่าอดอาหารเป็นมือเพราะท่านจะรับประทานมากขึ้นในมื้อต่อไป
  • เลือกอาหารว่างอย่างฉลาดควรจะเลือกพวกผักและผลไม้
  • ให้รับประทานเมื่อท่านหิวเท่านั้น อย่ารับประทานเพราะว่าอร่อย หรือว่ากำลังเหงา ควรหางานอดิเรกทำเพื่อจะได้ไม่รับประทานมากเกินไป
  • อาหารพวกผักและผลไม้จะมีไขมันต่ำ หากอาหารหลักของท่านเป็นอาหารเหล่านี้โอกาสที่จะอ้วนก็มีน้อย

การออกกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ท่านแข็งแรง ลดความเครียดได้ ทำให้เจริญอาหารและการขับถ่ายดีขึ้นวิธีการที่จะเริ่มออกกำลังกายอย่างง่ายๆ

  • เริ่มทีละเล็กน้อยค่อยๆเพิ่ม อย่าหักโหมเพราะจะทำให้ได้รับบาดเจ็บ
  • การเดินเป็นวิธีที่ดีและง่าย
  • ให้กระฉับกระเฉงเช่น การขึ้นบัดได การเดินไปทำงาน การล้างรถหรือถูบ้าน
  • ท่านที่สุดอายุหรือมีโรคเข่าเสื่อมอาจจะเริ่มออกกำลังในน้ำเพราะจะใช้แรงไม่มากและไม่เป็นอันตรายต่อข้อ
  1. ลดการดื่มสุราและสูบบุหรี่

จากการวิจัยพบว่าการดื่มสุราก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพแต่การดื่มไวน์แดงก็อาจจะให้ประโยชน์ต่อร่างกายเหมือนกับการรับประทานองุ่นเพราะมีสาร resveratrol

  • หากไม่เคยดื่มสุราก็ไม่มีความจำเป็นต้องเริ่มดื่ม
  • หากจะดื่มสุราก็ให้ดื่มไม่เกิน 1 หน่วยสุรา
  • หากไปงานเลี้ยงก็ไม่ควรใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ผสม

การสูบบุหรี่จะทำให้เกิดมะเร็งได้หลายระบบ การเลิกสูบบุหรี่จะทำให้ลดการเกิดมะเร็งได้ร้อยละ 30

  1. เลือกรับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันต่ำ

เชื่อว่าอาหารมันและเกลือจะเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวและไขมัน trans-fats ('partially hydrogenated' oils). ซึ่งไขมันทั้งสองเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งและโรคหัวใจ แต่มิได้ห้ามรับประทานอาหารมันเพราะอาหารมันก็มีประโยชน์ต่อร่างกายแต่ไม่ควรรับมากเกินไป

  1. ปรุงอาหารอย่างถูกต้องอาหารต้านโรคมะเร็ง 22 ตำหรับอาหารไทยต้านโรคมะเร็ง กินทุกวันห่างไกลมะเร็ง

การปรุงอาหารพวกเนื้อสัตว์โดยเฉพาะการย่างด้วยไฟอุณหภูมิที่สูงจะทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง เนื่องจากน้ำมันที่ถูกไฟไหม้จะก่อให้เกิดสาร polycyclic aromatic hydrocarbons ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ควรจะเลี่ยงไปใช้วิธีอื่นเช่น การอบ การใช้microwave การต้ม การทอดในน้ำ วิธีการที่จะลดการเกิดสารก่อมะเร็งมีดังนี้

  • อย่าย่างเนื้อสัตว์หลายชนิดในไม้เดียวกัน เพราะเนื้อทุกชนิดสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้ ให้เลี่ยงไปย่างผักหรือผลไม้แทนเนื้อสัตว์
  • เลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่มีไขมัน และให้ตัดไขมันออกจากเนื้อสัตว์ให้หมด
  • ให้หมักเนื้อนั้นก่อนปรุงอาหารโดยเฉพาะการหมักด้วยมะนาวจะช่วยลดสารก่อมะเร็งให้หมักก่อนปรุง 15-20 นาที ไม่ควรหมักด้วยน้ำมัน
  • ไม่ควรเผาเนื้อสัตว์ ให้หุ้มเนื้อสัตว์ด้วย foil อาจจะทำให้เนื้อสัตว์สุขด้วยการต้ม อบหรือmicrowave > แล้วจึงนำมาเผาภายหลัง
  • อย่ารับประทานเนื้อสัตว์ที่ไหม้ ให้ตัดส่วนที่ไหม้ออก
  • การย่างหรือเผาอาหารพวกผักไม่ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง
  1. การถนอมอาหาร

ผู้ป่วยที่พื้นจากโรคมะเร็งจะมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอโอกาสจะเกิดโรคจากอาหารจะมีสูง ดังนั้นการเก็บและถนอมอาหารจะช่วยป้องกันการโรค

  • ล้างมือ ถ้วยชาม โต๊ะ ให้สะอาดและเปลี่ยนฟองน้ำบ่อยๆ
  • ให้ล้างผักและผลไม้โดยการรินน้ำ
  • ระวังการปนเปื้อนอาการจากการใช้มีด เขียง ชาม
  • ละลายอาหารแช่แข็งในตู้เย็นหรือ microwave ไม่ควรละลายในห้องครัว
  • ใช้ปรอทวัดอุณหภูมิของอาหารเพื่อให้แน่ใจว่าอาหารสุขจริงๆ
  • อ่านฉลากอาหารให้ทราบวันหมดอายุ
  1. การใช้ครีมป้องกันแสงแดดโดยเฉพาะตอน 10.00-15.00 น โดยใช้ครีมที่มี SF อย่างน้อย 15 อ่านที่นี่
  2. การไม่สำส่อนทางเพศเพราะการมีเพศสัมพันธ์จะทำให้เกิดการติดเชื้อ เริ่ม (อ่านที่นี่) และเชื้อไวรัสโรคเอดส์ ซึ่งทั้งสองโรคดังกล่าวจะทำให้เกิดมะเร็ง

คำถามที่ถามบ่อย

  • วิตามินช่วยป้องกันมะเร็งได้หรือไม่ จากรายงานพบว่าวิตามินในผักและผลไม้มีคุณค่ามากกว่ายาเม็ดวิตามิน ดังนั้นแนะนำให้รับประทานอาหารพวกผักและผลไม้ให้มาก ในกรณีที่รับอาหารไม่ได้เลยแพทย์ก็จะพิจารณาให้วิตามินเสริม

สารอาหารที่ใช้ป้องกันมะเร็ง

สารอาหารที่ใช้ป้องกันมะเร็งหรือที่เรียกว่า Chemoprevention จะทำหน้าที่สองประการคือ ป้องกันการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม และหยุดการแบ่งเซลล์มะเร็ง สำหรับสารที่นิยมมาใช้ป้องกันมะเร็งได้แก่

สารอาหาร ชนิดสารอาหาร ใช้ป้องกันหรือรักษามะเร็ง
Vitamin A + other retinoids vitamin ผิวหนัง คอและศีรษะ ปอด
Vitamin C vitamin ลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร
Vitamin D vitamin ลำไส้ใหญ่
Vitamin E vitamin ปอด คอและศีรษะ ลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร
Folic Acid vitamin ปากมดลูก
Selenium mineral ผิวหนัง
Calcium mineral ลำไส้ใหญ่
Beta-Carotene phytochemical ปอด คอและศีรษะ ลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร
Monoterpenes phytochemical เต้านม
Tamoxifen drug เต้านม
Finasteride drug ต่อมลูกหมาก
Oltipraz drug ตับ
NSAIDS
(nonsteroidal anti-inflammatory drugs -- aspirin, buprofen)
drug ลำไส้ใหญ่
Sunscreen other ผิวหนัง
Spirulina
fusiformi
(blue-green algae) คอและศีรษะ

 
วิจัยชี้ 22 ตำหรับอาหารไทยต้านโรคมะเร็ง
แหล่งที่มาของข่าว .....เว็บไซด์หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
ผลงานวิจัยโดยนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหิดล เผย 22 ตำหรับอาหารไทยต้านโรคมะเร็ง ทั้งผัดผักรวมน้ำมันหอย-แกงเขียวหวานไก่-น้ำพริกลงเรือ-ส้มตำไทย -ฉู่ฉี่ปลาทับทิม-ไก่ทอดสมุนไพร
         น.ส.มลฤดี สุขประสารทรัพย์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาพิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมี รศ.ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ หัวหน้าฝ่ายพิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และการสนับสนุนจากสภาวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยผลวิจัยเรื่องการกินอาหารที่มีสารก่อกลายพันธุ์ เช่น อาหารประเภทปิ้ง ย่าง รมควัน และอาหารที่ต้มตุ๋นเวลานานๆ ร่วมกับการกินอาหารไทยที่ศึกษา 22 ชนิด ได้แก่

        1.แกงเลียง            2.แกงส้มผักรวม             3.แกงเผ็ดเป็ดย่าง        4.แกงเขียวหวานไก่

        5.แกงจืดตำลึง          6.แกงจืดวุ้นเส้น             7.ต้มยำกุ้ง             8.ต้มยำเห็ด

        9.ผัดผักคะน้าน้ำมันหอย   10.ผัดผักรวมน้ำมันหอย        11.ผัดกะเพรากุ้งใส่ถั่วฝักยาว 12.ยำวุ้นเส้น

       13.ส้มตำไทย           14.เต้าเจี้ยวหลน             15.น้ำพริกกุ้งผัด        16.น้ำพริกลงเรือ

       17.ไก่ทอดสมุนไพร       18.ไก่ผัดเม็ดมะม่วง           19.ไข่เจียวใส่หอมใหญ่และมะเขือเทศ

       20.ฉู่ฉี่ปลาทับทิม         21.ทอดมันปลากราย          22.ห่อหมกปลาช่อน

       ซึ่งการวิจัยใช้สารสกัดจากอาหารไทยและทำวิจัยในแบบจำลองที่มีสภาพใกล้เคียงกับกระเพาะอาหารคน โดยการกินอาหารไทยร่วมกับอาหารประเภทปิ้ง ย่าง รมควัน
       ทั้งนี้ พบว่ากลุ่มอาหารไทยที่ให้ผลยับยั้งสารก่อกลายพันธุ์ในระดับสูงได้แก่ สารสกัดจากฉู่ฉี่ปลาทับทิม ไก่ทอดสมุนไพร ไข่เจียวหอมใหญ่และมะเขือเทศ ไก่ผัดเม็ดมะม่วง ผัดคะน้าน้ำมันหอย ผัดผักรวมน้ำมันหอย ผัดกะเพรากุ้งใส่ถั่วฝักยาว และทอดมันปลากราย กลุ่มระดับกลาง ได้แก่ แกงเขียวหวานไก่ น้ำพริกลงเรือ แกงเผ็ดเป็ดย่าง เต้าเจี้ยวหลน ยำวุ้นเส้น แกงเลียง ห่อหมกปลาช่อนใบยอ น้ำพริกกุ้งสด และต้มยำกุ้ง และกลุ่มระดับน้อยที่สุด แกงจืดวุ้นเส้น แกงจืดตำลึง ส้มตำไทย ต้มยำเห็ด และแกงส้มผักรวม
         การยับยั้งสารก่อกลายพันธุ์ของสารเคมีที่เป็นตัวแทนสารพิษที่ได้จากการต้มปลาเป็นเวลานาน พบว่า  สารสกัดจากส้มตำไทยให้ผลดีที่สุด รองลงมาเป็นแกงส้มผักรวม ไก่ผัดเม็ดมะม่วง ผัดผักรวมน้ำมันหอย แกงเลียง ยำวุ้นเส้น คะน้าผัดน้ำมันหอย ไก่ทอดสมุนไพร ฉู่ฉี่ปลาทับทิม ห่อหมกปลาช่อนใบยอ แกงเขียวหวานไก่ ทอดมันปลากราย แกงเผ็ดเป็ดย่าง น้ำพริกลงเรือ ผัดกะเพรากุ้งใส่ถั่วฝักยาว ต้มยำเห็ด แกงจืดวุ้นเส้น ต้มยำกุ้ง น้ำพริกกุ้งสด แกงจืดตำลึง และไข่เจียวหอมใหญ่มะเขือเทศ แต่เต้าเจี้ยวหลนไม่แสดงผล
       ส่วนการยับยั้งสารก่อกลายพันธุ์ของสารเคมีที่เป็นตัวแทนสารพิษที่ได้จากเนื้อตุ๋นเป็นเวลานาน พบว่า สารสกัดจากส้มตำไทยให้ผลดีที่สุดแต่ระดับต่ำ รองลงมายำวุ้นเส้น แกงเลียง ไก่ผัดเม็ดมะม่วง แกงเผ็ดเป็ดย่าง แกงเขียวหวานไก่ ทอดมันปลากราย ต้มยำกุ้ง แกงส้มผักรวม และผัดผักรวมน้ำมันหอย ซึ่งแสดงว่าอาหารไทยช่วยลดความเสี่ยงหรือป้องกันมะเร็งได้และต้องออกกำลังกายร่วมด้วย

อัพเดทล่าสุด