การประเมินผลการทำงาน+การลาออก ( พร้อมตัวอย่าง kpi )


1,758 ผู้ชม


แบบประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานแบบ KPI

     KPI (Key Performance Indicators) เป็นการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการทำงาน  โดยการระบุให้พนักงานแต่ละคนได้ทราบอย่างชัดเจนว่า ในแต่ละปีหรือแต่ละไตรมาส จะต้องสร้างผลงานอะไรให้เกิดขึ้นบ้าง  และด้วยเป้าหมายเท่าใด  เพื่อให้พนักงานทุกตำแหน่งได้ทราบถึงผลคาดหวังล่วงหน้าที่จะต้องทำงานให้สำเร็จ  ซึ่งจะมีการกำหนดน้ำหนัก  และเกณฑ์การให้คะแนนที่เป็นรูปธรรม  โดยสุดท้ายสามารถคำนวณผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคนออกมาในรูปของร้อยละได้  ซึ่งองค์การสามารถนำไปเชื่อมโยงกับการพิจารณาขึ้นเงินเดือน และการจ่ายโบนัส ได้อย่างชัดเจน 

     อย่างไรก็ตาม การที่องค์การใดองค์การหนึ่งจะปรับเปลี่ยนแบบประเมินการปฏิบัติงานประจำปีที่ใช้อยู่เดิม  มาเป็นแบบประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ KPI  เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องกำหนดนโยบาย  การปรับปรุงระบบการประเมินผล   การเชื่อมโยงระบบการให้รางวัล   การสื่อสารให้พนักงานทุกคนยอมรับในหลักการและเกณฑ์ต่างๆ   ตลอดจนการสร้าง Template ของการประเมินผลงานแบบ KPI  ให้มีความชัดเจน

     ตัวอย่างแบบประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีแบบ KPI ของพนักงาน ประจำปี พ.ศ. 2549   

ตัวชี้วัด KPI

เป้าหมาย

 

ระดับคะแนน

5

4

3

2

1

ร้อยละความพึงพอใจของลูกค้า

75%/ปี

85%/ปี

80%/ปี

75%/ปี

70%/ปี

65%/ปี

จำนวนชั่วโมงของการฝึกอบรมต่อคนต่อปี

24 ชั่วโมงต่อคนต่อปี

28

26

24

22

20

% ของ Service Availability ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

97% ต่อเดือน

99% ต่อเดือน

98% ต่อเดือน

97% ต่อเดือน

96% ต่อเดือน

95% ต่อเดือน

ร้อยละของจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น

10% ต่อปี

15.0%

12.5%

10.0%

7.5%

5.0%

 การสร้างตัวชี้วัดผลสำเร็จของการทำงาน (Key Performance Indicator-KPI) เป็นเครื่องมือทางการบริหารที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานในปัจจุบัน เพราะจะทำให้องค์การ หน่วยงาน และพนักงานทุกระดับทำงานในองค์การทำงานอย่างเต็มที่เพราะมีการกำหนดผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน โดยการทำงานจะมาเน้นที่ความสำเร็จของผลการปฏิบัติงานเป็นหลักสำคัญ   เพราะมีการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายการทำงานพร้อมกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนที่เป็นรูปธรรม สามารถนำไปใช้ในการเชื่อมโยงกับการขึ้นเงินเดือน การจ่ายโบนัส และการเลื่อนระดับได้ 

ขอบเขตเนื้อหา

1. ความหมายและประโยชน์ของการมีแบบประเมินพนักงานโดยใช้ตัวชี้วัด KPI 

2. หลักการของการจัดทำแบบประเมินพนักงานโดยใช้ตัวชี้วัด KPI

3. ประเภทของตัวชี้วัด KPI

     - การสร้างตัวชี้วัดเพื่อวัดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และ Productivity การทำงาน

       ของบุคลากร

     - การสร้างตัวชี้วัด Leading Indicators และ Lagging Indicators

4. ขั้นตอนการออกแบบประเมินฟอร์มประเมินผลพนักงานโดยใช้ตัวชี้วัด  KPI เพื่อนำมาใช้ใน

    การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

5. วิธีการสร้างตัวชี้วัด KPI การทำงานของหน่วยงานและบุคคล

     - วิธีการสร้างตัวชี้วัด KPI  เพื่อวัดผลผลิต (Output) ของพนักงาน

     - วิธีการสร้างตัวชี้วัด KPI  เพื่อวัดผลลัพธ์ (Outcome) การทำงานของพนักงาน

6. วิธีการจัดทำ KPI Mapping เพื่อเชื่อมโยงตัวชี้วัดทั้งองค์การให้เป็นในทิศทางเดียวกัน

7. หลักการในการกำหนดเป้าหมายให้แก่ตัวชี้วัด KPI ของพนักงาน

8. หลักเกณฑ์การให้คะแนนในแบบประเมินพนักงานโดยใช้ตัวชี้วัด KPI

9. กรณีศึกษา (Case Study) ที่เป็นตัวอย่างจริงของการสร้างแบบประเมินพนักงานโดยใช้

    ตัวชี้วัด KPI ในลักษณะงานประเภทต่างๆ

10. การนำผลการประเมิน KPI ไปเชื่อมโยงกับระบบการให้รางวัล ได้แก่ การขึ้นเงินเดือน

      การจ่ายโบนัส การเลื่อนระดับหรือตำแหน่ง

Source: drmanage.com

KPI ด้านการผลิต

ระบบ KPI ตอน ฐานข้อมูลพนักงานใน Excel

อัพเดทล่าสุด