ภาวะโลกร้อนเกิดจากอะไร ?ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน หรือรังสีอินฟาเรดได้ดี ก๊าซเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการรักษาอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกให้คงที่ ซึ่งหากบรรยากาศโลกไม่มีก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ดังเช่นดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะแล้ว จะทำให้อุณหภูมิในตอนกลางวันนั้นร้อนจัด และในตอนกลางคืนนั้นหนาวจัด เนื่องจากก๊าซเหล่านี้ดูดคลื่นรังสีความร้อนไว้ในเวลากลางวัน แล้วค่อยๆ แผ่รังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศโลกไม่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันมีก๊าซจำนวนมากที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน และถูกจัดอยู่ในกลุ่มก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีทั้งก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญคือ ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โอโซน มีเทนและไนตรัสออกไซด์ สารซีเอฟซี เป็นต้น แต่ ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมโดยพิธีสารเกียวโต มีเพียง 6 ชนิด โดยจะต้องเป็นก๊าซที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ (anthropogenic greenhouse gas emission) เท่านั้น ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N20) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) ทั้งนี้ ยังมีก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง คือ สารซีเอฟซี (CFC หรือ Chlorofluorocarbon) ซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นและใช้ในการผลิตโฟม แต่ไม่ถูกกำหนดในพิธีสารเกียวโต เนื่องจากเป็นสารที่ถูกจำกัดการใช้ในพิธีสารมอนทรีออลแล้ว แหล่งกำเนิดของก๊าซเรือนกระจก + การย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ + จากโรงงานอุตสาหกรรม + เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้เป็นสารหล่อเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ + ของใช้ประจำวัน เช่น ใช้เป็นสารขับดันในเครื่องกระป๋องที่เป็นสเปรย์ + จากกทำนาข้าว หรือพืชที่ขังน้ำ และปศุสัตว์ + การเผาไหม้ของซากพืชหรือสัตว์ + การใช้งานโดยมีการเผาไหม้ของถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ + การเผาไหม้ในหลายรูปแบบ เช่น การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม ในรถยนต์ + การเผาป่า เพื่อใช้พื้นที่อยู่อาศัย หรือทำการเกษตร หรือเผาหญ้าเผาฟางหลังการเก็บเกี่ยว + การทำปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ การทำฟาร์ม ก๊าซเรือนกระจก | อายุในชั้นบรรยากาศ (ปี) | ศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (เท่าของคาร์บอนไดออกไซด์) | คาร์บอนไดออกไซด์ | 200-450 | 1 | มีเทน | 9-15 | 23 | ไนตรัสออกไซด์ | 120 | 296 | CFC-12 | 100 | 10,600 | เตตระฟลูออโรมีเทน | 50,000 | 5,700 | ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ | 3,200 | 22,000 | ภาวะโลกร้อนเกิดจากอะไร ?ในระยะที่ผ่านมาประชาคม สศช.คงได้ทราบข่าวผ่านทางสถานีโทรทัศน์หลายสถานีว่า น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือกำลังละลาย บางประเทศในยุโรปมีอากาศร้อนจัด จนถึงขั้นทำให้คนเสียชีวิต หิมะที่เทือกเขาคิลิมันจาโรซึ่งถูกเรียกขานว่า “หลังคาแห่งกาฬทวีป” กำลังละลายและว่ากันว่าอาจจะหมดไปในปี 2020 ส่วนประเทศแถบเอเชีย เช่น บริเวณเกาะต่างๆ ของประเทศอินโดนีเซีย มีภาวะน้ำท่วมอย่างรุนแรง แม้ประเทศไทยเองก็ประสบกับภาวะภัยแล้ง และน้ำท่วม เช่นกันคุณรู้หรือไม่ว่า...กำลังเกิดอะไรขึ้นกับโลกของเรา...และเราจะป้องกันหรือรับมือได้อย่างไรปรากฏการณ์ความแปรปรวนอย่างนี้ ในทางวิทยาศาสตร์ระบุว่าสภาพเช่นนี้เป็น “ภาวะโลกร้อน” อันเป็นผลจากการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซค์และก๊าชอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติดักจับความร้อนออกไปยังบรรยากาศของโลก ก๊าชเหล่านี้จะรวมตัวกันจนกลายเป็นผ้าห่มหนาๆ ดักจับความร้อนของดวงอาทิตย์และทำให้โลกมีอุณหภูมิร้อนขึ้น ยิ่งก๊าชเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นความร้อนก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วยก๊าชเหล่านี้เกิดขึ้นจากการเผาผลาญพลังงานฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหรือถ่านหิน โดยเมื่อเราใช้พลังงานต่างๆ เช่าน การขับเคลื่อนรถยนต์ เท่ากับเป็นการเพิ่มกระบวนการสร้างโลกร้อน นอกจากนี้ภาวะโลกร้อนยังเกิดจากการสูญเสียงป่าธรรมชาติ เพราะไม่มีต้นไม้ดูดชับคาร์บอนไดออกไซค์ ตลอดจนการทำเกาตรและปศุสัตว์ที่ก่อให้เกิดก๊าชมีเทนซึ่งเป็นก๊าชที่ทำให้โลกร้อนได้เช่นกันภาวะโลกร้อนมีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้นทำให้ฤดูกาลต่างๆ เปลี่ยนแปลง สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ก็จะค่อยๆ ตายลง ส่วนผลต่อมนุษย์เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น อาจทำให้บางพื้นที่กลายเป็นทะเลทราย ประชาชนขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มแต่บางพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก เนื่องจากฝนตกรุนแรงขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกและบนยอดเขาสูงละลายทำให้ปริมาณน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น พื้นที่ชายฝั่งทะเลได้รับผลกระทบ บางพื้นที่อาจจมหายไปอย่างถาวรนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า โลกมีเวลาเพียงสิบปีเท่านั้นที่จะจัดการการความหายนะครั้งใหญ่ ที่อาจทำให้ระบบอากาศของโลกกลายเป็นเครื่องมือทำลายล้าง อาทิ สภาพอากาศอันรุนแรง น้ำท่วม ความแห้งแล้ง โรคระบาด และคลื่นความร้อนที่มีอำนาจทำลายล้างแรงกว่าที่เคยพบมาขณะที่ประเทศไทยมีปรากฏการณ์ด้านโลกร้อนเกิดขึ้นที่เห็นแล้ว โดยศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์และฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ระบุว่า จากการสำรวจล่าสุดพบว่าระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยเพิ่มขึ้น 1 – 2 มิลลิเมตรต่อปี ยังอยู่ในระดับปกติ แต่ในทะเลฝั่งอันดามันสูงขึ้น 8 –12 มิลลิเมตรต่อปี มีผลอย่างมากต่อการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากที่ผ่านมาปริมาณน้ำทะเลที่สูงเพียง 50 เซนติเมตร สามารถกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างรุนแรงเราสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้หลายวิธี เช่น ช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง ช่วยกันปลูกต้นไม้ให้มากๆ ไม่สนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มีการตัดต้นไม้ทำลายป่า หรือยกเลิกการใช้สารเคมีอันตรายเช่น สาร CFCs ซึ่งมีในสเปรย์ชนิดต่างๆ สนับสนุนการใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และใช้วัสดุที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้แล้วคุณ .... เลือกที่จะป้องกันหรือรับมือกับภาวะโลกร้อนด้วยวิธีใดบ้างแล้วหรือยัง |