เทคนิคการทำข้อสอบ GAT ส่วนที่เป็นภาษาไทยให้ได้คะแนนเต็ม
ข้อสอบGATส่วนที่เป็นภาษาไทยนั้นเป็นข้อสอบที่ง่ายและนักเรียนทุกคนควรจะทำคะแนนได้ดี แต่เหตุที่นักเรียนจำนวนมากทำคะแนนได้ไม่ดีนั้นเป็นเพราะไม่เข้าใจคำสั่ง, ไม่เข้าใจวิธีการตอบและไม่รู้จักเทคนิคในการทำข้อสอบ ฉะนั้นเมื่อนักเรียนทุกคนได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้แล้วก็น่าที่จะทำคะแนนได้เต็ม 150 คะแนนได้ไม่ยากนัก
ข้อสอบGATส่วนที่เป็นภาษาไทยและเป็นส่วนหนึ่งของข้อสอบPAT4และPAT5นั้นเป็นลักษณะของการอ่านคิดวิเคราะห์ และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อความต่างๆที่ปรากฎในโจทย์ โดยโจทย์จะให้บทความมาหนึ่งบทความแล้วระบุข้อความประมาณ 10 ข้อความในบทความนั้นด้วยการพิมพ์ตัวหนาและระบุเลขกำกับของข้อความแต่ละข้อความมาให้ โดยเลขที่กำกับข้อความนี้ก็จะเป็นหมายเลขข้อของข้อสอบด้วย
สิ่งที่นักเรียนจะต้องทำก็คือต้องหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อความแต่ละข้อความที่โจทย์ระบุมา โดยความสัมพันธ์นี้จะแบ่งเป็น4ประเภทคือ
1.ข้อความนั้นเป็นเหตุที่นำไปสู่ข้อความอื่น
2.ข้อความนั้นมีข้อความอื่นเป็นองค์ประกอบหรือเป็นความหมาย
3.ข้อความนั้นไปยับยั้งหรือขัดขวางข้อความอื่นและ
4.ข้อความนั้นไม่นำไปสู่อะไรเลย ดังนี้
1.ข้อความที่กำหนดมาเป็นเหตุให้เกิดข้อความอื่น โดยเงื่อนไขนี้จะใช้สัญลักษณ์ A เช่นถ้าข้อความที่ 01 เป็นเหตุให้เกิดข้อความที่ 02 แล้วคำตอบของข้อ 01 ก็คือ 02A นั่นเอง เช่น
บทความที่ 1 – “เมื่อไม่ตั้งใจเรียนหนังสือ(01)แล้วจะทำให้ไร้อนาคต(02)”
บทความที่ 2 – “การซื้อเสียง(01)นำมาซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่ล้มเหลว(02)”
บทความที่ 3 – “การศึกษาของชาติต้องวิกฤต(02)เพราะการนำเอาระบบแอดมิชชั่นส์(01)มาใช้”
จากบทความที่ 1 ถึง 3 นี้จะได้คำตอบของข้อ 01 คือ 02A ทั้งหมด
2.ข้อความที่กำหนดมามีข้อความอื่นเป็นองค์ประกอบหรือมีข้อความอื่นเป็นเป็นคำอธิบายหรือเป็นความหมาย โดยเงื่อนไขนี้จะใช้สัญญลักษณ์ D เช่นถ้าข้อความที่ 01 มีองค์ประกอบเป็นข้อความที่ 02 และ 03 หรือมีคำอธิบายเป็นข้อความที่ 02 และ 03 แล้ว คำตอบของข้อที่ 01 คือ 02D, 03D นั่นเอง เช่น
บทความที่ 4 – “องค์ประกอบในระบบแอดมิชชั่นส์(01)คือเกรด(02)และโอเน็ต(03)นั้นสร้างปัญหาให้กับการศึกษาของชาติเป็นอย่างมาก”
บทความที่ 5 – “เหตุแห่งปัญหาของความแตกแยกของคนไทย(01)คือการรับรู้ข้อมูลที่ไม่เท่ากัน(02)และกรอบความคิดที่แตกต่างกัน(03)”
จากบทความที่ 4 และ 5 นี้ คำตอบของข้อ 01 คือ 02D,03D
3.ข้อความที่กำหนดไปขัดขวางหรือไปยับยั้งไม่ให้เกิดข้อความอื่นหรือไปลดหรือไปป้องกันข้อความอื่นโดยเงื่อนไขนี้จะใช้สัญญลักษณ์ F เช่นข้อความที่ 01 ไปขัดขวางไม่ให้เกิดข้อความที่ 02 หรือขัดแย้งกับข้อความที่ 02 แล้วคำตอบสำหรับข้อ 01 คือ 02F เช่น
บทความที่ 6 – “การนำเกรด(01)มาใช้ในระบบแอดมิชชั่นส์ทำให้ความเสมอภาค(02)หายไปจากระบบการคัดคนเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย”
บทความที่ 7 – “การนำเอาระบบแอดมิชชั่นส์(01)มาใช้นั้นนอกจากทำให้การศึกษาของชาติก้าวหน้า(02)ไม่ได้แล้วยังทำให้ต้องถอยหลังไปหลายสิบปีด้วยซ้ำไป”
จากบทความที่ 6 และ 7 นั้นคำตอบของข้อ 01 คือ 02F
4. ข้อความที่กำหนดให้ไม่ได้ไปเป็นเหตุให้เกิดอะไรเลย,ไม่ได้มีองค์ประกอบเป็นอะไรเลยและไม่ได้ไปขัดแย้งหรือขัดควางข้อความใดเลย ให้มีคำตอบเป็น 99H เช่น จากบทความที่ 1,2 และ 3 นั้นคำตอบของข้อ 02 คือ 99H
สิ่งที่นักเรียนมักจะทำผิดอยู่บ่อยๆทำให้เสียคะแนนไปง่ายๆคือ
1.สลับที่กันระหว่างเหตุกับผล หรือข้อความที่มีองค์ประกอบกับองค์ประกอบ เช่น บทความที่ 1 นั้นข้อ 01 แทนที่จะตอบ 02A แล้วข้อ 02 จะตอบว่า 99H กลับไปตอบข้อ 01 ว่า 99H และตอบข้อ 02 ว่า 01A วิธีแก้ไขคือตั้งหลักให้ดีว่า ข้อความของข้อนั้นต้องเป็นเหตุและคำตอบต้องเป็นผลจึงจะตอบรหัส A และข้อความข้อนั้นต้องมีองค์ประกอบเป็นคำตอบจึงจะตอบเป็นรหัส D และข้อความของข้อนั้นต้องไปขัดขวางข้อความที่จะเป็นคำตอบจึงจะตอบเป็นรหัส F
2.ไม่ได้ดูให้แน่ชัดว่าข้อความที่พิมพ์ตัวหนานั้นเป็นข้อความว่าอะไรแน่ เช่น ถ้าข้อความระบุว่า—“สาเหตุที่ทำให้คุณภาพนักศึกษาในมหาวิทยาลัยตกต่ำ(01)คือเกรด(02)และโอเน็ต(03)” –นั้นคำตอบของข้อ 01 คือ 99H และคำตอบของข้อ 02 คือ 01A และคำตอบของข้อ 03 คือ 01A
แต่ถ้าข้อความระบุว่า---“สาเหตุที่ทำให้คุณภาพนักศึกษาในมหาวิทยาลัยตกต่ำ(01)คือเกรด(02)และโอเน็ต(03)”--นั้นคำตอบของข้อ 01 คือ 02D,03D และคำตอบของข้อ 02 คือ 99H และคำตอบของข้อ 03 คือ 99H
3.ชอบคิดเอาเอง เพราะหลักของข้อสอบเชื่อมโยงนี้เขาให้พิจารณาแค่ว่าบทความที่ให้มานั้นเขา เขียนว่าอย่างไรและเมื่อเขาเขียนว่าอย่างไรแล้วก็ให้เชื่อมโยงตามนั้นไม่ว่า เราจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม คือห้ามคิดเอง เช่น
ถ้าบทความระบุว่า — “ระบบแอดมิชชั่นส์(01)เป็นเหตุให้การศึกษาของชาติตกต่ำลง(02)เมื่อเป็นเช่นนี้สิ่งที่ตามมาคืออนาคตของชาติต้องมืดมนลง(03)”—จากบทความนี้ 01 เป็นเหตุให้เกิด 02 และ 02 เป็นเหตุให้เกิด 03 ห้ามคิดว่า 01 เป็นเหตุให้เกิด 03 เด็ดขาด
หรือถ้าบทความระบุว่า – “คนเก่งแต่โกง(01)ทำให้ประเทศเจริญ(02)ได้” –โดยบทความนี้ 01 เป็นเหตุให้เกิด 02 ไม่ว่าคุณจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม
เทคนิคการทำข้อสอบแบบเชื่อมโยงให้ได้คะแนนเต็ม
เนื่องจากการทำข้อสอบแบบเชื่อมโยงทั้งในGATและในPAT4และPAT5นั้นจะมีบทความประมาณหนึ่งหน้าแต่ให้เวลาทำประมาณ 45 นาที ดังนั้นนักเรียนทุกคนจึงมีเวลาที่จะอ่านใคร่ครวญได้หลายๆรอบ และในแต่ละรอบให้ปฏิบัติตามนี้
รอบที่ 1 ให้เขียนรหัสของข้อความที่พิมพ์หนาลงไปให้ครบทุกข้อความโดยเขียนลงไปด้านบนของข้อความที่พิมพ์หนา เพราะโจทย์จะไม่ได้เขียนหมายเลขข้อความที่พิมพ์หนาไว้ในบทความแต่จะแยกมาให้ต่างหากในตารางถัดมา
รอบที่ 2 ให้เขียนรหัสของข้อความที่เป็นข้อความเดียวกับข้อความที่พิมพ์หนา แต่ไม่ได้พิมพ์หนาไว้เพราะโจทย์จะพิมพ์หนาไว้ครั้งเดียวแม้ว่าข้อความนั้นจะปรากฏในบทความนั้นหลายครั้งก็ตาม โดยเฉพาะคำสรรพนามที่ระบุถึงข้อความที่พิมพ์หนานั้นก็ต้องเขียนหมายเลขกำกับลงไปเช่นเดียวกับข้อความที่พิมพ์หนาด้วย
รอบที่ 3 ให้เช็คว่าได้เขียนหมายเลขกำกับลงไปตามข้อรอบที่ 1 และรอบที่ 2 ครบหรือยัง ถ้ายังต้องเขียนให้ครบ เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก
รอบที่ 4 ให้เริ่มเชื่อมโยงโดยใช้แผนภาพ โดยให้เขียนหมายเลขต่างๆของข้อความทั้งหมดในบทความนั้นกระจายไปบนเส้นรอบวงของวงกลมใหญ่ๆ แล้วเชื่อมโยงตามสัญญลักษณ์ดังนี้
ถ้า 01 เป็นเหตุนำไปสู่ผลคือ 02 ให้เขียนเส้นลูกศรจาก 01 ไป 02 ดังนี้ 01 02
ถ้า 01 มีองค์ประกอบคือ 02 ให้เขียนเส้นลูกศรจาก 01 ไป 02 ดังนี้ 01 02
ถ้า 01 ไปขัดขวาง 02 ให้เขียนลูกศรตามสัญญลักษณ์ดังนี้ 01 02
รอบที่ 5 และ 6 ให้ตรวจสอบว่าได้เชื่อมโยงครบหรือเปล่า
รอบที่ 7 ให้นำแผนภาพที่เชื่อมโยงนี้ไปใส่ลงในตาราง โดยพิจารณาเฉพาะลูกศรที่ออกจากหมายเลยนั้นเท่านั้น โดยไม่ดูลูกศรที่เข้ามา เช่นถ้าจะดูคำตอบของข้อ 01 ให้ดูว่ามีลูกศรออกไปที่ไหนบ้างแล้วลูกศรเป็นแบบใด เช่น
จากแผนภาพนี้ คำตอบของข้อ 01 คือ 02A , 03D
คำตอบของข้อ 02 คือ 03F
คำตอบของข้อ 03 คือ 99H (ไม่มีลูกศรออกเลย)
ตัวอย่างข้อสอบ GAT ครั้งที่สองที่สอบไปเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 52 และวิธีทำจากการอ่านรอบที่ 1 ไปจนถึงการอ่านรอบที่ 3 จะได้ดังนี้
บทความที่1
ลุยฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก สศก. แนะทางสว่างแก้ปัญหาสินค้าเกษตร
07
ในภาวะที่ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกแทบจะมองไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ เศรษฐกิจของไทยก็
07
ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกด้วย จนหน่วยงานต่างๆได้ออกมาปรับลดประมาณการการขยายตัวเศรษฐกิจของปีนี้ลงไปตามกัน ผลกระทบย่อมเกิดขึ้นตามมาเป็นระลอก และที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือกลุ่มเกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ
เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาอันเป็นระยะที่ย่างเข้าไตรมาสที่สองของปีนี้ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) ได้สรุปสถานการณ์ภาคการเกษตรของไทยว่า ไตรมาสแรกของปี 2552 นี้ อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตรลดลง 1.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551
07
ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกก่อให้เกิดผลกระทบหลายอย่าง ที่สำคัญต่อภาคการเกษตรของไทยก็คือทำ
01 02
ให้ทั่วโลกลดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคลง รวมทั้งทำให้ภาพรวมของการส่งออกสินค้าเกษตรและ
07 08
อาหารลดลง นอกจากนี้วิกฤตเศรษฐกิจโลกยังทำให้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าและประเทศ
08
ไทยชะลอตัว ด้วยการชะลอตัวของเศรษฐกิจดังกล่าวก็ส่งผลโดยตรงอีกทางหนึ่งที่ทำให้ปัญหาการลด
01 02
ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและปัญหาการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารลดลงมีความรุนแรงยิ่งขึ้น
01
เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ เกษตรกรไทยก็ต้องลำบากแน่นอน เมื่อการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการ
02
ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารลดลง สิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือผลกระทบต่อราคาพืชผล
06 04
การเกษตรของไทย คือทำให้ราคาข้าวลดลง รวมทั้งราคายางพารา น้ำมันปาล์ม และ ผลิตภัณฑ์มัน
08
สำปะหลัง นอกจากนี้การที่ภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและของไทยชะลอตัว ยังทำให้การลงทุนภาคการเกษตรลดลงด้วย จากการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในภาคสินค้าเกษตรในช่วงไตรมาสแรกนี้พบว่าลดลงถึง 37.3%
เลขาธิการสศก.ยังได้วิเคราะห์แนวโน้มการส่งออกและราคาสินค้าในปีนี้ พร้อมกับแนะมาตรการ
05
แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำด้วย ตัวอย่างเช่น
06 04
มาตรการในการลดปัญหาข้าวและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังราคาตกต่ำคือ ต้องเร่งส่งเสริม
09
การส่งออกไปตลาดที่ยังมีศักยภาพ เช่น ตลาดแอฟริกายังคงมีความต้องการนำเข้าข้าวจำนวนมาก ส่วนมันสำปะหลังก้ควรขยายการส่งออกสู่อินเดีย นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย รัสเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็น
10
ตลาดที่ยังมีศักยภาพ อีกมาตรการหนึ่งคือ ส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรคุณภาพดี ไปยังประเทศที่ต้องการสินค้าที่มีคณภาพ เช่น ส่งเสริมตลาดข้าวคุณภาพดีในตะวันออกกลางและจีนซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่ยังมีกำลังซื้อ ส่วนผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังนอกจากการขยายการส่งออกดังกล่าว ก็ต้องเน้นการทำให้มีคุณภาพที่ดี สะอาด และลดการปลอมปน รวมทั้งผลักดันการแปรรูปในประเทศเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมด้วย ที่สำคัญคือการขยายการผลิตเอธานอลในประเทศ เพราะจะช่วยดึงผลผลิตเข้าสู่การแปรรูปได้มากขึ้น
06
นอกจากมาตรการดังกล่าวข้างต้น ยังมีอีกมาตรการหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาราคาข้าวและราคาผลิตภัณฑ์
04 03
มันสำปะหลังตกต่ำคือ การประกันราคาพืชผลการเกษตร แต่เนื่องจากประเทศไทยก้ประสบปัญหา
เศรษฐกิจชะลอตัวเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆทั่วโลก รายได้ภาครัฐก็ลดลงอย่างชัดเจน จึงจำเป็นต้องใช้มาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาหลายๆวิธีไปพร้อมกัน
***และนี่คือแผนภาพที่ได้
และจากแผนภาพที่ได้ก้จะนำมาร่างคำตอบในตารางได้ดังนี้
เลขกำกับ | ข้อความที่กำหนด | ที่ว่างสำหรับร่างรหัสคำตอบ | ||
01 | การลดค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภค | 04A | 06A | |
02 | การส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารลดลง | 04A | 06A | |
03 | ประกันราคาพืชผลการเกษตร | 04F | 06F | |
04 | ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังราคาตกต่ำ | 99H | ||
05 | มาตรการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ | 03D | 09D | 10D |
06 | ราคาข้าวลดลง | 99H | ||
07 | วิกฤตเศรษฐกิจโลก | 01A | 02A | 08A |
08 | เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าและประเทศไทยชะลอตัว | 01A | 02A | |
09 | ส่งเสริมการส่งออกไปตลาดที่ยังมีศักยภาพ | 04F | 06F | |
10 | ส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรคุณภาพดี | 04F | 06F |
จากนี้ก็นำคำตอบที่ได้จากตารางไประบายในกระดาษคำตอบ แค่นี้ก็ได้เต็มแล้ว