เทคนิคการสอบ เทคนิคการสอบ การเตรียมตัวก่อนสอบ - ศึกษาและทบทวนบ่อย ๆ เพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ การดูหนังสือวินาทีสุดท้าย เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเป็นที่สุด - อ่านสมุดที่จดบันทึกไว้อย่างตั้งใจ ขณะที่อ่านไปให้นึกถึงคำถามที่อาจจะมีขึ้นแล้วลองตอบ - ทบทวนอย่างมีจุดประสงค์อยู่ในใจ การทบทวนชนิดเปิดสมุดอย่างสุ่ม จะไม่มีประโยชน์ แต่ให้ทบทวนหลักการ (concept) พื้นฐาน และจุดสำคัญของเนื้อหา - ลองดูหนังสือทบทวนกับเพื่อน เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนคำถาม คำตอบ แต่ถ้าคิดว่าตนเองไม่เหมาะกับการทบทวนวิธีนี้ ก็ควรอ่านทบทวนเฉพาะตนเอง - ลองสอบถามรุ่นพี่ ๆ เพื่อทราบลักษณะการออกข้อสอบของอาจารย์ (ปรนัย, อัตนัย, ระยะเวลา) นอกจากนี้ ควรหาข้อสอบเก่า ๆ หรือสอบถามรุ่นพี่ว่าอาจารย์เ**ถามอะไรบ้าง หากมีข้อสอบเก่า ให้นักศึกษาลองฝึกตอบคำถามดูและควรต้องตอบภายในเวลาที่กำหนด (เหมือนเช่น การลองทำข้อสอบเก่าในการสอบเอ็นทรานซ์) - พักผ่อนให้เต็มที่ก่อนวันสอบ ไม่ใช่ดูหนังสือจนสว่าง เพราะจะมีผลทำให้สมองของนักศึกษาทำงานได้ไม่เต็มที่ -1 สัปดาห์ก่อนกำหนดสอบไล่ ควรจะได้ตรวจสอบเกี่ยวกับวิชาสอบ วันเวลาที่สอบ สถานที่สอบให้แน่นอน มีนักศึกษาจำนวนไม่น้อยเลย ที่ไปสอบผิดวิชา ผิดวัน - คืนก่อนสอบ เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม อาจทบทวนอีกเล็กน้อย ไม่ใช่มาเริ่มอ่านสิ่งใหม่ ๆ ในคืนนี้ - อย่าเครียด ! ทำจิตใจให้สบาย ถ้านักศึกษาเตรียมตัวมาดีแล้ว ไม่ควรจะกังวลต่อสิ่งใด แต่หากเตรียมตัวไม่ดีพอ ความกังวลนี้จะยิ่งทำให้เหตุการณ์เลวร้ายหนักเข้าไปอีก - ในวันสอบ ควรไปถึงห้องสอบก่อนเวลา แต่อย่าไปถึงก่อนเวลามากเกินไปนัก |
เทคนิคการเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์ เป็นการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยประเมินผู้เข้าสอบทุกคน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน วิสัยทัศน์ ฯลฯ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งในด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ (ด้านการสอน) ทั้ง ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงที วาจา อุปนิสัย เจตคติ และบุคลิกภาพ จากที่เคยผ่านการถูกสัมภาษณ์ และเคย เป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ ใคร่แนะนำ ดังนี้ 1. เบื้องต้น ควรกรอก(และจำข้อความที่กรอกใน)ใบสมัครให้ดี และ มีความสมบูรณ์มากที่สุด เพราะ กรรมการสอบสัมภาษณ์ ส่วนมากจะดูข้อมูลส่วนตัวผู้เข้ารับการสัมภาษณ์จากใบสมัครประกอบการสัมภาษณ์ด้วย 2. ควรจัดเตรียมข้อมูลตามด้านบน อาจจัดทำเป็นแฟ้มผลงาน สรุปย่อ หรือสคริปก็ได้ ทั้งนี้ควรจัดทำ สรุปผลงานเป็นเล่มอย่างประณีต แต่สั้นกะทัดรัด อ่านเข้าใจง่าย (หากมีโอกาสเสนอคณะกรรมการ) 3. ในวันสอบสัมภาษณ์ ควรแต่งกายให้สะอาด สุภาพเรียบร้อยให้เป็นสากลมากที่สุด 4. ควรงดสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะหากขณะสัมภาษณ์กลิ่นแอลกอฮอล์ หรือ กลิ่น บุหรี่โชยออกมา คงไม่เป็นที่สบอารมณ์กรรมการมากนัก ทำให้กรรมการนึกถึงสภาพการเป็นคน สูบบุหรี่ กินเหล้า ของคุณต่อไปในอนาคตด้วย 5. ขณะรอสัมภาษณ์ควรรอด้วยความอดทน ทำจิตใจให้สดชื่น ผ่องใส มีอารมณ์ร่าเริงเบิกบาน ไม่ควรบ่น หรือนินทากรรมการ หรือ เจ้าหน้าที่สอบสัมภาษณ์ 6. ขณะที่คนอื่นเข้าสัมภาษณ์ ควรอยู่และสังเกตผู้ที่เข้าสัมภาษณ์ เพื่อติดถามข้อมูลหรือประเด็นที่กรรมการ สัมภาษณ์ถาม เพื่อเตรียมคำตอบ เพราะโดยทั่วไปประเด็นที่ถาม มักจะถามคล้ายๆ กัน 7. ขณะที่ถูกเรียกชื่อเพื่อเข้ารับการสัมภาษณ์ ควรก้าวเดินเข้าไปให้เป็นปกติ และ มีความมั่นใจให้มากที่สุด 8. เมื่อไปถึงหน้าโต๊ะสัมภาษณ์ ควรยกมือไหว้ กรรมการ(ครั้งเดียวหรือทุกคนตามความเหมาะสม) และนั่ง เมื่อได้รับการอนุญาตให้นั่ง 9. ประเด็นแรกที่มักถูกบอกให้พูดก็คือ 1)ประ วัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประสบการณ์การทำงาน 2) ปัญหาและการแก้ปัญหา หรือยกกรณีปัญหาให้ตอบวิธีแก้(การบริหาร) 3) หน้าที่ที่ทำขณะนี้ ผลงานดีเด่น ความภาคภูมิใจในผลงานดีเด่น 4) ความรอบรู้ในเรื่องทั่วไป หรือเรื่องบริหาร สังคม การเมืองและเศรษฐกิจ 5) การปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูปการเรียนรู้ บทบาทของครูต่อการปฏิรูปการเรียนรู้ 6) เจตคติต่อความเป็นครู 7) บทบาทสมมุติแล้วถาม 10. ขณะถูกสัมภาษณ์ควรแสดงสีหน้าให้เป็นปกติ และแสดงความสนใจกรรมการสัมภาษณ์ทุกคน (ตื่นตัว) 11. เมื่อถูกถาม ให้ตอบด้วยน้ำเสียงปกติ บางคำถามกรรมการไม่ต้องการคำตอบที่ถูกทั้งหมด หากแต่ต้องการ สังเกต ปฏิภาณไหวพริบ และท่วงทีวาจาด้วย 12. คำถามบางคำถาม กรรมการบางคนต้องการอธิบายให้เราฟัง เพื่ออวดภูมิรู้ด้วย หากเป็นดังนี้ คุณควร แสดงความสนใจใคร่รู้ ใคร่ฟัง แสดงอาการยิ้ม ผงกศีรษะรับ หรือตอบ... "ครับ/ ค่ะ".. 13. เมื่อกรรมการสอบสัมภาษณ์จบ ควรยกมือไหว้ และกล่าวขอบคุณ |