กัญชง กับ กัญชา แม้แต่ตาตำรวจยังแยกไม่ออก!!!
กัญชง | กัญชา | |
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ | Cannabis sativa L. subsp. sativa | Cannabis sativa L. subsp. indica (Lam.) E. Small |
ภาพประกอบ | ที่มา: https://www.green.in.th/node/1690 | ที่มา: https://www.igetweb.com/www/0874260467/index.php?mo=3&art=471960 |
ถิ่นกำเนิด | อยู่ในเขตอบอุ่นของเอเชีย ได้แก่ตอนใต้ของแคว้นไซบีเรีย ประเทศเปอร์เชีย แคว้นแคชเมียร์ของประเทศอินเดียและทางตอนเหนือของประเทศจีน | อยู่ในเขตอบอุ่นของเอเชีย ได้แก่ตอนใต้ของแคว้นไซบีเรีย ประเทศเปอร์เชีย แคว้นแคชเมียร์ของประเทศอินเดียและทางตอนเหนือของประเทศจีน |
การใช้ประโยชน์ | -ใช้ประโยชน์จากเปลือกลำต้นทำเส้นใย เพื่อนำไปใช้ในการทอผ้าที่ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม - เนื้อของลำต้นที่ลอกเปลือกออกแล้วยังสามารถนำมาผลิตกระดาษได้ ด้วย - เมล็ดที่เก็บได้ยังนำมาสกัดเอาน้ำมันมาใช้ในการปรุงอาหารด้วย จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่าน้ำมันจากเมล็ดกัญชงมี โอเมก้า3 สูงมาก เมื่อบริโภคแล้วสามารถลดการเกิดมะเร็งของร่างกายได้ด้วย - เมล็ดสดเป็นยาสลายนิ่ว โดยใช้เคี้ยวสด ๆ - เมล็ดใยกัญชงมีโปรตีนสูงมาก สามารถนำมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ ทดแทนถั่วเหลืองได้เป็นอย่างดี อนาคตอาจใช้เป็นทางเลือก ในการบริโภคทดแทนถั่วเหลืองซึ่งเป็นพืช GMO ได้ | ใช้ประโยชน์จากใบ เพื่อทำสิ่งเสพย์ติด |
ความสูงของลำต้น | ลำต้นสูงมากกว่า 2 เมตร | ลำต้นสูงไม่เกิน 2 เมตร |
ลักษณะของใบ | มีขนาดใหญ่กว่า มีการเรียงสลับของใบค่อนข้างห่างกันชัดเจน และไม่มียางเหนียวติดมือ | ใบเล็กกว่ากัญชงเล็กน้อย ใบเรียงตัวชิดกันหรือเรียงเวียน โดยเฉพาะใบประดับบริเวณช่อดอกจะเห็นได้ชัดเจนและมักมียางเหนียวติดมือ |
จำนวนแฉกของใบ | 7-9 แฉก | 5 แฉก |
ปริมาณสารเสพย์ติด | เตรทต้าไฮโดรแคนนาบินอล ( ? 9, 10 – Tetrahydrocannabinol; THC) น้อยกว่าร้อยละ 0.3 ของน้ำหนักแห้ง ไม่สามารถนำมาทำเป็นยาสูบได้ เพราะจะทำให้ลำไส้ใหญ่ตรงส่วนทวารหนักหลุดออกมาภายนอกได้ | เตรทต้าไฮโดรแคนนาบินอล ( ? 9, 10 – Tetrahydrocannabinol; THC) เกินกว่าร้อยละ 0.3 ของน้ำหนักแห้ง |
กัญชงกับวิถีชีวิตของคนม้ง
เส้นใย จากกัญชงมีความผูกพันกับวิถีชีวิตของคนม้งอย่างแนบแน่น ดังนี้
- ในอดีตคนม้งต้องทอผ้าใช้เอง ซึ่งผ้าที่ชาวม้งใส่ทั้งหมดคือผ้าที่ทอมาจากใยกัญชง แต่ละคนจะมีผ้าใยกัญชงใส่คนละ 1 -2 ชุดเท่านั้น จึงจำเป็นต้องปลูกเพื่อเอาเส้นใยมาทอผ้าใส่ทุกปี
- ถ้ามีลูกสาวแม่จะต้องเตรียมทอเป็นผ้าไว้ให้ลูกสาวติดตัวไปตอนออก เรือน ผ้าทอของม้งจึงเปรียบเสมือนทองคำที่ พ่อแม่มอบให้ลูกสาว
- เมื่อคนม้งมีอายุ 40 ปีขึ้นไปจะมีการเตรียมชุดที่ทอจากใยกัญชงไว้ใส่ตอนตาย ธรรมเนียมนี้ยังใช้ปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้
- การเดินทางในป่าเพื่ออพยพย้ายถิ่นที่ทำกินนิยมใส่รองเท้าที่ทำจากใยกัญชง เพราะสามารถป้องกันสัตว์พิษกัดต่อยได้เป็นอย่างดี
การ ปลูกกัญชง
ส่วนใหญ่แล้วทุกครอบครัวจะมีการปลูกใยกัญชงไว้ใช้ประมาณครอบครัวละ 1 งาน ( 400 ตารางเมตร ) การเก็บต้นใยกัญชงมาใช้ในการผลิตเส้นใยจะเก็บเฉพาะต้นที่กลางพื้นที่ในระยะ ที่ยังไม่มีดอก ต้นที่ตามขอบของแปลงที่ปลูกจะปล่อยไว้ให้ออกดอกและเมล็ดเพื่อใช้ในการทำ พันธุ์ของปีถัดไป
การ ปลูกกัญชงให้ผลผลิตมากกว่าการปลูกฝ้าย นอกจากนี้การปลูกใยกัญชงใช้แรงงานน้อย ไม่ต้องพรวนดินหรือให้ปุ๋ยเพราะจะทำให้ต้นคดงอ ได้เส้นใยไม่ดี เส้นใยจากธรรมชาติกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มมากขึ้น ได้มีการทำนายไว้ว่า เส้นใยจากธรรมชาติจะมาทดแทนเส้นใยเคมีทั้งหมดในอนาคต เนื่องมาจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
ปัญหา ของการปลูกกัญชงในประเทศไทย
ปัญหา ของการปลูกกัญชงในประเทศไทยมีค่อนข้างมาก เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานของภาครัฐขาดความรู้ในการจัดจำแนก กัญชาและกัญชง ดังนั้นเมื่อเห็นชาวเขาปลูกกัญชงก็มักจะเหมารวมกันไปหมดว่าปลูกกัญชา ทำให้ชาวบ้านถูกจับ เช่น กรณีของ นาย เย๊ะ แซ่ย่าง และ นาย เพ็ญ แก้วมาลา ชาว บ้านพญาพิภักดิ์ ต.ยางฮอม อ.ขุนตาล จ.เชียงราย ที่ถูกจับตกเป็นจำเลยคดี ผลิตยาเสพติด ประเภทที่ 5 ( กัญชา) เมื่อปี พ.ศ. 2547 ทางศาลจังหวัดเทิง ได้ยกฟ้อง ให้ทั้งสองคนกลับมาเป็นผู้บริสุทธิ์ เพราะสามารถพิสูจน์ได้ว่า
“ กัญชงไม่ใช่กัญชา ”
ที่มา: https://www.thaihof.org
https://www.pantip.com