เจ็บคอมาก สมุนไพรรักษาอาการเจ็บคอ วิธีทำง่ายๆ รักษาด้วยตนเอง


4,357 ผู้ชม


เจ็บคอมาก สมุนไพรรักษาอาการเจ็บคอ วิธีทำง่ายๆ รักษาด้วยตนเอง 

แก้อาการเจ็บคอด้วยวิธีง่ายๆ 
การกลั้วคอด้วยน้ำเกลือเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ ประหยัดและปลอดภัยกว่าการซื้อยามาอมทั้งวัน 
การกลั้วคอเห็นผลแทบจะในทันที คือ 
ผสมเกลือ 1 ช้อนชา กับน้ำอุ่น 1 ถ้วย 
อมน้ำเกลือกลัวคอ แหงนหงายศรีษะไปข้างหลัง 
เพื่อให้น้ำเกลืออาบเนื้อเยื่อในคอ อาการเจ็บคอ 
จะบรรเทาไปชั่วคราว ทำซ้ำวันละ 4 ครั้ง

วิธีตรวจอาการเบื้องต้น

การตรวจรักษาอาการเจ็บคอ ปวดคอ (ต่อ)

ฉบับที่แล้วได้กล่าวถึงอาการเจ็บในคอหอยที่ไม่ฉุกเฉินหรือเจ็บหนัก และไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล ซึ่งจะลองรักษาดูก่อนก็ได้
ในฉบับนี้จะพูดถึงอาการเจ็บคอภายนอก (เจ็บคอภายนอก) ที่ไม่มีอาการเจ็บหนักหรือฉุกเฉิน (ลักษณะของคนไข้ฉุกเฉิน หรือมีอาการหนักให้ดูใน หมอชาวบ้าน ฉบับที่ 64) ก็อาจจะแยกออกเป็น 2 ประเภท คล้ายกับอาการเจ็บคอภายใน คือประเภทที่ควรไปโรงพยาบาลและประเภทที่อาจลองรักษาก่อนได้ (ดูแผนภูมิที่ 1)
เจ็บคอมาก สมุนไพรรักษาอาการเจ็บคอ วิธีทำง่ายๆ รักษาด้วยตนเอง
คนขี้ที่เจ็บคอภายนอก และมีอาการเจ็บหนักหรือฉุกเฉิน โดยเฉพาะคนไข้ที่เจ็บคอภายนอก และเอี้ยวคอไม่ได้หลังเกิดอุบัติเหตุรถชนกันหรืออื่นๆ ควรรีบให้การปฐมพยาบาล โดยเฉพาะการใช้หมอนทรายหรือสิ่งอื่นประกบสองข้างคอและศีรษะในท่านอนหงาย ไม่หนุนหมอน เพื่อให้กระดูกคอ (กระดูกสันหลังช่วงคอ) อยู่ในแนวตรงและมีการเคลื่อนไหวน้อยที่สุด เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้กระดูกคอที่หัก (ในกรณีที่กระดูกคอบังเอิญหัก) ไปกดทับเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงลำตัวและแขนขา
เพราะถ้ากระดูกคอหักแล้ว คนที่ไปช่วยเหลือคนไข้เกิดหวังดีกับคนไข้ โดยไปช้อนที่ศีรษะขึ้นมาพาดตักหรือซบอก หรือให้หนุนหมอนแล้ว กระดูกคอที่หักอาจกดทับเส้นประสาท ทำให้แขนขาทั้ง 4 เป็นอัมพาต และ/หรือทำให้คนไข้หยุดหายใจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ดังนั้นคนไข้ที่เจ็บคอภายนอก และมีอาการเจ็บหนักหรือฉุกเฉิน การปฐมพยาบาลขั้นแรกที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งคือ การให้ศีรษะและคออยู่เฉยๆ (ไม่กระดุกกระดิก) อย่าไปยกหรือช้อนศีรษะขึ้นหรือไปเอี้ยวคอเอี้ยวศีรษะให้คนไข้เป็นอันขาด แล้วรีบนำคนไข้ส่งโรงพยาบาล ถ้าคนไข้มีอาการหนักหรืออาการฉุกเฉินอื่นๆร่วมด้วย ให้การปฐมพยาบาลอาการเหล่านั้นด้วย (ดูการปฐมพยาบาลอาการเจ็บหนักหรือฉุกเฉิน ในหมอชาวบ้าน ฉบับที่ 64)
ส่วนอาการเจ็บคอภายนอกที่ไม่มีอาการเจ็บหนักและไม่ฉุกเฉิน แต่ควรไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลคืออาการเจ็บคอภายนอกที่ร่วมด้วย
1. อาการไข้
 (ตัวร้อน) โดยเฉพาะถ้าไข้สูง (ตัวร้อนจัด) หรือเป็นมาหลายวัน ซึ่งโดยทั่วไปอาการไข้เช่นนี้ก็ควรจะไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลอยู่แล้ว
2. มีอาการทางสมอง เช่น ปวดศีรษะ สับสน ซึมลง พูดไม่รู้เรื่อง เดินเซ เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไป อาการทางสมองเช่นนี้ถ้าไม่ได้เกิดจากความโศกเศร้า ความมึนเมาจากากรเสพสุราหรือความชรามากๆ แล้วล่ะก็ ควรจะไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลอยู่แล้ว
3. มีก้อน (ลูกหนู) คลำได้ใต้ผิวหนัง โดยเฉพาะถ้าไม่เคยคลำได้มาก่อน ก้อน (ลูกหนู) ที่คลำได้อาจจะเจ็บหรือไม่เจ็บก็ได้
4. มีแผลหรือน้ำหนองไหลเรื้อรังในบริเวณคอ (รวมทั้งหูน้ำหนวกเรื้อรัง) หรือผิวหนังอักเสบรุนแรง ซึ่งโดยทั่วไป อาการเช่นนี้ถ้าเป็นมากหรือเป็นเรื้อรัง ก็ควรจะไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลอยู่แล้ว
5. รักษาแล้วไม่ดีขึ้น นั่นคือ ถ้าลองรักษาเองตามคำแนะนำที่จะกล่าวต่อไป (สำหรับอาการเจ็บคอภายนอกที่ลองรักษาก่อนได้) สักระยะหนึ่ง (3-7 วัน) แล้วไม่ดีขึ้น ก็ควรจะไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลเช่นเดียวกัน
สำหรับอาการเจ็บคอภายนอกที่ไม่มีอาการเจ็บหนัก ไม่ฉุกเฉิน และไม่จำเป็นต้องไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล ให้อาศัยประวัติและการตรวจร่างกาย โดยเฉพาะการตรวจบริเวณศีรษะ (รวมถึงหน้า หู คอ จมูก ฟัน กราม) และคอ ทั้งภายในกับภายนอก (ดูวิธีการตรวจศีรษะ หน้า หู คอ จมูก ฟัน และคอ ในหมอชาวบ้านฉบับที่ 21 ถึงฉบับที่ 34)
ในขั้นแรก ให้ดูว่ามีอาการอักเสบ (มีอาการปวด บวม แดง ร้อน และกดเจ็บ) ในส่วนหนึ่งส่วนใดของศีรษะและคอหรือไม่
ก. ถ้ามี (มีการอักเสบ) อาการเจ็บคอภายนอกนั้น อาจจะเนื่องมาจาก
(1) การเป็นแผล (ulcer) ในส่วนหนึ่งส่วนใด แล้วการอักเสบนั้นได้ลุกลามลงไปที่คอ ทำให้มีอาการเจ็บคอภายนอก ให้ทำการรักษาแผลนั้นแล้วอาการเจ็บคอภายนอกจะดีขึ้นหรือหายไป
วิธีการรักษาแผลทั่วๆไป คือ การใช้น้ำเกลือ (ใช้น้ำ 1 ขวดแม่โขง ใส่เกลือลงไป 2 ช้อน ต้มให้เดือด แล้วทิ้งไว้ให้เย็น) ชะล้างแผลให้สะอาด แล้วใช้น้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อม (น้ำต้มกับน้ำตาลจนเป็นน้ำเชื่อมข้นๆ คล้ายน้ำผึ้ง) ทาแผล
ถ้าแผลมีน้ำเหลืองหรือหนองมากหรือสกปรกมาก ควรฟอกล้างด้วยน้ำและสบู่ก่อน แล้วใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลือวางไว้บนแผล พอผ้าเริ่มแห้ง (พอเริ่มหมาดๆ อย่าทิ้งไว้จนแห้งกรัง) ก็รีบเอาออก แล้วใช้ผ้าผืนใหม่ชุบน้ำเกลือวางไว้บนแผลสลับกันไปเรื่อยๆจนแผลแห้ง (ไม่มีน้ำเหลืองหรือหนองแล้ว) ก็หยุดวางผ้าชุบน้ำเกลือ แล้วใช้น้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมทาแผลแทนถ้าแผลสดและเล็ก อาจใช้ยาทาแผลอื่นๆ เช่น ยาแดง ยาเหลือง ทิงเจอร์ไอโอดีน หรือแอลกอฮอล์ 70% เช็ดแผล แล้วใช้ผ้าหรือผ้ากาวปิดไว้ไม่ให้สิ่งสกปรกเข้าแผลได้
ถ้าบริเวณรอบแผลมีการอักเสบ (ปวดบวม แดงร้อน และกดเจ็บ) มาก หรือมีไข้ตัวร้อน ควรกินยาปฏิชีวนะ เช่น แอมพิซิลลิน (เม็ดละ 500 มิลลิกรัม) ครั้งละ 1-2 เม็ด ก่อนอาหาร 3 มื้อ (ก่อนอาหารอย่างน้อย1/2 ชั่วโมง) และก่อนนอน (ผู้ที่แพ้ยาเพนิซิลลิน ห้ามกินยานี้) หรือกินยาโคไตรม็อกซาโซล (cotrimoxazole) ครั้งละ 2 เม็ด หลังอาหารเช้าและเย็น (ผู้ที่แพ้ยาซัลฟา ห้ามกินยานี้) สำหรับเด็กให้ลดยาลงครึ่งหนึ่ง ถ้ากินยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล
สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานหรือขาดภูมิต้านทาน เช่น ได้รับยารักษาโรคมะเร็งอยู่ หรือมีโรคร้ายแรงอยู่ ควรไปตรวจรักษาแผลกับแพทย์ที่โรงพยาบาลจะปลอดภัยกว่า
(2) การเป็นฝี (abscess) จะมีลักษณะเป็นตุ่ม ผิวหนังบริเวณตุ่มมักจะกดเจ็บ มีสีแดงเรื่อๆ ร้อน และโป่งออก ให้ประกบบริเวณฝีด้วยของร้อน (แต่ไม่ร้อนจัด จนทำให้ผิวหนังไหม้หรือถูกลวก) ใช้แอลกอฮอล์ 70% ทิงเจอร์ไอโอดีน เกลื่อนหัวฝี หรืออาจใช้เม็ดต้อยติ่งแช่น้ำแล้วนำมาโปะไว้บริเวณฝีได้ถ้ายอดของตุ่มกลายเป็นสีขาวหรือสีเหลืองหรือสีเขียว ก็ให้บ่งเอาหนองออก
ถ้ามีไข้ตัวร้อนหรือฝีใหญ่มาก หรืออักเสบมาก ควรกินยาปฏิชีวนะดังที่กล่าวไว้ในข้อ (1)
(3) ผิวหนังอักเสบ (Dermatitis, cellulitis) ผิวหนังจะมีสีแดง เจ็บและกดเจ็บ
ถ้ามีน้ำเหลืองมาก ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเกลือวางและเปลี่ยนบ่อยๆ ดังในข้อ (1)
ถ้ามีไข้ตัวร้อน หรืออาการผิวหนังแดงและอักเสบลุกลามเร็ว ควรกินยาแอมพิซิลลิน ดังที่กล่าวไว้ในข้อ (1) แต่ถ้าไข้สูงมากและอาการผิวหนังอักเสบลุกลามเร็วมาก ควรไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล
(4) งูสวัด (herpes zoster) ในระยะแรกจะรู้สึกเจ็บๆเสียวๆ ปวดแสบปวดร้อน หรือเจ็บๆแสบๆ บริเวณผิวหนัง อีก 2-4 วันต่อมาจะเกิดเป็นตุ่มใสๆ ขึ้นเรียงกันเป็นกลุ่มเป็นแนว ต่อมาตุ่มใสๆ เหล่านั้นอาจจะฝ่อและเหี่ยวไป หรือแตกออก ให้น้ำขุ่นออกมา แล้วในที่สุดจะยุบหายไปเหลือแต่แผลเป็นอยู่ ถึงแม้แผลและตุ่มใสจะหายไปหมดแล้ว แต่อาการปวดแสบปวดร้อนอาจจะคงอยู่อีกหลายวัน หลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน
การรักษา
ยาสมุนไพรและยาจีนบางชนิดที่เป็นผงแห้งๆ สีเหลือง ซึ่งใช้ทาบริเวณที่เป็นผื่นเป็นตุ่มใส แล้วทำให้รู้สึกเย็นและลดอาการเจ็บปวดลงจะช่วยให้อาการดีขึ้นสำหรับยาฝรั่ง ยังไม่มียาฝรั่งชนิดใดที่ให้ผลดี มีแต่ยาที่ใช้ลดการอักเสบ ซึ่งถ้าจะใช้ต้องใช้ตั้งแต่ระยะเริ่มเป็นใหม่ๆ และมีอันตรายมาก จึงไม่ควรใช้เองโดยทั่วไป งูสวัด เป็นโรคที่หายเองใน 2-3 สัปดาห์ แม้จะไม่ให้การรักษาใดๆ ดังนั้นจึงไม่ต้องตกใจ แต่ถ้ามีอาการเจ็บปวดมาก ให้กินยาแก้ปวดอาการก็จะดีขึ้น
(5) แมลงสัตว์กัดต่อย ให้รักษาตามชนิดและลักษณะของการถูกแมงสัตว์กัดต่อย ซึ่งจะกล่าวถึงโดยเฉพาะในโอกาสต่อไป
(6) ปวดฟัน ปวดหู และอื่นๆ ให้รักษาตามประเภทและลักษณะที่เกิดขึ้นนั้น
ข. ถ้าไม่มี (ถ้าไม่มีการอักเสบ) อาการเจ็บคอภายนอกนั้นอาจจะแบ่งตามลักษณะอาการเจ็บเป็น
(1) อาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณผิวหนัง ซึ่งอาจเป็นระยะแรกของการที่จะเป็นงูสวัด ให้รอดูต่อไป ถ้ามีตุ่มใสๆ ขึ้นในบริเวณนั้น ก็เป็นงูสวัดแน่
(2) อาการปวดแสบปวดร้อนในอก แล้วมีอาการเรอเปรี้ยวร่วมด้วย หรือเกิดหลังจากมีอาการอาเจียนออกมา เกิดจากหลอดอาหารอักเสบ (esophagitis) ให้กินยาลดกรดชนิดน้ำครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ทุก 1-2 ชั่วโมง ยกเว้นเวลาหลับ พออาการดีขึ้นให้ลดยาเหลือ 2 ช้อนโต๊ะ 1-2 ชั่วโมง หลังอาหารและก่อนนอน และเวลาหิว และเวลาปวดแสบปวดร้อนอีกในขณะเดียวกันควรงดอาหารเผ็ดหรือแสบร้อนหรือมีกรดมาก เช่น น้ำส้มสายชู (พริกน้ำส้ม) และถ้ามีอาการเจ็บเวลากลืนอาหาร ควรพยายามกินแต่อาหารอ่อนจนอาการดีขึ้น จึงให้กินอาหารตามปกติได้
(3.) ปวดตึงหรือปวดเสียวที่คอ ทำให้เอี้ยวคอลำบาก หรือเวลาเอี้ยวคอแล้วเกิดอาการปวดเสียวไปที่ไหล่หรือที่แขน อาการเช่นนี้มักเกิดจากโรคกระดูกคอกดหรือทับเส้นประสาท บางครั้งทำให้ศีรษะและคอแข็งหรือเอียงไปด้านหนึ่ง ที่ชาวบ้านมักเรียกว่าอาการ “ตกหมอน”บางครั้งเกิดหลังสะบัดหัว (สะบัดคอ) หรือเอี้ยวศีรษะผิดท่า ทำให้เกิดอาการคอแข็ง (ตกหมอน) ขึ้นมาทันที
บางครั้งเกิดตอนตื่นนอนตอนเช้า ทำให้คิดว่าเกิดจากการตกหมอน แต่อาจเกิดจากการตกหมอนจริงๆ ก็ได้ เพราะการตกหมอนทำให้คอและศีรษะเอียงหรือเอี้ยวอยู่นานๆ จึงเกิดอาการกระดูกทับเส้นประสาทขึ้น จนบางครั้งเวลาจะลุกขึ้นจากเตียงนอน จะเจ็บมากจนยกศีรษะขึ้นไม่ได้
บางครั้งก็เกิดหลังอาบน้ำเย็นๆ หรือในขณะที่อาการหนาวเย็นจัด หรือขณะที่มีอาการคล้ายไข้หวัดได้
การรักษา
1. พยายามให้คอและศีรษะอยู่นิ่งๆ ถ้าจะให้ดี ควรมีอะไรประกบคอหรือศีรษะไว้ เช่น ใส่ปลอกคอป้องกันไว้ จะป้องกันไม่ให้เอี้ยวคอ (ศีรษะ) หรือก้มหรือเงยคอโดยไม่ได้ระวังตัวได้
2. ถ้ามีอาการมาก อาจกิน

2.1 ยาแก้ปวด เช่น ยาแอสไพริน และ/หรือพาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด 3 เวลาหลังอาหารและก่อนนอน จนอาการดีขึ้น แล้วลดยาลง
2.2 ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่นไดอะซีแพม (เม็ดละ 2 หรือ 5 มิลลิกรัม) ครั้งละ ครึ่ง ถึง 1 เม็ด หลังอาหารเช้าและเย็น และ 1 เม็ดก่อนนอน
3. การประคบ อาจใช้ความร้อนประคบบริเวณกล้ามเนื้อที่ตึงและเจ็บ หรืออาจใช้วิธีการอื่นๆ เพื่อช่วยให้ความร้อนไปคลายกล้ามเนื้อที่ตึงและเจ็บลง เช่นการใช้คลื่นเสียง (อัลตราซาวด์ ultrasound) หรืออื่นๆ
4. การดึงคอ ซึ่งทำได้ค่อนข้างยาก เพราะต้องอาศัยเครื่องมือหรืออาศัยผู้ชำนาญในการดึงคอ จึงจะทำได้
5. การนวดและกดเส้น ผู้ที่ชำนาญการนวดและการกดเส้น อาจจะใช้วิธีนวด กดเส้นและบิดคอในท่าที่ถูกต้อง จะทำให้อาการดีขึ้นทันทีได้
การป้องกัน
เมื่ออาการปวดต้นคอและอาการเจ็บเสียวดีขึ้นแล้ว ควรบริหารคอโดยค่อยๆเอี้ยวคอไปมาในทิศทางต่างๆอย่างช้าๆ สลับกันไปมา
                 เจ็บคอมาก สมุนไพรรักษาอาการเจ็บคอ วิธีทำง่ายๆ รักษาด้วยตนเอง
นอกจากนั้น ต้องเกร็งคอและศีรษะไว้ แล้วใช้มือข้างหนึ่งดันศีรษะ แล้วเกร็งคอและศีรษะไม่ให้เอนไปตามแรงดันของมือ ให้ดันศีรษะทั้ง 4 ทิศ (มือซ้ายดันศีรษะไปทางขวา แต่เกร็งคอและศีรษะให้อยู่ในที่เดิม มือขวาดันศีรษะไปทางซ้าย แต่เกร็งคอและศีรษะให้อยู่ในที่เดิม ใช้มือซ้ายและขวาประสานกันที่ท้ายทอยและดันศีรษะมาทางหน้า แต่ให้เกร็งคอและศีรษะให้อยู่ในที่เดิม แล้วใช้มือทั้ง 2 ข้างดันคอและศีรษะไปด้านหลัง แต่ให้เกร็งคอและศีรษะอยู่ในที่เดิม)
                เจ็บคอมาก สมุนไพรรักษาอาการเจ็บคอ วิธีทำง่ายๆ รักษาด้วยตนเอง
การดันศีรษะและคอเช่นนี้ให้ทำด้วยแรงน้อยๆ ก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มแรงดันขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อคอแข็งแรงขึ้นแล้ว ควรทำบ่อยๆ วันละหลายๆครั้ง และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อกล้ามเนื้อคอแข็งแรงขึ้นๆ อาการปวดตึงคอ (อาการตกหมอน) จะลดลง (เป็นน้อยครั้งลง และแต่ละครั้งไม่เป็นนานๆ)
(4) ปวดจุกแน่นในคอ เหมือนมีอะไรติดคอ หรือเหมือนลมดันขึ้น ทำให้หายใจลำบาก หรือเหมือนถูกคนบีบคอ อาการมักเกิดหลังออกกำลัง หลังกินอาหารอิ่มมาก หลังอาบน้ำหรือหลังโมโหมากๆ พอนั่งพักแล้วอาการดีขึ้นภายใน 5-10 นาที อาการเช่นนี้มักเป็นอาการปวดร้าวจากการเจ็บหัวใจ โดยเฉพาะการเจ็บจากโรคหัวใจขาดเลือด
ให้ลองอมยาไนโตรกลีเซอรีนใต้ลิ้น ถ้าอาการดีขึ้นหรือหายไปในทันทีที่ยาละลาย ก็น่าจะเป็นการเจ็บคอจากภาวะหัวใจขาดเลือด (angina pectoris) มากที่สุด และคนไข้จะต้องพกยานี้ติดตัวเสมอ ถ้ามีอาการเจ็บจุกคอ เจ็บแน่นอก ปวดไหล่ ปวดระหว่างสะบัก หรือลมตีขึ้นจนแน่นบริเวณท้องส่วนบนหรือลิ้นปี่ ต้องรีบอมยาใต้ลิ้นทันที อาจอมยาติดๆกัน 3-4 เม็ดได้ ภายใน 5-10 นาที ถ้าหลังอมยา 4-5 เม็ดติดๆกันแล้วไม่ดีขึ้น ควรไปโรงพยาบาลทันที
(5) ปวดร้าวมาจากที่อื่นๆ เช่น ปวดฟัน แล้วร้าวลงมาที่คอ ปวดบริเวณคอพอก (คอพอกอักเสบ ต่อมธัยรอยด์อักเสบ หรือ thyroiditis) ปวดกระดูกหลังหู (mastoiditis) หรืออื่นๆ ให้รักษาไปตามสาเหตุ ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรไปโรงพยาบาลทันที
อาการเจ็บคอภายนอกส่วนใหญ่ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ มักเกิดจากสาเหตุในข้อ (3), (4) และอาการปวดฟันที่ร้าวมา
ดังนั้นจึงไม่ควรตกอกตกใจ ลองตรวจรักษาและแก้ปัญหาดูก่อน อาจจะช่วยลดความทุกข์ทรมานและค่าใช้จ่ายของคนไข้ลงได้อย่างมาก

จากหมอชาวบ้าน

อัพเดทล่าสุด