สาเหตุการเกิดภาวะโลกร้อน ก๊าซเรือนกระจก สรุปสถานการณ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทย


1,299 ผู้ชม

ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) คือ ก๊าซที่มีอยู่ในบรรยากาศที่ทำให้การสูญเสียความร้อนสู่ห้วงอวกาศลดลง จึงมีผลต่ออุณหภูมิในบรรยากาศผ่านปรากฏการณ์เรือนกระจก แก๊สเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากแก๊สเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยไม่ได้[1][2] แต่การมีแก๊สเรือนกระจกมากเกินไปก็เป็นเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตดังที่เป็นอยู่กับบรรยากาศของดาวศุกร์ซึ่งมีบรรยากาศที่ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงร้อยละ 96.5 มีผลให้อุณหภูมิผิวพื้นร้อนมากถึง 467 °C (872 °F) คำว่า “แก๊สเรือนกระจก” บนโลกหมายถึงแก๊สต่างๆ เรียงตามลำดับความอุดมคือ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์โอโซน และ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) แก๊สเรือนกระจกเกิดเองตามธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีในบรรยากาศ 380 ppmv และที่ปรากฏในแกนน้ำแข็งตัวอย่าง  จะเห็นว่าระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศปัจจุบันสูงกว่าระดับเมื่อก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 100 ppmv


ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) 

ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) 

ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) คือ ก๊าซที่มีอยู่ในบรรยากาศที่ทำให้การสูญเสียความร้อนสู่ห้วงอวกาศลดลง จึงมีผลต่ออุณหภูมิในบรรยากาศผ่านปรากฏการณ์เรือนกระจก แก๊สเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากแก๊สเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยไม่ได้[1][2] แต่การมีแก๊สเรือนกระจกมากเกินไปก็เป็นเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตดังที่เป็นอยู่กับบรรยากาศของดาวศุกร์ซึ่งมีบรรยากาศที่ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงร้อยละ 96.5 มีผลให้อุณหภูมิผิวพื้นร้อนมากถึง 467 °C (872 °F) คำว่า “แก๊สเรือนกระจก” บนโลกหมายถึงแก๊สต่างๆ เรียงตามลำดับความอุดมคือ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์โอโซน และ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) แก๊สเรือนกระจกเกิดเองตามธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีในบรรยากาศ 380 ppmv และที่ปรากฏในแกนน้ำแข็งตัวอย่าง  จะเห็นว่าระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศปัจจุบันสูงกว่าระดับเมื่อก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 100 ppmv

ก๊าซเรือนกระจกในธรรมชาติ

 ก๊าซเรือนกระจกที่มีอยู่ในบรรยากาศโลกตามธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) และไนตรัสออกไซด์ (N2O) มีคุณสมบัติดูดกลืนความร้อน ทำให้โลกอบอุ่น และเอื้อให้สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ในโลกได้ แต่กิจกรรมต่างๆของมนุษย์ โดยเฉพาะหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา มีการใช้พลังงานฟอสซิล (fossil fuel) เช่น น้ำมัน ถ่านหิน มาก การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ ทำให้ก๊าซเรือนกระจกถูกปลดปล่อยออกสู่บรรยากาศในปริมาณมาก บรรยากาศโลกดูดกลืนความร้อนไว้มากขึ้น เกิดภาวะเรือนกระจก หรือโลกร้อน นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทั่วโลก

ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมด้วยพิธีสารมอนทรีออล

สารสังเคราะห์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น chlorofluorocarbons (CFCs), hydrochlorofluorocarbons (HCFCs), halons, methyl bromide (CH3Br) เป็นต้น ใช้กันแพร่หลายในเครื่องทำความเย็น และอุตสาหกรรมต่างๆ สารเหล่านี้นอกจากทำลายชั้นของโอโซน (Ozone Depleting Substances, ODSs) ที่ห่อหุ้มบรรยากาศโลกซึ่งช่วยกรองแสงอัลตราไวเลต (UV) แล้ว ยังมีค่าศักยภาพในการดูดกลืนความร้อน (Global warming potential, GWP) สูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หลายเท่า เช่น ก๊าซ CFC-12, CFC-114 มีค่า GWP สูงถึง 9,880 และ 10,270 เป็นต้น

ในปัจจุบันสาร CFC เหล่านี้ถูกควบคุมการผลิตโดยพิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol on Substances that Deplete the Ozone Layer) ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างนานาประเทศในการควบคุมการผลิตและการบริโภคสารที่ทำลายชั้นของชั้นโอโซนที่ห่อหุ้มบรรยากาศโลก 

ก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ทำลายชั้นโอโซนแต่ดูดกลืนความร้อนสูง 

สารบางชนิดที่นำมาใช้ทดแทนสารที่ทำลายชั้นโอโซน (ODSs) มีสมบัติเป็นก๊าซเรือนกระจกที่รุนแรง คือมีค่า GWP สูงกว่าสาร ODSs มากเช่น Perfluorocarbons (PFCs), Hydrofluorocarbons (HFCs) และ SF6 เป็นต้น ค่า GWP ของก๊าซเหล่านี้แสดงในตารางที่ 2 การรายงานการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายหลัง ค.ศ. 1995 ต้องประเมินการปลดปล่อยก๊าซเหล่านี้ด้วย 

ศักยภาพในการดูดกลืนความร้อน (global warming potential) ของก๊าซเรือนกระจกชนิดต่าง ๆ

ก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิดมีศักยภาพในการดูดกลืนพลังงานความร้อน (Global warming potential หรือ GWP ) ไม่เท่ากัน โดยมีการกำหนดค่าให้ดูดกลืนความร้อนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นมาตรฐานเปรียบเทียบ เช่น ก๊าซมีเทน (CH4 ) และ ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O ) มีค่า GWP 21 และ 320 นั่นคือก๊าซก๊าซมีเทน และก๊าซไนตรัสออกไซด์ 1 กิโลกรัม ดูดกลืนพลังงานความร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถึง 21 และ 320 เท่าตามลำดับ การปลดปล่อยก๊าซมีเทน CH4 และก๊าซไนตรัสออกไซด์ N2O 1 กิโลกรัม จึงเท่ากับการปลดปล่อย CO2 ถึง 21 และ 320 กิโลกรัม เป็นต้น

กิจกรรมที่ทำให้ก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศมีปริมาณเพิ่มขึ้นแสดงในตารางที่ 1 การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์ปลดปล่อยสารอินทรีย์ระเหยได้ที่มิใช่มีเทน (Non-Methane Volatile Organic Compounds หรือเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่าNMVOC) แต่ปริมาณการปลดปล่อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง การประเมินการปลดปล่อยจึงมีความไม่แน่นอนสูง นอกจากนี้ไอน้ำในบรรยากาศจัดว่าเป็นก๊าซเรือนกระจกได้เช่นเดียวกัน แต่มิได้นำมาประเมินปริมาณการปลดปล่อยด้วย

กิจกรรม 

ก๊าซเรือนกระจก 

การใช้พลังงานฟอสซิล 
(น้ำมัน ถ่านหิน)

คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 )
มีเทน (CH4 )
ไนตรัสออกไซด์ (N2O)

กระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม (Industrial process)

คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 )
มีเทน (CH4 )
ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs)

การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้

คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 )
มีเทน (CH4 )
ไนตรัสออกไซด์ (N2O)

การเกษตร (ปลูกข้าว เลี้ยงปศุสัตว์)

มีเทน (CH4 )
ไนตรัสออกไซด์ (N2O)

การกำจัดของเสีย (Waste)

มีเทน (CH4 )
ไนตรัสออกไซด์ (N2O)

ตารางที่ 1 : กิจกรรมของมนุษย์ที่ปลดปล่อย (sources) ก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ 
ที่มา IPCC 1996a

ก๊าซเรือนกระจก 

อักษรย่อ 

GWP

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

CO2

1

ก๊าซมีเทน

CH4

21

ก๊าซไนตรัสออกไซด์

N2O

310

Hydro fluorocarbons

HFCs

140 – 12,100

Perfluoro carbons

PFCs

6300 – 12,500

Sulphur hexafluoride

SF6

24,900

ตารางที่ 2 : Global warming potential (GWP)
ที่มา IPCC 1996a

เปรียบเทียบการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยและการปลดปล่อยของโลก

ตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่าการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งสิ้นของไทยในค.ศ. 1990 ( พ.ศ. 2533) มีเพียงร้อยละ 0.6 ของโลก โดยการปลดปล่อยจากภาคพลังงาน มีค่าร้อยละ 0.4 จากภาคป่าไม้ร้อยละ 2.3 ของโลก เมื่อเทียบเป็นการปลดปล่อยต่อหัว ( per capita) มีค่าน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของโลก

 

พลังงาน 
(ล้านตัน) 

ป่าไม้ 
(ล้านตัน)

รวม

การปลดปล่อยต่อหัว
(per capita)

โลก

22,600

3,400

26,000

4.83

ไทย

79 
(0.4 %)

78 
(2.3 %)

157 
(0.6 %)

2.8

ตารางที่ 3: เปรียบเทียบปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากประเทศไทยใน พ.ศ. 2532 (1990) กับการปลดปล่อยของโลก (ข้อมูลการปลดปล่อยของโลกจาก World Resource Institute) 
ที่มา : TEI, 1997

เปรียบเทียบการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 ) ของไทยกับบางประเทศ

สาเหตุการเกิดภาวะโลกร้อน	ก๊าซเรือนกระจก สรุปสถานการณ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทย

ภาพที่ 1: เปรียบเทียบการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ของไทยกับบางประเทศ พ.ศ.2542 
ที่มา : World Resource Institute – WRI, 2000

เปรียบเทียบการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายหัวของไทยกับบางประเทศ พ.ศ. 2542

สาเหตุการเกิดภาวะโลกร้อน	ก๊าซเรือนกระจก สรุปสถานการณ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทย

ภาพที่ 2: เปรียบเทียบการปลดปล่อยปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายหัวของไทยกับบางประเทศ พ.ศ. 2542
ที่มา : World Resource Institute – WRI, 2000

สาเหตุการเกิดภาวะโลกร้อน	ก๊าซเรือนกระจก สรุปสถานการณ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทย

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบจำนวนประชากร สัดส่วนของการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) และการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ (carbon intensity) ของบางประเทศ (ข้อมูลจาก WRI 2000)


การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก 
(Mitigation)

การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นการบรรเทาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทุกประเทศรวมทั้งไทยได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินการนี้

สาระสำคัญของอนุสัญญาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) คือการร่วมมือกันลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศน้อยที่สุด โดยประเทศที่พัฒนาแล้วตามบัญชีชื่อต่อท้ายอนุสัญญาที่เรียกว่า Annex I Countries มีพันธกรณีดังกล่าว ส่วนประเทศไทยและประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องลดก๊าซเรือนกระจกตามพันธกรณี

กลุ่มประเทศ Annex I มีพันธะกรณีที่จะต้องลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ต่ำกว่าการปลดปล่อยใน ค.ศ. 1990 ร้อยละ 5 ซึ่งประเทศในกลุ่ม Annex I มีข้อจำกัดในการดำเนินการดังกล่าวมาก เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การเพิ่ม GDP สัมพันธ์กับการใช้พลังงาน ส่งผลให้การปลดปล่อยการเรือนกระจกมีปริมาณเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ประกอบกับการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศพัฒนาแล้ว มีค่าใช้จ่ายสูงจึงมีการแสวงหาทางออกของปัญหานี้ ด้วยการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายนอกประเทศ โดยใช้ประเทศกำลังพัฒนาเป็นพื้นที่ดำเนินการ แล้วนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้กลับไปคิด credit ของประเทศนั้น

โครงการร่วมมือกันลดก๊าซเรือนกระจกได้แก่ Joint Implementation (JI) หรือ Clean Development Mechanism (CDM) เป็นต้น กิจกรรมของโครงการดังกล่าว เช่น การปลูกป่า การประหยัดพลังงานในภาคอุตสาหกรรมและการผลิต เป็นต้น 


สรุปสถานการณ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยและการทำบัญชีประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆจัดอยู่ในกลุ่มประเทศ Non-Annex I ซึ่งไม่มีพันธะกรณีในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกแต่อย่างใด นอกจากนี้การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ทั้งในปริมาณการปลดปล่อยทั้งหมด และการปลดปล่อยต่อหัว

ถึงแม้ว่าในอนาคตการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยจะเพิ่มขึ้นจากการเติบโตของ GDP ซึ่งมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น และมีการเพิ่มของประชากร แต่ประเทศอื่น ๆ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ และประชากรเช่นกัน สัดส่วนการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยในอนาคตเมื่อเปรียบเทียบกับของโลกจึงควรอยู่ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับใน ค.ศ. 1990

ประเทศไทยใช้ทรัพยากรในด้านการประเมินก๊าซเรือนกระจกมาก โดยละเลยการศึกษาวิจัยด้านอื่นของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เช่น ด้านผลกระทบ ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความเสียหายต่อประเทศโดยตรง


ศักยภาพในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย

ประเทศไทยมีศักยภาพในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสาขาพลังงาน การกักเก็บในพื้นที่ป่าไม้ และการลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าว การดำเนินการดังกล่าวมีกลุ่มประเทศ Annex I พร้อมทั้งมีทุนจากต่างประเทศ เช่น World Bank, Global Environmental Facility (GEF) สนับสนุนในการดำเนินการ แต่ประเทศไทยจะต้องพิจารณาให้รอบคอบในการดำเนินการโครงการร่วมมือกับต่างประเทศในด้านดังกล่าว เนื่องจากมีข้อจำกัดและรายละเอียดปลีกย่อยที่จำเป็นต้องศึกษาให้ชัดเจน

ที่มา: https://th.wikipedia.org
        https://www.ru.ac.th
 

อัพเดทล่าสุด