ความเป็นครูไทย โทรทัศน์ครูไทย บทความครูไทย


987 ผู้ชม


บุคลิกภาพของครู

1. บุคลิกภาพที่ดีของครู
                1. 
บุคลิกภาพเป็นปัจจัยช่วยให้ประสบความสำเร็จในการประกอบวิชาชีพครู
              2. 
ครูต้องพัฒนาบุคลิกภาพทางด้านร่างกายด้านสังคมด้านอารมณ์ และด้านสติปัญญาให้เหมาะสมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
              3. 
การพัฒนาบุคลิกภาพเป็นเจตจำนงของแต่ละบุคคล ที่ต้องปฏิบัติตนอย่างเป็น กระบวนการ
            4. 
สัปปุริสธรรม  เป็นธรรมที่ใช้เป็นเครื่องช่วยในการพัฒนาบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ ของครูไทย
2. ความหมายของบุคลิกภาพ
       
        ไพพรรณ  เกียรติโชติชัย (2536:91)  อธิบายเรื่องบุคลิกภาพไว้ว่าบุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะทั้งภายนอกและภายในที่รวมอยู่ในตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งและเป็นผลทำให้บุคคลนั้น    มีความแตกต่างไปจากบุคคลอื่น  บุคลิกภาพแบ่งออกเป็น สภาพด้วยกันคือ
            1. 
บุคลิกภาพภายนอก    หมายถึง   บุคลิกภาพที่สามารถสังเกตเห็นหรือสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง คือ ตา หู จมูกลิ้น กาย บุคลิกภาพภายนอก นี้สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้โดยการฝึก เลียนแบบ และสามารถวัดผลได้ทันที บุคลิกภาพภายนอกที่สำคัญที่สุด คือบุคลิกภาพทางกาย และวาจา 
             2.
บุคลิกภาพภายใน หมายถึง บุคลิกภาพที่ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน     เป็นส่วนที่สัมผัสได้ค่อนข้างยากและต้องใช้เวลาในการสัมผัสบุคลิกภาพภายใน3. การพัฒนาบุคลิกภาพของครู
           
1. การพัฒนาบุคลิกภาพ หมายถึงการวิเคราะห์บุคลิกภาพของแต่ละคนว่าเหมาะสมเพียงใดแล้วพยายามปรับปรุงแก้ไขส่วนที่ยังขาดหรือบกพร่องให้เหมาะสม หรือเป็นไปในลักษณะที่ตนปรารถนา
           
2. การพัฒนาบุคลิกภาพของครู หมายถึง การแก้ไข ปรับปรุงและฝึกฝนบุคลิกภาพทั้งทางด้านกาย ด้านอารมณ์   ด้านสังคม และด้านสติปัญญาของครู ให้เหมาะสมในการประกอบวิชาชีพครู อื่นประเมินด้วยเพื่อความมั่นใจ3. ลักษณะของครูที่พึ่งประสงค์โดยทั่วไป    บุคลิกภาพที่พึ่งประสงค์ของครูไทยนั้นอาจใช้ลักษณะของ สัปปุริสธรรม เป็นหลักยึด   ครูผู้มี สัปปุริสธรรม7ย่อมเป็นครูที่มีบุคลิกภาพที่ดี  สัปปุริสธรรม 7 ได้แก่
          1. 
ธัมมัญญุตา รูหลักการอยู่ร่วมกัน รู้หน้าที่ รู้หลักความจริงของธรรมชาติของ 
          2. 
อัทถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายของการกระทำอันใด 
          3. 
อัตตัญญุตา รู้บทบาทภาวะหน้าที่ความสามารถ หรือรู้ว่าตนเองควรทำอะไร
          4. 
มัตตัญญุตา รู้จักความประมาณตน
          5. 
กาลัญญุตา รู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร
          6. 
ปริสัญญุตา รู้จักท้องถิ่น ชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี
          7. 
ปุคคจัญญุตา   รู้ความแตกต่างของบุคคล   ถ้าดีควรยกย่อง ถ้าไม่ดีควรตำหนิสั่งสอน
           
บุคลิกภาพคือ ลักษณะภายนอก และ ภายในอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลซึ่งมีพันธุกรรม    และ    สิ่งแวดล้อมเป็นตัวแปลสำคัญแต่บุคลิกเป็นสิ่งที่ สามารถสำรวจและสังเกตได้จึงสมารถปรับปรุง ส่งเสริม และพัฒนาให้เป็นบุคลิกภาพให้ดีได้ครูจำเป็นต้องเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพที่ดีและเหมาะสมกับการเป็นครูเพราะครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งยังต้องเป็นผู้พัฒนาศิษย์ให้มีบุคลิกภาพที่ดีและเหมาะสมตามที่สังคมปรารถนาอีกด้วย    การที่ศิษย์จะออกไปสู่สังคมและ ดำรงชีวิตในสังคมได้   อย่างมีความสุขนั้น  ต้องเป็นคนที่มีบุคลิกภาพ  เหมาะสม
ด้วยอย่างไรก็ตามสัปปุริสธรรม7   เป็นธรรมที่ครูสามารถใช้เป็นเครื่องช่วยทั้งในการพัฒนาบุคลิกภาพของครู     และสร้างเสริมค่านิยมในวิชาชีพครูได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับครูแต่ละคนว่ามีปัญญาและมีความพากเพียรเพียงใด   

ติดตามชม โทรทัศน์ครูไทย และ บทความครูไทย  ได้ที่ https://www.thaiteachers.tv/

อัพเดทล่าสุด