ศิริราชเผย !! การปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยทีมแพทย์ศิริราชโรงพยาบาลศิริราช


1,096 ผู้ชม


การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
 
การปฏิบัติสำหรับกรณีฉุกเฉิน
   1. ตั้งสติให้ได้อย่าตกใจ
   2. ขอความช่วยเหลือ
   3. ปฐมพยาบาลเบื้องต้น
          * ช่วยหายใจ ให้อากาศเข้าปอดสะดวก คลายเสื้อผ้าให้หลวม
          * ห้ามเลือด
          * นอนนิ่งๆ ห่มผ้า คอยสังเกตอาการ จับชีพจรเป็นระยะ
          * ถ้ามีกระดูกหักอย่าเคลื่อนย้าย
          * ห้ามรัปประทานสิ่งใด (ถ้าไฟลวกรุนแรงให้จิบน้ำคำเล็กๆ)
อุปกรณ์ปฐมพยาบาล
   1. สำลี
   2. ผ้ากอซแผ่นชนิดฆ่าเชื้อ ทำความสะอาด (แอลกอฮอล์)
   3. คีมสำหรับบ่งเสี้ยน
   4. ผ้าสามเหลี่ยม
   5. ผ้ากอซพันแผลขนาดต่างๆ
   6. กรรไกรขนาดกลาง
   7. เข็มกลัดซ่อนปลาย
   8. แก้วล้างตา
   9. พลาสเตอร์ม้วน ชิ้น
  10. ผ้ายืดพันแก้เคล็ดขัดยอก ( Elsatic bandage)
  11. ผ้ากอซชุลพาราฟินสำหรับแผลไฟไหม้
ยาที่ควรมีไว้ในตู้ยาประจำบ้าน
   1. ยาแก้ปวดลดไข้ : ยาเม็ดพาราเซตามอล 500 มก.
   2. ยาแก้แพ้,ลดน้ำมูก : ยาเม็ดคลอเฟนิรามีน 4 มก. ,2 มก.
   3. ยาแก้ปวดท้องท้องอืด ท้องเฟ้อ : ยาธาตุน้ำแดง ,ยาธาตุน้ำขาว , โซดามิ้นท์ , ขมิ้นชันแคปซูล
   4. ยาโรคกระเพาะ : ยาเม็ดอลูมินาเมกนีเซีย , ไตรซิลิเคท
   5. ยาแก้ท้องเสีย : ยาน้ำเคาลินเปคติน ผงน้ำตาลเกลือแร่
   6. ยาใส่แผล : ทิงเจอร์ใส่แผลสด , ไอโปดีน
   7. ยาล้างตา : โบริคโซลูชั่น
   8. ยาล้างแผล เช็ดแผล : ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ , แอลกอฮอล์เช็ดแผล
   9. ยาทาแก้แพ้แก้คัน : คาลาไมน์
  10. ยาทานวด : ขี้ผึ้งปวดบวม , ครีมระกำ , GPO บาล์ม
  11. ยาแก้ไอผู้ใหญ่ : ยาแก้ไอน้ำดำ , ยาขับเสมหะ
  12. ยาแก้ไอเด็ก : ยาแก้ไอขับเสมหะ , ยาแก้ไอเด็กเล็ก ,
  13. ยาระบาย : ยาระบายเม็กนีเซีย , มะขามแขก , ยาเม็ดมะขามแขก
  14. ยาสูดดม : เหล้าแอมโมเนีย
ความปลอดภัยสำหรับเด็ก
   1. อย่าปล่อยทารกหรือเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบไว้กับสิ่งใดที่อุดตันทางเดินหายใจได้ เช่นถุงพลาสติก ให้เลือกของเล่นชิ้นใหญ่ ๆ ที่ใส่ปากไม่ได้
   2. อย่าให้หมอนกับทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี
   3. อย่าทิ้งทารกไว้กับขวดนมหรืออาหารนมหรืออาหารตามลำพัง (เพราะอาจทำให้เด็กสำลักได้)
   4. ห้ามให้ถั่วลิสง ,น้อยหน่า, มะขาม แก่เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ
   5. อย่าปล่อยเด็กทารกไว้บนเตียงกับคุณนาน ๆ (เพราะอาจเผลอหลับทับเด็กได้)
   6. อย่าปล่อยเด็กหรือทารกไว้บนที่ยกสูงตามลำพัง
   7. รถหัดเดินควรมีฐานและล้อที่แข็งแร็ง
   8. อย่าปล่อยเด็กหรือทารกไว้บนเก้าฮี้สูงโดยไม่มีเครื่องรัดตัว
   9. อย่าให้เด็กสวมถุงหน้าเดินไปเดินมา
  10. อย่าวางแจกันแก้ว ,กาน้ำร้อนไว้บนโต๊ะเตี้ย หรือในระยะที่เด็กเอื้อมมือถึง
  11. หาที่ครอบปลั๊กไฟและสอนไม่ให้เล่นปลั๊กไฟ ,พัดลม เมื่อเด็กเรียนรู้และสอนจุดอันตรายต่างๆ ให้เด็กทราบ
  12. ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบข้ามถนนตามลำพังและจูงมือเด็กที่ต่ำกว่าอายุ 5 ขวบข้ามถนนเสมอ
  13. อย่าถือของร้อน ,ถ้วยกาแฟร้อน ๆ เหนือศรีษะเด็ก
  14. บ้านที่มีเด็กในวัยหัดเดินเตาะแตะ ไม่ควรใช้ผ้าปูโต๊ะที่มีชายให้เด็กดึงได้
บาดเจ็บที่ตา
กรดหรือด่างเข้าตา
    * อย่าขยี้ตา ,ล้างด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ
    * รีบไปพบแพทย์
ถูกของแหลมทิ่ม
    * ให้นอนหลับตา
    * ปิดตาด้วยผ้ากอซหรือผ้าเช็ดหน้า
    * อย่าขยับสายตาไปมา
    * รีบพบแพทย์ทันที
สิ่งแปลกปลอมเข้าตาขาว
    * ขยี้ตาเบา ๆ กระพริบตา , ล้างตาหรือเงยสายตาขึ้นด้านบน
    * ใช้มุมผ้าเช็ดหน้าเขี่ยผงออก
    * ถ้าไม่ออก ไปพบแพทย์
ถูกกระแทกที่ดวงตา
    * ประคบด้วยความเย็นทันที
    * รีบไปพบแพทย์
กระดูกหัก
   1. วางอวัยวะส่วนนั้นบนแผ่นไม้หรือหนังสือหนา ๆ
   2. ใช้ผ้าพันยึดไม้ให้เคลื่อนไหว
   3. ถ้าเป็นปลายแขนหรือมือใช้ผ้าคล้องคอ
เลือดออก
   1. ใช้นิ้วกดบาดแผล ประมาณ 10 นาที หรือบีบเนื้อข้าง ๆ มาปิดแผล
   2. ใช้ผ้าหรือเน็คไท พันปิดแผลไว้ (อย่าให้แน่นจนชา)
   3. แผลที่แขน , ขาให้ยกสูง ถ้าเลือดไหลไม่ให้กดเส้นเลือดใหญ่ที่ไปเลี้ยงแขน ขา
ช็อค
สาเหตุ
    * โรคหัวใจกำเริบ ,บาดเจ็บรุนแรง , เลือดออกมาก ,ไฟไหม้น้ำร้อนลวก ,กระดูกหัก ,อาเจียน หรือท้องเสียรุนแรง
อาการ
    * หนาวเย็น ,เหงื่อออก , เวียนศรีษะ , หายใจเร็วขึ้น ,ชีพจรเร็วแต่แผ่ว ,กลัว ,กระหาย
การปฐมพยาบาลการปฐมพยาบาล
    * ให้นอนราบ ,ถ้าเลือดออกห้ามเลือด ,ห่มผ้า ,คลายเสื้อผ้า
    * อย่าเคลื่อนไหวผู้ป่วย, ถ้าบาดเจ็บที่อก, ท้อง, ศรีษะ ให้หนุนศรีษะและบ่าให้สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย คอยปลอบใจ
    * ถ้ากระหายน้ำมาก ให้หยดน้ำที่ริมฝีปากนิด ๆ (ห้ามรัปประทานสิ่งใดๆ)
สำลักหรือมีสิ่งของไปอุดหลอดลม
สำลักหรือมีสิ่งของไปอุดหลอดลม
   1. ทารก --ตบอย่างรวดเร็วกลางหลัง 4 ครั้ง ในท่าที่ศรีษะอยู่ต่ำกว่าปอด
   2. เด็กเล็ก ---ตบกลางหลังหนัก ๆ 4 ครั้ง ในท่าที่ศรีษะอยู่ต่ำกว่าปอด
   3. เด็กโตและผู้ใหญ่ --ตบหนัก ๆ และเร็ว ๆ กลางหลัง 4 ครั้งในท่าที่ศรีษะอยู่ต่ำกว่าปอด
ไฟฟ้าช็อต
   1. รีบปิดสวิตซ์ไฟทันที
   2. ถ้าไม่สามารถปิดสวิทช์ไฟได้ ห้ามใช้มือจับต้องคนที่กำลังถูกไฟช็อตแล้วให้นำสิ่งที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น ไม้กวาด ,เก้าฮีไม้ เขี่ยออกจากสายไฟ หรือเขี่ยสายไฟออกจากตัวผู้บาดเจ็บ
   3. เมื่อผู้ป่วยหลุดออกมาแล้ว รีบปฐมพยาบาล ถ้าหยุดหายใจ ให้ทำการเป่าปากช่วยหายใจ ถ้าคลำชีพจรไม่ได้ ให้นวดหัวใจด้วย แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลด้วย
top
สัตว์กัด
สุนัขกัด
   1. ถ้าเลือดออก ห้ามเลือนทันที (ด้วยผ้าก็อซหรือบีบแผล)
   2. ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ปิดด้วยผ้าก็อซสะอาด
   3. รีบไปพบแพทย์ เพื่อฉีดวัคซีน
งูกัด
   1. ดูรอยแผล ถ้าเป็นงูพิษจะมีรอยเขี้ยว
   2. ใช้เชือกรัดหรือยาง หรือเข็มขัดรัดเหนือแผลให้แน่นพอควร
   3. ให้นอนนิ่ง ๆ คอยปลอบใจ
   4. ห้ามดื่มสุรา ,ยาดองเหล้า ,ยากล่อมประสาท
   5. ถ้าอยุดหายใจให้ช่วยหายใจทันที
   6. ควรนำงูไปพบแพทย์ด้วย
แมลงต่อย
   1. ถ้าถูกต่อยหายตัว หรือต่อยบริเวณหน้า ให้รีบไปพบแพทย์
   2. พยายามถอนเหล็กไน(โดยใช้หลอดกาแฟเล็ก ๆ แข็ง ๆ หรือปากกาครอบแล้วกดให้เหล็กในโผล่ แล้วดึงเหล็กไนออก)
   3. ใช้ยาแก้แพ้ทา หรือราดด้วยน้ำโซดา หรือประคบด้วยน้ำแข็ง (ปกติอาการบวมจะลดลงใน 1 วันถ้าไม่ลดให้พบแพทย์)
   4. ถ้ามีอาการปวด กินยาแก้ปวด (พาราเซตามอล)
ทากดูดเลือด
   1. ห้ามดึง เพราะเลือดจะหยุดยาก
   2. จี้ทากด้วยบุหรี่ติดไฟ หรือไม่ขีดติดไฟให้ทากหลุด
   3. ล้างแผลให้สะอาด ใส่ทิงเจอร์แผลสด เบตาดีน
อาการแพ้พิษแมลงที่ต้องไปพบแพทย์ทันที
    * ช็อค เวียนศรีษะ ตัวซีด เหงื่อออก อาเจียน หายใจ ลำบาก ผื่นขึ้นที่ตา ตาบวม
โดนพิษสัตว์ทะเล
โดนเงี่ยงปลาที่มีพิษ
    * แช่น้ำร้อนพอทน(40'C หรือ 104 'F)นาน 4-5 นาที จะช่วยให้หายปวด
โดนแมงกระพรุนไฟ
   1. ใช้ทรายหรือผักบุงทะเลถูเมือกออก
   2. ล้างด้วยน้ำสบู่
   3. ทาด้วยน้ำปูนใส , แอมโมเนีย ,เพรดนิโซโลนครีม ,หรือเบตาเทธธาโซนครีม
ลมพิษ
สาเหตุ
    * โดนสารที่แพ้ ,พืช ,สารเคมี, แพ้อาหารทะเล ,เหล้า ,เบียร์ ,ละอองต่าง ๆ
การปฐมพยาบาล
    * ทายาแก้ผดผื่นคัน ,คาลาไมน์ ,เพรดนิโซโลนครีม , เบตาเมทธาโซนครีม
    * กินยาแก้แพ้ คลอเฟนนิรามีน ขนาด 4 มก. 1 เม็ด
    * หาสาเหตุที่แพ้
    * ถ้าผื่นไม่ยุบลง และเพิ่มมากขึ้นให้รีบไปพบแพทย์
เป็นลม
   1. ห้ามคนมุงดู พาเข้าที่ร่มในให้อยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก
   2. คลายเสื้อผ้าออกให้หลวม
   3. จัดให้นอนตะแคงหน้าไปข้างใดข้างหนึ่งเพื่อป้องกันในเรื่องทางเดิน หายใจอุดตัน โดยเฉพาะลิ้นของผู้ป่วยมักจะตกไปทางด้านหลังของลำคอ ทำให้หายใจไม่ออก
   4. ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดหน้าผากมือ และเท้า
   5. ถ้าอาการไม่ดีขึ้น รีบนำส่งโรงพยาบาล
เลือดกำเดาออก
สาเหตุ
    * จากการกระแทก , สั่งน้ำมูก , การแคะจมูก
สาเหตุ
   1. นั่งลง , ก้มศรีษะเล็กน้อย ,บีบจมูกนาน 10 นาที (หายใจทางปาก)
   2. วางน้ำแข็งหรือผ้าเย็น ๆบนสันจมูก หน้าผาก ใต้ขากรรไกร
   3. ถ้าไม่หยุด รีบไปพบแพทย์
เลือดออกไม่หยุดหลังจากการถอนฟัน
   1. กัดผ้าก็อซชิ้นใหม่ซ้ำ ,อมน้ำแข็ง (ห้ามบ้วนน้ำหรือน้ำยาบ้วนปาก)
   2. ประคบน้ำแข็งนอกปาก
   3. ถ้ายังไม่หยุด ให้รีบไปพบแพทย์
ของเข้ารูจมูก
   1. บีบจมูกข้างที่ไม่มีของ , สั่งข้างที่ไม่มีของแรง ๆ
   2. อย่าพยายามแคะออก
   3. ถ้าเป็นเด็กให้หันเหความสนใจจากจมูก ให้หายใจทางปาก
   4. พบแพทย์ทันที
หู
หูอื้อ
   1. กรณีเป็นหูน้ำหนวกอยู่ ให้รีบรักษาให้หาย
   2. กรณีหูอื้อไม่ทราบสาเหตุ อาจจะมาจากการมีขี้หูมาก , ขึ้นหูเหนียว , ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อดึงขึ้หูหรือดูดขึ้หูออก
ของเข้าหู
   1. ตะแคงศรีษะ หันหูข้างที่มีของเข้าไปลงให้หล่นออกมาเอง
   2. ถ้าไม่ออก ห้ามแคะ รีบไปพบแพทย์
แมลงเข้าหู
    * พาไปในที่มืด ใช้ไฟฉายส่อง(ให้แมลงออกมาตามแสง)หรือหยอดด้วยน้ำมันหรือกลีเชอรีนบอแรกซ์ ให้แมลงลอยออกมาแล้วจึงเขียออกหรือคีบออก ถ้าไม่ออกให้รีบไปพบแพทย์ทันที
คันในหู(เพราะเป็นเชื้อรา)
    * ใช้ไม้พันสำลีชุบทิงเจอร์แผลสด ทำในรูหูวันละ 2-3 ครั้ง
หอบ-หืด
   1. ให้ผู้ป่วยนั่งยืนในท่าเอนตัวไปข้างหน้า หลังและหน้าอกตรง
   2. คลายเสื้อผ้า ให้อากาศบริสุทธิ์ผ่านเข้าห้อง
   3. ปลอบมิให้ตกใจ ,วิตก ,กังวล
   4. ถ้าเป็นครั้งแรกรีบไปพบแพทย์ทันที
   5. กรณีผู้ป่วยพ่นยาหรือกินยาประจำ ให้รีบใช้ทันที
พุ-พอง
    * จากการเสียดสี ,ไฟไหม้ ,น้ำร้อนลวก ผิวหนังชั้นนอกออกจากชั้นในมีน้ำมาขังอยู่
คันในหู(เพราะเป็นเชื้อรา)
   1. ถ้าเป็นแผลเล็ก ไม่ต้องทำอะไร ปกติร่างกายจะดูดซึมน้ำกลับไปเองและผิวหนังชั้นนอกจะลอกตัวไปเอง
   2. ถ้าบริเวณที่พุพองขยายตัวกว้างขึ้นไปให้รีบไปพบแพทย์
ฟกซ้ำ ,หัวโน ,ห้อเลือด
   1. ให้ประคบด้วยความเย็นให้เร็วที่สุด เพื่อลดอาการบวม ,เจ็บ หรือใช้มะนาวผสมดินสอพองพอกไว้ (ปกติรอบฟกซ้ำจะหายไปเอง)
   2. ถ้าเกิดอาการนานเกิน 24 ชั่วโมงใช้ประคบและคลึงด้วยผ้าชุบน้ำร้อนวันละ 2-3 ครั้ง
ไฟไหม้ ,น้ำร้อนลวก
   1. ฉีกหรือตัดเสื้อผ้าบริเวณที่ถูกน้ำร้อนลวกออก
   2. เสื้อผ้าที่ไหม้ไฟและดับแล้ว ถ้าติดที่แผล ไม่ต้องดึงออก
   3. ถอดเครื่องประดับที่รัดอยู่ เช่นแหวน, เข็มขัด ,นาฬิกา ,รองเท้า ,(เพราะอาจจะบวมทำให้ถอดยาก)
   4. ทำให้บริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวกเย็นลงโดยเร็วที่สุด(ทำอย่างน้อย 10 นาที )
   5. ใช้ผ้าก็อซปราศจากเชื้อปิดแผล กรณีแผลใหญ่ ใช้ผ้าปิดพันด้วยผ้ายืดหลวม ๆ
ข้อเคล็ด
   1. ให้บริเวณข้อนั้น ๆ อยู่นิ่ง ๆ และยกสูงไว้
   2. ประคบน้ำแข็งทันที เพื่อลดอาการบวม ,ปวด
   3. ถ้าภายหลังมีอาการบวมให้ประคบด้วยน้ำร้อน หรือนวดด้วยยาหม่อง หรือน้ำมันระกำ
   4. ถ้าปวดมาก บวมมากให้รีบปรึกษาแพทย์
top
การทำแผล
การทำแผลทั่วไป
   1. ล้างมือให้สะอาด
   2. ทำแผลที่สะอาดก่อนแผลที่สกปรก
   3. เช็ดรอบแผลด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์(เช็ดจากในวนมาข้างนอกทางเดียว)
   4. ปิดด้วยผ้าก็อซหรือผ้าสะอาด
   5. อย่าให้ถูกน้ำอีก เพราะจะทำให้เป็นหนองหรือหายช้า
กรณีแผลถลอกทั่วไป
    * ล้างด้วยน้อำ และสบู่ให้สิ่งสกปรกออกให้หมด
    * เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ ทาทิงเจอร์แผลสดหรือเบตาดีน
    * ไม่ต้องปิดแผล
กรณีแผลตื้นหรือมีดบาด(เลือดออกไม่มาก)
    * บีบเลือดออกบ้าง
    * ล้างด้วยน้ำสะอาด และสบู่
    * ใส่ยาทิงเจอร์แผลสด หรือเบตาดีน
    * ปิดแผลหรือให้ขอบแผลสมานติดกัน
กรณีแผลลึก ลึกถึงกระดูก หรือกระดูกโผล่
    * ห้ามเลือดทันที
    * ใช้ผ้าสะอาดคลุม ห้ามจับกระดูกยัดเข้าไป
    * รีบพาไปพบแพทย์ทันที
กรณีแผลมีหนอง
    * ล้างแผลด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซต์ หรือเดกิ้นโซลูชั่น ทุกวัน
    * เช็ดด้วยสำลี
    * รัปประทานยาปฏิชีวนะตามแพทย์ส่งให้ครบ
กรณีแผลตะปูตำ
    * ล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำมาก ๆ
    * ใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ทำความสะอาดอีกครั้ง
    * ปิดแผล ห้ามถูกน้ำ
    * ฉีดยาป้องกันบาดทะยัก
    * รัปประทานยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่งให้ครบ
กรณีแผลถูกแทงด้วยของแหลม ,มีด ,ไม้
    * ตัดมีดหรือไม้ที่ถูกแทงให้สั้นลง เพื่อให้เดินทางไปพบแพทย์ได้สะดวก (ห้ามดึงออก)
    * ให้อยู่นิ่ง ๆ
    * รีบนำส่งโรงพยาบาล
อาการปวดท้องที่ควรไปพบแพทย์ทันที
   1. ปวดท้องพร้อมอาเจียนเป็นเลือด
   2. เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ หรือคนชรา
   3. ปวดท้องเพราะถูกกระแทก ,ทุบ ,ตี หรือตกจากที่สูง
   4. ปวดนานหลายชั่วโมง
   5. ปวดมากจนนอนไม่หลับ
top
ท้องเดิน ,ท้องร่วง ,ท้องเสีย
ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่
   1. งดอาหารรสจัด ,และย่อยยาก เลือกกินอาหารเหลวกินจนกว่าอาการจะดีขึ้น
   2. ดื่มน้ำเกลือแร่หรือผสมเอง (เกลือ 1/2 ช้อนชา+น้ำ 1 ขวดแม่โขง)
   3. ดื่มน้ำชาแก่ ๆ
   4. ถ้าถ่ายรุนแรง มีอาเจียน อ่อนเพลียมาก หน้ามืดเป็นลม และอาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมงให้รีบไปพบแพทย์
ในเด็กเล็ก เด็กทารก
   1. งดนมและอาหาร ประมาณ 2-4 ชั่วโมง ดื่มน้ำเกลือแร่ (ทารกใช้เกลือ 1/2ช้อน+น้ำ 1ขวดแม่โขง)
   2. ถ้าเด็กหิวมากให้นมที่ชงจาง ๆ ทีละน้อย
   3. ถ้าถ่ายท้องรุนแรง ,อาเจียน ,ดื่มนมหรือน้ำไม่ได้ (ซึม ,ตาโบ๋ ,กระหม่อมบุ๋ม ,หายใจหอบแรง ,)และไม่ดีขึ้นใน 24 ชั่วโมงให้ไปพบแพทย์โดยด่วน
ท้องผูก
ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่
   1. ดื่มน้ำมาก ๆ กินอาหารพวกพัก ,ผลไม้ ,งดชา ,กาแฟ ,และออกกำลังกาย
   2. กินยาระบาย (ชามะขามแขก ,ยาระบายแมกนีเซียม)
   3. ถ้ามีอาการปวดท้องรุนแรง หรืออาเจียนรุนแรง ให้รีบไปพบแพทย์
ในเด็กเล็ก เด็กทารก
   1. ดื่มน้ำมาก ๆ ,น้ำส้มคั้น ,น้ำลูกพรุนต้ม หรือเปลียนนม
   2. ใช้กลีเซอร์รีนเหน็บก้น(ของเด็ก)
top
ก้างติดคอ
ก้างติดคอ
   1. กลืนก้อนข้าวสุก หรือขนมปังนิ่ม ๆ
   2. ถ้ายังไม่หลุด กลืนน้ำส้มสายชูเจือจางเพื่อให้ก้างอ่อนลง
   3. ถ้าไม่หลุด ควรไปพบแพทย์
top
ตะคริว
สาเหตุ
    * ใช้กล้ามเนื้อมัดนั้นหนักเกินไป
    * ความหนาวเย็น
    * การสูญเสียน้ำและเกลือแร่(อาเจียน ,ท้องเสีย ,เหงื่อออก)
การปฐมพยาบาล
   1. ยืดกล้ามเนื้อส่วนนั้นออกโดย
          * เป็นที่มือ : ยึดนิ้วมือ ดัดปลายนิ้ว
          * เป็นที่เท้า : ยืดนิ้วเท้า ให้ยืนเขย่ง
          * เป็นที่ต้นเท้า : นั่งลง , เหยียดเท้า ,กดที่หัวเข่าปละช่วยนวดเท้า
          * เป็นที่น่อง : นั่งลง ,ยืดขา
   2. ถ้าเป็นเพราะเหงื่อ เสียน้ำให้ดื่มน้ำเกลือ(เกลือ 1 ช้อนชา ผลมน้ำ 1 ขวดแม่โขง)
กินยาพิษ
ยาพิษที่มีฤทธิ์กัด
ตัวอย่าง : กรด , ยาฆ่าเชื้อ ,ยาขัดฟื้น ,น้ำยาล้างสี ,ผงขัดถู , แชมพู, แอลกอฮอล์ทาแผล ,ยางสน ,น้ำยาขัดเงา, ผงและน้ำยาซักล้าง ,โซดาซักล้าง, สีย้อม ,เนื้อไม้ , ผงซักฟอก ,ยางล้างห้องน้ำ
การปฐมพยาบาล
   1. มองหาภาขนะบรรจุยาพิษที่ตกอยู่ใกล้ผู้ป่วย นำไปโรงพยาบาลด้วย
   2. สังเกตุรอยไหม้บริเวณริมฝีปากและปาก
   3. เรียกรถพยาบาล
   4. ดื่มน้ำมาก ๆ (โดยให้จิบที่ละน้อย ) หรือน้ำสะอาด ถ้าหานมไม่ได้(นมจะช่วยให้พิษเจือจางลง)
   5. ห้ามทำให้อาเจียน ถ้าผู้ป่วยหมดสติ ห้ามกรอกน้ำหรือของเหลวเข้าปากผู้ป่วย ถ้าหยุดหายใจให้รีบช่วยหายใจ
ยาพิษที่ไม่มีฤทธิ์กัด
ตัวอย่าง : แอลกอฮอล์(เอทธิลแอลกอฮอล์) ,แอสไพริน ,ผลไม้ป่ามีพิษ , เห็ดพิษ ,ยาแผนปัจจุบัน
การปฐมพยาบาล
   1. มองหาภาขนะบรรจุยาพิษที่ตกอยู่ใกล้ผู้ป่วย นำไปโรงพยาบาลด้วย
   2. ถ้าทราบว่า เพิ่งรัปประทานยาเข้าไป พยายามทำให้อาเจียน ถ้าไม่ออกให้ดื่มน้ำมากๆ พยายามล้วงคอให้อาเจียน นำเศษอาเจียนไปให้แพทย์ดูด้วย (ถ้าทำได้)
   3. ถ้ากินยาพิษเข้าไประยะหนึ่งแล้ว อย่าทำให้อาเจียนเพราะพิษถูกดูดซึมภายหลัง
ถูกแก็สพิษ
ตัวอย่าง :คาร์บอนมอนออกไซด์
อาการ:ปวดศรีษะ ,สับสน , หายใจลำบาก ,อาจจะหมดสติ , ผิวหน้าจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ถ้าในขณะที่ได้รับแก็สเพิ่มขึ้น
การปฐมพยาบาล
   1. ให้ได้อากาศบริสุทธิ์เร็วและมากที่สุด(อาจจะเปิดหรือทุบกระจกประตูหน้าต่าง ๆ)
   2. คลายเสื้อผ้าให้หลวม ปฐมพยาบาลเหมือนคนช็อค(ห่มผ้าให้อบอุ่น)
   3. ถ้าหยุดหายใจ ให้รีบช่วยหายใจ
   4. ดูการหายใจและจับชีพจรอย่างใกล้ชิด
   5. เรียกรถพยาบาลทันที
                                                                                                          ข้อมูลที่มา   https://rescuepakkred.is.in.th

อัพเดทล่าสุด